Search result for

*การทูต*

   
Languages
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: การทูต, -การทูต-
Some results are hidden.
configure
Dictionaries languages






Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
การทูต(n) diplomacy, See also: statecraft, statesmanship, foreign affairs, external affairs, Example: เขาชอบใช้วิธีการทูตในการเจรจาหว่านล้อมและสร้างพันธมิตรทางการค้า
วงการทูต(n) diplomatic circles, Syn. แวดวงทูต, Example: แขกที่มาอวยพรคู่บ่าวสาวมีแต่ผู้ที่อยู่ในวงการทูตทั้งนั้น, Count Unit: วงการ, Thai Definition: หน่วยงานและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทูต
นักการทูต(n) diplomat, See also: ambassador, emissary, envoy, consul, minister, statesman, Example: พ่อของฉวีวรรณเป็นนักการทูตที่มีความสามารถมานานมาก, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้ชำนาญการทูต
กรมพิธีการทูต(n) Department of Protocol

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
นายเวรเจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.
พิธีการน. การที่เกี่ยวกับพิธีและแบบหนังสือทางทูต เช่น กรมพิธีการทูต.
รัฐทูต(รัดถะทูด) น. ทูตที่ประมุขของรัฐหนึ่งแต่งตั้งไปประจำสำนักประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อไปปฏิบัติภารกิจทางการทูต มีฐานะตํ่ากว่าเอกอัครราชทูตแต่สูงกว่าอุปทูต.
อุปทูต(อุปะทูด, อุบปะทูด) น. ผู้รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาการแทนหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต
เอกอัครสมณทูต(เอกอักคฺระ-) น. สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปาทรงแต่งตั้งไปประจำสำนักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทนทางการทูต รวมทั้งทำหน้าที่ดูแลและประสานงานกับคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา มีฐานะระดับเดียวกับเอกอัครราชทูต.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
persona grata (L.)บุคคลที่พึงปรารถนา (ทางการทูต) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
persona non grata (L.)บุคคลที่ไม่พึงปรารถนา (ทางการทูต) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
plenipotentiaryผู้มีอำนาจเต็ม (ทางการทูต) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
protocolพิธีการทูต, พิธีสาร [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
protocol๑. พิธีสาร๒. พิธีการทูต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
recredentialปฏิสาสน์ (การทูต) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
shirt-sleeve diplomacyการทูตอย่างไม่เป็นทางการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
accredit (an envoy)ส่งผู้แทนทางการทูตไปประจำประเทศอื่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
accredit (an envoy)ส่งผู้แทนทางการทูตไปประจำประเทศอื่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
big stick diplomacyการทูตแบบใช้แสนยานุภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
coercive diplomacyการทูตแบบบีบบังคับ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
credentials๑. อักษรสาสน์ตราตั้ง, พระราชสาสน์ตราตั้ง (การทูต)๒. ตราสารแต่งตั้ง (ผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
conference diplomacyการทูตแบบประชุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
conversationsการสนทนาหยั่งเชิง (ทางการทูต) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomacyการทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomacy, big stickการทูตแบบใช้แสนยานุภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomacy, coerciveการทูตแบบบีบบังคับ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomacy, gunboatการทูตแบบใช้นาวิกานุภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomacy, shirt-sleeveการทูตอย่างไม่เป็นทางการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
diplomatic relationsความสัมพันธ์ทางการทูต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
gunboat diplomacyการทูตแบบใช้นาวิกานุภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
emissaryผู้แทนทางการทูต [ ดู envoy ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
envoyผู้แทนทางการทูต [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
envoyผู้แทนทางการทูต [ ดู emissary ] [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Diplomacyการทูต [TU Subject Heading]
Diplomatic etiquetteพิธีการทูต [TU Subject Heading]
Diplomatic privileges and immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต [TU Subject Heading]
Diplomatic protectionความคุ้มครองทางการทูต [TU Subject Heading]
Diplomaticsเอกสารทางการทูต [TU Subject Heading]
Accessionการภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต]
accreditแต่งตั้งให้ไปประจำ หมายถึง การแต่งตั้งมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไปประจำยังประเทศอื่น และมีอำนาจดูแลประเทศนั้นหรือเขตอาณาต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่า Accredited Ambassador [การทูต]
