กิ้งก่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Agamidae มีขนาดลำตัวต่าง ๆ กัน สันกลางของคอถึงลำตัวมีหนามแหลมจำนวนและขนาดต่างกัน เพศผู้มีสีเข้มและปรับสีได้ดีแตกต่างจากเพศเมีย ตัวและขามีเกล็ด ขาและนิ้วเล็กเรียว เล็บแหลมคม หางยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนต้นไม้ เช่น กิ้งก่าบ้านหัวนํ้าเงิน ( Calotes mystaceus Dumeril & Bibron) กิ้งก่าเขา [ Acanthosaura armata (Hardwicke & Gray) ], อีสานเรียก ปอม กะปอม กะทั่ง หรือ กะท้าง. |
กระกวด | ว. สูงชัน, กรวด, เขียนเป็น กรกวด ก็มี เช่น อยู่จอมด้วยกรกวด กิ่งก้านรวดรยงงามอยู่น้นน (ม. คำหลวง มัทรี). |
กะทั่ง | น. กิ้งก่า. (ดู กิ้งก่า). |
กะท้าง | น. กิ้งก่า. (ดู กิ้งก่า). |
กะปอม | น. กิ้งก่า. (ดู กิ้งก่า). |
กะปอมขาง | น. กิ้งก่า. (ดู ปอมข่าง). |
แก้ว ๕ | น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลางชนิด Murraya paniculata (L.) Jack ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นตามป่าดิบ กิ่งก้านสีขาว ใบสีเขียวสดเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้แข็งใส เหนียว มีลาย ใช้ทำด้ามมีดและไม้ถือ. |
ข่อยน้ำ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมชนิด Streblus taxoides (K. Heyne) Kurz ในวงศ์ Moraceae ขึ้นตามที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งก้านมักงอหักไปมา ใบเกลี้ยง ไม่สากคาย, ข่อยหยอง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ขี้แรด. |
แคฝรั่ง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Gliricidia sepium (Jacq.) Walp. ในวงศ์ Leguminosae แตกกิ่งก้านระเกะระกะ ออกดอกสีขาวหรือสีม่วงอ่อนตามกิ่ง. |
งิ้ว ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bombax ceiba L. ในวงศ์ Bombacaceae กิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมคม เปลือกสีเทา ขรุขระ ดอกสีแดงสด ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าว. |
ชะคราม | (-คฺราม) น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Suaeda maritima (L.) Dumort. ในวงศ์ Chenopodiaceae ขึ้นตามดินเลนแข็งใกล้ทะเล กิ่งก้านและใบพองกลมปลายแหลมสีเขียว เขียวอมม่วง ชมพู มีนวล กินได้, ชักคราม ก็เรียก. |
ซุง ๑ | น. ต้นสักที่โค่นแล้วตัดกิ่งก้านออกก่อนแปรรูป, ขอนสัก. |
ซุง ๒ | น. ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่โค่นแล้วตัดกิ่งก้านออกก่อนแปรรูป เช่น อย่าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง. |
ไดโนเสาร์ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานยุคดึกดำบรรพ์หลายชนิด รูปร่างคล้ายกิ้งก่า ส่วนใหญ่ที่พบโครงกระดูกที่เป็นซากดึกดำบรรพ์มีขนาดใหญ่มาก บางชนิดกินพืช เช่น ชนิด Phuwiangosaurus sirindhornae Martin, Buffetaut & Suteethorn ในวงศ์ Nemegtosauridae, ชนิด Psittacosaurus satayaraki Buffetaut & Suteethorn ในวงศ์ Psittacosidae บางชนิดกินเนื้อสัตว์ เช่น ชนิด Siamotyrannus isanensisSuteethorn & Tong ในวงศ์ Tyrannosauridae, ชนิด Siamosaurus suteethorniBuffetaut & Ingavat ในวงศ์ Spinosauridae, (สำ) ผู้ที่มีความคิดล้าสมัย, มักใช้ว่า ไดโนเสาร์เต่าล้านปี. |
ตีนตุ๊กแก | น. ชื่อไม้เถาชนิด Ficus pumilaL. ในวงศ์ Moraceae ใบเขียว กิ่งก้านแตกรากเกาะเลื้อย ใช้ปลูกประดับผนัง, ลิ้นเสือ ก็เรียก. |
แตก | ผลิ เช่น แตกกิ่งก้าน แตกใบอ่อน แตกหน่อ |
นุ่น | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ในวงศ์ Bombacaceae ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว มีหนามสั้น ๆ ที่โคนต้น กิ่งออกตั้งฉากกับต้น ทิ้งใบในฤดูแล้ง ดอกสีขาวนวล ผลรูปทรงกระสวย ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าวและงิ้ว. |
แนม | ก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ (อิเหนา) |
