กับ ๓, กับข้าว | น. อาหารซึ่งปรกติใช้กินพร้อมข้าว. |
ทอดสำรับ, ทอดสำรับกับข้าว | ก. จัดหาข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดู, ทอดข้าว ก็เรียก. |
กระพอก ๑ | กระบะสำหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว (สุ. สอนเด็ก) |
กัปปีย์ | (กับปี) น. กับข้าว (ใช้เฉพาะภิกษุสามเณร), มักใช้เข้าคู่กับคำ จังหัน ว่า กัปปีย์จังหัน. |
แกง ๑ | น. กับข้าวประเภทที่เป็นนํ้า มีชื่อต่าง ๆ ตามวิธีปรุงและเครื่องปรุง เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงส้ม. (ดูที่คำนั้น ๆ ).ก. ทำกับข้าวประเภทที่เป็นแกง. |
แกงจืด | น. กับข้าวที่ปรุงเป็นนํ้า รสไม่เผ็ด. |
ขนม | (ขะหฺนม) น. ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าวกับกะทิหรือนํ้าตาล, ของหวาน, ทางเหนือเรียกว่า ข้าวหนม. |
ของคาว | น. ของกินที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์, กับข้าว. |
ข้าวแช่ | น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่นํ้าเย็น กินกับเครื่องกับข้าวต่าง ๆ. |
ข้าวต้มกุ๊ย | น. ข้าวต้ม กินกับกับข้าวเช่นเกี่ยมฉ่าย ไข่เค็ม. |
ข้าวหลามตัด | น. ข้าวเหนียวนึ่งอัดใส่ถาดโรยถั่วทอง ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มักกินกับข้าวหมาก |
ครัว ๑ | (คฺรัว) น. โรง เรือน หรือห้องสำหรับทำกับข้าวของกิน, เรียกผู้ที่กินอยู่ร่วมครอบครัวเดียวกัน ว่า ครัว หรือ ครัวเรือน. |
ค้างคืน | ว. ข้ามคืน เช่น กับข้าวค้างคืน หมักของไว้ค้างคืน. |
คาว | เรียกกับข้าว ว่า ของคาว, คู่กับ ขนม ว่า ของหวาน. |
งบ ๒ | น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งคล้ายห่อหมก ห่อด้วยใบไม้ มีใบตองเป็นต้น แล้วปิ้งไฟ. ก. ปรุงอาหารด้วยวิธีเช่นนั้น. |
จ่าย | ก. เอาออกใช้หรือให้ เช่น จ่ายเครื่องแบบ, โดยปริยายหมายความว่า ซื้อ ก็มี เช่น จ่ายกับข้าว. |
จ่ายตลาด | ก. ซื้อกับข้าวที่ตลาด. |
จิงจัง, จิ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จุ้งจัง ก็ว่า. |
จุ้งจัง | น. อาหารอย่างหนึ่ง ทำด้วยปลาเล็ก ๆ หมักเกลือกับข้าวคั่ว อย่างเดียวกับปลาจ่อม ใช้เป็นเครื่องจิ้ม, จิงจัง หรือ จิ้งจัง ก็ว่า. |
เจี๋ยน | น. กับข้าวอย่างหนึ่ง มีปลาทอดแล้วปรุงด้วยเครื่องต่าง ๆ เรียกว่า ปลาเจี๋ยน. |
ช้อนกลาง | น. ช้อนที่วางอยู่ในจานกับข้าว สำหรับตักกับข้าวมาใส่จานของตน. |
ตื่นข่าว | ก. ตระหนกตกใจไปกับข่าวหรือคำเล่าลือ. |
ตู๊ | ก. ประทัง, พอถูไถ, ชดเชย, เช่น ขายขวดได้เงินมาพอตู๊เป็นค่ากับข้าว. |
ทอดข้าว | ก. จัดหาข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดู, ทอดสำรับ หรือ ทอดสำรับกับข้าว ก็เรียก. |
น้ำกะทิ | น. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูด, นํ้าที่คั้นจากมะพร้าวขูดที่ผสมนํ้าตาลปึกกินกับข้าวเหนียวหรือลอดช่องเป็นต้น เช่น ข้าวเหนียวนํ้ากะทิ ลอดช่องนํ้ากะทิ. |