Agreementการที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต]
Aide-memoire หรือ Memoireแปลตามตัวอักษรว่า ช่วยความจำ เป็นหนังสือโต้ตอบทางการทูตประเภทหนึ่ง คือ บันทึกสังเขปของการเจรจาที่ได้กระทำกันเสร็จสิ้นแล้ว บันทึกช่วยจำเช่นนี้ไม่มีการกล่าวนำเป็นทางการและไม่มีการลงชื่อ ซึ่งจะมอบให้แก่กันเมื่อเสร็จการเจรจากันแล้ว ความมุ่งหมายของบันทึกนี้คือ เพื่อบันทึกข้อเท็จจริงไว้เป็นหลักฐานซึ่งผู้รับบันทึกทราบดีแล้วบันทึกช่วย จำก็คือ บันทึกสรุปการสนทนาทางการทูตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้แทนหรือพนักงานทางการทูตกับหัวหน้าหรือพนักงานของกระทรวงการต่าง ประเทศ จุดประสงค์ตามที่ชื่อบ่งอยู่แล้วว่า เป็นการสรุปประเด็นต่าง ๆ ในการสนทนาเพื่อเตือนความจำนั้นเอง ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะมอบบันทึกนี้ไว้กับกระทรวงการต่างประเทศ ในบันทึกนั้นบรรทัดแรกจะระบุว่าใครเป็นผู้ส่งและใครเป็นผู้รับบันทึก ผู้ส่งบันทึกจะต้องลงชื่อย่อกำกับบันทึกไว้ด้วยบันทึกช่วยจำอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า pro memoria โดยปกติภาษาที่ใช้ใน pro memoria จะมีลักษณะถ้อยคำเป็นทางการมากกว่า aide-memoire [การทูต]
Ambassador Extraordinary and Plenipotentiaryผู้แทนทางการทูตในอันดับแรก หรือ หัวหน้าของสถานเอกอัครราชทูต, Example: ตามปกตินั้นจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า ?Ambassador? (เอกอัครราชทูต) ในสมัยก่อนเอกอัครราชทูตที่ประจำอยู่ในประเทศผู้รับจะมีตำแหน่งต่อท้ายว่า ?Ordinary? (สามัญ) ส่วนเอกอัครราชทูตที่ถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจพิเศษ จะต่อท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ต่อมาความแตกต่างดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปหมดแล้ว ทุกวันนี้บรรดาเอกอัครราชทูตทั้งหลายจะมีตำแหน่งห้อยท้ายว่า ?Extraordinary? (วิสามัญ) ทั้งสิ้น การที่ได้รับพ่วงคำว่า ?Plenipotentiary? (ผู้มีอำนาจเต็ม) เข้าไปกับตำแหน่งอีกคำหนึ่งนั้น ย่อมหมายความว่า เอกอัครราชทูตมีอำนาจเต็มที่จะทำการเจรจาทางการทูตตามปกติใดๆ ได้ แต่การที่จะทำการเจรจาและลงนามในสนธิสัญญาได้นั้น จำเป็นที่เขาจะต้องมีอำนาจเต็มเป็นพิเศษตามปกติหรือในหลักการ เอกอัครราชทูตจะติดต่อพบปะกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประจำ เซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ได้เขียนไว้ในหนังสือของท่านชื่อ Guide to Diplomatic Practice ซึ่งเซอร์เนวิล แบลนด์ (Sir Neville Bland) ได้เรียบเรียงและปรับปรุงแก้ไขใหม่เป็นครั้งที่ 4 (ดู น.167) มีความตอนหนึ่งว่า?บางคราวเป็นที่เข้าใจกันว่า เอกอัครราชทูตสามารถเรียกร้องขอพบกับตัวประมุขของรัฐได้ไม่ว่าเวลาใด แต่อันที่จริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากราชสำนักหรือรัฐบาลที่เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตไปประจำอยู่นั้น จะวางระเบียบหรือกำหนดธรรมเนียมเข้มงวด ทำให้มีโอกาสน้อยเหลือเกินที่จะอนุญาตให้เอกอัครราชทูตได้มีโอกาสเข้าพบปะ พูดจากับประมุขของรัฐ อนึ่ง ในอดีตกาลมีประเทศใหญ่ ๆ เพียงไม่กี่แห่งทำการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกัน จึงเหลือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ เป็นจำนวนมากที่มีตำแหน่งเรียกว่า อัครราชทูต (Ministers) เท่านั้น อย่างไรก็ดีการที่รัฐผู้ส่งจะส่งผู้แทนทางการทูตในระดับเอกอัครราชทูต (Ambassador) ไปยังรัฐผู้รับนั้นจะถือเป็นการให้เกียรติกันอย่างยิ่ง แต่ในสมัยนี้ การที่มีสถานเอกอัครราชทูตแพร่กระจายไปทั่ว ทำให้ตำแหน่งเอกอัครราชทูตถูกลดศักดิ์ศรีและความขลังลงไปมากเมื่อเทียบกับ สมัยอดีตกาลเกี่ยวกับเอกอัครราชทูตนี้ ได้มีการนำเอาคำจำกัดความของตำแหน่งเอกอัครราชทูตมาพูดคุยกันบ่อยๆ เป็นคำจำกัดความของ เซอร์เฮนรี่ วอตตัน (Sir Henry Wotton) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำเวนิส ในรัชสมียของกษัตริย์เจมส์ที่ 1 ว่า?เอกอัครราชทูต คือ บุคคลผู้ซื่อสัตย์ที่ถูกส่งไปกล่าวเท็จในต่างประเทศ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศเขา? (?An ambassador is an honest man sent to lie abroad for the good of his country?)เล่ากันว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1904 ระหว่างที่เซอร์เฮนรี่ วอตตัน เดินทางจากกรุงลอนดอนเพื่อไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตที่กรุงเวนิส ท่านได้แวะพักที่เมืองอ๊อกสเบิร์ก (Augsburg) ณ ที่นั้นท่านได้เขียนเป็นที่ระลึกไว้ในสมุดเยี่ยมของเจ้าของโรงแรมซึ่งเป็น สหายกับท่านในเชิงหยอกล้อ แต่แทนที่จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ กลับเขียนเป็นภาษาละตินว่า ?Legatus est vir bonus peregre missus ad mentiendum Republicae causa? ข้อความภาษาอังกฤษนั้น มีการเล่นคำว่า ?lie? ซึ่งนอกจากจะหมายความว่ากล่าวเท็จแล้ว ยังมีความหมายว่า ?พักอยู่? (Reside หรือ sojourn) ก็ได้ แต่บังเอิญคำละตินว่า ?admentiendum? มีความหมายเพียงอย่างเดียว คือ ?กล่าวเท็จ? ในไม่กี่ปีต่อมาคู่อริทางการเมืองของเซอร์เฮนรี่ได้ไปพบคำจำกัดความนี้เข้า จึงกราบทูลกษัตริย์เจมส์ให้ทรงทราบ หลักฐานประการหนึ่งอ้างว่ากษัตริย์เจมส์ทรงพิโรธอย่างยิ่ง ถึงกับให้เซอร์เฮนรี่ยุติการปฏิบัติราชการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา [การทูต]
