กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
กระชับ ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xanthium indicum K. Koenig ex Roxb. ในวงศ์ Compositae มักขึ้นเป็นวัชพืชในทุ่งนาและริมนํ้า ลำต้นและใบคาย ใบมนเว้า ขอบจัก โคนใบแหลม ดอกเล็กรวมเป็นกระจุกแน่น ผลรี ยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีหนามปลายงอทั่วทั้งผล รากหอมอ่อน ๆ ใช้อบผ้าได้ บางส่วนของไม้นี้ใช้เป็นยาได้ แต่ทั้งต้นเป็นพิษต่อปศุสัตว์, ขี้ครอก หรือ ขี้อ้น ก็เรียก. |
กระชาย | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ในวงศ์ Zingiberaceae สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นหัวกลม ๆ มีรากสะสมอาหาร ซึ่งเรียวยาว อวบนํ้า ออกเป็นกระจุก ใช้เป็นผักและเป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร, พายัพเรียก กะแอน หรือ ละแอน. |
กระด้าง ๑ | ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C. B. Clarke ex Hook. f. ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและมีขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลำต้นที่ง่ามใบ ตำราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทำยาได้, พายัพเรียก กะด้าง. |
กะทกรก | น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Olax psittacorum (Willd.) Vahl ในวงศ์ Olacaceae ตามลำต้นมีหนามห่าง ๆ ใบรูปไข่หรือรี ๆ ดอกเล็ก สีขาว อยู่เป็นกระจุกที่ง่ามใบ ผลกลมหรือรีขนาดเท่าเม็ดบัวเขื่อง ๆ เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันทั่วไป, นํ้าใจใคร่ นางจุม หรือ นางชม ก็เรียก, อุดรเรียก เยี่ยวงัว. |
กะพง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Musculista senhousia (Benson) ในวงศ์ Mytilidae เปลือกบางรูปยาวรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเป็นเส้นสีนํ้าตาล อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือแผ่เป็นแผ่นใหญ่. |
กะลา ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Etlingera elatior (Jack) R. M. Sm. ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้ายบัวตูมแต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุกอยู่ภายใน ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อนใช้เป็นอาหาร, กาหลา หรือ ดาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้บางจังหวัดเรียก ปุดกะลา. |
ขล้อเทียน | (ขฺล้อ-) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Anogeissus rivularis (Gagnep.) O. Lecompte ในวงศ์ Combretaceae ใบเล็กลักษณะคล้ายใบทับทิม กิ่งมักเรียวและย้อย ช่อดอกและผลเป็นกระจุกกลม, คร่อเทียน ก็เรียก. |
ค้อ | น. ชื่อปาล์มชนิด Livistona speciosa Kurz ในวงศ์ Palmae ลำต้นตรง ใบออกเป็นกระจุกทรงกลม แต่ละใบแผ่เป็นรูปวงกลมคล้ายพัด ขอบก้านหยักเป็นสันคม ผลกลม ผิวเรียบ ออกเป็นพวงตามง่ามโคนก้านใบ. |
จุกโรหินี | (จุกกะ-) น. ชื่อไม้อิงอาศัย ๒ ชนิด ๒ สกุลในวงศ์ Asclepiadaceae เกาะเลื้อยบนต้นไม้ มีนํ้ายางขาว ชนิด Dischidia major (Vahl) Merr. ใบเป็นรูปถุง กลวงใน ออกเป็นกระจุก รากใช้ทำยาได้, พุงปลา หรือ พุงปลาช่อน ก็เรียก, พายัพเรียก กล้วยไม้, อีกชนิดหนึ่งคือ Streptocaulon kleinii Wight et Arn.ใบไม่เป็นถุง เป็นไม้เลื้อย, ขี้เดือน ก็เรียก. |
ชีล้อม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Oenanthe javanica (Blume) DC. ในวงศ์ Umbelliferae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ใบแบนรีขอบจัก ใช้เป็นผัก ดอกเป็นกระจุกสีขาว ผลกลมค่อนข้างยาว, อัน หรือ อันอ้อ ก็เรียก, พายัพและอีสานเรียก หนอกช้าง. |
ตะคร้ำ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garuga pinnata Roxb. ในวงศ์ Burseraceae ช่อดอกออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลเล็ก เป็นร่องตามยาว. |
ตานเสี้ยน | น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Xantolis วงศ์ Sapotaceae คือ ชนิด X. siamensis (H.R. Fletcher) P. Royen และชนิด X. burmanica (Collett et Hemsl.) P. Royen ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ผลกลมรี ปลายมีติ่งแหลม ชนิดหลังก้านใบและก้านดอกยาวกว่าชนิดแรก. |
