กาบคู่ | น. ชื่อเรียกหอยชั้น Bivalvia เปลือกหุ้มตัวมีลักษณะเป็น ๒ กาบ ปิดและเปิดได้. |
กะพง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Musculista senhousia (Benson) ในวงศ์ Mytilidae เปลือกบางรูปยาวรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเป็นเส้นสีนํ้าตาล อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือแผ่เป็นแผ่นใหญ่. |
กาบ ๒ | น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Amblemidae ส่วนใหญ่มีเปลือกหนา สีเขียวคลํ้าหรือนํ้าตาลอมดำ ด้านในเป็นมุก เช่น ชนิด Chamberlainia hainesiana (Lea), กาบนํ้าจืด ก็เรียก. |
กาบกี้ | น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่ชนิด Hyriopsis ( Limnoscapha ) myersiana (Lea) ในวงศ์ Amblemidae เป็นหอยกาบขนาดกลาง, กี ก็เรียก. |
ขวาน ๒ | (ขฺวาน) น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Corbiculidae รูปเปลือกคล้ายสามเหลี่ยม มีสันและร่องในแนวขนานขอบเปลือก สีเขียวเข้ม ม่วงอมดำ เขียวอมเหลือง เช่น ชนิด Corbicula javanica (Mousson), ทราย ก็เรียก. |
คราง ๒ | (คฺราง) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่บางชนิดในสกุล Scapharcaวงศ์ Arcidae ลักษณะคล้ายหอยแครงแต่ขนาดใหญ่กว่า ด้านนอกเปลือกมักมีเส้นคล้ายขน เช่น ชนิด S. inequivalvis (Bruguière), แครงขน ก็เรียก. |
แครง ๑ | (แคฺรง) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Arcidae ด้านนอกเปลือกมีสันและร่องจากขั้วเปลือกถึงขอบเปลือก เลือดหอยแครงเมื่อถูกกับอากาศเป็นสีแดง อาศัยตามชายฝั่งทะเลที่พื้นเป็นโคลน เช่น ชนิด Anadara granosa (Linn.) |
จอบ ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Pinnidae เปลือกค่อนข้างบางเปราะ รูปคล้ายซองใส่ใบพลูใช้กินกับหมาก ปลายด้านหนึ่งแผ่บานออก อีกด้านหนึ่งเรียวลง สีนํ้าตาลหรือสีเทา เช่น ชนิด Pinna bicolorGmelin, Atrina vexillum (Born), ซองพลู ก็เรียก. |
เฉลียบ ๒ | (ฉะเหฺลียบ) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ ในวงศ์ Isognomonidae เปลือกแบน อาจยาวหรือค่อนข้างกลม สีน้ำตาลเข้มหรือเทาเข้ม เช่น ชนิด Isognomon isognomum (Linn.). |
แฉลบ ๓ | (ฉะแหฺลบ) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Placuna ephippium (Philipsson) ในวงศ์ Placunidae เปลือกแบนค่อนข้างกลม โค้งเล็กน้อยคล้ายอานม้า สีนํ้าตาลเข้มหรือม่วงเข้ม, อานม้า ก็เรียก. |
ตลับ ๒ | (ตะหฺลับ) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Veneridae เปลือกหนารูปคล้ายสามเหลี่ยม ส่วนใหญ่ผิวเรียบ เป็นมัน มีสีและลวดลายต่าง ๆ กัน เช่น ชนิด Meretrix meretrix (Linn.). |
ตะโกรม | (-โกฺรม) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Ostreidae ลักษณะเหมือนหอยนางรม แต่มีขนาดใหญ่กว่า เปลือกขรุขระ สีขาวคล้ำ เช่น ชนิด Crassostrea iredalei (Faustino), C. belcheri (Sowerby), นางรมใหญ่ ก็เรียก. |
ทราย ๒ | (ซาย) น. ชื่อหอยกาบคู่หลายชนิด มีรูปเปลือกแตกต่างกันไป ที่เป็นหอยน้ำจืด เช่น ชนิด Corbicula javanica (Mousson) ในวงศ์ Corbiculidae ที่เป็นหอยทะเล เช่น ชนิด Asaphis violascens (Forsska&npsp;ํl) ในวงศ์ Psammobiidae. |
นางรม ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Ostreidae รูปเปลือกค่อนข้างกลม ยาวรี หรือบิดเบี้ยวตามพื้นที่ที่ติดอยู่ ส่วนใหญ่มีสีเทา เปลือกล่างเป็นแอ่งคล้ายรูปถ้วยยึดติดกับวัสดุที่ใช้เป็นอาหาร เช่น ชนิด Saccostrea forskali (Gmelin), อีรม ก็เรียก. |
