มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ |
| ใช้กำลังประทุษร้าย | ก. ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และหมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน. | กด ๔ | ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี | กดน้ำ | ก. ใช้กำลังกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มิดลงไปในนํ้า ในความว่า จับกดน้ำ จับหัวกดน้ำ. | กรรโชก | (กัน-) น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น. | กระโดด | ก. ใช้กำลังเท้าดันพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้นหรือเคลื่อนจากที่เดิม เช่น กระโดดสูง ดีใจกระโดดจนตัวลอย, ภาษาปากว่า โดด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์กระโดด. | กุมเหง | ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กำลังหรืออำนาจทำให้เดือดร้อน, คุมเหง ก็ว่า. | ข่ม | ก. ใช้กำลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น | ข่มขืนกระทำชำเรา | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ ชำเราบุคคลอื่น ไม่ว่าผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำจะเป็นชายหรือหญิง และจะเป็นคู่สมรสของตนหรือไม่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยผู้ถูกกระทำอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น. | ข่มขืนใจ | ก. บังคับจิตใจหรือฝืนใจให้ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน. | ข่มเหง | (-เหง) ก. ใช้กำลังรังแกแกล้งทำความเดือดร้อนให้ผู้อื่น. | คุมเหง | ก. ข่มเหง, รังแก, ใช้กำลังหรืออำนาจทำให้เดือดร้อน, กุมเหง ก็ว่า. | โจมตี | ก. ใช้กำลังบุกเข้าตี เช่น โจมตีข้าศึก, โดยปริยายหมายความว่า พูดหรือเขียนว่าหรือกล่าวหาผู้อื่นอย่างรุนแรง เช่น ๒ พรรคการเมืองโจมตีกันและกัน หนังสือพิมพ์โจมตีผู้บริหารที่ทุจริต. | ฉีด | ก. ใช้กำลังอัดหรือดันให้ของเหลวอย่างนํ้าพุ่งออกจากช่องเล็ก ๆ. | ชิงทรัพย์ | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ ลักทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม. | ปล้น | (ปฺล้น) ก. ใช้กำลังลอบมาหักโหมแย่งชิงเอาโดยไม่รู้ตัว. | พลการ | (พะละกาน) น. การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อำเภอใจ, เช่น ทำโดยพลการ. | พลานึก | น. ทหาร, นักรบที่ต้องใช้กำลังกาย. | ยึดอำนาจ | ก. ใช้กำลังเข้าแย่งอำนาจในการบริหารบ้านเมือง, โดยปริยายใช้ในความคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตอนนี้ลูกยึดอำนาจในบ้านหมดแล้ว. | โยธา ๒ | น. งานที่ต้องใช้กำลังกายเกี่ยวกับการก่อสร้างมีแบก หาม ทำความสะอาดเป็นต้น เรียกว่า งานโยธา. | รั้ง | ก. หน่วงเหนี่ยวไว้ เช่น รั้งตัวไว้ก่อน, เหนี่ยว เช่น แขนเสื้อรั้ง, ชักมา, ใช้กำลังเต็มที่เพื่อให้สิ่งที่มีแรงต้านทานเคลื่อนเข้ามาหรือหยุดอยู่ เช่น รั้งวัวรั้งควาย | รัฐประหาร | (รัดถะปฺระหาน, รัดปฺระหาน) น. การใช้กำลังเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน. | ราวี | ก. รบ เช่น