ตานหม่อน | น. ชื่อไม้เถาชนิด Vernonia elliptica DC. ในวงศ์ Compositae ช่อดอกเป็นกระจุกสีขาวปนม่วง ใช้ทำยาได้. |
ตาลปัตรฤๅษี | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Opuntia cochenillifera (L.) Mill. ในวงศ์ Cactaceae กิ่งแบนอวบ ใบลดขนาดลงเป็นกระจุก ขนค่อนข้างแข็ง เป็นไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
ทรงกระเทียม | (ซง-) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Eleocharis dulcis (Burm.f.) Hensch. var. dulcis ในวงศ์ Cyperaceae ลำต้นกลม มีกาบบาง ๆ หุ้มที่โคน ดอกเป็นกระจุก มีหัวกินได้, แห้งทรงกระเทียม ก็เรียก. |
บัว | น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ ในสกุล Nelumbo วงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม, ปัทม์ ก็เรียก, พันธุ์ดอกป้อมสีขาว เรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกป้อมสีชมพู เรียก สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, ในสกุล Nymphaea วงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจัก อยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาว เรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchaliBurm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, ในสกุล Victoria วงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้งหรือบัววิกตอเรีย [ V. amazonica (Poeppig) Sowerby ] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก |
ปรู ๑ | (ปฺรู) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Alangium salviifolium (L.f.) Wangerin subsp. Hexapentalam Wangerin ในวงศ์ Alangiaceae ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลิ่นหอม เนื้อไม้สีนํ้าตาลคลํ้า ใช้ทำด้ามปืน พานท้ายปืน เปลือกรากใช้ทำยาได้. |
ผกากรอง | น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Lantana วงศ์ Verbenaceae เช่น ชนิด L. camara L. ลำต้นตรง กิ่งสี่เหลี่ยมมีหนามเล็กห่าง ๆ ช่อดอกเป็นกระจุกสีชมพู หรือ แดงอมเหลือง ปลูกเป็นไม้ประดับ และแพร่พันธุ์จนเป็นวัชพืชในบางท้องที่, ก้ามกุ้ง ก็เรียก, ชนิด L. sellowiana Link et Otto ลำต้นเลื้อย กิ่งไม่มีหนาม ดอกสีม่วง, ผกากรองเลื้อย ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ต่างประเทศ |
มวย ๒ | น. ผมที่มุ่นขมวดให้เป็นกลุ่มเป็นกระจุกไว้ตรงท้ายทอยเป็นต้น เรียกว่า ผมมวย. |
ยูง ๑ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Pavo muticus Linn. ในวงศ์ Phasianidae หงอนขนบนหัวเป็นกระจุก หนังข้างแก้มสีเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดถึงปลายหางสีเขียว ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีขนคลุมโคนขนหางด้านบนยื่นยาวและมีแวว เพื่อใช้รำแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ปรกติใกล้ลำธารที่มีหาดทราย มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า ทำรังแบบง่าย ๆ ตามพื้นดิน กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์ขนาดเล็ก ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ยูงใต้ (P.m. muticus Linn.) และยูงเหนือ (P.m. imperator Delacour), ยูงไทย ก็เรียก. |
ร่าน ๑ | น. ชื่อหนอนผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Limacodidae มีขนแข็งคล้ายหนามปกคลุมทั้งตัวหรือเป็นกระจุก ปลายขนมีต่อมน้ำพิษเมื่อถูกตัวจะเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน เมื่อเจริญวัยเปลี่ยนเป็นดักแด้และออกมาเป็นผีเสื้อกลางคืน เช่น ชนิด Parasa lepida (Cramer), ชนิด Miresa albipuncta (Herrich-Schäffer), เขียวหวาน ก็เรียก. |
ส้มกุ้ง ๒ | ชื่อไม้เถาชนิด Rubus moluccanus L. ในวงศ์ Rosaceae เถามีขนและหนาม ผลออกเป็นกระจุก สุกสีแดง กินได้. |
เสมา ๒ | (เส-มา) น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Opuntia วงศ์ Cactaceae ลำต้นแบนอวบนํ้า มีหนามแข็งเป็นกระจุกทั่วไป คือ ชนิด O. elatiorMill. และชนิด O. humifusa (Raf.) Raf. ชนิดหลัง หนามเสมา ก็เรียก. |
แหยม | (แหฺยม) น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปาก ว่า หนวดแหยม. |