กำปั้น | น. มือที่กำเข้าให้แน่นเพื่อจะทุบเป็นต้น. |
กำปั้นทุบดิน | น. ลักษณะการตอบที่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ผู้ถามต้องการรู้ เช่น ฉันถามว่า “ทำไมนาฬิกาไม่เดิน” เขาตอบแบบกำปั้นทุบดินว่า “เพราะมันตายน่ะซิ”. |
กำปั่น ๑ | น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า กำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มี มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอนํ้า เรียกว่า กำปั่นไฟ. |
กำปั่น ๒ | น. หีบทำด้วยเหล็กหนา สำหรับใส่เงินและของต่าง ๆ รูปค่อนข้างเป็นรูปลูกบาศก์ ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลายทำเป็นช่องเล็กเพื่อปิดลงมาสวมขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบสำหรับใส่กุญแจ เดิมทำเป็นหีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว. |
กำปั่น ๓ | น. ชื่อทุเรียนพันธุ์หนึ่ง. |
เรือกำปั่น | น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้ายเรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดงตรงกลางไม่มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ. |
หัวเท่ากำปั้น | น. อายุยังน้อย เช่น เลี้ยงมาตั้งแต่หัวเท่ากำปั้น. |
กะปั่น | น. กำปั่น. |
กุย ๓ | น. หมัด, กำปั้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลูก ว่า ลูกกุย เช่น เตรียมลูกกุยมาทั่วที่ตัวดี (ขุนช้างขุนแผน). |
ตุ้บ, ตุ้บ ๆ | ว. เสียงดังอย่างของหนัก ๆ หล่น หรือเสียงทุบด้วยกำปั้น. |
ทุบ | ก. ใช้ของแข็งเช่นค้อนหรือสิ่งที่มีลักษณะกลม ๆ เป็นต้นตีลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้แตก เช่น ทุบมะพร้าว ทุบอิฐ ทุบหิน หรือเพื่อให้นุ่มให้แหลก เช่น ทุบเนื้อวัว ทุบเนื้อหมู หรือเพื่อให้ตาย เช่น ทุบหัวปลา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอากำปั้นทุบหลัง เอามือทุบโต๊ะ. |
ทุเรียน | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Durio zibethinusMurr. ในวงศ์ Bombacaceae ผลเป็นพู ๆ มีหนามแข็งเต็มทั่วลูก เนื้อมีรสหวานมัน มีหลายพันธุ์ เช่น กบ ก้านยาว กำปั่น ทองย้อย หมอนทอง. |
เท้ง ๓ | น. ชื่อเรือชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายเรือกำปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็นปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสำหรับชักใบ กลางลำมีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลม และมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่เจาะรูสมอ, ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง หัวท้ายทู่อย่างเรือที่ใช้หนุนเรือนแพ. |
นำร่อง | ก. นำเรือกำปั่นหรือเรือใหญ่และกินนํ้าลึก เช่นเรือสินค้า เข้าหรือออกจากท่าเรือตามร่องน้ำในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ, เรียกเจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่เช่นนั้น ว่า พนักงานนำร่อง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า นำร่อง, เรียกเรือเล็กที่ใช้ในการนำร่อง ว่า เรือนำร่อง |
ปุก ๑ | ว. เรียกเท้าที่พิการมีรูปดังกำปั้น ว่า เท้าปุก. |
เรือเท้ง | น. เรือชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายเรือกำปั่น ตอนหัวหนาและงุ้มเป็นปากนก ท้ายเรือปาดลงเป็นรูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสำหรับชักใบ กลางลำมีเก๋ง ท้ายเรือมีบาหลีรูปกลมและมีแคร่รอบบาหลีท้าย หัวเรือไม่เจาะรูสมอ |
เรือนำร่อง | น. เรือเล็กที่ใช้นำเรือกำปั่นหรือเรือใหญ่และกินน้ำลึก เช่นเรือสินค้าเข้าหรือออกจากท่าเรือในระยะซึ่งอาจมีอันตรายแก่การเดินเรือ. |
หมัด ๒ | น. กำปั้น, มือที่กำแน่นสำหรับชกหรือทุบเป็นต้น. |
หมาร่า | น. ชื่อแมลงพวกต่อหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Sphecidae และ Eumenidae ลักษณะแตกต่างจากต่อ ในวงศ์ Vespidae คือปล้องต้น ๆ ของส่วนท้องมีส่วนคอดยาวกว่า ใช้ดินเหนียวทำรังขนาดเท่ากำปั้นหรือเล็กกว่าติดตามกิ่งไม้หรือตามที่อยู่อาศัยของคน ในรังส่วนใหญ่มีหนอนหรือแมลงลำตัวอ่อนนุ่มที่ถูกต่อยจนเป็นอัมพาตเพื่อเก็บไว้เป็นอาหารของตัวอ่อน เช่น ชนิด Sceliphron javanum (Lepeletier) ในวงศ์ Sphecidae และชนิด Eumenes esuriens Fabricius ในวงศ์ Eumenidae. |
อั้ก, อั้ก ๆ, อั๊ก, อั๊ก ๆ | ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกำปั้นหรือเสียงดื่มนํ้าอย่างเร็วเป็นต้น. |
อึก ๑, อึ้ก, อึ้ก ๆ | ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกำปั้นหรือเสียงดื่มน้ำอย่างเร็วเป็นต้น. |
อึก ๒ | น. ลักษณนามเรียกอาการกลืนของเหลวหรือเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกำปั้นครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ดื่มน้ำ ๓ อึก เขาถูกทุบไป ๓ อึก. |