กร็อกกร๋อย | (กฺร็อกกฺร๋อย) ว. ไม่ชุ่มชื่น, ไม่สมบูรณ์. |
กร่อย | (กฺร่อย) ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย. |
บุษบารักร้อย | น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง. |
รักร้อย | น. ชื่อลายอย่างหนึ่ง ผูกเป็นลายกระจังตาอ้อยเรียงซ้อนเนื่องกันไปเป็นแถวยาว, เรียกสร้อยอ่อนประดับข้อมือ ทำด้วยทองลงยา มักผูกเป็นลายกระจังตาอ้อย บางทีก็ประดับพลอยด้วย ว่า สร้อยรักร้อย. |
กด ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดงหรือกดหัวโม่ง ( A. caelatusValencienne s) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเลหรือริวกิว [ A. thalassinus (Rüppell) ], ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต ( K. typusBleeker), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ [ H. borneensis (Bleeker) ]. |
กดเหลือง | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Hemibagrus nemurus (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก. |
กระจัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri (Pallas) ในวงศ์ Gobiidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหว และความสามารถขึ้นมาพ้นนํ้าได้คล้ายปลาจุมพรวดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทำรูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวนํ้า ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้ ขนาดยาวได้ถึง ๒๗ เซนติเมตร, กะจัง ก็เรียก. |
กระทุงเหว | น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิด ในวงศ์ Belonidae และ Hemiramphidae ลำตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemiramphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongyluraและ Zenarchopterusชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง [ Ablennes hians (Valenciennes) ] ซึ่งมีชุกชุมที่สุด บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง [ Xenentodon cancila (Hamilton) ] ขนาดยาวได้ถึง ๑.๒๕ เมตร, เข็ม ก็เรียก. |
กระบอก ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ [ L. vaigiensi (Qnoy & Gaimard) ] กระบอกดำ [ L. parsia (Hamilton-Buchanan) ] กระบอกขาว [ V. seheli (Forsskål) ], กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก หมก หรือ มก. |
กระอาน | น. ชื่อเต่านํ้ากร่อยขนาดใหญ่ชนิด Batagur baska (Gray) ในวงศ์ Emydidae จมูกแหลมงอนคล้ายตะพาบ เมื่อยังเล็กกระดองค่อนข้างแบน เมื่อโตขึ้นกระดองโค้งรี เพศเมียหัวและกระดองสีน้ำตาล เพศผู้หัวและกระดองสีดำตาสีขาว ตีนมีพังผืดเต็ม สามารถปรับตัวอยู่ในนํ้าจืดได้ พบในบริเวณที่มีน้ำไหลทางภาคใต้โดยเฉพาะแถบจังหวัดสตูล, กะอาน ก็เรียก. |
กรับพวง | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน ด้ามจิ้ว ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรูร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็นอาณัติสัญญาณ. |
กะต่อม | น. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด Macrobrachium equidens (Dana) ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย และพบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล, กุ้งแห ก็เรียก. |
ก้ามกราม | น. ชื่อกุ้งชนิด Macrobrachium rosenbergii (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามใหญ่สีฟ้าหรือสีคราม มีหนาม ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อยแล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด, กุ้งก้ามคราม หรือ กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง. |
การเรือน | น. งานของแม่บ้าน เช่น หุงต้มอาหาร เย็บปักถักร้อย, การบ้านการเรือน ก็ว่า. |
กุ้งดีด, กุ้งดีดขัน | น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Alpheus ในวงศ์ Alpheidae มีก้ามใหญ่ ๒ ข้าง ก้ามข้างหนึ่งโตกว่ามาก สามารถทำให้เกิดเสียงดังด้วยวิธีหนีบก้าม โดยเฉพาะเมื่อกระทบขันเสียงจะดังยิ่งขึ้น จึงได้ชื่อว่า กุ้งดีดขัน พบอาศัยหลบซ่อนอยู่ตามซอกวัสดุต่าง ๆ ริมฝั่งทั้งในนํ้าเค็มและนํ้ากร่อย ยกเว้นชนิด Alpheus microrhynchus De Man ที่พบอยู่ในนํ้าจืดด้วย, กระเตาะ ก็เรียก. |
กุ้งนาง | น. กุ้งก้ามกรามเพศเมีย ลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน สีอ่อนกว่ากุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นเพศผู้ วางไข่ติดหน้าท้อง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย แล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด. |
กุระ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Shirakiopsis indica (Willd.) Esser ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มนํ้าขังและริมคลองนํ้ากร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก. |
กุเรา | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ ในสกุล Eleutheronemaและในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลำตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum (Shaw), P. sextarius Bloch & Schneider ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เซนติเมตร, กุเลา ก็เรียก. |
กุแล | ทั้งหมดเป็นปลาผิวนํ้า อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในนํ้ากร่อย, หลังเขียว ก็เรียก. |
ข้างลาย ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Terapon และ Pelates วงศ์ Teraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๓๓ เซนติเมตร เช่น ชนิด T. jarbua (Forsskål), P. quadrilineatus (Bleeker), ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก. |
ฆ้องเหม่ง | น. ฆ้องขนาดเขื่องและหนากว่าฆ้องกระแต มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สำหรับถือตีประกอบจังหวะร่วมกับวงปี่ชวา กลองมลายู หรือวงบัวลอยในงานศพ. |
ฆ้องโหม่ง | น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”. |
งา ๔ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris (Broussonet) ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลำตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงินอมเหลืองส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
จวด | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้างมีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัด มน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลำตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประบนลำตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทำเสียงได้. |
จาก ๑ | น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกออยู่ตามริมฝั่งน้ำกร่อยในป่าชายเลน ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอกเป็นช่อยาว ผลรวมเป็นทะลาย กินได้ เรียกว่า ลูกจาก |
จาก ๓ | น. ชื่อปูชนิด Varuna litterata (Fabricius) ในวงศ์ Grapsidae ลำตัวแบน สีน้ำตาลอมเหลือง อาศัยอยู่ตามป่าจากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม. |
จุมพรวด | น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gobiidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes, Periophthalmus ทำรูอยู่ตามป่าชายเลน รูปร่างและพฤติกรรมในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ที่พบเสมอได้แก่ ชนิด B. boddarti (Pallas), กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก. |
ชฎากลีบ | น. เครื่องราชศิราภรณ์อย่างหนึ่ง มีวงขอบเป็นอย่างมาลัยรักร้อย ตอนบนเป็นจอมรูปกรวย มีมาลัยรักร้อยคั่นอีกชั้นหนึ่ง ยอดสูงเรียว ปลายมีลักษณะเป็นกลีบ ๕ กลีบ เรียกว่า พระชฎากลีบ. |
ชฎาพอก | น. ลอมพอกที่ประดับมาลัยรักร้อย และมีเกี้ยวรัดรอบส่วนที่ต่อขึ้นไปเป็นปลายชฎา. |
ชฎามหากฐิน | น. เครื่องราช-ศิราภรณ์อย่างหนึ่ง ลักษณะเป็นจอมรวบขึ้นไปตั้งแต่มาลัยรักร้อย ปลายยาวเรียวปัดไปทางด้านหลังเล็กน้อย ปักพระยี่ก่าข้างซ้าย เรียกว่า พระชฎามหากฐิน. |
แชบ๊วย | น. ชื่อกุ้งทะเลชนิด Penaeus merguiensis De Man ในวงศ์ Penaeidae เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีขนาดเล็กกว่ากุ้งกุลาดำ ตัวสีเหลืองอ่อน เปลือกใส พบตามชายฝั่งทะเลและในนํ้ากร่อย. |
ด่าง ๑ | น. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สำหรับทำยาและกัดสิ่งของ |
ดิ้ว | ไม้ถือมีลักษณะแบนหนาหรือกลม เป็นท่อนยาวประมาณ ๑ ศอก ด้านมือจับมีเชือกร้อยสำหรับคล้องข้อมือ มีไว้ถือป้องกันตัว. |
ดุกทะเล | น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Plotosus lineatus (Thunberg) และ P. canius (Hamilton) ในวงศ์ Plotosidae มีเงี่ยงที่ครีบอกและครีบหลังตอนแรก ส่วนครีบหลังตอนที่ ๒ ต่อเนื่องกับครีบก้นและครีบหางยาว, สามแก้ว ปิ่นแก้ว หรือ เป็ดแก้ว ก็เรียก. |
ตะกรับ ๓ | (-กฺรับ) น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus (Linn.) ในวงศ์ Scatophagidae ลำตัวสั้น แบนข้าง หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็กสากมือ สีพื้นลำตัวมีแตกต่างกันมาก อาจเป็นสีเขียว เทา หรือนํ้าตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนว และแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. |
ตะกาด ๒ | น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Penaeidae เช่น ชนิด Metapenaeus ensis (De Haan) ลำตัวสีเหลืองอ่อน ผิวเปลือกเป็นมัน พบในบริเวณนํ้ากร่อยและชายฝั่งทะเล, ชันกาด ตะเข็บ หรือ หัวมัน ก็เรียก. |
ตะโขง | น. ชื่อจระเข้ชนิด Tomistoma schlegelii Müller ในวงศ์ Crocodylidae ขนาดใหญ่กว่าจระเข้ทั่วไป ปากเล็กเรียวยาวคล้ายปากปลากระทุงเหวแต่งอนขึ้นด้านบนเล็กน้อย ตัวสีนํ้าตาลแดงมีลายสีนํ้าตาลเข้ม หางแบนใหญ่ใช้ว่ายนํ้า อาศัยตามป่าเลนชายนํ้ากร่อย ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น, จระเข้ปากกระทุงเหว ก็เรียก. |
ตะพาย | เรียกกิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะ ว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา |
ตาเดียว | น. ชื่อปลาในอันดับ Pleuronectiformes มีหลายชนิด หลายสกุล พบทั้งในทะเล นํ้ากร่อย และนํ้าจืด เมื่อเกิดใหม่ตาจะอยู่คนละข้างกันเหมือนลูกปลาทั่วไป แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นกะโหลกจะบิดไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กล้ามเนื้อข้างหนึ่งบิดตามไปด้วย จึงทำให้ตาทั้ง ๒ ข้างเหนี่ยวกันมาหรือเคลื่อนมาอยู่ด้านเดียวกัน มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ลิ้นหมา ลิ้นสุนัข ยอดม่วง ลิ้นควาย ลิ้นเสือ ลิ้นหมาหงอนยาว ใบไม้ ใบขนุน ซีกเดียว จักรผาน. |
ตาเหลือก ๒ | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยทุกชนิด ในสกุล I lisha วงศ์ Pristigasteridae ตาโตเหลือกขึ้นด้านบน ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดเรียบ เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ขนาดยาวได้ถึง ๔๖ เซนติเมตร, อีปุด หรือ ปุด ก็เรียก. |
ตีน ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยในวงศ์ Gobiidae ขนาดยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ที่ใช้ครีบอกต่างตีน ตาโปนมองเห็นเหนือนํ้าได้ดี เช่น ชนิด Periophthalmus barbarus (Linn.), Boleophthalmus boddarti (Pallas). (ดู จุมพรวด). |
ทูกัง | น. ชื่อปลากดทะเลชนิด Arius leiotetocephalus Bleeker ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรีใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อยโดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก. |
นวลจันทร์ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด Chanos chanos (Forsskål) ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียวตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน ดอกไม้ หรือ นวลจันทร์ทะเล ก็เรียก. |
บู่ | น. ชื่อปลาขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Eleotridae และ Gobiidae มีทั้งในทะเล นํ้ากร่อยและนํ้าจืด มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ถิ่นอาศัย พฤติกรรมและขนาดแตกต่างกัน เช่น บู่จากหรือบู่ทราย [ Oxyeleotris marmorata (Bleeker) ] ในวงศ์ Eleotridae ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือมีขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, บู่ทอง บู่หิน บู่ทราย หรือบู่ลูกทราย [ Glossogobius spp.(Valenciennes) ] บู่รำไพ (Vaimosa rambaiaeH.M. Smith) และ บู่ทะเลหรือบู่ขาว [ Acentrogobius caninus (Cuvier & Valenciennes) ] ในวงศ์ Gobiidae. |
เปี้ยว ๑ | น. ชื่อปูทะเลขนาดเล็กหลายชนิด ในสกุล Ucaวงศ์ Ocypodidae ตัวผู้มีก้ามข้างหนึ่งใหญ่เท่าหรือโตกว่าลำตัว และอีกข้างหนึ่งเล็กกว่ามาก ส่วนตัวเมียมีก้ามขนาดไล่เลี่ยกันทั้ง ๒ ข้าง อาศัยอยู่ตามชายเลนในน้ำกร่อยหรือทะเล เช่น ชนิด U. dussumieri (H. Milne Edwards), ก้ามดาบ ก็เรียก. |
แป้น ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหรือปลานํ้ากร่อยในสกุล Leiognathus, Secutor และ Gazza วงศ์ Leiognathidae ส่วนใหญ่เป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อม แบนข้างมาก มักมีสีเงินหรือสีเนื้อ อาจพบเป็นชื่อเรียกปลาข้าวเม่าในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae ด้วย. |
โปงลาง | น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อนไม้กลมผูกร้อยเรียงกันตามลำดับขนาดและลำดับเสียงเช่นเดียวกับระนาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า. |
ฝีมือ | น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมีศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์ |
ฝึกฝน | ก. เพียรฝึก, พยายามฝึก, เช่น ฝึกฝนตนเองให้ชำนาญในการเย็บปักถักร้อย. |
มงโกรย | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee (Cuvier) ในวงศ์ Clupeidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนมากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลำตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดำ ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย ลินโกรย หรือ หมากผาง ก็เรียก. |