กฤด- | (กฺริดะ-) ว. อันกระทำแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. |
กฤดาญชลี | (กฺริดานชะลี) ก. ยกมือไหว้. (ส.; ป. กตญฺชลี ว่า มีกระพุ่มมืออันทำแล้ว), ในบทกลอนใช้แผลงเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤดาอัญชลี กฤษฎาญ. |
กฤดาธิการ | (กฺริดาทิกาน) น. บารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทำไว้. |
กฤดาธิการ | (กฺริดาทิกาน) ว. มีบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทำไว้. (ส.; ป. กตาธิการ), ในบทกลอนใช้เป็น กฤดา หรือ กฤดาการ ก็มี. |
กฤดาภินิหาร | (กฺริดาพินิหาน) น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทำไว้. |
กฤดาภินิหาร | (กฺริดาพินิหาน) ว. มีอภินิหารที่ทำไว้. (ส.; ป. กตาภินิหาร), ใช้แผลงเป็น กฤษฎา หรือ กฤษฎาภินิหาร ก็มี. |
กฤดยาเกียรณ | (กฺริดดะยาเกียน) ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบกอปรกฤดยา กยรณ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กฤดา, กฤดาการ | (กฺริดา, กฺริดากาน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ (เสภาสุนทรภู่). |
กฤดาญชลี | <i>ดู กฤด-</i>. |
กฤดาธิการ | <i>ดู กฤด-</i>. |
กฤดาภินิหาร | <i>ดู กฤด-</i>. |
กฤดายุค | (กฺริดา-) น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฤตยุค). <i> (ดู จตุรยุค)</i>. |
กฤดาอัญชลี | (กฺริ-) ก. กระทำอัญชลี, ยกมือไหว้, เช่น ขอถวายกฤดาอัญ- ชลีโอนศิโรจร (ตำราช้างคำฉันท์). |
กฤดิ | (กฺริดดิ) น. เกียรติ เช่น วรกฤดิโอฬาร (ชุมนุมตำรากลอน). |
กฤดีกา, กฤตยฎีกา | (กฺริ-, กฺริดตะยะ-) แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต (ม. คำหลวง กุมาร), ชำระกฤตยฎีกา (ไวพจน์พิจารณ์). |
กรอก ๒ | (กฺรอก-) น. ชื่อนกยางขนาดเล็ก ในวงศ์ Ardeidae นอกฤดูผสมพันธุ์เพศผู้และเพศเมียสีลำตัวคล้ายกัน แต่ในฤดูผสมพันธุ์สีต่างกัน ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน [ <i> Ardeola bacchus</i> (Bonaparte) ] หัวสีนํ้าตาลแดง หลังสีเทาดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา [ <i> A. speciosa</i> (Horsfield) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย [ <i> A. grayii</i> (Sykes) ] หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลาและสัตว์น้ำ. |
กฤษฎาภินิหาร | (กฺริดสะ-) <i>ดู กฤดาภินิหาร</i>. |
กลียุค | (กะลี-) น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลงโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน <i> (ดู จตุรยุค)</i>, ช่วงเวลาที่มีแต่ความรุนแรงเลวร้ายเกิดขึ้น<i> </i>. |
ข้าวนาปรัง | น. ข้าวที่ปลูกในฤดูแล้งนอกฤดูทำนา. |
เงือก ๓ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่ บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็ง ส่วนใหญ่ภายในโหนกแข็งกลวง ยกเว้นบางชนิดมีโหนกแข็งตัน เช่น นกชนหิน ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์อยู่รวมกันเป็นฝูง ขณะบินมีเสียงดัง ระยะเริ่มตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหาร ดิน และมูลปิดปากโพรงด้านใน ตัวผู้ใช้วัสดุเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะที่ตัวเมียฟักไข่และเลี้ยงลูกได้ ร้องเสียงดังมาก กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เงือกกรามช้าง [ <i> Rhyticeros undulatus</i> (Shaw) ] เงือกหัวแรด (<i> Buceros rhinoceros</i> Linn.) เงือกสีน้ำตาล [ <i> Ptilolaemus tickelli</i> (Blyth) ] เงือกดำ [ <i> Anthracoceros malayanus</i> (Raffles) ]. |
จตุรยุค | น. ยุคทั้ง ๔ คือ กฤดายุค ไตรดายุค ทวาบรยุค กลียุค. |
ไตรดายุค | (ไตฺร-) น. ชื่อยุคที่ ๒ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือ ๓ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ส. เตฺรตายุค; ป. เตตายุค). <i> (ดู จตุรยุค)</i>. |
ทวาบรยุค | (ทะวาบอระ-) น. ชื่อยุคที่ ๓ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๒ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. <i> (ดู จตุรยุค)</i>. |
นาปรัง | น. นาที่ทำในฤดูแล้งนอกฤดูทำนา. |
เป็ดน้ำ | น. ชื่อนกน้ำขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Anatidae และ Dendrocygnidae ปากแบน มีพังผืดนิ้วแบบตีนพัด ว่ายน้ำเก่ง บางชนิดดำน้ำได้ บินได้เร็ว มักอยู่เป็นฝูง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มักมีขนสีสวยกว่าตัวเมีย แต่นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้มีอาจสีสันเหมือนหรือคล้ายตัวเมีย กินพืชและสัตว์น้ำ, ในวงศ์ Anatidae เช่น เป็ดหอมหรือเป็ดหางแหลม (<i> Anas acuta</i>Linn.) เป็ดแมนดาริน [ <i> Aix galericulata</i> (Linn.) ] เป็ดคับแค [ <i> Nettapus coromandelianus</i> (Gmelin) ] เป็ดดำหัวดำ [ <i> Aythya baeri</i> (Radde) ] และ ในวงศ์ Dendrocygnidae คือ เป็ดแดง [ <i> Dendrocygna javanica</i> (Horsfield) ]. |
ยางโทน | น. ชื่อนกยางขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ลำตัวสีขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ กินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนใหญ่ [ <i>Egretta alba</i> (Linn.) ] ตัวขนาดใหญ่ ช่วงฤดูผสมพันธุ์ปากสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์ปากสีเหลือง และยางโทนน้อย [ <i>E. intermedia</i> (Wagler) ] ตัวขนาดกลาง ปากสีเหลืองตอนปลายดำ. |
อีลุ้ม ๑ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด <i> Gallicrex cinerea</i> (Gmelin) ในวงศ์ Rallidae ขาค่อนข้างยาว นิ้วยาว ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้สีน้ำตาลอมดำ กะบังหน้าผากสีแดง ตัวเมียสีนํ้าตาล ไม่มีกะบัง นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนคล้ายกันเป็นสีน้ำตาล อาศัยและหากินตามทุ่งนาและแหล่งน้ำทุกภาค ทำรังตามซุ้มกอหญ้า กินพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ. |