ของใช้ | น. ของสำหรับใช้. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า <br><center><img src="picture/26_bor_ben-ja-rach-kud-thun.jpg"></center><br> ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กล้อง ๑ | (กฺล้อง) น. วัตถุลักษณะยาวกลวงตลอด, เรียกของใช้บางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กล้องเป่าแล่น กล้องส่อง |
ของเก่า | น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว |
คบ ๒, คบเพลิง, คบไฟ | น. ของใช้สำหรับจุดไฟให้สว่าง ทำด้วยของแห้งเช่นใบไม้และขี้กบเป็นต้น เอามามัดเป็นดุ้นยาว, มัดเชื้อเพลิง ก็ว่า. |
เครื่อง | (เคฺรื่อง) น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสำหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสำหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสำรับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสำรับกับแป้งเครื่องสำอาง, ของใช้ของกินสำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย. |
เครื่องต้น | ของใช้ของเสวยสำหรับพระมหากษัตริย์. |
ถนอม | (ถะหฺนอม) ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกินของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. |
ทองรูปพรรณ | (-รูบปะพัน) น. ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับและของใช้ต่าง ๆ. |
บริภัณฑ์ ๒ | (บอริพัน) น. ของใช้, เครื่องใช้, เครื่องเรือน. |
ปากกา ๒ | น. เครื่องสำหรับหนีบของใช้ ทำด้วยไม้หรือเหล็กก็มี. |
โพล่ | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วยกาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน. |
ไพร่ส่วย | น. ไพร่หลวงที่ไม่ต้องการเข้าเดือน แต่ต้องหาสิ่งของใช้ในราชการส่งมาแทน, ไพร่หลวงส่วย ก็ว่า. |
ล่วม | น. เครื่องสำหรับใส่หมากพลูบุหรี่ ส่วนมากทำด้วยผ้า มีใบปก เป็นของใช้โบราณ แต่ที่ทำด้วยโลหะก็มี, ถ้าเป็นของเจ้านาย เรียกว่า พระล่วม, สำหรับใส่ยา เรียกว่า ล่วมยา. |
วัสดุ | ของใช้ที่มีอายุการใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น กระดาษ ดินสอ (ใช้แก่การงบประมาณ). |
สมบัติ ๑ | น. ความถึงพร้อม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้นที่มีอยู่ เช่น ถึงมีสมบัติมากมายก็ไม่พ้นความตายไป ทำงานมาเกือบ ๒๐ ปี มีสมบัติอย่างเดียวคือบ้าน. |
ส่วนตัว | ว. เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เรื่องส่วนตัว ของใช้ส่วนตัว. |
ส่วนรวม | น. หมู่คณะ เช่น เห็นแก่ส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม, ส่วนที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำส่วนรวม ของใช้ส่วนรวม. |
ส่วนองค์ | ว. ส่วนตัว (ใช้แก่หม่อมเจ้า) เช่น ของใช้ส่วนองค์. |
เสวียน | (สะเหฺวียน) น. ของใช้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยหญ้า หวาย หรือฟาง เป็นต้น ถักหรือมัดเป็นวงกลม มักมีหู ๒ ข้างสำหรับหิ้ว ใช้รองก้นหม้อที่หุงต้มด้วยเตาฟืนหรือเตาถ่าน, ของใช้ชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นแผ่นกลม สำหรับรองหรือรับสิ่งต่าง ๆ มีพ้อมข้าวเป็นต้น. |
หนัง ๑ | น. ส่วนของร่างกายที่หุ้มเนื้ออยู่, หนังสัตว์ที่เอามาทำเป็นของใช้หรือเป็นอาหาร |
หวี | น. ของใช้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นซี่ ๆ เรียงต่อกันเป็นปื้น ใช้สางผมหรือเส้นด้ายเป็นต้น |
อุปกรณ์ | สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น เช่น ยางอะไหล่. |