ประคำไก่ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Drypetes roxburghii (Wall.) ในวงศ์ Euphorbiaceae ลำต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล ใบหนาเป็นมัน ผลกลมรีสีขาวอมเทา ใช้ทำยาได้, มะคำไก่ ก็เรียก. |
ประทัด ๒ | ชื่อไม้พุ่มชนิด Russelia equisetiformis Schltdl. et Cham. ในวงศ์ Scrophulariaceae ลำต้นเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นฝอยคล้ายใบสน ดอกมีหลายสี กลีบดอกเป็นหลอดแคบ ๆ, ประทัดเล็ก หรือ ประทัดฝรั่ง ก็เรียก. |
ปล้องฉนวน | น. ชื่องูขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ลำตัวเล็กเรียว ยาว ๔๐-๑๑๐ เซนติเมตร มักมีลายเป็นปล้องสีนํ้าตาลหรือดำสลับขาว หากินตามพื้นดินในเวลากลางคืน กินสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น จิ้งจก กิ้งก่า เป็นงูไม่มีพิษ มีหลายชนิด เช่น ปล้องฉนวนหลังเหลือง [ Lycodon laoensis (Günther) ] ปล้องฉนวนบ้าน ( L. subcinctus Boie) ปล้องฉนวนอินเดีย [ Dryocalamus davisonii (Blandford) ]. |
ปอม | น. กิ้งก่า. (ดู กิ้งก่า). |
ปอมขาง, ปอมข่าง | น. ชื่อกิ้งก่าขนาดใหญ่ชนิด Calotes mystaceus Dumeril & Bibron ในวงศ์ Agamidae หัวสีนํ้าเงิน แต่บางครั้งเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลได้, กะปอมขาง ก็เรียก. |
ปากจิ้งจก ๒ | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Ahaetulla prasina (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร หัวและลำตัวเรียวยาว มีหลายสี ส่วนมากสีเขียวปลายหางสีนํ้าตาลแดง มักพบอาศัยบนต้นไม้ หากินเวลากลางวัน ส่วนใหญ่กินกิ้งก่า พบทั่วประเทศไทย มีพิษอ่อนมาก, บางครั้งเรียกชื่อตามสี เช่น ตัวสีส้มเรียก งูง่วงกลางดง ตัวสีเทาเรียก งูกล่อมนางนอน, เขียวหัวจิ้งจก เชือกกล้วย รากกล้วย หรือ แห้ว ก็เรียก. |
เปล้า ๒ | (เปฺล้า) น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียว แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกันที่หน้าอกและช่วงไหล่ ซึ่งอาจมีสีม่วง นํ้าตาล เขียว ชมพู หรือเหลือง ทำรังเป็นรูปถ้วยง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ตามกิ่งก้านของต้นไม้ หากินเป็นฝูง กินผลไม้ เช่น เปล้าขาเหลือง [ Treron phoenicoptera (Latham) ] เปล้าคอสีม่วง [ T. vernans (Linn.) ], เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า. |
พริก ๓ | (พฺริก) น. ชื่องูพิษขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในสกุล Maticora วงศ์ Elapidae ลำตัวเรียวยาว ตากลมเล็กสีดำ มีเส้นสีขาวพาดตามความยาวลำตัว มักพบซ่อนตัวอยู่ใต้ก้อนหินหรือขอนไม้ กินงู กิ้งก่า กบ เขียด ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิด คือ พริกท้องแดง [ M. bivirgata (Boie) ] ตัวสีน้ำเงินเข้ม หัว ท้อง และหางสีแดงสด ยาวประมาณ ๑.๔ เมตร และพริกสีนํ้าตาล [ M. intestinalis (Laurenti) ] ตัวสีน้ำตาล หัวสีน้ำตาลส้ม ท้องมีลายเป็นปล้องสีดำสลับขาว ใต้หางมีสีแดงเรื่อ ๆ ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ทั้ง ๒ ชนิดพบทางภาคใต้ของประเทศไทย. |
พังกา ๒ | น. ชื่องูพิษขนาดเล็กชนิด Trimeresurus purpureomaculatus (Gray) ในวงศ์ Viperidae ยาวประมาณ ๑ เมตร ตัวสีเขียวอมเหลือง มีรอยแต้มสีม่วงเข้มตลอดทั้งตัว อาศัยตามป่าโกงกาง มักพบอยู่ตามต้นไม้เตี้ย ๆ กินกบ เขียด กิ่งก่า พบทางภาคใต้ของประเทศไทย มีพิษรุนแรง. |
พุ่ม | น. ลักษณะกิ่งก้านของต้นไม้ที่รวมกัน มีทรงเกือบกลมยอดนูนคล้ายกระพุ่มมือ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ต้นมะขามแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม พุ่มต้นเข็ม, ชื่อดอกไม้ไฟอย่างหนึ่ง ใช้ดอกไม้เทียนเสียบซี่ไม้เป็นชั้น ๆ กลางพองเป็นรูปพุ่ม. |
มะแข่น | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งก้านเป็นหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕-๘ คู่ ผลเล็ก มีกลิ่นฉุนจัด ใช้ผลแห้งเป็นเครื่องเทศหรือตำผสมเป็นเครื่องแกง, กำจัด พริกหอม มะข่วง ลูกระมาศ หมากข่วง หรือ หมากมาศ ก็เรียก. |