ยกทัพไปราวีข้าศึก, รบกวนหรือระรานโดยใช้กำลังรังแกเป็นต้น เช่น อันธพาลชอบราวีชาวบ้าน, (ปาก) สู้กัน, ตะลุมบอนกัน, เช่น นักเรียนกำลังราวีกัน. | รีด | ใช้กำลังหรืออิทธิพลบังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น รีดเอาเงิน รีดเอาทรัพย์, ใช้ว่า รีดไถ ก็มี. | แรง ๑ | ใช้กำลังกระทำถึงขีด เช่น อย่าทำแรง ตีแรง ๆ, แข็ง, มีกำลัง | เลื่อยโยง | น. เครื่องมือสำหรับโกรกหรือฉลุไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาว ปลายข้างบนผูกโยงกับคันคานดีด ปลายข้างล่างผูกโยงกับไม้รองกระเดื่อง ใช้กำลังคนเหยียบกระเดื่องชักใบเลื่อยให้ทำงาน. | ศึก | น. การใช้กำลังเข้าประหัตประหารกันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐหรือประเทศตั้งแต่ ๒ รัฐหรือ ๒ ประเทศขึ้นไป เช่น ศึกชายแดน, การต่อสู้กันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือระหว่างพวกหนึ่งกับอีกพวกหนึ่ง เช่น ศึกล้างบาง ศึกล้างโคตร, โดยปริยายหมายถึงการเกิดขัดแย้งต่อสู้เป็นปฏิปักษ์ขึ้นในใจ เช่น ศึกในอก. | สีลม | น. ชื่อเครื่องสีข้าวซึ่งใช้กำลังลมหมุนใบพัดให้หมุนเครื่องจักร. | แหก | ก. แยกออก, ถ่างออก, ทำให้อ้าออก, เช่น แหกขา, ใช้กำลังฟันฝ่าออกไป เช่น แหกคุก กองทหารตีแหกวงล้อมข้าศึกออกไป. | ออกกำลัง | ก. ใช้กำลัง | ออกแรง | ก. ใช้กำลัง, ใช้แรงงาน, ใช้ความพยายาม, โดยปริยายหมายความว่า วิ่งเต้นขอความช่วยเหลือในกิจที่ต้องประสงค์. | ไอพ่น | น. ชื่อเครื่องยนต์ชนิดหนึ่งซึ่งเผาเชื้อเพลิงให้เป็นแก๊สพุ่งออกมาตามท่อด้วยความดันสูงมาก ทำให้เกิดพลังขับเคลื่อนได้, เรียกเครื่องบินที่ใช้กำลังด้วยเครื่องยนต์เช่นนั้น ว่า เครื่องบินไอพ่น. |
| | Gaseous diffusion plant | โรงงานแบบแพร่แก๊ส, <font color="#8b0000"><em>โรงงานเสริมสมรรถนะยูเรเนียม</em></font>แบบหนึ่ง โดยการแยกไอโซโทปยูเรเนียม-238 และยูเรเนียม-235 ในรูปแก๊สเฮกซะฟลูออไรด์ออกจากกัน ภายในเครื่องแพร่แก๊สที่มีตัวกั้นเป็นรูพรุน ยูเรเนียม – 235 ซึ่งเบากว่าจะแพร่ผ่านเข้าสู่เครื่องแพร่แก๊สถัดๆ ไปในอัตราที่เร็วกว่า จนกว่าจะได้ยูเรเนียม-235 ที่มีสมรรถนะตามต้องการ โรงงานชนิดนี้มีขนาดใหญ่และใช้กำลังไฟฟ้ามาก จึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน [นิวเคลียร์] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] | Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] | peace enforcement | การบังคับให้เกิดสันติภาพ " เป็นมาตรการใช้กำลังบังคับผู้ที่กำลังดำเนินการที่เป็นการละเมิด สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศให้ยุติการกระทำดังกล่าว " [การทูต] | Sanctions | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต] | Treaty of Amity and Cooperation | สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยอาเซียนเมี่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนด หลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค โดยมีหลักการที่สำคัญได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติ การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตราเกี่ยวกับแนวทางยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี (High Council) ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ เป็นภาคีสนธิสัญญาฯ " [การทูต] | Energy Expenditure | ปริมาณพลังงานที่ใช้, การใช้กำลังงาน [การแพทย์] | Labour Intensive | การใช้กำลังคน [การแพทย์] | Maintenance | ใช้กำลังงานเพื่อดำรงชีวิต, ระยะไข้คง [การแพทย์] | Mechanical Process | กระบวนการทางการใช้กำลัง [การแพทย์] |
| ใช้กำลัง | [chai kamlang] (v, exp) EN: use force against ; exert oneself ; fight ; engage in battle FR: recourir à la force ; faire usage de la force ; utiliser la force |
| leverage | (vt) ใช้กำลังให้เป็นประโยชน์ | augmented reality (AR) | (n) ความเป็นจริงเสริม (เออาร์), สภาวะจริงที่แต่งเติมขึ้นด้วยเทคโนโลยี เช่น ผู้ใช้กำลังดูรถยนต์อยู่และต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ ก็อาจจะใช้แว่นตาชนิดพิเศษซึ่งสามารถแสดงข้อมูลรถยนต์ซ้อนลงบนภาพรถยนต์ที่กำลังมองอยู่ได้ [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] |
| beachhead | (n) การใช้กำลังยึดชายหาด (ทางทหาร), See also: การยึดหัวหาด, Syn. bridgehead | crush in | (phrv) บังคับให้หยุด, See also: ทำให้เลิกโดยใช้กำลัง, Syn. bash in, beat in, stave in | dragoon into | (phrv) กดขี่ข่มเหง, See also: ใช้กำลังบังคับ | dragoon | (vt) การปราบปรามโดยใช้กำลังทหาร | elbow grease | (n) งานที่ต้องใช้กำลังแขนมาก (คำไม่เป็นทางการ), See also: งานหนัก, อาชีพที่ต้องใช้กำลังมาก, Syn. toil, travail | enforce | (vt) ใช้กำลังบังคับให้ปฏิบัติตาม, See also: บังคับให้ทำ, Syn. coerce, compel, force | exertion | (n) กิจกรรมที่ต้องลงแรงมาก, See also: กิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก, Syn. effort | exhaustion | (n) ความเหนื่อยอ่อน, See also: ความอ่อนเพลีย, การสิ้นสภาพ, การหมดแรง, การใช้กำลังหมด, Syn. fatigue, lasstitude, weariness | herculean | (adj) ซึ่งต้องใช้กำลังและความพยายามอย่างมาก | muscle in | (phrv) ใช้กำลังควบคุม (คำสแลง), Syn. horn in | manual | (adj) ซึ่งใช้แรงกาย, See also: ซึ่งใช้กำลังกาย | overwork | (vi) ทำงานมากไป, See also: ใช้กำลังเกินไป, ทำงานหักโหม, Ant. rest | overwork | (vt) ทำงานมากไป, See also: ใช้กำลังเกินไป, ทำงานหักโหม, Ant. loaf | pneumatic | (adj) ซึ่งใช้กำลังอัดของอากาศ | put forth | (phrv) ใช้กำลัง, Syn. put out | put out | (phrv) ใช้กำลัง, See also: ใช้ความพยายาม, Syn. put forth | rough | (vt) ใช้กำลังรุนแรงต่อคู่แข่งขัน (เช่น ฟุตบอล, ฮ็อกกี้) | seizure | (n) การยึดครองดินแดนโดยใช้กำลังทหาร, See also: การครอบครองทางทหาร, Syn. occupation, usurpation | steamroller | (vt) บีบบังคับ, See also: ใช้กำลังบังคับ, Syn. compel, force | strenousity | (n) การใช้กำลังมาก | strenously | (adv) อย่างใช้กำลังมาก | strenousness | (n) การใช้กำลังมาก | strenuous | (adj) ซึ่งต้องใช้กำลังมาก, See also: ซึ่งต้องออกแรง, เหนื่อยยาก, ซึ่งอาบเหงื่อต่างน้ำ, Syn. hard, laborious, uphill | take | (vt) ยึด, See also: เอาไปโดยใช้กำลัง, Syn. seize, catch | take out | (phrv) ดึงออก, See also: ใช้กำลัง ถอนออก, Syn. extract, pull out | violence | (n) การใช้กำลังทำลาย, See also: การทำลาย, Syn. force, savagery |
| action | (แอค' เชิน) n. การกระทำ, การปฏิบัติ, การดำเนินการ, ท่าทาง, ขั้นตอน, การฟ้องร้อง, ฤทธิ์, อำนาจ, เหตุการณ์, การใช้กำลัง, การเดิน, การเคลื่อนไหว, การรบ, การพนัน, การกระทำที่ตื่นเต้น. -actions ความประพฤติ | compel | (คัมเพล') { compelled, compelling, compels } vt. บังคับ, ผลักดัน, เกณฑ์, ใช้วิธีบังคับ, ได้มาโดยการบังคับ, ต้อน. vi. ใช้กำลัง, มีอิทธิพลต่อ, See also: compeller n., Syn. enforce | enforce | (เอนฟอร์ส') vt. ทำให้ปฎิบัติตาม, ใช้กำลังบังคับ, บังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย, See also: enforceability n. ดูenforce enforcer n. ดูenforce enforcive adj. ดูenforce enforcement n. ดูenforce | forcible | (ฟอร์ซฺ'ซิเบิล) adj. ใช้กำลัง, มีกำลัง, มีพลัง, ให้กำลัง, ได้ผล, จูงใจ, โน้มน้าวจิตใจ., See also: forcibility n., forcibly adv., Syn. compulsory | gas plasma display | จอภาพก๊าซพลาสมาหมายถึง จอภาพพิเศษที่ออกแบบให้ใช้เฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) จอภาพชนิดนี้จะให้ความสว่างเรืองรองออกเป็นสีส้ม ดูคล้าย ๆ กับกัมมันตภาพรังสี ใช้กำลังไฟสูง ราคาแพง และมักจะไม่มีสี (มีแต่สีขาว/ดำ) ปัจจุบันจอโทรทัศน์ก็ใช้จอแบบเดียวกันนี้ แต่มีสีสันสวยงาม | herculean | (เฮอ'คิวเลียน) adj. ยากมาก, ต้องใช้กำลังมหาศาล, มีกำลังมหาศาล, กล้าหาญมาก, ใหญ่มาก, เกี่ยวกับเฮอร์คิวลิส | lcd | (แอลซีดี) ย่อมาจากคำว่า liquid crystal display (จอภาพผลึกเหลว) ใช้ทำจอภาพ มีลักษณะเป็นของเหลวใสเหมือนแก้วเจียรนัย อัดอยู่ระหว่างเนื้อแก้วสองชั้น เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงจากภายนอก จะสะท้อนแสงออกมาเป็นมุมต่าง ๆ ใช้เป็นตัวแสดงอักขระและภาพ คอมพิวเตอร์ขนาดวางตักนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ จอภาพนี้แม้จะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก แต่จะชัดเจนดี นิยมใช้กับเครื่องคำนวณที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ด้วย | liquid crystal display | จอภาพผลึกเหลวใช้ตัวย่อว่า LCD (อ่านว่า แอลซีดี) ใช้ทำจอภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว ใสเหมือนแก้วเจียรนัย อัดอยู่ระหว่างเนื้อแก้วสองชั้น เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงจากภายนอก จะสะท้อนแสงออกมาเป็นมุมต่าง ๆ ใช้เป็นตัวแสดงอักขระและภาพ คอมพิวเตอร์ขนาดวางตักนิยมใช้จอภาพชนิดนี้ จอภาพนี้แม้จะใช้กำลังไฟฟ้าน้อยมาก แต่จะชัดเจนดี