ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

-สัมพันธ์ทางการทูต-

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: -สัมพันธ์ทางการทูต-, *สัมพันธ์ทางการทูต*
(เนื่องจากผลลัพธ์จากการค้นหา -สัมพันธ์ทางการทูต- มีน้อย ระบบได้ทดลองค้นหาใหม่โดยใส่ดอกจันทน์ (wild-card) ให้โดยอัตโนมัติ: *สัมพันธ์ทางการทูต*)
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
The United States has broken off diplomatic relations with Russia.สหรัฐอเมริกาได้หักออก ความสัมพันธ์ทางการทูตกับ รัสเซีย 2010: The Year We Make Contact (1984)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
สัมพันธ์ทางการทูต[samphan thāng kānthūt] (n, exp) EN: diplomatic relations  FR: relations diplomatiques [ fpl ]
ความสัมพันธ์ทางการทูต[khwām samphan thāng kānthūt] (n, exp) EN: diplomatic relations  FR: relations diplomatiques [ fpl ]
ตัดสัมพันธ์ทางการทูต[tat samphan thāng kānthūt] (xp) EN: sever diplomatic relations  FR: rompre les relations diplomatiques

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
diplomatic relationsความสัมพันธ์ทางการทูต [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Agreementการที่รัฐที่ผู้จะไปประจำตำแหน่งในรัฐนั้นได้ตกลง เห็นชอบกับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอชื่อให้เป็นผู้แทนทางการทูต อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้ บัญญัติไว้ว่า1. รัฐผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นที่แน่นอนว่า รัฐผู้รับได้ให้ความเห็นชอบแล้ว สำหรับบุคคลที่รัฐผู้ส่งเสนอจะแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐนั้น2. รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลแก่รัฐผู้ส่งในการปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตซึ่งรอการถวายสารตราตั้งจะต้องเริ่มดำเนิน การเพื่อเดินทางไปยังรัฐผู้รับในเรื่องนี้ มีตัวอย่างไม่น้อยที่รัฐผู้รับปฏิเสธไม่ให้ความเห็นชอบด้วยเหตุผลบางอย่าง นับตั้งแต่อ้างว่า การเสนอชื่อผู้รับการแต่งตั้งได้กระทำกะทันหันเกินไป และมิได้แจ้งข้อเท็จจริงมาก่อน หรือว่าผู้ที่ได้รับการเสนอให้เป็นผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเคยกล่าวตำหนิ วิพากษ์รัฐผู้รับ หรือผู้รับการเสนอชื่อมมีภรรยาเป็นชาวยิว หรือผู้รับการเสนอชื่อถือศาสนาโรมันคาทอลิก หรือผู้นั้นเคยปฏิบัติไม่ดีต่อชนชาติของรัฐผู้รับ หรือผู้นั้นในขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างถูกฟ้องร้อง ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกง เป็นต้นกล่าวโดยย่อ agr?ment คือ การให้ความเห็นชอบของรัฐผู้รับ แก่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐผู้ส่งให้เป็นผู้แทนทางการทูตนั่นเอง [การทูต]
Break of Diplomatic Relationsการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต]
Conventionในภาษาไทยแปลว่า อนุสัญญา แต่คำนี้ใช้แทนคำว่า สนธิสัญญา (Treaty) บ่อย ๆ ผู้เขียนหลายท่านเห็นว่า ทั้งสองคำนี้ไม่ค่อยจะมีความหมายแตกต่างกันมากนัก แม้ว่าคำ Convention มักจะใช้กันเป็นประจำ โดยหมายถึงความตกลงที่กระทำกันในการประชุมระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ถึง 14 เมษายน ค.ศ. 1961 (The Vienna Convention on Diplomatic Relations) [การทูต]
Departure of Diplomatic Agentsการออกไปจากรัฐผู้รับของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ข้อ 44 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติได้ว่า ?แม้ในกรณีการขัดกันด้วยอากร รัฐผู้รับต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้บุคคลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน นอกจากคนชาติของรัฐผู้รับและคนในครอบครัวของบุคคลเช่นว่านี้ โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลเหล่านั้น ออกไปในขณะที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยเฉพาะ รัฐผู้รับต้องจัดพาหนะเดินทางในการขนส่งสำหรับตัวบุคคลเหล่านั้น และทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นให้ด้วย? [การทูต]
