ก้อย ๑ | น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง ๕ เรียกว่า นิ้วก้อย |
ก้อย ๑ | ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือเหรียญกระษาปณ์ ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว |
ก้อย ๑ | โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักตํ่าสูง ในความว่า ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ. |
ก้อย ๒ | น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง |
ก้อย ๒ | ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า. |
กิ่งก้อย | ว. เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว. |
กิ่งก้อย | น. นิ้วเล็ก เช่น จะชนะไม่เท่ากิ่งก้อย (สังข์ทอง). |
เกี่ยวก้อย | ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่. |
โยนหัวโยนก้อย | ก. โยนสตางค์หรือสิ่งอื่นขึ้นไปแล้วทายว่าตกลงมาจะหงายด้านหัวหรือก้อย. |
ลูกไก่อยู่ในกำมือ | น. ผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจ ไม่มีทางหนีหรือทางต่อสู้. |
หงอยก๋อย | ว. ซบเซา, จับเจ่า, เซื่องซึม, ง่วงเหงา. |
อีก๋อย | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Scolopacidae ปากยาวโค้งปลายแหลม ตัวสีนํ้าตาลเทาลายดำ ขาค่อนข้างยาว อยู่เป็นฝูงตามชายเลน ชายหาด หรือ ชายน้ำ กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น อีก๋อยจิ๋ว ( Numenius minutus Gould) อีก๋อยใหญ่ [ N. arquata (Linn.) ] อีก๋อยเล็ก [ N. phaeopus (Linn.) ]. |
กนิษฐา | นิ้วก้อย |
กวางเดินดง | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยนิ้วชี้กับนิ้วกลางตั้งขึ้น หักข้อมือขึ้น ส่วนนิ้วหัวแม่มือกดทับปลายนิ้วนางกับนิ้วก้อย |
แก้เกี้ยว | ก. แก้อย่างย้อนรอยให้หายกัน เช่น พูดแก้เกี้ยว ฟ้องแก้เกี้ยว. |
ขาดกัน | ก. แยกจากกัน ไม่คบค้าสมาคมกันต่อไป เช่น แม้นมิยกพลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย (อิเหนา). |
เขยตาย | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลมขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทำยา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก ส้มชื่น. |
เข้า ๑ | ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัด เช่น เร็วเข้า คิดเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายมากขึ้น เช่น หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงสภาพหรือความรู้สึกที่เกิดมีขึ้น เช่น พอสวยเข้าก็มีหนุ่ม ๆ มารุมจีบ พอเหนื่อยเข้าก็อยากจะเลิกทำ, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายว่าหนุนให้ทำ (มักใช้ในความประชดประชัน) เช่น เอาเข้าไป ว่าแล้วยังไม่ยอมหยุด. |
คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า | คนที่แต่งงานแล้วอยากจะกลับไปเป็นโสด แต่คนที่ยังไม่ได้แต่งงานก็อยากมีชีวิตคู่ |
คราด ๒ | (คฺราด) น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราดหัวแหวน เช่น ชนิด Acmella oleracea (L.) R. K. Jansen ดอกสีเหลืองทรงกรวยแหลม ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย, พายัพเรียก ผักเผ็ด. |
คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก | น. ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจ ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้. |
คืบ ๑ | น. ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วก้อยเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙ นิ้ว (มาตราชั่ง ตวง วัด), ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วกลางเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙-๑๐ นิ้ว (ปรัดเล, แมคฟาแลนด์) |
จับเจ่า | ว. หงอยเหงา, หงอยก๋อย. |
จัมบก, จัมปกะ | (จำบก) น. ต้นจำปา เช่น จัมบกตระการกรร- ณิกาแก้วก็อยู่แกม (สมุทรโฆษ). |
ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี | (ชนมา-) น. อายุ, กำหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
เชอ | ก. เป็นคำใช้เข้าคู่กับคำ บำเรอ เช่น อันว่าอมิตดาก็อยู่บำเรอเชอภักดิ์ (ม. คำหลวง ชูชก), จำนำบำเรอเชอถนอม (สรรพสิทธิ์). |
ซบเซา | ว. หงอยก๋อย, เงียบเหงา, ไม่เบิกบาน |
ต่อปากต่อคำ | ก. พูดสวนตอบไปทันที เช่น เด็กคนนี้ผู้ใหญ่ว่าอะไรก็ต่อปากต่อคำไม่ลดละ, โต้ตอบด้วย เช่น เขาว่าอะไรก็อย่าไปต่อปากต่อคำกับเขา. |
ท้องมือ | น. ส่วนข้างของฝ่ามือด้านนิ้วก้อย ตั้งแต่โคนนิ้วก้อยถึงข้อมือ. |
นิล ๑, นิล- | (นิน, นินละ-) ว. สีอย่างนิล เรียกว่า สีนิล เช่น ตาสีนิล, สีเขียวคราม เช่น สีเขียวดังนิลมณี, สีเทาแก่อย่างสีเมฆ เช่น สีหมอกเมฆนิลกาฬ. |
นิลกาฬ | น. พลอยชนิดหนึ่ง มีสีเทาแก่อย่างสีเมฆ เช่น สีหมอกเมฆนิลกาฬ, ปัจจุบันเรียกว่า นิล. |
นิ้ว | น. ส่วนสุดของมือหรือเท้าแต่ละข้าง แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลำดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ |
บำเรอเชอภักดิ์ | ก. ตั้งใจรับใช้ เช่น อันว่าอมิดดาก็อยู่บำเรอเชอภักดิ์ (ม. คำหลวง ชูชก). |
ปั่นแปะ | น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เดิมใช้อีแปะ ปัจจุบันใช้สตางค์หรือเงินเหรียญปั่นให้หมุน แล้วใช้ฝ่ามือปิดไว้ ให้ทายว่าจะออกหัวหรือก้อย, อีกอย่างหนึ่งใช้อีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญ ๒ อัน อันหนึ่งใส่ไว้ในอุ้งมือ แล้วปั่นอีกอันหนึ่งให้หมุน แล้วเอาฝ่ามือที่มีอีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญตบลงไปบนอันที่กำลังหมุน ให้ทายว่า ออกหัว ก้อย หรือกลาง ถ้าออกหัว ๒ อัน เรียกว่า ออกหัว ถ้าออกก้อย ๒ อัน เรียกว่า ออกก้อย ถ้าออกหัวอันหนึ่งก้อยอันหนึ่ง เรียกว่า ออกกลาง. |
ผูกดวง | ก. นำเครื่องหมายแทนพระเคราะห์มีอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เป็นต้น บรรจุลงในดวงตามช่องจักรราศีทั้ง ๑๒ ที่โคจรมาสถิตตามวัน เดือน ปี และเวลาตกฟากของเจ้าของชะตานั้น ดูว่าอาทิตย์ตกอยู่ในราศีใด แล้วเอาองศาอาทิตย์ของวันเกิดเจ้าของชะตามาคำนวณว่า เมื่อเวลา ๖.๐๐ นาฬิกา อาทิตย์อยู่ในราศีดังกล่าวมาแล้วนานเท่าใด เรียกว่า อดีตอุทัย และเวลาเหลืออีกนานเท่าใดจึงจะพ้นไปจากราศีนั้น เรียกว่า อนาคตอุทัย แล้วเอาเวลาตกฟากตั้งลบด้วย ๖.๐๐ นาฬิกา และอนาคตอุทัย ต่อไปเอาอันโตนาทีของราศีถัด ๆ ไปลบทีละราศี ถ้าเวลาหรือเลขที่เหลือไม่พอให้อันโตนาทีของราศีใดลบได้ ลัคนาก็อยู่ที่ราศีนั้น การผูกดวงนี้เพื่อทำนายโชคชะตาเป็นต้น. |
พิธี | การกำหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น (ม. คำหลวง ทศพร). |
ยืนกราน | ก. ยืนคำอยู่อย่างใดก็อย่างนั้น (ไม่ยอมถอนหรือเปลี่ยนความเห็นเป็นอื่น). |
เร่งเร้า | ก. รบเร้าให้รีบทำ, รบเร้าให้ทำโดยเร็ว, เช่น เขายังไม่พร้อมที่จะแต่งงาน ก็อย่าเพิ่งไปเร่งเร้าเขาเลย เกษตรกรเร่งเร้าให้ทางการช่วยเหลือก่อนที่พืชผลจะเสียหาย. |
วิเศษณการก | (วิเสสะนะ-) น. คำที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละบุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากินช้อนส้อม เขามาบ้าน. |
ไว้เชิง | ก. รักษาทีท่า เช่น ใจจริงก็อยากไป แต่ขอไว้เชิงหน่อย. |
สันมือ | น. ส่วนข้างฝ่ามือด้านนิ้วก้อย เช่น สับด้วยสันมือ. |
หมอก | (หฺมอก) ว. สีเทาแก่อย่างสีเมฆ, เป็นฝ้ามัว เช่น ตาหมอก. |
หัว ๑ | ในการเล่นปั่นแปะหรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของเงินปลีกว่า ด้านหัว คู่กับ ด้านก้อย |
อัญชัน | ว. เรียกสีครามแก่อย่างสีดอกอัญชัน ว่า สีอัญชัน. |