พอก ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ ในวงศ์ Veneridae รูปเปลือกค่อนข้างกลม สีนวล ผิวเปลือกมีสันลักษณะเป็นเส้นทั้งในแนวตั้งและแนวนอน เช่น ชนิด Periglypta puerpera (Linn). |
พิมปะการัง | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Pholas orientalis Gmelin ในวงศ์ Pholadidae เปลือกบางเปราะค่อนข้างยาว สีขาวคล้ำ ผิวขรุขระสามารถใช้เปลือกเจาะพื้นที่เป็นดินโคลนให้เป็นรูเพื่อผังตัวอยู่ได้, พิม พิมการัง หรือ พิมพการัง ก็เรียก. |
เพรียง ๓ | (เพฺรียง) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Teredinidae ลำตัวกลมยาวอ่อนนุ่มคล้ายหนอน เปลือกเล็กมากคลุมอยู่เฉพาะหัว เจาะกินเนื้อไม้ ที่แช่อยู่ในน้ำ เช่น ชนิด Lyrodus pedicellatus (Quatrefages), หนอนเพรียง หรือ เพรียงเรือ ก็เรียก. |
มือเสือ ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Tridacnidae เปลือกหนาหนักสีขาวคล้ำหรือสีนวล บางชนิดมีลายเป็นเส้นสีน้ำตาล เปลือกมีสันและร่องทำให้ขอบเปลือกหยักเป็นลอน พบตามพื้นท้องทะเลบริเวณที่มีแนวปะการัง เช่น ชนิด Tridacna squamosa Lamarck, T. Crocea Lamarck, Hippopus hippopus (Linn.). |
มุก | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Pteriidae เปลือกแบน ค่อนข้างกลมสีเทาอมดำหรือสีน้ำตาล ผิวเปลือกมีแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปกคลุม ด้านในเป็นมุก สร้างไข่มุกได้ เช่น ชนิด Pinctada margaritifera (Linn.). |
แมลงภู่ ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Mytilidae เปลือกยาวรี สีเขียวคล้ายสีของแมลงภู่ เช่น ชนิด Perna viridis (Linn.) เกาะติดตามเสาหรือวัตถุอื่นตามชายฝั่ง. |
ลาย ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Veneridae เปลือกเรียบ พื้นสีน้ำตาลอมเหลือง หรือเหลืองเข้ม มีลายเป็นเส้นหยักสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม อาศัยตามพื้นที่เป็นทรายปนโคลน เช่น ชนิด Paphia undulata (Born). ใช้เป็นอาหาร. |
เสียบ ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด เช่น ชนิด Donax faba Gmelin ในวงศ์ Donacidae เปลือกรูปสามเหลี่ยมมีสีและลายหลากหลายแตกต่างกัน ฝังตัวอยู่ตามหาดทรายในระดับนํ้าขึ้นนํ้าลง นำมาดองนํ้าปลา, ชนิด Phaxas attenuates (Dunker) ในวงศ์ Cultellidae เปลือกยาว ปลายมนทั้ง ๒ ด้าน ฝังตัวอยู่ตามหาดเลน นำมาประกอบเป็นอาหารสดหรือตากแห้งก็ได้. |
หลอด ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Solenidae เปลือกประกบกันเป็นรูปทรงกระบอก มีช่องเปิดทั้งด้านหน้าและด้านท้าย มีสีเขียว เขียวอมเหลือง น้ำตาลอมเหลือง ฝังตัวอยู่ใต้พื้นที่เป็นโคลน เช่น ชนิด Solen strictus Gould ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงครามได้ชื่อเพราะมีหอยชนิดนี้ชุกชุม. |
หอย | น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัม Mollusca มีเปลือกหุ้มตัว ส่วนใหญ่แบ่งออกได้เป็น ๒ จำพวก ตามลักษณะเปลือก คือ จำพวกกาบเดี่ยว เช่น หอยขม (Filopaludina doliaris Gould) และจำพวกกาบคู่ เช่น หอยนางรม [ Saccostrea forskali (Gmelin) ] ที่มีเป็นส่วนน้อยเป็นพวกที่มีเปลือกแตกต่างออกไป เช่น หอยงาช้าง ชนิด Dentalium longitrorsum Reeve หอยงวงช้าง ชนิด Nautilus pompilius (Linn.). |