กินตา | ก. ลวงตาให้เห็นขนาดผิดไป. |
กินตามน้ำ | ก. รับของสมนาคุณที่เขาเอามาให้โดยไม่ได้เรียกร้อง (มักใช้แก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ). |
เกินหน้า, เกินหน้าเกินตา | ว. เกินกว่า เด่นกว่า หรือดีกว่าฐานะของตนเองหรือของคนอื่น. |
หวานลิ้นกินตาย | ก. หลงเชื่อคำพูดเพราะ ๆ หรือคำสรรเสริญเยินยอ จะได้รับความลำบากในภายหลัง. |
หากินตามชายเฟือย | ก. หาเลี้ยงชีพอย่างไม่เป็นล่ำเป็นสันได้ไหนเอานั่นไปเรื่อย ๆ. |
กระจ้อน ๑ | น. ชื่อกระรอกชนิด Menetes berdmorei (Blyth) ในวงศ์ Sciuridae ขนสีนํ้าตาล มีลายสีดำและนํ้าตาลอ่อนตามยาวข้าง ๆ ตัว หางเป็นพวง มักวิ่งหากินตามพื้นดิน, จ้อน ก็เรียก. |
กระเรียน | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Grus antigone (Linn.) ในวงศ์ Gruidae ขนลำตัวสีเทา หนังหัวและต้นคอสีแดง คอยาว ขายาว ปีกกว้าง หางกว้างและสั้น เวลาบินคอเหยียดตรง หากินตามที่ราบลุ่ม กินพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก, กาเรียน ก็เรียก. |
กะปูด | น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Cuculidae ปากแหลมสั้นหนา ตาสีแดง ลำตัวเพรียว หัว คอ และลำตัวมีขนสีดำ ปีกสั้นสีน้ำตาลแดง หากินตามพื้นป่าโปร่ง บินได้ในระยะสั้น ๆ ร้องเสียง “ปูด ๆ ” มี ๓ ชนิด คือ กะปูดใหญ่ [ Centropus sinensis (Stephens) ] กะปูดเล็ก [ C. bengalensis (Gmelin) ] และกะปูดนิ้วสั้น ( C. rectunguisStrickland), ปูด หรือ กระปูด ก็เรียก, พายัพเรียก ก้นปูด. |
กินเปี้ยว | น. ชื่อนกกระเต็นชนิด Halcyon chloris (Boddaert) ในวงศ์ Alcedinidae ปากแบนข้างสีดำปลายแหลม ขากรรไกรบนสีดำ ขากรรไกรล่างสีเทาอมชมพู ลำตัวด้านบนสีน้ำเงินแกมเขียว คอและท้องสีขาว หากินตามป่าชายเลน แต่อาจพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป กินปูเปี้ยว ปลา และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด. |
ไก่ | น. ชื่อสัตว์ปีกจำพวกนก มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักออกเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว ตัวเมียหงอนเล็กไม่มีเดือย เช่น ไก่ป่า ไก่ต๊อก ไก่ฟ้า |
ขอช้าง ๒ | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง ปากยาวรูปร่างคล้ายขอช้าง ตัวขนาดนกยูงแต่คอสั้นกว่า สีน้ำตาลไหม้ หากินตามที่โล่งเตียน เช่น ตามชายทุ่งนา. |
คุ่ม ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อมปีกเล็กสั้นแข็งแรง ขาสั้นไม่มีขนคลุม หางสั้น หากินตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ ได้แก่ วงศ์ Turnicidae ตีนมี ๓ นิ้ว จับเกาะกิ่งไม้ไม่ได้ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มอืดเล็ก[ Turnix sylvatica (Desfontaines) ] คุ่มอืดใหญ่ ( T. tanki Blyth) และคุ่มอกลายหรือคุ่มอืดอกลาย [ T. suscitator (Gmelin) ] และวงศ์ Phasianidae ตีนมี ๔ นิ้ว จับเกาะกิ่งไม้ได้ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มสี [ Coturnix chinensis (Linn.) ] คุ่มอกดำ [ C. coromandelica (Gmelin) ] และคุ่มญี่ปุ่น ( C. japonicaTemminck & Schlegel) . |
จาบดิน | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Timaliidae ปากเรียวแหลม ด้านบนลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลเรียบ คอหอยและด้านล่างลำตัวอาจมีลายจุด หากินตามไม้พื้นล่างของป่าหรือตามพื้นดิน กินแมลง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จาบดินสีน้ำตาลคอลาย [ Pellorneum albiventre (Godwin-Austen) ] จาบดินอกลาย (P. ruficepsSwainson) และจาบดินหัวดำ [ P. capistratum (Temminck) ]. |
