ไร ๆ | ว. อาการที่มองเห็นอยู่ไกลลิบ ๆ ไม่ชัด เช่น เห็นทิวไม้อยู่ไร ๆ |
ไร ๆ | เริ่มนึกออกได้เล็กน้อย เช่น เรื่องที่มาปรึกษานึกเห็นทางออกได้ไร ๆ. |
กระเทือน | ก. มีอาการสั่นไหวเพราะถูกกระทบ เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า เป็นทุกข์กังวล เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า. |
กระเทือนซาง | ก. เป็นทุกข์กังวลเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากระทบความรู้สึกอย่างรุนแรง เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทือนซาง ถูกตำหนิอย่างแรงทำให้รู้สึกกระเทือนซาง. |
กระเทื้อม | รู้สึกรู้สา เช่น ว่าเท่าไร ๆ ก็ไม่กระเทื้อม. |
เขยื้อน | (ขะเยื่อน) ก. ไหวตัวหรือเคลื่อนที่, ทำให้ไหวตัวหรือให้เคลื่อนที่, (มักใช้แก่ของหนัก) เช่น ตู้ใบนี้หนักมาก ดันเท่าไรไม่เขยื้อนเลย, โดยปริยายหมายความว่า ขยับตัว เช่น เรียกใช้ให้ทำงานเท่าไร ๆ ก็นั่งนิ่งไม่ยอมเขยื้อน. |
โจ่งครึ่ม, โจ๋งครึ่ม, โจ่งครุ่ม | ว. ลักษณะเสียงอย่างหนึ่งคล้ายกับเสียงกลองแขกดัง เลยหมายความเลือนไปถึงทำการสิ่งไร ๆ ที่เป็นการเปิดเผย, อย่างเปิดเผย, อย่างโจ่งแจ้ง, อย่างไม่เกรงกลัวใคร. |
บ้าสมบัติ | ว. ที่เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าไปทั้งหมด |
บ้าหอบฟาง | ว. บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง. |
ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า | การทำอะไร ๆ จะให้ถูกใจคนทั้งหมดนั้นเป็นไปไม่ได้. |
ฝนตกก็แช่ง ฝนแล้งก็ด่า | ว. ทำอย่างไร ๆ ก็ไม่ถูกใจสักอย่าง. |
พลิกแผ่นดิน | ว. อาการที่ตามหาเท่าไร ๆ ก็ไม่พบ เช่น หาจนพลิกแผ่นดิน. |
มับ | ว. คำสำหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า. |
ยุไม่ขึ้น | ก. หนุนเท่าไร ๆ ก็ไม่ยอมทำตาม. |
ยุบยอบ | ก. น้อยลง, จนลง, ขัดสนลง, เช่น ใช้เท่าไร ๆ เงินก็ไม่ยุบยอบ. |
รู้การรู้งาน | ก. ทำงานเก่ง เช่น คนรู้การรู้งาน ทำงานอะไร ๆ ก็เรียบร้อย. |
รู้เรื่อง | ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้เรื่อง. |
เลี้ยงไม่เชื่อง | ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอามาเลี้ยงอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ. |
แวม ๆ, แว็ม ๆ | ว. ลักษณะของแสงที่เห็นเคลื่อนไหวอยู่เรือง ๆ ไร ๆ เช่น แสงของพรายน้ำแวม ๆ ในความมืด. |
สะเทือน, สะเทื้อน | ก. มีอาการสั่นไหวเพราะถูกกระทบ เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกสะเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านสะเทือน, โดยปริยายหมายความว่า เป็นทุกข์กังวล เช่น เขาว่าลูกก็สะเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่สะเทือน, กระเทือน ก็ว่า. |
หมับ | ว. คำสำหรับประกอบกิริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้าหมับ ฉวยหมับ หยิบหมับ, มับ ก็ว่า. |
หัวทึบ | ว. โง่มาก เช่น เด็กคนนี้หัวทึบ สอนอย่างไร ๆ ก็ไม่เข้าใจ. |
หูแตก | น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมายความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตกหรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน. |
หูไว | รู้ข่าวคราวเร็ว เช่น เขาเป็นคนหูไว รู้เรื่องอะไร ๆ ก่อนคนอื่นเสมอ. |
อรูปฌาน | (อะรูบปะชาน) น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากา-สานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่). |