Diplomatic Pouchถุงเมล์ทางการทูตที่บรรจุหนังสือโต้ตอบทางราชการ ระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาล กับสถานเอกอัครราชทูตต่าง ๆ ใน ต่างประเทศ ถุงเมล์ทูตจะถูกปิดประทับตราของทางราชการ และผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ขอตรวจไม่ได้ คือได้รับการละเว้นจากการแทรกแซงใด ๆ ทั้งสิ้นเรื่องถุงเมล์ทางการทูตนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ว่า?1. ในรัฐผู้รับจะอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ทั้งมวลในการติดต่อกับคณะรัฐบาลและกับคณะผู้แทน และสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่งไม่ว่าตั้งอยู่ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางเหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้สื่อสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการทูตของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการทูตหมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงเมล์ทางการทูตจะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูตจะต้องมีเครื่องหมายติดไว้ภายนอกที่เห็น ชัดเจน แสดงลักษณะของถุงทางการทูตและอาจบรรจุเอกสารหรือสิ่งของทางการทูต ซึ่งได้เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่านั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการ แสดงสถานภาพของตนและจำนวนหีบห่อ ซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ และจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ในกรณีที่ ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการ แสดงจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุง แต่ไม่ให้ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางการทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรงและโดย เสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน?คำว่าถุงทางการทูตนี้ กระทรวงการต่างประเทศอังกฤษเรียกว่า ?Diplomatic bag? ส่วนในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า ?Valise Diplomatique? [การทูต]
Diplomatic Privilege of Accommodationมาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต]
Diplomatic Privileges and Immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต]
Duration of Diplomatic Privileges and Immunitiesระยะเวลาของการอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทาง การทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 39 ว่า?1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน ที่จะได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันนั้นตั้งแต่ขณะที่บุคคลนั้นเข้ามาใน อาณาเขตของรัฐผู้รับในการเดินทางไปรับตำแหน่งของตน หรือถ้าอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับแล้ว ตั้งแต่ขณะที่ได้บอกกล่าวการแต่งตั้งของตนต่อกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน 2. เมื่อภารกิจหน้าที่ของบุคคล ซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันยุติลง เอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามปกติให้สิ้นสุดลงขณะที่บุคคลนั้นออกไปจากประเทศ หรือเมื่อสิ้นกำหนดอันสมควรที่จะทำเช่นนั้น แต่จะยังมีอยู่จนกระทั่งเวลานั้น แม้ในกรณีของการขัดแย้งด้วยอาวุธ อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปโดยบุคคลเช่นว่านั้น ในการปฏิบัติการหน้าที่ของตนในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน ความคุ้มกันนั้นให้มีอยู่สืบไป 3. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามีสิทธิที่จะได้สืบไป จนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป 4. ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทน ซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นอยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว รัฐผู้รับสามารถอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่การส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดก และการรับมรดกนั้น ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับเพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่เพียงถ่ายเดียวของผู้วายชนม์ ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทน หรือในฐานะเป็นคนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน? [การทูต]
Establishment of Diplomatic Relations and Missionsการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต]
Exemption from Taxation of Diplomatic Agentการยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต]
Exercise by Diplomatic Missions of Consular functionsการปฏิบัติหน้าที่กงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 70 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้บัญญัติไว้ว่า1. บทของอนุสัญญานี้ใช้แก่ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลโดยคณะผู้แทนทางการทูตด้วย เท่าที่บริบทจะอำนวยให้2. ชื่อของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานในแผนกกงสุล หรือมิฉะนั้นได้รับภาระให้ปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุลของคณะผู้แทนนั้น จะต้องแจ้งไปยังกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่กระทรวงนั้นที่แต่งตั้งไว้3. ในการปฏิบัติการหน้าที่ทางกงสุล คณะผู้แทนทางการทูตอาจติดต่อกับก. เจ้าหน้าที่ท้องที่ของเขตกงสุลนั้นข. เจ้าหน้าที่ส่วนกลางของรัฐผู้รับ ถ้าหากกระทำได้ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และจารีตประเพณีของรัฐผู้รับ หรือตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตที่อ้างถึงในวรรค 2 ของข้อนี้ จะยังคงอยู่ในบังคับแห่งกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับความ สัมพันธ์ทางการทูต [การทูต]
Freedom of Communicationเสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต]
Freedom of Movement of Diplomatic Agentsเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทน ทางการทูต โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่ม ประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการ ทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน? [การทูต]
Head of Diplomatic Missionบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต]
Immunity from Jurisdiction of Diplomatic Agentsความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 31 ว่า?1. ให้ตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางอาญาของรัฐผู้รับ ตัวแทนทางการทูตยังจะได้อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่ง และทางการปกครองของรัฐผู้รับด้วย เว้นแต่ในกรณีของก) การดำเนินคดีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับนอกจากตัวแทนทางการทูตครอบครองไว้ในนามของ รัฐผู้ส่งเพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนข) การดำเนินคดีเกี่ยวกับการสืบมรดกซึ่งเกี่ยวพันถึงตัวแทนทางการทูตในฐานะผู้ จัดการมรดกโดยพินัยกรรม ผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาท หรือผู้รับมรดกในฐานะเอกชน และมิใช่ในนามของรัฐผู้ส่งค) การดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจกรรมใดในทางวิชาชีพ หรือพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนทางการทูตได้กระทำในรัฐผู้รับ นอกเหนือจากการหน้าที่ทางการของตน 2. ตัวแทนทางการทูตไม่จำเป็นต้องให้การในฐานะพยาน 3. มาตรการบังคับคดี ไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยมีเงื่อนไขว่ามาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้โดยปราศจากการละเมิด ความละเมิดมิได้ในตัวบุคคลของตัวผู้แทนทางการทูต หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต 4. ความคุ้มกันของตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ ไม่ยกเว้นตัวแทนทางการทูตจากอำนาจศาลของรัฐผู้ส่ง?เกี่ยวกับความคุ้มกันตัว แทนทางการทูตจากขอบเขตของอำนาจศาลทางแพ่ง อาจกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า ตัวแทนทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทน ทางการทูตนั้นได้รับการยกเว้นจากอำนาจของศาลแพ่งในท้องถิ่นคือตัวแทนทางการ ทูตจะถูกฟ้องมิได้ และถูกจับกุมมิได้เกี่ยวกับหนี้สิน รวมทั้งทรัพย์สินของเขา เช่น เครื่องเรือน รถยนต์ ม้า และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นก็จะถูกยืดเพื่อใช้หนี้มิได้ ตัวแทนทางการทูตจะถูกกีดกันมิให้ออกไปจากรัฐผู้รับในฐานะที่ยังมิได้ชดใช้ หนี้สินของเขานั้นก็มิได้เช่นกัน อนึ่ง นักกฎมายบางกลุ่มเห็นว่า ตัวแทนทางการทูตจะถูกหมายศาลเรียกตัว (Subpoenaed) ไม่ได้ หรือแม้แต่ถูกขอร้องให้ไปปรากฎตัวเป็นพยานในศาลแพ่งหรือศาลอาญาก็ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าหากตัวแทนทางการทูตสมัครใจที่จะไปปรากฏตัวเป็นพยานในศาล ก็ย่อมจะทำได้ แต่จะต้องขออนุมัติจากรัฐบาลในประเทศของเขาก่อน [การทูต]
International Law Commission of the United Nationsคือคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมปรับปรุงกฎหมายระหว่า ประเทศ รวมทั้งการทำประมวลกฎหมายให้ก้าวหน้าและทันสมัยคณะกรรมาธิการนี้ประกอบด้วย สมาชิกรวม 25 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสมาชิกคราวละ 5 ปี และจะทำงานในคณะกรรมาธิการในฐานะตัวบุคคล มิใช่เป็นตัวแทนจากประเทศของตน ตลอดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเป็นจำนวนหลายสมัยมาแล้ว คณะกรรมาธิการได้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย บางเรื่องได้ริเริ่มขึ้นเองโดยคณะกรรมาธิการ แต่บางเรื่องทางสมัชชาสหประชาชาติหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งไปให้พิจารณาดำเนินการคณะกรรมาธิการได้ร่างสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทาง ทะเลไปแล้วไม่น้อยกว่า 4 ฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตทางทะเลและพื้นที่ติดชายฝั่งอนุสัญญาเกี่ยวกับการจับ ปลา การอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเลหลวง พร้อมทั้งได้รับสัตยาบันสารจากประเทศต่าง ๆ ไว้แล้วเป็นจำนวนมาก เมื่อ ค.ศ.1961 และ 1963 คณะกรรมาธิการได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สองครั้งตามลำดับ ณ กรุงเวียนนา พร้อมทั้งได้ลงมติรับรองอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล [การทูต]