บูดู | น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุงรส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดูแบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้. |
ปูจ๋า | น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่ง เอาเนื้อปูผสมเครื่องกับไข่แล้วใส่กระดองปูนึ่งหรือทอด. |
พยัญชนะ | กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน) |
พริกกะเกลือ | น. กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตำจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล. |
พล่า | (พฺล่า) น. เครื่องกับข้าวชนิดหนึ่ง คล้ายยำ มักใช้เนื้อดิบ ทำให้สุกด้วยของเปรี้ยวเช่นมะนาว. |
พื้น ๆ | ว. เรียบ ๆ เช่น งามอย่างพื้น ๆ คือ งามอย่างเรียบ ๆ ไม่ฉูดฉาด ดีอย่างพื้น ๆ คือ ดีอย่างเรียบ ๆ ไม่โลดโผน, ธรรมดา ๆ เช่น กับข้าวพื้น ๆ. |
ม้าอ้วน | น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งทำด้วยไข่นึ่งเป็นชิ้น ๆ. |
มูน ๒ | ก. เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน. |
เมี่ยงลาว | น. ของกินอย่างหนึ่ง ใช้ใบผักกาดดองห่อไส้เป็นคำ ๆ ไส้ทำด้วยหมูสับผัดเคล้ากับกุ้งแห้งป่น ถั่วลิสงตำ ขิง น้ำส้มมะขาม น้ำตาล น้ำปลา ปรุงให้มีรสหวานนำ เค็มตาม และเปรี้ยวนิดหน่อย แล้วตักขึ้นเคล้าด้วยหอมเจียวกระเทียมเจียว กินกับข้าวตังทอดหรือข้าวเกรียบกุ้งทอด. |
ยำ ๑ | น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อสัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ. |
ยืนพื้น | ก. คงที่อยู่เสมอ, คงยึดหลักหรือแบบเสมอ, เช่น กับข้าวไทยมีน้ำพริกยืนพื้น. |
แร ๒ | ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแรไว้บนโต๊ะไม่มีคนกิน ของวางแรไม่มีคนซื้อ, แล ก็ว่า. |
ลงมือ | ก. เริ่มทำ, ตั้งต้นทำ, เช่น ลงมือกินได้, ทำ เช่น กับข้าววันนี้ฉันลงมือเอง งานนี้เธอลงมือเองเชียวหรือ. |
ลูกมือ | น. ผู้ทำการตามคำแนะนำของหัวหน้า เช่น ลูกมือทำกับข้าว. |
แล ๒ | ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า |
วางมือ | ก. ไม่เอาเป็นธุระ, หยุดหรือเลิกการงานที่ทำอยู่ชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น วางมือจากทำสวนไปทำกับข้าว วางมือจากการเป็นครู. |
วิเสท | (-เสด) น. ผู้ทำกับข้าวของหลวง. |
ส้มฟัก | น. อาหารทำด้วยปลาสับละเอียดผสมกับข้าวสุกหมักเกลือ กระเทียม โขลกจนเหนียวแล้วห่อใบตองทับเอาไว้จนมีรสเปรี้ยว. |
สลักเสลา | (-สะเหฺลา) ก. สลักให้เป็นลวดลายเรียบร้อยสวยงาม เช่น เสียเวลานั่งสลักเสลาผักครึ่งวันกว่าจะได้ลงมือทำกับข้าว สลักเสลาเสาหินเป็นลายเทพนม. |
สะเด็ด ๒ | ว. อย่างยิ่ง เช่น กับข้าววันนี้อร่อยสะเด็ด. |
สารนิเทศ | (สาระนิเทด) น. การชี้แจงแนะนำเกี่ยวกับข่าวสารหรือข้อมูลต่าง ๆ. |
สาละวน | ก. วุ่นอยู่กับการงาน เช่น มัวสาละวนอยู่กับการเย็บเสื้อจนลืมทำกับข้าว. |
สำหรับ | บ. เพื่อ เช่น ของสำหรับถวายพระ วันนี้ฉันทำกับข้าวเป็นพิเศษสำหรับเธอ. |
สูทกรรม | (สูทะ-) น. การทำกับข้าวของกิน. |
สูทศาสตร์ | (สูทะ-) น. วิชาทำกับข้าว. |