จิ้งเหลน | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scincidae หัวค่อนข้างโต ลำตัวยาว เกล็ดเรียบเป็นมันซ้อนกันตั้งแต่คอตลอดลำตัวไปจนถึงขาและหาง หางยาว พวกที่มี ๔ ขา เช่น จิ้งเหลนบ้าน [ Mabuya multifasciata (Kuhl) ] จิ้งเหลนลาย [ Lipinia vittigera (Boulenger) ] พวกที่ไม่มีขา เรียก จิ้งเหลนด้วง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนบก หากินตามพื้นดินที่มีกิ่งไม้และใบไม้ปกคลุม กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน ชนิดที่อยู่ใต้ผิวดินมีขาเล็กมาก เช่น จิ้งเหลนเรียวขาเล็กหรือเมียงู [ Lygosoma quadrupes (Linn.) ], พายัพเรียก จั๊กเล้อ. |
ชาปีไหน | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Caloenas nicobarica Linn. ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียวเหลือบเทา มีสร้อยคอสีเขียวเห็นได้ชัด ขนหางสีขาว มักเกาะตามกิ่งไม้หนาทึบ หากินตามพื้นดิน กินเมล็ดพืช พบตามหมู่เกาะทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่มีชุกชุมทางด้านทะเลอันดามัน, กะดง ก็เรียก. |
ชายเฟือย ๑ | ที่ที่สะดวก, ที่ที่ง่าย, เช่น หากินตามชายเฟือย. |
ซาก ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Erythrophleum succirubrum Gagnep. และชนิด E. teysmannii (Kurz) Craib ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ เนื้อแข็งและหนัก ใช้เผาถ่านได้ดี ทุกส่วนมีพิษ กินตาย ชนิดแรกใบเกลี้ยง ชนิดหลังใบมีขน, อีสานเรียก ซาด หรือ พันซาด. |
ดุเหว่า | (-เหฺว่า) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Eudynamis scolopacea (Linn.) ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็กกว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายจุดสีขาวพาดตลอดลำตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลำพัง กินแมลงและผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก. |
ตะกวด | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานชนิด Varanus bengalensis (Gray) ที่พบในประเทศไทยคือ ชนิดย่อย V. b. nebulosus (Gray) ในวงศ์ Varanidae จมูกอยู่ใกล้ตา ปากและคอค่อนข้างยาว ลิ้นแยกเป็น ๒ แฉกยาว ลำตัวกลมยาว สีนํ้าตาลเหลือง หางยาว ซ่อนตัวตามโพรงไม้ในป่า มักหากินตามพื้นดิน ไม่ค่อยลงน้ำ ปีนต้นไม้ได้ดี กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ ซากสัตว์ และพืช, แลน หรือ จะกวด ก็เรียก. |
ตะลาน ๑ | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Ptyas korros (Schlegel) ในวงศ์ Colubridae ตาโต ลำตัวสีน้ำตาลปลอด มีลายเล็กน้อยเห็นไม่ชัด นิสัยว่องไวปราดเปรียว ออกหากินตามพื้นดินในเวลากลางวัน ไม่มีพิษ, สิงตาโต หรือ ตาลาน ก็เรียก. |
นางนวล | น. ชื่อนกขนาดกลาง วงศ์ย่อย Larinae ในวงศ์ Laridae มี ๒ กลุ่ม คือ นางนวลใหญ่ มีปลายปากเป็นปากขอเล็กน้อย ตัวใหญ่ แข็งแรง ส่วนใหญ่สีขาวเทา ปีกกว้าง ปลายหางมน กินปลาและสัตว์น้ำโดยโฉบกินตามผิวนํ้าหรือรวมฝูงกันจับขณะว่ายนํ้า ในประเทศไทยพบประมาณ ๒๐ ชนิด เช่น นางนวลธรรมดา (Larus brunnicephalus Jerdon) นางนวลขอบปีกขาว (L. ridibundusLinn.), และนางนวลแกลบ ตัวเล็กกว่านางนวลใหญ่ ปลายปากแหลม ปลายหางเว้าตื้น เว้าลึก หรือเป็นแฉก กินปลาและสัตว์นํ้าขนาดเล็กโดยดำลงไปจับเหยื่อหรือโฉบกินตามผิวนํ้า มักไม่ว่ายนํ้าเหมือนนางนวลใหญ่ มีหลายชนิด เช่น นางนวลแกลบเล็ก [ Sterna albifrons (Pallas) ] นางนวลแกลบเคราขาว [ Chlidonias hybrida (Pallas) ] นางนวลแกลบปากหนา [ Gelochelidon nilotica (Gmelin) ]. |
ปล้องฉนวน | น. ชื่องูขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ลำตัวเล็กเรียว ยาว ๔๐-๑๑๐ เซนติเมตร มักมีลายเป็นปล้องสีนํ้าตาลหรือดำสลับขาว หากินตามพื้นดินในเวลากลางคืน กินสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น จิ้งจก กิ้งก่า เป็นงูไม่มีพิษ มีหลายชนิด เช่น ปล้องฉนวนหลังเหลือง [ Lycodon laoensis (Günther) ] ปล้องฉนวนบ้าน ( L. subcinctus Boie) ปล้องฉนวนอินเดีย [ Dryocalamus davisonii (Blandford) ]. |
ปล้องทอง | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Boiga dendrophila (Boie) ในวงศ์ Colubridae ตัวโต ยาวประมาณ ๑.๗ เมตร สีดำตลอดตัวมีลายสีเหลืองพาดขวางเป็นปล้อง ๆ อาศัยตามป่าโกงกางทางภาคใต้ของประเทศไทย หากินตามพื้นดินและบนต้นไม้ กินนก หนู ตุ๊กแก มีพิษอ่อน. |
ปากเป็ด ๒ | น. ชื่องูหลามชนิด Python curtus Schlegel ในวงศ์ Pythonidae ตัวอ้วนสั้นสีแดงหรือส้ม มีลายดำ เหลือง และเทา อาศัยตามโพรงไม้โพรงดินริมน้ำหรือฝังตัวในโคลนใต้วัชพืชริมฝั่งน้ำ ตามปรกติไม่ขึ้นต้นไม้ หากินตามพื้นดิน โดยการเฝ้ารอเหยื่อ กินหนู นกน้ำ พบทางภาคใต้ของประเทศไทยและมาเลเซีย ไม่มีพิษ. |
ปี่แก้ว | น. ชื่องูขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในสกุล Oligodon วงศ์ Colubridae หัวหลิมเล็ก คอโต หางสั้น แต่ละชนิดมีสีสันและลวดลายต่างกัน อาศัยอยู่ตามซอกหินซอกดิน หากินตามพื้นดิน กินไข่นก ไข่สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หนู สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ไม่ขึ้นต้นไม้ ทำเสียงขู่ได้ มีหลายชนิด เช่น ปี่แก้วใหญ่ [ O. joynsoni (Smith) ] ปี่แก้วลายกระหรืองอดด่าง [ O. cinereus (Günther) ] ไม่มีพิษ. |
เป็ดผี ๒ | น. ชื่อนกน้ำขนาดเล็ก ในวงศ์ Podicipedidae ปากแหลม มีพังผืดนิ้วแบบตีนกลีบ บินได้ในระยะสั้น ๆ หากินตามบึงหรือบริเวณที่มีพืชนํ้าจำนวนมาก ดำนํ้าเก่ง ทำรังบนสนุ่น ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ เป็ดผีเล็ก [ Tachybaptus ruficollis (Pallas) ] และเป็ดผีใหญ่หรือเป็ดผีหงอน [ Podiceps cristatusI (Linn.) ]. |
พญาลอ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Lophura diardi (Bonaparte) ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเทา ตะโพกสีแดงสด ขนหางยาวสีดำเหลือบเขียว ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายขวางสีดำ ทำรังเป็นแอ่งตามพุ่มไม้หรือโพรงไม้ติดดิน คุ้ยเขี่ยหากินตามพื้นดิน พบตามป่าทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เป็นไก่ฟ้าที่รู้จักกันดีในประเทศไทย มีชื่อสามัญว่า Siamese Fireback หรือ Siamese Fireback Pheasant, ไก่ฟ้าพญาลอ ก็เรียก. |
ยาง ๑ | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Ardeidae ปากยาวแหลมตรง ส่วนใหญ่ตัวสีขาว บางชนิดสีดำ นํ้าตาล หรือเขียว ขายาว นิ้วกลางที่หันไปทางด้านหน้ามีเล็บหยักคล้ายซี่หวี ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ พุ่มไม้ หรือตามซอกหิน หากินตามชายนํ้า โดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งน้ำจืด บางชนิดหากินตามชายทะเล กินปลา แมลง และสัตว์นํ้าขนาดเล็ก เช่น ยางควาย [ Bubulcus ibis (Linn.) ] ยางเขียว [ Butorides striatus (Linn.) ] ยางไฟหัวดำ [ Ixobrychus sinensis (Gmelin) ] ยางเปีย [ Egretta garzetta (Linn.) ], กระยาง ก็เรียก. |
แย้ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Uromastycidae ลำตัวแบนราบคล้ายกิ้งก่า ยาวประมาณ ๑๖ เซนติเมตร ข้างตัวมีสีสวย ไม่มีหนามสันหลัง อาศัยขุดรูอยู่ในดิน หากินตามพื้นดิน กินพืชและตัวอ่อนแมลง ไม่ขึ้นต้นไม้ ในประเทศไทยที่พบแล้วมี ๔ ชนิด คือ ชนิด Leiolepis belliana (Hardwick & Gray), L. reevesii (Gray), L. triploida Peters และ L. boehmei Darevski & Kupriyanova. |
สายรุ้ง | น. ชื่องูน้ำขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ยาว ๕๐-๑๑๕ เซนติเมตร เช่น สายรุ้งธรรมดา [ Enhydris enhydris (Schneider) ] ด้านข้างลำตัวมีเส้นสีชมพูอมเทาสลับม่วงตามความยาวลำตัวสะท้อนแสงคล้ายสายรุ้ง ลำตัวกลมป้อม แยกจากส่วนหางซึ่งเรียวเล็กกว่าลำตัวเห็นได้ชัด มักหากินตามแหล่งน้ำ กินปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีพิษอ่อน ชนิดอื่น เช่น สายรุ้งลาย [ E. jagorii (Peters) ] สายรุ้งดำ [ E. smithii (Boulenger) ]. |
เสือสิ้นลาย | น. เสือแก่ที่หมดลายดูคล้ายเสือขาวออกหากินตามปรกติไม่ได้, โดยปริยายหมายถึงคนที่เคยมีความเก่งกล้าสามารถมาก่อน ต่อมาเมื่อร่างกายทุพพลภาพหรืออายุมากขึ้น ความเก่งกล้าสามารถก็เสื่อมลง. |
หนูผี | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Soricidae รูปร่างคล้ายหนูในวงศ์ Muridae แต่ตัวเล็กมาก ขาสั้น มีนิ้วตีนข้างละ ๕ นิ้ว หางยาว ขนนุ่มสั้น ใบหูเล็ก จมูกยื่นยาวออกมาเห็นได้ชัด ตาหรี่เล็ก มุดหาแมลงกินตามกองไม้และใบไม้ที่กองทับถมกันนาน ๆ มีหลายชนิด เช่น หนูผีนา [ Crocidura fuliginosa (Blyth) ] หนูผีบ้าน [ C. murina (Linn.) ] หนูผีจิ๋ว [ C. etrusca (Savi) ]. |
หัวโต | ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด วงศ์ย่อย charadriinae ในวงศ์ Charadriidae และวงศ์ย่อย Dromadinae ในวงศ์ Glareolidae หัวใหญ่ แต่ละชนิดมีสีแตกต่างกัน ทำรังเป็นแอ่งตามพื้นทราย วงศ์ย่อยแรก ปากสั้น คอสั้น ปีกกว้าง ปลายปีกมน ขาสั้น ไม่มีนิ้วหลัง หากินตามชายน้ำ กินสัตว์น้ำและแมลง เช่น หัวโตหลังจุดสีทอง [ Pluvialis fulva (Gmelin) ] หัวโตเล็กขาเหลือง (Charadrius dubius Scopoli) หัวโตทรายเล็ก (C. mongolus Pallas) วงศ์ย่อยหลัง คือ หัวโตกินปู (Dromas ordeola Paykull) ปากยาว แบนข้าง ขายาว มีนิ้วหลังโคนนิ้วมีพังผืด หากินตามชายน้ำและบริเวณน้ำตื้น กินสัตว์น้ำโดยเฉพาะปู. |
อีลุ้ม ๑ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Gallicrex cinerea (Gmelin) ในวงศ์ Rallidae ขาค่อนข้างยาว นิ้วยาว ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้สีน้ำตาลอมดำ กะบังหน้าผากสีแดง ตัวเมียสีนํ้าตาล ไม่มีกะบัง นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนคล้ายกันเป็นสีน้ำตาล อาศัยและหากินตามทุ่งนาและแหล่งน้ำทุกภาค ทำรังตามซุ้มกอหญ้า กินพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ. |
อึ่ง | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Microhylidae ขนาดแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดอยู่ระหว่าง ๒-๘ เซนติเมตร รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ ส่วนใหญ่เป็นสีเทาหรือน้ำตาลเข้ม ผิวหนังเรียบ บริเวณฝ่าตีนมีสันแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ใต้ผิวดินหรือใต้ก้อนหินในเวลากลางวันและในฤดูแล้ง ออกหากินตามพื้นดินเมื่ออากาศชื้นโดยเฉพาะช่วงหลังฝนตก กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น อึ่งอ่างหรืออึ่งอ่างบ้าน ( Kaloula pulchra Gray) อึ่งแว่น อึ่งแดง หรืออึ่งลาย [ Calluella guttulata (Blyth) ]. |