แย้ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Uromastycidae ลำตัวแบนราบคล้ายกิ้งก่า ยาวประมาณ ๑๖ เซนติเมตร ข้างตัวมีสีสวย ไม่มีหนามสันหลัง อาศัยขุดรูอยู่ในดิน หากินตามพื้นดิน กินพืชและตัวอ่อนแมลง ไม่ขึ้นต้นไม้ ในประเทศไทยที่พบแล้วมี ๔ ชนิด คือ ชนิด Leiolepis belliana (Hardwick & Gray), L. reevesii (Gray), L. triploida Peters และ L. boehmei Darevski & Kupriyanova. |
ราชา ๒ | ว. ตรง เช่น แผ่กิ่งก้านราชา. |
ลำ ๑ | น. ตัวของคน สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ไม่นับส่วนที่เป็นแขนขาหรือกิ่งก้าน เช่น ลำตัว ลำต้น, เรียกสิ่งที่ยาวกลมหรือมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลำแขน ลำคอ ลำอ้อย ลำนํ้า, ลักษณนามเรียกสิ่งเช่นนั้นหรือเรือ เช่น ไม้ไผ่ลำหนึ่ง อ้อย ๒ ลำ เรือ ๓ ลำ |
สรฏะ | (สะระ-) น. กิ้งก่า. |
สาขา | น. กิ่งไม้, กิ่งก้าน, เช่น ต้นจามจุรีมีสาขามาก |
สางห่า | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Takydromus sexlineatus (Daudin) ในวงศ์ Lacertidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกิ้งก่า ตัวเล็กลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ไม่มีลาย ความยาวตั้งแต่หัวจดปลายหางประมาณ ๕๐ เซนติเมตร หางยาวมากประมาณ ๕ เท่าของความยาวลำตัว กินแมลง พบทุกภาคของประเทศไทย ที่เรียกสางห่าเพราะเข้าใจผิดว่ามีพิษร้ายแรงแต่ความจริงเป็นสัตว์ไม่มีพิษ, จิ้งเหลนหางยาว หรือ งูคา ก็เรียก. |
สายม่าน | น. ชื่องูขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ส่วนมากลำตัวสีนํ้าตาล เกล็ดสันหลังมักวาวคล้ายสีทองเหลือง ว่องไวปราดเปรียว ออกหากินเวลากลางวันตามป่าหญ้าและบนต้นไม้ กินกบ เขียด กิ้งก่า พบทุกภาคของประเทศไทย ไม่มีพิษ เช่น สายม่านลิ้นแดง [ Dendrelaphis pictus (Gmelin) ] สายม่านหลังทอง [ D. formosus (Boie) ]. |
เสือไฟ | น. ชื่อเสือชนิด Felis temmincki Vigors & Horsfield ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่กว่าเสือปลา รูปร่างเพรียว ขนสีนํ้าตาลแกมแดงตลอดตัว หรือที่หายากมีสีดำ หางยาวไล่เลี่ยกับลำตัว เวลาเดินจะยกหางขนานกับพื้น อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระต่าย กิ้งก่า. |
แสงอาทิตย์ | น. ชื่องูขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Xenopeltis unicolor Boie ในวงศ์ Xenopeltidae ยาว ๘๐-๑๒๕ เซนติเมตร หัวแบน ตาเล็ก ลำตัวสีนํ้าตาลม่วงเป็นมันวาวเมื่อถูกแสง ท้องขาว พบอาศัยอยู่ใต้ผิวดินหรือใต้กองหญ้า กองฟางที่มีความชื้น ออกหากินเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู กิ้งก่า งู ไม่มีพิษ, เหลือมดิน ก็เรียก. |
เหยี่ยว | น. ชื่อนกหลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae และ Falconidae ปากเป็นปากขอและคม ปีกแข็งแรง ขาและนิ้วแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม บินร่อนได้นาน ๆ วงศ์แรกเป็นนกขนาดใหญ่ ปลายปีกมน ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก บนกิ่งก้านของต้นไม้สูง ส่วนใหญ่ล่าสัตว์ บางชนิดกินซากสัตว์ เช่น เหยี่ยวขาวหรือเหยี่ยวปักหลัก [ Elanus caeruleus (Desfontaines) ] เหยี่ยวแดง [ HaliasturIndus (Boddaert) ] เหยี่ยวดำ [ Milvus migrans (Boddaert) ] เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ [ Aviceda leuphotes (Dumont) ] วงศ์หลังเป็นนกขนาดเล็ก ปลายปีกแหลม บางชนิดทำรังตามโพรงไม้ บางชนิดทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก บนกิ่งไม้ค่อนข้างสูง ล่าแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เหยี่ยวเล็กตะโพกขาว (Polihierax Insignis Walden) เหยี่ยวแมลงปอขาแดง [ Microhierax caerulescens (Linn.) ] เหยี่ยวตีนแดง (Falco amurensis Radde). |