กก ๔ | ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้. |
ก๊ก | น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. |
กรด ๑ | (กฺรด) น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทำให้สิ่งอื่นแปรไป |
กระแจะ ๑ | น. ผงเครื่องหอมต่าง ๆ ที่ประสมกันสำหรับทา เจิม หรืออบผ้า โดยปรกติมีเครื่องประสม คือไม้จันทน์ แก่นไม้หอม ชะมดเชียง หญ้าฝรั่น. |
กระชอน ๑ | น. เครื่องกรอง โดยปรกติสานด้วยผิวไม้ไผ่ ใช้กรองกะทิเป็นต้น. |
กลฉ้อฉล | (กน-) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ผู้อื่นหลงผิดจนเข้าทำนิติกรรม หรือจนคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันเป็นภาระอันหนักขึ้นกว่าที่คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปรกติ. |
ก้าง ๑ | น. ส่วนแข็งที่ประกอบเป็นโครงร่างของปลา โดยปรกติหมายเอาชิ้นที่แหลมเล็ก ๆ. |
กู่ ๒ | ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้. |
ขั้วแม่เหล็ก | น. บริเวณที่ตัวแท่งแม่เหล็กซึ่งมีแรงแม่เหล็กมากที่สุด โดยปรกติบริเวณดังกล่าวจะอยู่ใกล้ปลายทั้ง ๒ ของแท่งแม่เหล็ก, ถ้าชี้ไปทางทิศเหนือ เรียกว่า ขั้วเหนือ ถ้าชี้ไปทางทิศใต้ เรียกว่า ขั้วใต้. |
ข่าว | น. คำบอกเล่าเรื่องราวซึ่งโดยปรกติมักเป็นเรื่องเกิดใหม่หรือเป็นที่สนใจ, คำบอกกล่าว, คำเล่าลือ. |
เข็น | ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไปบนพื้น เช่น เข็นเรือที่เกยตลิ่งให้ลงน้ำ เข็นเกวียนขึ้นจากหล่ม, ดันให้เคลื่อนที่ไปบนพื้น เช่น เข็นรถ, บรรทุกไปโดยใช้เกวียน เลื่อน หรือเรือ เป็นต้น เช่น เข็นข้าว เข็นไม้ |
คลื่น | (คฺลื่น) น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลำคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการเคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไปเป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น. |
คำ ๒ | น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท |
ชะดีชะร้าย | ว. เผื่อว่า, บางทีแสดงถึงความไม่แน่นอน, เช่น ซื้อลอตเตอรี่ไว้สักใบเถิด ชะดีชะร้ายจะถูกรางวัล, โดยปรกติมักใช้ในลักษณะเหตุการณ์ที่สังหรณ์หรือกริ่งเกรงว่าอาจจะเกิดขึ้นตามที่คาดไว้ เช่น ชะดีชะร้ายก็จะตายเสียกลางทาง. |
ซีก | น. ส่วนที่ผ่าครึ่ง, ส่วนของสิ่งบางอย่างเช่นไม้ไผ่หรือแตงโมที่ผ่าออกโดยปรกติตามยาว, โดยปริยายหมายความว่า ด้าน, ส่วน, เช่น ร่างกายตายไปซีกหนึ่ง ปลาทูซีกนี้ |
เดือน | ส่วนของปี โดยปรกติมี ๓๐ วัน. |
ต้นไม้ | น. คำรวมเรียกพืชทั่วไปโดยปรกติมีลำต้นใหญ่ มีกิ่งแยกออกไป เช่น ถนนสายนี้ปลูกต้นไม้ตลอด ๒ ข้างทาง. |
ตอง ๑ | เรียกไพ่ไทยชนิดหนึ่ง โดยปรกติเล่นกัน ๖ ขา ว่า ไพ่ตอง, จำนวนไพ่ที่มีเหมือนกัน ๓ ใบ เรียกว่า ตอง, ลักษณนามเรียกไพ่ไทยที่เหมือนกัน ๓ ใบ เช่น ไพ่ตองหนึ่ง ไพ่ ๒ ตอง. |
ตะกรุด | (-กฺรุด) น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทำด้วยโลหะหรือใบลานเป็นต้น โดยปรกติลงคาถาอาคมแล้วม้วนเป็นรูปกลมยาวและกลวง, กะตรุด กะตุด หรือ กระตรุด ก็ว่า. |
เต้นรำ | ก. เคลื่อนไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนดให้เข้าจังหวะกับดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ โดยปรกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง. |
ใต้โต๊ะ | ว. เรียกเงินที่แอบให้กันโดยมิชอบ โดยปรกติจะให้กันใต้โต๊ะ. |
ทันกิน | ก. คิดหรือทำการใด ๆ ทันท่วงที (โดยปรกติใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น ทำการงานช้าไม่ทันกิน มัวงุ่มง่ามอยู่อย่างนี้ไม่ทันกิน. |
ที่ราบ | น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะเป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะแตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร. |
นักท่องเที่ยว | น. บุคคลที่เดินทางจากท้องที่อันเป็นถิ่นที่อยู่โดยปรกติของตนไปยังท้องที่อื่นเป็นการชั่วคราวด้วยความสมัครใจ และด้วยวัตถุประสงค์อันมิใช่เพื่อไปประกอบอาชีพหรือหารายได้ เช่น การพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาหาความรู้ การบันเทิง. |
บงสุกุล | น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพ ว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติใช้ว่า บังสุกุล. (ดู บังสุกุล). |
บุกรุก | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข |
ปิ้ง | ก. ทำให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ มักใช้แก่ของแห้ง โดยปรกติใช้เวลาน้อยกว่าย่าง เช่น ปิ้งข้าวเกรียบ ปิ้งเนื้อเค็ม ปิ้งปลาแห้ง. |
ผม ๑ | น. ขนที่ขึ้นอยู่บนศีรษะ โดยปรกติเป็นเส้นยาว, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ เผ้า เป็น ผมเผ้า หรือ เผ้าผม. |
ผู้อำนวยเพลง | น. ผู้กำกับและควบคุมการบรรเลงหรือการขับร้องของวงดุริยางค์ วงดนตรี วงนักร้องประสานเสียง ให้มีเอกภาพ รวมทั้งตีความบทเพลงให้สมบูรณ์ โดยปรกติใช้มือ สายตา และสีหน้าท่าทางเป็นสื่อในการให้สัญญาณ, วาทยกร ก็เรียก. |
ฝูงบิน | น. ขบวนบิน โดยปรกติมีเครื่องบิน ๖ เครื่องขึ้นไป. |
พิมพ์ลายนิ้วมือ | ก. กดปลายนิ้วมือที่ทาหมึกให้เป็นรอยติดอยู่เป็นหลักฐาน โดยปรกติใช้เฉพาะนิ้วหัวแม่มือ, (ปาก) แตะโป้ง หรือ แปะโป้ง. |
ม่าน ๑ | น. เครื่องกั้นบัง โดยปรกติทำด้วยผ้า ใช้ห้อยกั้นห้องหรือประตูหน้าต่างเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ม่านควัน. |
ไม้ ๑ | น. คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดำ ไม้แดง, ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างใน ว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้ |
ย่าง ๑ | ก. ทำให้สุกด้วยการวางไว้เหนือไฟ เพื่อให้สุกระอุทั่วกัน หรือให้แห้ง มักใช้แก่ของสด โดยปรกติใช้เวลานานกว่าปิ้ง เช่น ย่างไก่ ย่างหมู. |
รอนสิทธิ | ก. รบกวนขัดสิทธิของบุคคลในอันที่จะครองหรือใช้ทรัพย์สินโดยปรกติสุข. |
ระดับ | น. ลักษณะของพื้นผิวตามแนวนอนระหว่างจุด ๒ จุดที่มีความสูงเสมอกัน โดยปรกติใช้ระดับนํ้าทะเลเป็นมาตรฐานในการวัด, เรียกเครื่องวัดความเสมอของพื้นผิวว่า เครื่องวัดระดับ. |
ระนาดเอก | น. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมากทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง โดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัด มีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือ ไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบาและนุ่มนวล. |
รักบี้ | น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง เล่นครั้งแรกที่โรงเรียนรักบี้ ประเทศอังกฤษ แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย โดยปรกติเล่นฝ่ายละ ๑๕ คน แต่ที่เล่นฝ่ายละ ๗ คนก็มี ผู้เล่นแต่ละฝ่ายพยายามแย่งลูกรักบี้ไปวางพ้นแนวประตูฝ่ายตรงข้าม แล้วนำมาเตะ ณ แนวจุดเตะเพื่อให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายที่ได้คะแนนมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกเต็มว่า รักบี้ฟุตบอล, เรียกลูกหนังที่มีลักษณะกลมรีใช้ในการเล่นรักบี้ ว่า ลูกรักบี้. |
วัด ๑ | น. สถานที่ทางศาสนา โดยปรกติมีโบสถ์ วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์หรือนักบวชเป็นต้น. |
วัยตกกระ | น. วัยของผู้สูงอายุ โดยปรกติผิวหนังมักตกกระ. |
วาทยกร | (วาทะยะกอน, วาดทะยะกอน) น. ผู้กำกับและควบคุมการบรรเลงหรือการขับร้องของวงดุริยางค์ วงดนตรี วงนักร้องประสานเสียง ให้มีเอกภาพ รวมทั้งตีความบทเพลงให้สมบูรณ์ โดยปรกติใช้มือ สายตา และสีหน้าท่าทางเป็นสื่อในการให้สัญญาณ, ผู้อำนวยเพลง ก็เรียก. |
สดุดี | (สะ-) น. คำยกย่อง, คำสรรเสริญ, (โดยปรกติใช้ในลักษณะเป็นพิธีการ), เช่น กล่าวสดุดีวีรกรรมของทหาร. |
สังกมทรัพย์ | (สังกะมะ-) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกติอาจใช้ของอื่นอันเป็นประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากันแทนได้, ตรงข้ามกับ อสังกมทรัพย์. |
สังฆภัต | น. ข้าวที่ทายกถวายแก่สงฆ์ มักเรียกว่า ข้าวสงฆ์ โดยปรกติทายกนำอาหารไปถวายแก่สงฆ์ที่วัด และพระทำอปโลกนกรรมแบ่งกัน. |
อัน | คำบอกลักษณะสิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน |
อุปกรณ์ | สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น เช่น ยางอะไหล่. |
แอลกอฮอล์ | น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหยง่าย มีจุดเดือด ๗๘.๕ ํซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภทแป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะออกฤทธิ์ทำให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทำละลาย และเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. |