นิยมใช้กับเครื่องคำนวณที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ด้วย | rescue | (เรส'คิว) vt. ช่วยเหลือ, ช่วยชีวิต, ช่วยให้รอด, ให้กำลังแย่งเอาไป, n. การช่วยเหลือ, การช่วยชีวิต, การช่วยให้รอด, การใช้กำลังแย่งเอาไป, See also: rescuable adj. rescuer n., Syn. save, free, release, liberate | robust | (โรบัสท'ฺ, โร'บัสทฺ) adj. แข็งแรง, เข้มแข็ง, มีกำลังมาก, กำยำ, ที่ใช้กำลังมาก, เอางานเอาการ, หยาบ, เอะอะ, อุดมสมบูรณ์, Syn. hardy, vigorous | rough-up | (รัฟ'อัพ) n. การใช้กำลัง | second generation compute | คอมพิวเตอร์ยุคที่สองหมายถึงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ราวทศวรรษ 1960 จนถึงต้น 1970 มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ มีขนาดเล็กว่ายุคที่หนึ่งมาก ใช้กำลังไฟน้อยลง และให้ความร้อนน้อยลงด้วย เพราะหน่วยความจำที่ใช้เป็น วงจรที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ (transistor) แทนที่จะเป็นหลอดสุญญากาศเหมือนยุคที่หนึ่ง ส่วนหน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) นิยมใช้เทปหรือแถบบันทึก และจานบันทึก การนำข้อมูลเข้าและการแสดงผล สามารถทำได้ควบคู่ไปกับการคำนวณ เริ่มรู้จักใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system) ควบคุมดูแลการทำงานของคอมพิวเตอร์ | shotgun | (ชอท'กัน) n. ปืนสั้น, ปืนล่าสัตว์ adj. เกี่ยวกับปืนดังกล่าว, คลุมไปหมด vt. ยิงด้วยปืนดังกล่าว, บีบบังคับ, ใช้กำลังบังคับ | strained | (สเทรนดฺ) adj. ใช้กำลัง, ออกแรง, ฝืน, ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ, เครียด., See also: strainedness n. | strenuous | (สเทรน'นิวอัส) adj. แข็งแรง, มีพลัง, เข้มแข็ง, บากบั่น, พากเพียร, อุตสาหะ, ใช้กำลังมาก., See also: strenuousness n. strenuosity n., Syn. demanding, arduous, tough, uphill | tooth and nail | n. อย่างดุเดือด, ใช้กำลังหรือทุนเต็มที่, Syn. fiercely | violence | (ไว'อะเลินซฺ) n. ความรุนแรง, ความดุเดือด, การใช้กำลัง, ความพลการ, การทำลาย, การล่วงละเมิด, การสบประมาท, การทำให้บาดเจ็บ | violent | (ไว'อะเลินทฺ) adj. รุนแรง, ดุเดือด, ใช้กำลัง, พลการ, ทำลาย, ล่วงละเมิด, สบประมาท, ซึ่งทำให้บาดเจ็บ., See also: violently adv. |
| enforce | (vt) บังคับให้กระทำ, ใช้กำลังบังคับ, ทำให้ปฏิบัติตาม | enforceable | (adj) บังคับได้, ใช้กำลังบังคับได้ | enforcement | (n) การบังคับ, การใช้กำลังบังคับ | forcible | (adj) โดยการบังคับ, ซึ่งใช้กำลัง, ซึ่งใช้อำนาจ | hydraulic | (adj) ซึ่งใช้กำลังน้ำ | overpower | (vt) มีอำนาจเหนือ, มีกำลังเหนือ, ใช้กำลัง, ทำให้หมดกำลัง | overstrain | (n) การใช้กำลังมากไป | overstrain | (vt) ทำงานมากเกินไป, ใช้กำลังมากไป | violent | (adj) รุนแรง, หักโหม, ใช้กำลัง, ล่วงละเมิด | WATER water mill | (n) โรงสีใช้กำลังน้ำ |
| 実力行使 | [じつりょくこうし, jitsuryokukoushi] (phrase) ใช้กำลัง |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |