ขลัง | (ขฺลัง) ว. มีกำลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์. |
ขลัง | (ขฺลัง) น. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในนั้นปูอิฐวางขลัง (สิบสองเดือน). |
ของขลัง | น. สิ่งที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์, ของ ก็ว่า. |
กระบองเพชร ๑ | น. ใบตาลที่ขมวดปลายคล้ายรูปหัวนก ลงอักขระตามยาวของใบ เป็นเครื่องรางของขลังสำหรับใช้ในพิธีตรุษและโกนจุก, ตะบองเพชร ก็เรียก. |
กรัณฑ-, กรัณฑ์ | (กะรันทะ-, กะรัน) น. ภาชนะมีฝาปิด เช่น รัตนกรัณฑ์ (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน (ยวนพ่าย), กรัณฑขลังขังนํ้าทิพมุรธา ภิเษกท่าน (ราชาภิเษก ร. ๗). <i> (ดู กรณฑ์ ๑)</i>. |
เกจิอาจารย์ | น. “อาจารย์บางพวก”, อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. |
ของ | สิ่งที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์, ของขลัง ก็ว่า. |
ของดี | น. ของขลัง, โดยปริยายหมายถึงของสำคัญที่ไม่อยากเปิดเผยให้ใครรู้. |
ขิก | น. เรียกรูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง ว่า ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก. |
เข้าตัว | ก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคำที่ปรารถนาจะกระทำหรือพูดให้ร้ายแก่ผู้อื่นแล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว. |
ควายธนู | น. ของขลังชนิดหนึ่ง ทำเป็นรูปตัวควายหรือเขาควาย ใช้เวทมนตร์ทางไสยศาสตร์เสกเป่าไปทำร้ายผู้อื่นหรือกันไม่ให้ผู้อื่นมาทำร้าย. |
ฉมวย | (ฉะหฺมวย) ว. แม่น, ขลัง. |
ฉมัง | (ฉะหฺมัง) ว. แม่น เช่น มือฉมัง, ขลัง เช่น เป่ามนตร์ฉมัง. |
ฉมำ | (ฉะหฺมำ) ว. แม่น, ไม่ผิด, ขลัง. |
ชรแรง | (ชะระ-) ว. แรง ๆ, ขลัง, เช่น เยียชรแรง (แช่งนํ้า). |
ชำงัด | ว. ชะงัด, แม่นยำ, ขลัง, แน่, ได้จริง. |
เช่า | ซื้อพระพุทธรูป วัตถุมงคล หรือสิ่งที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เช่าพระพุทธรูป, บูชา ก็ใช้. |
ตะบองเพชร ๑ | น. ใบตาลที่ขมวดปลายคล้ายรูปหัวนก ลงอักขระตามยาวของใบ เป็นเครื่องรางของขลังสำหรับใช้ในพิธีตรุษและโกนจุก, กระบองเพชร ก็เรียก. |
บริกรรม | (บอริกำ) ก. สำรวมใจสวดมนต์ภาวนา, สำรวมใจร่ายมนตร์หรือเสกคาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. |
บูชา | ซื้อพระพุทธรูป วัตถุมงคล หรือสิ่งที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระพุทธรูปองค์นี้บูชามาเท่าไร, เช่า ก็ใช้. |
ปลุก | (ปฺลุก) ก. ทำให้ตื่นจากหลับ, ทำให้ได้สติรู้สึกตัว, กระตุ้นให้เกิดแรงกำลัง ความขลัง และความกล้าแข็ง เป็นต้น. |
ปลุกพระ | ก. บริกรรมคาถาเสกพระเครื่องเพื่อให้เกิดความขลัง. |
ปลุกเสก | ก. เสกให้ขลัง. |
พิธี | น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธีมงคลสมรส พิธีประสาทปริญญา |
มงคล, มงคล- | เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล |
มหาอุด | น. เครื่องรางของขลังที่ช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของอยู่ยงคงกระพัน |
มหาอุด | โบสถ์หรือวิหารที่มีผนังทึบตันรอบด้านมีช่องทางเข้าออกเฉพาะประตูด้านหน้าแห่งเดียว เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีที่เชื่อว่าจะทำให้ขลังยิ่งขึ้น. |
มายาการ | น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้พลังหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ. |
ยันต์ | น. ตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระหรือรูปภาพที่เขียน สัก หรือแกะสลักลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น ถือว่าเป็นของขลัง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์, เรียกเสื้อหรือผ้าเป็นต้นที่มีลวดลายเช่นนั้น ว่า เสื้อยันต์ ผ้ายันต์, เรียกกิริยาที่ทำเช่นนั้น ว่า ลงเลข ลงยันต์. |
รักยม | น. ของขลังอย่างหนึ่ง เป็นรูปตุ๊กตาเด็กเล็ก ๒ ตัว ทำด้วยไม้รักดอกและไม้มะยม เชื่อว่าทำให้เกิดเมตตามหานิยม. |
ลงเลขลงยันต์ | ก. เขียน สัก หรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง. |
ลองของ | ก. ทดลองดูว่าเครื่องรางของขลังนั้นจะขลังจริงหรือไม่, โดยปริยายหมายความว่า ลองดี. |
ลูกกรอก | น. ลูกคนหรือลูกสัตว์มีแมวเป็นต้นที่ตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือในท้อง มีร่างกายครบบริบูรณ์ แต่ขนาดเล็ก เชื่อกันว่าจะให้คุณแก่เจ้าของหรือบางทีก็ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง. |
วัตถุมงคล | น. เครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ เช่น ตะกรุด ผ้าประเจียด. |
ศักดิ์สิทธิ์ | ว. ที่เชื่อถือว่ามีอำนาจอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์, ขลัง, เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์. |
สิทธิชัย | น. ผู้มีความรู้ขลังในเวทมนตร์ |
เสก | ก. ร่ายมนตร์เพื่อทำให้ขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เสกน้ำล้างหน้า เสกแป้งผัดหน้า, ร่ายมนตร์เพื่อทำให้สิ่งหนึ่งกลายเป็นอีกสิ่งหนึ่ง เช่น เสกหญ้าให้เป็นหุ่นพยนต์ เสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อตัวแตน, ร่ายมนตร์เพื่อให้เกิดพลังส่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปทำร้ายศัตรู เช่น เสกหนังเข้าท้อง. |
เสื่อม | ก. น้อยลง, หย่อนลง, เช่น เครื่องจักรเมื่อใช้ไปนาน ๆ คุณภาพก็ค่อย ๆ เสื่อมไป, เสีย เช่น เสื่อมเกียรติ, ค่อย ๆ ลดลง เช่น ความจำเสื่อม, ต่ำกว่าระดับเดิม เช่น เมื่อความเจริญทางวัตถุมีมากขึ้น คุณธรรมของคนก็เสื่อมลง, ถอยความขลัง เช่น มนตร์เสื่อม. |
หัวใจ | อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกำหนดจำได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจอริยสัจ ว่า “ทุ. ส. นิ. ม.” หัวใจนักปราชญ์ ว่า “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” หัวใจเศรษฐี ว่า “อุ. อา. ก. ส.”. |