ASEAN Regional Forumการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต]
Quadrangle Economic Cooperationกรอบความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว และจีน (มณฑลยูนนาน) ที่มา : หนังสือคำศัพท์-คำย่อทางการทูต สถาบันการต่างประเทศ กต. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) [การทูต]
Break of Diplomatic Relationsการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต]
Confidence Building Measuresมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เป็นมาตรการเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรัฐ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง และการทหาร เพื่อลดความหวาดระแวง ลดความขัดแย้ง และสร้างความมั่นใจระหว่างสองฝ่ายหรือหลาย ๆ ฝ่าย อันจะเป็นการส่งเสริมการทูตเชิงป้องกัน ทั้งนี้ CBMs เป็นกระบวนการที่สำคัญในกรอบการประชุม ARF [การทูต]
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Missionการเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต]
Condolencesเมื่อใดที่ประมุขของรัฐผู้รับ หรือบุคคลในครอบครัวของประมุขนั้นถึงแก่กรรม เป็นธรรมเนียมที่ผู้แทนทางการทูตซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ประจำอยู่ในรัฐนั้น หลังจากที่ได้รายงานให้กระทรวงการต่างประเทศของผู้แทนทางการทูตนั้นก่อนทาง โทรเลขหรือโทรสารจะไปเยี่ยมหรือพบกับเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมของรัฐนั้นเพื่อ แสดงความเสียใจในนามของประมุขของรัฐของตน โดยมิต้องรอรับคำสั่งเป็นพิเศษจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนตามปกติ โทรเลขหรือโทรสารแสดงความเสียใจนั้นจะส่งจากประมุขของรัฐ ไปยังบุคคลที่เหมาะสมในครอบครัวที่ประสบความทุกข์โศกนั้นโดยตรง [การทูต]
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving Stateในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต]
Conference Diplomacyกระบวนการเจรจาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในรูปของการ ประชุม แทนที่จะกระทำโดยวิถีทางการทูตตามปกติ คือ โดยทางเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนทางการทูตถาวร การประชุมแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การประชุมโต๊ะกลม เพื่อทำหน้าที่ระงับปัญหาระหว่างประเทศนั้น เริ่มนิยมกระทำกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การประชุมระหว่างประเทศนี้จะประกอบด้วยคณะผู้แทน ซึ่งมีหัวหน้าคณะที่ได้รับมอบอำนาจเต็ม และรัฐบาลของประเทศที่ร่วมประชุมเป็นผู้ส่งไป ในเรื่องนี้มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง บ้างเห็นว่า ควรเป็นการประชุมทางการทูตตามประเพณีที่กระทำกันโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญโดยอาชีพ ซึ่งเป็นไปตามวิถีทางการทูตตามปกติมากกว่า [การทูต]
Congress of Viennaเป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต]
Consulateตัวอาคารสถานที่ทำการของกงสุล และคณะเจ้าหน้าที่ทางกงสุล คำนี้อย่าเข้าใจปะปนกับคำว่า ?Chancery? ซึ่งหมายถึงอาคารสถานที่ทำการของเอกอัครราชทูตและคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ของตน [การทูต]
Conventionในภาษาไทยแปลว่า อนุสัญญา แต่คำนี้ใช้แทนคำว่า สนธิสัญญา (Treaty) บ่อย ๆ ผู้เขียนหลายท่านเห็นว่า ทั้งสองคำนี้ไม่ค่อยจะมีความหมายแตกต่างกันมากนัก แม้ว่าคำ Convention มักจะใช้กันเป็นประจำ โดยหมายถึงความตกลงที่กระทำกันในการประชุมระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ถึง 14 เมษายน ค.ศ. 1961 (The Vienna Convention on Diplomatic Relations) [การทูต]
Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corpsคณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต]
courtesy callการเยี่ยมคารวะ เป็นการเข้าพบเพื่อทำความรู้จักกันของบุคคลสำคัญหรือนักการทูต เช่น การเข้าพบระหว่างนักการทูตด้วยกัน หรือนักการทูตเข้าพบรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีของประเทศอื่นเข้าพบนายกรัฐมนตรี ฯลฯ [การทูต]
credentials, letters of credence" 1. อักษรสาส์นตราตั้ง พระราชสาส์นตราตั้ง (การทูต) หมายถึง หนังสือแต่งตั้งเอกอัครราชทูตจากประมุขของรัฐผู้ส่ง ถึงประมุขของรัฐผู้รับ 2. ตราสารแต่งตั้ง (ผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ) " [การทูต]
Cultural Diplomacyการทูตวัฒนธรรม หมายถึง กิจกรรมด้านวัฒนธรรมในกรอบกว้าง ทั้งภาษา ความคิด อุดมการณ์ ทัศนคติ ประเพณี วิทยาการความรู้ การกีฬาและวิถีชีวิต (ไม่เพียงแต่การส่งคณะนาฏศิลป์ไปแสดงในต่างประเทศเท่านั้น) ทั้งนี้ เพื่อ ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน โดยใช้แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในลักษณะซึมลึกเพื่อให้เข้าถึงประชาชน [การทูต]
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corpsหัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต]
Departure of Diplomatic Agentsการออกไปจากรัฐผู้รับของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ข้อ 44 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติได้ว่า ?แม้ในกรณีการขัดกันด้วยอากร รัฐผู้รับต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้บุคคลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน นอกจากคนชาติของรัฐผู้รับและคนในครอบครัวของบุคคลเช่นว่านี้ โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลเหล่านั้น ออกไปในขณะที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยเฉพาะ รัฐผู้รับต้องจัดพาหนะเดินทางในการขนส่งสำหรับตัวบุคคลเหล่านั้น และทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นให้ด้วย? [การทูต]
departure reportรายงานก่อนการพ้นหน้าที่ของหัวหน้าสำนักงานทางการทูต [การทูต]
Diplomacyการทูต, Example: คำว่าการทูต มีหลายท่านได้ให้คำอธิบายความหมายแตกต่างกัน บางท่านเห็นว่าการทูตเป็นศิลปะหรือศาสตร์ หรือวิธีปฏิบัติขั้นการเจรจากันระหว่างรัฐ บ้างว่า เป็นการจัดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยวิธีการเจรจา ซึ่งจะกระทำโดยเอกอัครราชทูต หรือผู้แทนการทูตเป็นส่วนใหญ่หนังสือ ?Satow?s A Guide to Diplomatic Practice? ซึ่งเรียบเรียงแก้ไขใหม่เป็นครั้งที่ 4 โดย Sir Neville Bland ได้กล่าวว่า การทูต (Diplomacy) คือการนำเอาสติปัญญา (Intelligence) และปฏิภาณ (Tact) ออกใช้ในการเจรจาเป็นทางการระหว่างรัฐบาลของรัฐเอกราชด้วยกัน หรือหากจะกล่าวโดยสรุปก็หมายถึงการที่รัฐต่อรัฐยกเอาเรื่องต่าง ๆ ขึ้นเจรจากันอย่างเอาจริงเอาจังโดยสันติวิธีนั่นเองวิธีการที่รัฐหันมาใช้ การเจรจากันเพื่อทำความตกลงในเรื่องต่าง ๆ นั้นได้เริ่มกระทำกันมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันในระยะหลัง ๆ ก่อนที่อาณาจักรจะล่มสลาย นัยว่าจักรพรรดิทั้งหลายของอาณาจักรจะล่มสลาย นัยว่าจักรพรรดิทั้งหลายของอาณาจักรไบซานเตอุม (Byzanteum) ในสมัยนั้นมีชื่อโด่งดังว่าเป็นบรมครูหรือปรมาจารย์ในการเจรจาทีเดียว แต่การทูตได้กลายเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง ก็ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ในตอนที่รัฐต่างๆ ของอิตาลีได้เริ่มแต่งตั้งเอกอัครราชทูตไปประจำเป็นการถาวร แต่ในสมัยนั้นก็ยังไม่มีการกำหนดสถานภาพและระเบียบข้อบังคับของอาชีพการทูต แต่อย่างใด จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ 19 คือใน ค.ศ. 1815 จึงได้มีการทำความตกลงกันระหว่างประเทศกำหนดสถานภาพและกฎข้อบังคับขึ้นเป็น กิจลักษณะ คือหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน รัฐต่าง ๆ ที่เข้าร่มประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา หรือเรียกว่าคองเกรสแห่งเวียนนา ได้ตกลงจัดจำแนกผู้แทนทางการทูตรวมทั้งจัดลำดับอาวุโสขึ้น เพื่อให้รัฐทั้งหลายได้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ จะเห็นได้ว่าในทุกวันนี้ การทูตได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง หรือสาขาหนึ่งของระบบการปกครองประเทศในทุกประเทศ ซึ่งทวีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในโลกปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างสงครามเย็น (Cold War) ต่างเพียรพยายามใช้การทูตทุกวิถีทางเพื่อระงับปัญหาหรือข้อพิพาท โดยมิให้เกิดสงครามเบ็ดเสร็จ (Total War) ซึ่งเป็นหนทางสุดท้ายขึ้น เป็นต้นมีข้อน่าสังเกตว่า แต่เดิมรัฐต่าง ๆ จะใช้วิธีการเจรจาระหว่างรัฐบาลตามปกติ โดยผ่านทางผู้แทนทางการทูตถาวรหรือเอกอัครราชทูต ต่อมาหลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกเกิดความนิยมใช้วิธีระงับปัญหาระหว่าง ประเทศโดยการประชุมโต๊ะกลมมากขึ้น (Round table conferences) ในการประชุมระหว่างประเทศเช่นนี้ รัฐบาลของประเทศที่ร่วมการประชุมจะส่งคนของตนไปร่วมประชุมในฐานะผู้แทนผู้ ได้รับมอบอำนาจเต็มและให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนในการเจรจา แทนที่จะเป็นเอกอัครราชทูตดังแต่ก่อน อย่างไรก็ดี วิธีการประชุมเช่นนี้ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่สองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะใช้วิธีการประชุมแก้ปัญหาระหว่างประเทศโดยวิถีทางการ ทูตตามปกติ โดยให้เอกอัครราชทูตเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน เพราะถือว่าเอกอัครราชทูตเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพการทูตอยู่แล้ว ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งสนับสนุนการประชุมโต๊ะกลม หรือที่เรียกว่า Diplomacy by Conferenceในสมัยปัจจุบัน วิธีเจรจาทางการทูตที่ใช้ปฏิบัติกันมีอยู่หลายวิธี วิธีแรกคือ การเจรจาทางการทูตตามปกติ ซึ่งปฏิบัติกันตลอดมาจนเป็นธรรมเนียม (Normal หรือ Traditional Diplomacy) ในกรณีนี้ เอกอัครราชทูตจะเป็นตัวแทนของประเทศของตนเจรจากับกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับประการที่สอง คือ การทูตด้วยวิธีการประชุม (Conference Diplomacy) ซึ่งคณะผู้แทนเจรจาจะมีบุคคลผู้ได้รับมอบอำนาจเต็มเป็นหัวหน้าคณะ และส่งไปจากประเทศที่ร่วมการประชุมประการที่สาม ได้แก่ วิธีที่เรียกว่า การทูตส่วนบุคคล (Personal Diplomacy) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐสองแห่งหรือมากกว่านั้น จะทำการเจรจากันโดยตรง เพื่อระงับหรือทำความตกลงในเรื่องบางเรื่องที่มีผลประโยชน์ร่วมกันประการที่ สี่ คือ การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) โดยประมุขของรัฐบาลหรือของรัฐจะไปร่วมประชุมกันเพื่อหาทางระงับปัญหาของตน ประการสุดท้าย ได้แก่ การทูตโดยทางองค์กรนิติบัญญัติหรือรัฐสภา (Parliamentary Diplomacy) คือให้นำปัญหาไปพิจารณากันในการประชุมปรึกษา เช่น การประชุมขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งนักเขียนเกี่ยวกับวิชาการทูตบางท่านเรียกว่า การทูตโดยคะแนนเสียง (Diplomacy by ballot)อย่างไรก็ตาม มีผู้ทรงคุณความรู้ด้านการทูตบางท่านเห็นว่า ยังมีวิธีการเจรจาทางการทูตอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า การทูตสื่อมวลชน (Diplomacy by News Conference) ในกรณีนี้ ประมุขของรัฐหรือของรัฐบาลประเทศหนึ่งจะแถลงนโยบายของประเทศตนต่อที่ประชุม สื่อมวลชน เกี่ยวกับปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งโดยปกติย่อมจะแถลงโดยวิถีทางการทูตตามปกติให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบได้ แต่กลับหันไปใช้วิธีแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบโดยการแถลงต่อที่ประชุมสื่อมวล ชนเท่ากับแจ้งให้ทราบโดยทางอ้อม [การทูต]
Diplomacy for the Peoplesการทูตเพื่อประชาชน หมายถึง การดำเนินนโยบายต่างประเทศหรือกิจกรรมทางการทูต ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชน เช่น โครงการส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปช่วยรักษาพยาบาลชาวกัมพูชา [การทูต]
diplomatic clearance numberหมายเลขการอนุญาตให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งของประเทศหนึ่ง ๆ ผ่านเข้าไปในอาณาเขตของอีกประเทศหนึ่งได้โดยเหตุผลทางการทูต อาทิ อากาศยานเฉพาะกิจ เรือที่ใช้ในการสงคราม ฯลฯ [การทูต]
diplomatic corpsคณะทูตานุทูต หมายถึง กลุ่มเอกอัครราชทูต กงสุล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งภริยาและเจ้าหน้าที่ทางการทูตที่อยู่ในประเทศนั้น ๆ [การทูต]
Diplomatic Expressionsถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต]
Diplomatic Illnessนักการทูตแสร้งทำเป็นป่วย ใช้เป็นข้อแก้ตัวในการที่ไม่ไปร่วมพิธี ร่วมประชุม หรือร่วมงานสังคม เพื่อมิให้เป็นการแสลงน้ำใจโดยมิสมควรแก่ผู้เชิญ [การทูต]
Diplomatic Languageภาษาการทูต ในสมัยโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัฐทั้งหลายในสมัยนั้นได้นิยมใช้ภาษาละตินเป็นภาษาการทูตและก็เป็นภาษาเดียว ที่ใช้กันในยุโรปภาคกลางและภาคตะวันตก ต่อมาในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทนภาษาละตินเป็นภาษาการทูต และใช้กันตลอดมาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งแรก หลังจากเสร็จสงครามโลกครั้งแรกจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐต่างๆ เริ่มนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ก็ยังไม่มีการรับรองเป็นทางการกันว่าให้ใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการทูตใน องค์กรทั้งหมดของสหประชาชาติยกเว้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ใช้ 5 ภาษาเป็นภาษาราชการ คือ ภาษาจีน รัสเซีย สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส ดังนั้น ในการประชุมใด ๆ ณ องค์การสหประชาชาติ หากมีการแถลงเป็นภาษาหนึ่ง ก็จะมีการแปลเป็นอีก 4 ภาษาเกือบพร้อมกันในทันที (Simultaneous Translation) สำหรับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส เพียงสองภาษา [การทูต]
Diplomatic Pouchถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต]
Diplomatic Privilege of Accommodationมาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต]
Diplomatic Privileges and Immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต]
Diplomatist หรือ Diplomatใช้กับราชการทุกคนที่ประจำทำงานในด้านทางการทูต ไม่ว่าจะประจำอยู่ในกระทรวงการต่างประเทศ หรือในราชการต่างประเทศ คือ ในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล หรือในสำนักงานทางทูตอื่นๆในทรรศนะของ เซอร์แฮโรลด์ นิโคลสัน นักการทูตยอดเยี่ยมคนหนึ่งของอังกฤษ ได้ระบุไว้ว่า นักการทูตหรือ Diplomat จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ ยึดถือความเป็นจริง มีความแม่นยำ สงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น อารมณ์ดี มีความสงบเสงี่ยมและมีความจงรักภักดี ทั้งยังจะต้องเป็นผู้ที่มีสติปัญญา มีความรู้ มองเห็นการณ์ไกล มีความสุขุมรอบคอบ ใจดีกับแขกและผู้แปลกหน้า มีเสน่ห์ มีความอุตสาหะวิริยะ มีความกล้า และมีปฏิภาณในทำนองเดียวกัน Francoise de Callieres (1645-1717) นักการทูตชั้นเยี่ยมของฝรั่งเศส ซึ่งเคยเป็นเอกอัครราชทูตประจำโปแลนด์ ซาวอย ฮอลแลนด์ บาวาเรีย และลอเรน ได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อว่า De la miniere avec les souverains เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการเจรจาทางการทูต ซึ่งจนถึงปัจจุบันยังเป็นที่รับรองกันทั่วไปว่าเป็นหนังสือที่ดีเยี่ยมเล่ม หนึ่ง หรือเป็นจินตกวีนิพนธ์เรื่องการดำเนินการทูตกับเจ้าผู้ครองนคร (Princes) สมัยนั้นCallieres ได้วางมาตรฐานของนักการทูตไว้สูงมากเพราะเขาเห็นว่า ไม่มีงานราชการใด ๆ ที่จะยากยิ่งไปกว่าการเจรจา ในการเจรจานั้น ผู้เจรจาจะต้องสามารถมองเห็นเหตุการณ์ทะลุปรุโปร่ง หรือมีสติปัญญาเฉียบแหลม มีความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง มีความละมุนละไม มีความรอบรู้และความเข้าใจอย่างกว้างขวาง ตลอดจนข้อสำคัญที่สุด ต้องเป็นผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ สามารถมองเห็นการณ์ไกลชนิดเจาะลึกทีเดียว นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้มีอารมณ์ขันอย่างสม่ำเสมอ ไม่โกรธง่าย มีจิตใจสงบเยือกเย็น มีความอดกลั้น พร้อมเสมอที่จะรับฟังทุกคนที่เขาพบด้วยความตั้งอกตั้งใจ พูดจาอย่างเปิดเผย และมีอารมณ์ร่าเริงไม่หน้าเง้าหน้างอ มีอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งมีกิริยาท่าทางเป็นที่ต้องตาต้องใจกับทุกคน ในฐานะนักเจรจา (Negotiator) นักการทูตจะต้องมีคุณลักษณะและคุณสมบัติตามที่กล่าวมานี้เป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีการเจรจาเป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของนักการทูตนั่นเอง [การทูต]
Duration of Diplomatic Privileges and Immunitiesระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต]
Diplomatic Secretariesตำแหน่งเลขานุการทางการทูตในสถานเอกอัครราชทูต ตำแหน่งเลขานุการทางการทูตจะมีอยู่ 3 ระดับ คือ เลขานุการเอก เลขานุการโท และเลขานุการตรี ทั้งสามระดับอยู่รองลงมาจากตำแหน่งที่ปรึกษา (Counselor) ระดับทั้งหมดนี้มีฐานะทางการทูต มีเอกสิทธิ และความคุ้มกันทางการทูตทั้งมวล และชื่อจะปรากฎอยู่ในสมุดเอกสารรายชื่อบุคคลในคณะทูตตำแหน่งเลขานุการทางการ ทูตเหล่านี้ อย่าไปปนกับตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของเอกอัครราชทูต ซึ่งแม้จะมีฐานะสำคัญในสถานเอกอัครราชทูต แต่ไม่มีสถานภาพทางการทูตแต่อย่างใด รวมทั้งตำแหน่งเลขานุการ ซึ่งทำหน้าที่เสมียนจดชวเลขและพิมพ์ดีด [การทูต]
diplomatic privileges and immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต [การทูต]
DP.1 (Entry Form for Customs Clearance)แบบฟอร์มการขอยกเว้นภาษีนำเข้าของผู้มีเอกสิทธิ์ทางการทูต [การทูต]
Establishment of Diplomatic Relations and Missionsการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต]
Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articlesการยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต]
Exemption from Taxation of Diplomatic Agentการยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต]
Extraditionการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต]
Exercise by Diplomatic Missions of Consular functionsการปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต]
First Secretaryเลขานุการเอก เป็นตำแหน่งชั้นเลขานุการทางการทูตที่สูงที่สุดในสถาน เอกอัครราชทูตอยู่เหนือเลขานุการโทและตรี หากว่าในสถานเอกอัครราชทูตใดไม่มีที่ปรึกษา เลขานุการเอกนี้จะทำหน้าที่บังคับบัญชารองลงมาจากเอกอัครราชทูต ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต [การทูต]
Forward Engagementการทูตเชิงรุก ยุทธศาสตร์กรอบใหญ่ในนโยบายต่างประเทศของไทย ที่มีเป้าหมายที่จะขยายกรอบความร่วมมือให้ครอบคลุมทุกมิติความร่วมมือกับ ต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์กับทุกประเทศทั่วโลก เพื่อสันติภาพที่ยั่งยืนและความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสำหรับประชาคมโลก [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
The United States has broken off diplomatic relations with Russia.สหรัฐอเมริกาได้หักออก ความสัมพันธ์ทางการทูตกับ รัสเซีย 2010: The Year We Make Contact (1984)
my granddad was an envoy. my dad was an envoy.ปู่ฉันเป็นนักการทูต พ่อฉันก็เป็นนักการทูต Spies Like Us (1985)
I was born into the trade.ฉันเกิดมาก็เป็นนักการทูตแล้ว Spies Like Us (1985)
But I... I have diplomatic immunity.ผมได้รับการคุ้มครองทางการทูต The Jackal (1997)
An envoy approaches. Remember your manners.วิธีการทูต จำมารยาทของคุณ Princess Mononoke (1997)
Georges Valombreuse Rise And Fall Of A Diplomatจอร์จ วาลอมบรัว "เกิดและดับของชีวิตการทูต" Pola X (1999)
I'm entitled to diplomatic immunity.ในนามของการทูตด้านความปลอดภัย! Ghost in the Shell (1995)
In case you haven't been briefed, this is the minister's interpreter.ในฐานะที่คุณยังไม่ได้ฟังสรุป, นี่คือหุ่นการทูต Ghost in the Shell (1995)
There's diplomatic considerations too.มันขึ้นอยู่กับทางการทูตด้วย Ghost in the Shell (1995)
Your people at Section 9 came across his work too in that ghost-hacking incident involving the Foreign Minister's interpreter.คนในแผนก 9 ของคุณ มีเอี่ยวในเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน, ในการเจาะระบบจิตนั่น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มันเข้ามาอยู่ในตัวของหุ่นการทูต Ghost in the Shell (1995)
He's the guy Section 6 tried like hell to stop from defecting so the Major dropped in and took care of the diplomat who'd been talking to him.เขาถูกแผนก 6 ไล่ออก เพราะเขาจะเลิกทำ แล้วผู้พันก็เข้าไปจัดการกับนักการทูตที่คุยอยู่กับเขา. Ghost in the Shell (1995)
The case is being handled off the record for diplomatic reasons, as usual.คดีนี้ไม่มีการทำบันทึกเนื่องจากเหตุผลทางการทูต เหมือนอย่างเคย. Ghost in the Shell (1995)
That's kind of a diplomatic post. It's sort of an ambassador.ที่เป็นชนิดของการโพสต์การทูต มันเรียงลำดับของทูต The Birdcage (1996)
"God's Diplomat," according to The New York Times.นักการทูตของพระเจ้า ตามที่นิวยอร์กไทม์ส Contact (1997)
Diplomacy, therefore, as we've demonstrated, การเจรจาทางการทูต ตามที่เราได้สาธิตไปนั้น The Constant Gardener (2005)
I mean, diplomats have to go where they're sent.ผมหมายความว่า นักการทูตต้องไปที่ที่เขาถุกส่งไป The Constant Gardener (2005)
And he can explain to us why we've burned our diplomatic credentials...และท่านจะต้องอธิบายให้เราฟังว่า เหตุใดเราจึงทำลายความน่าเชื่อถือทางการทูต The Constant Gardener (2005)
You know, her capture will only provoke Magneto, but having her does give us some diplomatic leverage.อยากรู้หรอว่าเค้าอยู่ไหน แต่การได้ตัวเธอมา ทำให้เรามีอำนาจต่อรองทางการทูต X-Men: The Last Stand (2006)
It is our mission to give our nation's diplomats the military perspective on world issues.เรามีเป้าหมายเพื่อใช้วิธีทางการทูต แง่มุมทางทหารในเหตุการณ์โลก Pilot (2007)
Kirk's talking to Rashan Chen. Taiwanese attaché© to the premier. He's dirty.เคิร์กกำลังคุยกับราชาน เฉิน นักการทูตไต้หวัน หมอนี่ไม่ซื่อ Chuck Versus the Crown Vic (2007)
Poseidon's ship and their emissary have already left, but they can't be far.เรือของโพเซดอนกับนักการทูต ออกไปแล้ว แต่คงยังไปไม่ไกล Appleseed Ex Machina (2007)
But the defense has painted a solid picture of fayed as a diplomat, แต่ทนายจำเลยสร้างภาพฟาเย็ด \ ว่าเป็นนักการทูต Fever (2007)
As you know, bioroids are, more often than not, diplomats, emissaries... and, like your friend Hitomi, ministers of political affairs.อย่างที่คุณรู้ โดยทั่วไปไบโอรอยด์คือนักการทูต ...เหมือนกับเพื่อนของเธอ ฮืโตมิ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย Appleseed Ex Machina (2007)
I would like to know... what are your thoughts on the matter, Emissary Yoshino?ชั้นอยากจะรู้ว่า... คุณคิดยังไงกับเหตุการณ์นี้ นักการทูตโยชิโน่ Appleseed Ex Machina (2007)
SARA: It's a diplomatic plate.มันเป็นป้ายสำหรับการทูต Eagles and Angels (2008)
SUCRE: What do diplomats usually do?อะไรที่นักการทูตทำเป็นประจำบ้าง Eagles and Angels (2008)
We can not promise.เราไม่นิยมวิธีทางการทูต Push (2009)
Now, those savages are threatening our whole operation, we're on the brink of war, and you're supposed to be finding a diplomatic solution.คนป่าพวกนี้คุกคามเรา เรายืนอยู่บนปากเหวสงครามแล้ว และคุณควรหาวิธีแก้ปัญหา ใช้การทูตของคุณ Avatar (2009)
They're Russian diplomats with full diplomatic immunity.คนพวกนี้เป็นนักการทูตรัสเซียได้เอกสิทธิ์ทางการทูต Day 8: 11:00 a.m.-12:00 p.m. (2010)
East Asia Diplomat Conference.สัมมนาทางการทูตเอเชียตะวันออก Airiseu: Deo mubi (2010)
Diplomacy orการทูตหรือ The Mandalore Plot (2010)
The business of diplomacy.ทำงานการทูตต่อ Voyage of Temptation (2010)
A diplomatic mission!ภารกิจทางการทูต! Duchess of Mandalore (2010)
Which is why we must vote for this resolution to promote more diplomacy, and to bring an end to this killing, and hatred.นี่เป็นเหตุผล ที่ทำไมเราต้องลงคะแนนเสียง ในการลงมตินี้ เพื่อการช่วยเหลือทางด้านการทูต และเพื่อทำให้สงคราม และความชิงชังนี้ จบลง Senate Murders (2010)
Committing more troops to the front lines will not allow diplomacy to resume diplomacy failed the Republic long ago.การเพิ่มทหารเข้าไปในแนวหน้า จะไม่ทำให้การทูตกลับคืนได้ การทูตจบลง ในสาธารณรัฐเมื่อนานมาแล้วหละ Senate Murders (2010)
On his agenda are diplomatic meetings and a performance of Beethoven tomorrow night by The LA City Symphony.เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต และจะเข้าชมผลงานของบีโทเฟ่นในคืนพรุ่งนี้ โดยวง The LA City Symphony Chuck Versus the Tooth (2010)
The tiny African nation seeks to improve its rocky diplomatic relations...ประเทศนี้พยายามหาทางพัฒนา สัมพันธ์การทูตที่ง่อนแง่น... . Chuck Versus the Tooth (2010)
I'm the daughter of a diplomat. I grew up in fancy hotels.ฉันเป็นลูกสาวนักการทูต ฉันโตมากับโรงแรมสารพัดชนิด Need to Know (2010)
I'll join them shortly. Sir, protocol is to keepผมจะไปหาพวกเขาเร็วๆนี้ พิธีการทูตกำลัง To Keep Us Safe (2010)
We need legislation to defend the displaced from slavery, to protect our soldiers from feeling as if there is no future, beyond their warfare, and we must open channels through diplomacy, เราจะต้องออกกฏหมายป้องกันการตกเป็นทาศของผู้ไร้ที่อยู่ เพื่อปกป้องเหล่าทหารจากความรู้สึกที่ว่าำพวกเขาไร้อนาคต จะเป็นการดีกว่าการสงคราม หากเราเปิดช่องทางทางการทูต Assassin (2010)
We're trying every diplomatic and military channel, but no word yet.เราพยายามติดต่อทุกช่องทาง ทั้งการทหารและการทูต แต่ยังไม่ได้ข่าว Everything Will Change (2010)
Spoken like one wise enough to consider a political solution.พูดได้เหมือนคนฉลาดพอที่จะ เป็นนักการทูตได้เลย Prince of Persia: The Sands of Time (2010)
That's a diplomatic answer.อืม ตอบแบบนักการทูต The Sorcerer's Apprentice (2010)
All diplomatic efforts to avert nuclear war have thus far failed.และการเจรจาทางการทูต เพื่อเลี่ยงสงครามนิวเคลียร์ล้มเหลว X-Men: First Class (2011)
US Diplomatic Security Service issued the warrants.สำนัหงานการทูต สหรัฐ ออกหมายจับ Fast Five (2011)
Hobbs is the leader of the elite task force for the DSS.อ๊อบ เป้นหัวหน้าหน่วยพิเศษ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางการทูต Fast Five (2011)
Diplomacy wasn't an option.วิธีทางการทูตไม่ใช่ทางเลือก Face Off (2011)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
โดยวิถีทางการทูต[dōi withīthāng kānthūt] (xp) EN: through the diplomatic channel  FR: par voie diplomatique
การปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต[kān patibat nāthī thāng kānthūt] (n, exp) EN: performance of diplomatic acts
การประชุมทางการทูต[kān prachum thāng kānthūt] (n, exp) EN: diplomatic conference  FR: conférence diplomatique [ f ]
การทูต[kānthūt] (n) EN: diplomacy ; statecraft ; statesmanship ; foreign affairs ; external affairs  FR: diplomatie [ f ]
ความสัมพันธ์ทางการทูต[khwām samphan thāng kānthūt] (n, exp) EN: diplomatic relations  FR: relations diplomatiques [ fpl ]
นักการทูต[nakkānthūt] (n) EN: diplomat ; ambassador ; emissary ; envoy ; consul ; minister ; statesman  FR: diplomate [ m, f ]
พิธีการทางการทูต[phithīkān thāng kānthūt] (n, exp) EN: diplomatic protocol  FR: protocole diplomatique [ m ]
พิธีการทูต[phithīkān thūt] (n) EN: diplomatic protocol  FR: protocole diplomatique [ m ]
ประเพณีการทูต[praphēnī kān thūt] (n, exp) EN: diplomatic etiquette  FR: règle diplomatique [ f ]
สัมพันธ์ทางการทูต[samphan thāng kānthūt] (n, exp) EN: diplomatic relations  FR: relations diplomatiques [ fpl ]
ตัดสัมพันธ์ทางการทูต[tat samphan thāng kānthūt] (xp) EN: sever diplomatic relations  FR: rompre les relations diplomatiques
ทางการทูต[thāng kānthūt] (adj) EN: diplomatic  FR: diplomatique
วิถีการทูต[withī kānthūt] (n, exp) FR: voie diplomatique [ f ]
โวหารการทูต[wōhān kānthūt] (n, exp) EN: diplomatic language  FR: langage diplomatique [ f ]
วงการทูต[wongkān thūt] (n, exp) EN: diplomatic circles ; diplomatic quarters ; diplomatic sphere  FR: sphère diplomatique [ f ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ambassador(n) เอกอัครราชทูต, See also: ทูต, นักการทูต, ราชทูต
attache(n) นักการทูต, See also: ผู้ช่วยทูต
diplomacy(n) การทูต, See also: การต่างประเทศ, ศิลปะการทูต, Syn. tact, address, savoir, faire, Ant. tactlessness, crudeness
diplomat(n) นักการทูต, See also: เอกอัครราชทูต, ทูต, ผู้ที่ต่อรองอย่างมีชั้นเชิง, ผู้ชำนาญในการคบค้าสมาคม, Syn. diplomatist, envoy representative
diplomatic(adj) เกี่ยวกับการทูต, See also: เกี่ยวกับการเจรจาต่อรอง, Syn. polite, statesmanlike, wise, Ant. direct, blunt
emissary(n) นักการทูต, See also: ทูต, ตัวแทนที่ส่งออกไปปฏิบัติภารกิจ, Syn. consul, envoy, representative
envoy(n) ทูต, See also: ราชทูต, นักการทูต, รัฐทูต, Syn. diplomat, emissary, representative
hawk(n) ผู้สนับสนุนนโยบายทางการทหารเพื่อแก้ปัญหาระหว่างประเทศมากกว่านโยบายทางการทูต, See also: ผู้ใฝ่สงคราม
hawkish(adj) ซึ่งชอบที่จะใช้นโยบายทางการทหารเข้าแก้ปัญหาระหว่างประเทศมากกว่านโยบายทางการทูต, See also: ซึ่งกระหายสงคราม, Ant. dovish

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
diplomacy(ดิพโพล'มะซี) n. การทูต, ศิลปะการทูต
diplomat(ดิพ'ละแมท) n. นักการทูต
diplomatic(ดิพละแมท'ทิค) adj. เกี่ยวกับการทูต, Syn. adep
protocol(โพร'ทะคอล) n.พิธีสาร, สนธิสัญญาเบื้องต้น, ต้นร่าง, พิธีทูต, พิธีการทูต, โปรโตคอล, บันทึกความทรงจำของการสนทนา.vi. ร่างต้นร่าง, ร่างพิธีสาร, ร่างพิธีการทูต., See also: protocolar adj. protocolary adj. protocolic adj.

English-Thai: Nontri Dictionary
diplomacy(n) การทูต, ศิลปะการทูต
diplomat(n) ทูต, นักการทูต, ทูตานุทูต
diplomatic(adj) เกี่ยวกับการทูต, ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการทูต
protocol(n) พิธีการทูต, พิธีสาร, สนธิสัญญาชั้นต้น, ต้นร่าง

Japanese-Thai-English: Saikam Dictionary
外交官[がいこうかん, gaikoukan] TH: ผู้เจรจาทางการทูต  EN: diplomat

add this word


You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit


Are you satisfied with the result?



Discussions

About our ads
We know you don’t love ads. But we need ads to keep Longdo Dictionary FREE for users. Thanks for your understanding! Click here to find out more.
Go to Top