Inviolability of Residence and Property of Diplomatic Agentsหมายถึง ความละเมิดมิได้ของทำเนียบและทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ว่า ?1. ให้ที่อยู่ส่วนตัวของตัวแทนทางการทูต ได้อุปโภคความละเมิดมิได้และความคุ้มครอง เช่นเดียวกับสถานที่ของคณะผู้แทน 2. ให้กระดาษเอกสาร หนังสือโต้ตอบ และยกเว้นที่ได้บัญญัติไว้ในวรรค 3 ของข้อ 31 ทรัพย์สินของตัวแทนทางการทูตได้อุปโภคและละเมิดมิได้เช่นกัน?วรรค 3 ของข้อ 31 ในอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า มาตรการบังคับคดีไม่อาจดำเนินได้ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแทนทางการทูต (เว้นแต่ในกรณีซึ่งอยู่ภายใต้อนุวรรค (ก) (ข) และ (ค) ของวรรค 1 ของข้อนี้ และโดยเงื่อนไขว่า มาตรการที่เกี่ยวข้องอาจดำเนินไปได้ โดยปราศจาการละเมิด) หรือที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต [การทูต]
Inviolability of the Mission Premisesคือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต]
Multiple Representationคือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต]
Order of Precedenceหมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต]
Persona non grataเป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต]
Personal Inviolability of Diplomatic Agentsหมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต]
Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunitiesบุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต]
Sanctionsการบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต]
Vienna Convention on Diplomatic Relationsอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศสมาชิก เพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการติดต่อและการคุ้มกันทางการทูต และได้เริ่มต้นประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ถึงวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1961 มีรัฐบาลของประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมด้วย 81 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย อนุสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1964 [การทูต]
Waiver of Immunityการสละความคุ้มกันทางการทูต ในเรื่องนี้บางประเทศออกกฎไว้ว่า ความคุ้มกันจากอำนาจทั้งทางแพ่งหรืออาญาของผู้แทนทางการทูตที่ประจำอยู่ใน ประเทศผู้รับ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศได้มอบให้ รวมทั้งคณะเจ้าหน้าที่ทางการทูตและบุคคลในครอบครัวของเขานั้น ย่อมสละมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศของผู้นั้น เหตุผลของการออกกฎข้อนี้เป็นเพราะเขาถือว่า ความคุ้มกันนั้นมิได้เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่โดยตรงหากแต่เกี่ยวกับตำแหน่ง หน้าที่ของเขามากกว่าเรื่องการสละความคุ้มกันข้างต้น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในมาตรา 32 ว่า?1. ความคุ้มกันจากอำนาจศาลของตัวแทนทางการทูตและของบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกัน ภายใต้ขอ้ 37 อาจสละได้โดรัฐผู้ส่ง 2. การสละต้องเป็นที่ชัดแจ้งเสมอ 3. การริเริ่มคดีโดยตัวแทนทางการทูต หรือโดยบุคคลที่อุปโภคความคุ้มกันจากอำนาจศาลภายใต้ข้อ 37 จะกันตัวแทนทางการทูตหรือบุคคลนั้นจากการอ้างความคุ้มกันของอำนาจศาล ในส่วนที่เกี่ยวกับการฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียกร้องสิทธิ สำคัญนั้น 4. การสละความคุ้มกันจากอำนาจศาลในส่วนที่เกี่ยวกับคดีแพ่งหรือคดีปกครอง ไม่ให้ถือว่ามีนัยเป็นการสละความคุ้มกันในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีตาม คำพิพากษา ซึ่งจำเป็นต้องมีการสละต่างหากอีก? [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
The United States has broken off diplomatic relations with Russia.สหรัฐอเมริกาได้หักออก ความสัมพันธ์ทางการทูตกับ รัสเซีย 2010: The Year We Make Contact (1984)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ความสัมพันธ์ทางการทูต[khwām samphan thāng kānthūt] (n, exp) EN: diplomatic relations  FR: relations diplomatiques [ fpl ]
สัมพันธ์ทางการทูต[samphan thāng kānthūt] (n, exp) EN: diplomatic relations  FR: relations diplomatiques [ fpl ]
ตัดสัมพันธ์ทางการทูต[tat samphan thāng kānthūt] (xp) EN: sever diplomatic relations  FR: rompre les relations diplomatiques

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top