กระทะ ๑ | น. ภาชนะสำหรับใช้ผัดหรือทอดเป็นต้น มีรูปร่างต่าง ๆ ตามปรกติมีก้นลึก ปากผาย ต่อมาอนุโลมเรียกภาชนะที่ใช้ในลักษณะเช่นนั้นแม้มีก้นตื้นหรือแบน ทั้งชนิดที่มีขอบและไม่มีขอบว่า กระทะ เช่น กระทะขนมเบื้อง กระทะโรตี. |
กระทะทอง | น. กระทะกลมก้นลึกมีหู ๒ ข้าง ทำด้วยทองเหลือง มักใช้ทำของหวานประเภทเชื่อม เช่นกล้วยเชื่อม ฝอยทอง หรือใช้ทำของคาวเช่นขาหมูพะโล้. |
กระทะทองแดง | น. หม้อหรือกระทะโลหะเป็นที่ทรมานสัตว์ที่ตกนรกขุมโลหกุมภี. |
กระทะใบบัว | น. กระทะขนาดใหญ่. |
กระทะ ๒ | ดู ตะกรับ ๓ (๑). |
กระทงทอง | น. ของว่างชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระทงใส่ไส้ กระทงทำจากแป้งสาลีผสมกับไข่เป็ด หัวกะทิ เป็นต้น เอาพิมพ์กระทงจุ่มแป้งลงทอดในกระทะให้เป็นรูปกระทงตามพิมพ์ ใส่ไส้ทำด้วยเนื้อไก่ หอมใหญ่ มันฝรั่ง ผัดปรุงรสเค็มหวาน. |
กระเบื้อง ๑ | น. วัสดุใช้มุงหลังคา ทำผนังหรือปูพื้น เป็นต้น ทำด้วยดินเผาหรือซีเมนต์ หรือวัสดุอื่น ๆ มักทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม มีขนาดต่าง ๆ อาจมีสีหรือลวดลายก็ได้, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลายเป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้องที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สำหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทำด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ |
กันทะ | น. กระทะ เช่น จึ่งตั้งโลหะกันทะโดยตบะบนเส้าโขมดผี ให้ประโคมแล้วโหมอัคคี มาลีธูปเทียนบูชา (รามเกียรติ์ ร. ๒ ตอนศึกไมยราพณ์). |
ขนมเบื้อง | น. อาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำโดยละเลงแป้งถั่วทองที่ผสมหัวกะทิลงบนกระทะแบนที่เรียกว่า กระเบื้อง ให้เป็นแผ่นกลม ๆ และบางเสมอกัน ใส่ไส้หวานหรือเค็มแล้วพับ ๒, ขนมเบื้องไทย ก็เรียก. |
ขนมเบื้องญวน | น. อาหารว่างแบบญวนชนิดหนึ่ง ใช้วิธีกลอกแป้งลงในกระทะให้บางกรอบใส่ไส้มีกุ้งเป็นต้นแล้วพับ ๒. |
ขนมลำเจียก, ขนมดอกลำเจียก | น. ขนมทำด้วยข้าวเหนียวแช่แล้วตำละเอียด ทำให้เป็นก้อน ขูดบนแร่งลงกระทะ เมื่อแป้งจับเป็นแผ่นแล้ว ใส่ไส้มะพร้าวขูดผัดกับน้ำตาล พับเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม แล้วอบให้หอม. |
ขาง ๓ | น. โลหะชนิดหนึ่งอย่างเหล็กกระทะ. |
ข้าวตัง | น. ข้าวสุกที่ติดเป็นแผ่นเกรียมอยู่ก้นหม้อหรือกระทะ. |
เขน ๑ | น. เครื่องปิดป้องศัสตราวุธ รูปกลมคล้ายกระทะ ทำด้วยโลหะ ด้านหลังมีห่วงสำหรับสอดแขนและมือจับ มักใช้คู่กับดาบหรือหอก. |
ไข่ยัดไส้ | น. ไข่กรอกในกระทะให้บาง แล้วห่อไส้หมูสับผัดน้ำมันให้สุก ปรุงรสเค็มหวาน. |
คั่ว ๑ | ก. เอาสิ่งของใส่กระเบื้องหรือกระทะตั้งไฟให้ร้อนแล้วคนไปจนสุกหรือเกรียม เช่น คั่วถั่ว คั่วงา, เรียกของที่คั่วแล้ว เช่น ข้าวคั่ว ถั่วคั่ว |
จี่ ๑ | ก. เผา, ใช้เข้าคู่กับคำ เผา เป็น เผาจี่, โดยปริยายหมายความว่า ทอดในกระทะที่ทานํ้ามันน้อย ๆ เช่น แป้งจี่. |
