มหาชาติ | น. เรียกเวสสันดรชาดก ว่า มหาชาติ มี ๑๓ กัณฑ์, การมีเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก เรียกว่า มีเทศน์มหาชาติ. |
กระจาด | น. ภาชนะสาน รูปเตี้ย ๆ ปากกว้าง ก้นสอบ, โดยปริยายเรียกเครื่องสานที่ทำเป็นตาโต ๆ ขอบปากแบบพานปากกระจับ สำหรับใส่ของเครื่องกัณฑ์เทศน์มหาชาติ. |
กลม ๑ | (กฺลม) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ปี่พาทย์ทำตอนตัวละครที่เป็นเทพเจ้าหรือเจ้าเงาะเหาะโดยลำพัง และใช้เป็นเพลงบรรเลงในเวลาเทศน์มหาชาติประจำกัณฑ์สักบรรพ. |
กะ ๑ | น. เครื่องหมายบอกทำนองสวด เช่น กะมหาชาติคำหลวง, ทำนองสวด เช่น สวดกะ |
ข่า ๓ | น. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคำหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
คำหลวง | น. คำประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ร่าย คือ มหาชาติคำหลวงและพระนลคำหลวง, คำประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคำหลวง คือ นันโทปนันท-สูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง. |
คุกพาทย์ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้บรรเลงเพื่อแสดงการแผลงฤทธิ์ ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์จุลพน. |
คุดทะราดเหยียบกรวด | ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์ชูชก. |
เครื่องเล่น | น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทำนองตลกขบขันหรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช. |
โคมเวียน | น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ |
จุลพน | น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๖ ของมหาชาติ. |
ฉกษัตริย์ | (ฉ้อกะสัด, ฉอกะสัด) น. กษัตริย์ ๖ พระองค์, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๒ ของมหาชาติ. |
เดินคาถา | ก. ว่าคาถาในเทศน์มหาชาติเรื่อยไป. |
ทศพร | น. พร ๑๐ ประการ, ชื่อกัณฑ์ที่ ๑ ของมหาชาติ ว่าด้วยพร ๑๐ ประการ. |
ทะแยกลองโยน | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้ทำนองเพลงทะแย อัตรา ๒ ชั้น มาบรรเลง และตีกลองสองหน้า หน้าทับกลองโยน เลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ, ในการเทศน์มหาชาติใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน. |
ทานกัณฑ์ | (ทานนะ-) น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๓ ในมหาชาติ. |
ธรรมวัตร | น. ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาอย่างหนึ่งที่แสดงอยู่ทั่วไป ไม่ใช่ทำนองแบบเทศน์มหาชาติ. |
บทกวีนิพนธ์ | น. บทร้อยกรองที่กวีแต่ง เช่น มหาชาติคำหลวง ลิลิตตะเลงพ่าย สามัคคีเภทคำฉันท์, เดิมใช้หมายถึงร้อยแก้วที่แต่งดีด้วย เช่น สามก๊ก ราชาธิราช. |
ประตูป่า | น. ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า, ประตูที่สะด้วยใบไม้กิ่งไม้สำหรับพิธีเทศน์มหาชาติ, ประตูเรือนที่ปักกิ่งไม้ไว้เวลานำศพออกจากบ้าน. |
มหาพน | น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๗ ของมหาชาติ ว่าด้วยเรื่องป่า. |
มหาราช | ชื่อกัณฑ์ที่ ๑๑ ของมหาชาติ. |
รัว ๒ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงในลักษณะต่าง ๆ กันคือ รัวธรรมดาหรือรัวลาเดียว ใช้บรรเลงเมื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในการแสดงโขนละครเป็นต้น และใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงผลสำเร็จของพิธีการหรือพิธีกรรมนั้น ๆ, รัวเฉพาะ ใช้บรรเลงต่อท้ายเพลงหน้าพาทย์บางเพลง เช่น รัวท้ายเพลงบาทสกุณี รัวท้ายเพลงปลูกต้นไม้ รัวสามลา เป็นเพลงในชุดโหมโรงเย็นมีความหมายแทนการกราบไหว้บูชา ในการแสดงโขนละคร ใช้บรรเลงประกอบกิริยาแสดงอิทธิฤทธิ์ของตัวละครสูงศักดิ์ ในการเทศน์มหาชาติใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์จุลพน. |
วงกต | น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออกวกวนอาจทำให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ทำคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อความสนุก ว่า เขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้. |
แหล่ ๒ | (แหฺล่) น. ตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งในเทศน์มหาชาติซึ่งลงท้ายด้วยคำว่า แล เช่น นั้นแล นั่นแล. |
แหล่ ๒ | (แหฺล่) ก. เทศน์มหาชาติเป็นทำนองตามแบบในแต่ละกัณฑ์. |
แหล่นอก | (แหฺล่-) น. แหล่เรื่องที่อยู่นอกคัมภีร์เทศน์มหาชาติ. |
แหล่ใน | น. แหล่ตามคัมภีร์เทศน์มหาชาติ. |