กามา | น. กาม เช่น เข้าแต่หอล่อกามา (มูลบท). |
กามาทีนพ | น. โทษแห่งกาม.(ป. กาม + อาทีนว). |
กามาพจร, กามาวจร | ว. ที่ยังติดอยู่ในกาม, ที่ท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. |
กามาพจร, กามาวจร | น. ผู้ที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ. |
กามามิศ | น. อามิสคือกาม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กามารมณ์ | น. กามคุณ, อารมณ์ที่น่าใคร่. |
กามา | ดู กาม, กาม-. |
กามาทีนพ | ดู กาม, กาม-. |
กามาพจร, กามาวจร | ดู กาม, กาม-. |
กามามิศ | ดู กาม, กาม-. |
กามารมณ์ | ดู กาม, กาม-. |
เกามาร | (-มาน) น. กุมาร เช่น กูจะขอพระราชทานเกามารท้งงสองพระองค์ (ม. คำหลวง กุมาร). |
ฉกามาพจร, ฉกามาวจร | (ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน) น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. |
เสวกามาตย์ | (-วะกามาด) น. เสวกและอำมาตย์. |
เสวกามาตย์ | ดู เสวก. |
กช, กช- | (กด, กดชะ-) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคำ กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล (อิเหนาคำฉันท์). |
กรกัติ | (กฺระกัด) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น กรกัติกามา (สรรพสิทธิ์). |
กรรณิกา | (กัน-) น. ดอกไม้ เช่น ดุจบัวอันบานชู กชกรรณิกามาศ (สมุทรโฆษ). |
กระกัติ | ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา (สรรพสิทธิ์). |
กลัดมัน | ว. มีความรู้สึกในทางกามารมณ์อย่างรุนแรง. |
กล่าว | สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้ (อิเหนา) |
กา ๑ | ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ธนิษฐา เห็นเป็นรูปอีกา เช่น แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ (อภัย), ดาวไซ ดาวเศรษฐี ดาวศรวิษฐา หรือ ดาวธนิษฐะ ก็เรียก. |
ค้าประเวณี | ก. ยอมรับการกระทำชำเราหรือยอมรับการกระทำอื่นใด หรือกระทำการอื่นใด เพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่น อันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำและผู้กระทำจะเป็นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ. |
จตุรภูมิ | (-พูม) น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิ ภูมิอันพ้นจากโลก. |
จาตุมหาราช | น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า (ดู ฉกามาพจร ประกอบ) |
จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา | น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า. (ป., ส.). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
ชู้สาว | ว. รัก ๆ ใคร่ ๆ, เชิงกามารมณ์, เช่น เรื่องชู้สาว. |
เฒ่าหัวงู | น. ชายสูงอายุที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบายหลอกหญิงสาวเพื่อกามารมณ์. |
ดาวดึงส์ | (ดาววะ-) น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีพระอินทร์เป็นใหญ่ในชั้นนี้. (ป. ตาวตึส; ส. ตฺรยสฺตฺรึศตฺ). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
ดำรู ๑ | ว. งาม, น่ารัก, เช่น นุประดับนางสนมบู เจียรจันทรดำรู หฤทัยเกิดกามา (อนิรุทธ์). |
ดุษิต, ดุสิต | น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวสันดุสิตเป็นใหญ่ในชั้นนี้. (ส. ตุษิต; ป. ตุสิต). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
แดนไตร | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ, รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล. |
ตรีภพ | น. โลกทั้ง ๓, ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีโลก ไตรโลก ไตรภพ หรืิอ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ตรีโลก | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือ ภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ไตรโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
ไตรภพ, ไตรภูมิ | (-พบ, -พูม) น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก หรือ ไตรโลก ก็ว่า. |
ไตรโลก | น. โลกทั้ง ๓ ทางพระพุทธศาสนาหมายความถึง กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป และอรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป, ทางวรรณคดีหมายความถึง สวรรค์ มนุษยโลก และบาดาล, ตรีภพ ตรีโลก ไตรภพ หรือ ไตรภูมิ ก็ว่า. |
นางบำเรอ | น. หญิงที่ปรนเปรอเฉพาะชายคนใดคนหนึ่งในทางกามารมณ์โดยมิได้อยู่ในฐานะภรรยา. |
นิมมานรดี | (นิมมานะระดี, นิมมานอระดี) น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวสุนิมมิตมารเป็นใหญ่ในชั้นนี้, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
ปรนิมมิตวสวัตดี | (ปะระนิมมิดตะวะสะวัดดี, ปอระ-) น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง. (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
ยามา | น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวสุยามเป็นใหญ่ในชั้นนี้. (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
ราค-, ราคะ | น. ความกำหนัดยินดีในกามารมณ์, ความใคร่ในกามคุณ. |
ร่าน ๒ | ก. อยาก, ใคร่, (มักใช้ในทางกามารมณ์) |
เลป-, เลปน์ | (เลปะ-, เลบ) น. การไล้, การทา, เครื่องลูบไล้ เช่น เฉวียงสายพรรณรายสูตรวิภุสนพัตรมาลัยเลปน์กามา ตระศัก (เสือโค). |
โลกิย-, โลกิยะ, โลกีย์ | ว. เกี่ยวกับโลก, ทางโลก, ธรรมดาโลก, ของโลก, ตรงข้ามกับ โลกุตระ, เช่น โลกิยธรรม เรื่องโลกิยะ, โดยปริยายหมายถึงที่เกี่ยวกับกามารมณ์ เช่น เรื่องโลกีย์. |
โลกียวิสัย | น. เรื่องโลกีย์, เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกามารมณ์, เรื่องของคนที่ยังมีกิเลสอยู่. |
โลกียสุข | น. ความสุขทางโลก, ความสุขทางกามารมณ์, เช่น การดูมหรสพเป็นโลกียสุขอย่างหนึ่ง. |
สวาท | (สะหฺวาด) น. ความรัก ความพอใจ หรือความยินดีในทางกามารมณ์ เช่น รสสวาท พายุสวาท ไฟสวาท. |
ห่อน | ว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา (ลอ), ในคำประพันธ์บางคราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ (เห่ชมนก). |
หื่น | ก. มีความอยากอย่างแรงกล้า (มักใช้ในทางกามารมณ์). |
อาทีนพ, อาทีนวะ | ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. |