ตะกรับ ๓ | (-กฺรับ) น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus (Linn.) ในวงศ์ Scatophagidae ลำตัวสั้น แบนข้าง หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็กสากมือ สีพื้นลำตัวมีแตกต่างกันมาก อาจเป็นสีเขียว เทา หรือนํ้าตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนว และแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. |
ตะหลิว | น. เครื่องมือทำด้วยเหล็ก ใช้แซะหรือตักของที่ทอดหรือผัดในกระทะ. |
ทอง ๑ | เรียกสิ่งที่ทำด้วยทองเหลือง ว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง, โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทอง แสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลม มีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลืองหรือแดงส้ม. |
เบื้อง ๒ | น. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่ง ทำโดยละเลงแป้งถั่วทองที่ผสมหัวกะทิลงบนกระทะแบนที่เรียกว่า กระเบื้อง ให้เป็นแผ่นกลม ๆ และบางเสมอกัน ใส่ไส้หวานหรือไส้เค็มแล้วพับ ๒ เรียกว่า ขนมเบื้อง หรือ ขนมเบื้องไทย. |
เบื้องญวน | น. ชื่ออาหารว่างแบบญวนชนิดหนึ่ง ใช้วิธีกลอกแป้งในกระทะให้บางกรอบ ใส่ไส้มีกุ้งเป็นต้นแล้วพับ ๒ อีกชนิดหนึ่งผสมแป้งกับไข่ กลอกแป้งในกระทะ ใส่ไส้แล้วพับเป็นสี่เหลี่ยม ทอดน้ำมันอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า ขนมเบื้องญวน, กินกับอาจาด. |
แป้งจี่ | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง มักทำด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ ผสมกับมะพร้าว เกลือ นํ้าตาล แล้วทอดเป็นแผ่นเล็ก ๆ แบน ๆ ลงบนกระทะแบนที่ทานํ้ามันน้อย ๆ |
ผัด | ก. เอาสิ่งที่ใช้เป็นอาหารใส่ลงในกระทะที่มีนํ้ามันหรือนํ้าเล็กน้อย ตั้งไฟแล้วพลิกกลับไปมาจนสุก เช่น ผัดข้าว ผัดหมี่, เรียกอาหารที่ทำด้วยวิธีการเช่นนั้น เช่น ข้าวผัด หมี่ผัด |
ราพาย ๒ | ก. หยุดกวนขนม เช่นขนมเปียก กาละแม ลอดช่อง ในกระทะไว้ระยะหนึ่ง เพื่อรอให้ได้ที่. |
โรตี | น. ชื่ออาหารแขกชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีนวดแล้วแผ่เป็นแผ่น ทอดในกระทะแบน ๆ กินเป็นอาหารคาวอย่างขนมปัง หรือกินเป็นอาหารหวานก็ได้โดยโรยน้ำตาลทราย นม เป็นต้น. |
โลหกุมภี | (โลหะ-) น. ชื่อนรกขุมหนึ่ง มีกระทะทองแดงเป็นที่ทรมาน. |
สังขยา ๒ | ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยไข่ น้ำตาลทราย กะทิหรือนมข้น บางทีมีน้ำใบเตยเล็กน้อย กวนในกระทะ กินกับขนมปัง. |
หม้อขาง | น. กระทะที่ทำด้วยเหล็กขาง. |
หมอเทศ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Oreochromis mossambicus (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร. |
หล่อ | ก. เทโลหะเหลวหรือขี้ผึ้งเหลวเป็นต้นลงในแม่พิมพ์ แล้วทิ้งให้แข็งเป็นรูปตามแบบ (มักใช้ในงานประติมากรรมและอุตสาหกรรม) เช่น หล่อพระพุทธรูป หล่อกระทะ หล่อกระบอกปืนใหญ่ |
หู | ส่วนแห่งสิ่งของที่ทำไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง |