กมล | (กะมน) น. บัว เช่น บาทกมล (สมุทรโฆษ) |
กมล | ใจ เช่น ดวงกมล, บางทีใช้ว่า กระมล. |
กมล | (กะมน) ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. |
กมล-, กมลา | (กะมะละ-, กะมะ-) น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. |
กมลาศ | (กะมะลาด) น. บัว |
กมลาศ | ใจ. |
กมลาสน์ | (กะมะลาด) น. “ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง” คือ พระพรหม. |
โกมล ๑ | ว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก- มลกามแกล้งผจง (สมุทรโฆษ). |
โกมล ๒ | น. ดอกบัว เช่น ก็ทัดทานวาริชโกมล (ม. คำหลวง มหาราช). |
กัมลาศ | (กำมะลาด) น. กมลาสน์ คือ พระพรหม เช่น เพียงกัมลาศลงมาดิน (ม. คำหลวง กุมาร). |
กามิศ, กาเมศ | ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ชงครากามิศน้อง ยังยังติดแม่ (ทวาทศมาส), โกมลมิ่งโกมุท กาเมศ เรียมเอย (ทวาทศมาส). |
กำมลาศน์ | (-มะลาด) น. กมลาสน์. |
กำลุง | บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กำลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์ (ดุษฎีสังเวย). |
เกิบ ๒ | ก. กำบัง, บัง, เช่น เศวตฉัตรรัตนก้งง เกิบบนบรรจถรณ์ (สรรพสิทธิ์), เฉกฉายกมลาสน์ฉัตรา เกิบก้งงเกศา (สรรพสิทธิ์). |
ขาว ๑ | ว. มีสีอย่างสำลี, โดยปริยายหมายความว่า แจ่มแจ้ง, สะอาดบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน. |
เข้าลิลิต | เรียกคําที่เติม ศ ข้างท้ายโดยอาจเปลี่ยนสระด้วยว่า ศ เข้าลิลิต เช่น กมลา เป็น กมลาศ บุรี เป็น บุเรศ มักใช้ ในคําประพันธ์. |
ดันเหิม | ก. ตันเหิม, รื่นเริง, บันเทิงใจ, เช่น มีกมลเบิกบานบันเทิงเริงรื่น ดันเหิมหื่นหรรษาโมทย (ม. คำหลวง จุลพน). |
แนม | ก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ (อิเหนา) |
บริสุทธิ์ | (บอริสุด) ว. แท้, ไม่มีอะไรเจือปน, เช่น ทองบริสุทธิ์, ปราศจากมลทิน, ปราศจากความผิด, เช่น เป็นผู้บริสุทธิ์, หมดจดไม่มีตำหนิ เช่น เพชรบริสุทธิ์ เครื่องแก้วบริสุทธิ์ |
บัง ๓ | น. คำเรียกชายผู้มีเชื้อสายแขกมลายูหรือแขกอินเดีย หมายถึง พี่ชาย, อาบัง ก็เรียก. |
ผ่อง ๑ | ว. ปลั่ง, ปราศจากมลทิน, ไม่ขุ่นมัว, เช่น ผิวผ่อง หน้าผ่อง ขาวผ่อง. |
พิมล | (พิมน) ว. ปราศจากมลทิน, ปราศจากความมัวหมอง |
มนิลา | น. เรียกเชือกเกลียวสีขาวขุ่น ๆ ค่อนข้างใหญ่ เหนียวมาก เดิมทำจากใยมะพร้าว เรียกชื่อตามเชือก ทำจากใยกล้วยจำพวกกล้วยตานีในประเทศฟิลิปปินส์ ว่า เชือกมนิลา, มักเรียกว่า เชือกมลิลา |
วิมล | ว. ปราศจากมลทิน, ไม่มีตำหนิ, ใส, สะอาด, บริสุทธิ์, กระจ่าง, งาม. |