กบ ๕ | ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่งในสกุล Geodorum วงศ์ Orchidaceae หัวมีลักษณะเหมือนกบ เชื่อกันว่าใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันได้, ข้าวอังกุลี ก็เรียก. |
กรวย ๒ | ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายมน มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก. |
กระจายหางดอก | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตำละลายกับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. |
กระทึง | น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ใบคล้ายพลวง รากมียางเมือก เชื่อกันว่าใช้เป็นยาดูดพิษฝีได้ เช่น กระทุทุมกระทึงทอง (สุธน). |
กระบูนเลือด | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทำให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท. |
กระหัง | น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้ (สามดวง). |
กล้วยน้อย | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Xylopia vielana Pierre ในวงศ์ Annonaceae กิ่งสีนํ้าตาลดำ ดอกหอม รากสีดำ กลิ่นเหมือนนํ้ามันดิน เชื่อกันว่ารากใช้แก้พิษงู. |
กองกอย | น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. |
กัลปพฤกษ์ ๑ | (กันละปะพฺรึก) น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสำเร็จตามความปรารถนา |
กาสัก ๑ | น. นกที่เชื่อกันว่าเป็นสัตว์กายสิทธิ์บินมาไม่เห็นตัว ถ้าได้ขนมันไว้ก็หายตัวได้. |
การเวก ๑ | (การะ-) น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป. |
เกจิอาจารย์ | น. “อาจารย์บางพวก”, อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. |
เกร็ด ๒ | (เกฺร็ด) น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคลสำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขันในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา. |
เกียรติมุข | (เกียดมุก) น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครอง นับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก. |
แก้เคล็ด | ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือป้องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา. |
แก้วสารพัดนึก | น. แก้วที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดมีอยู่แล้ว นึกอะไรได้อย่างใจ. |
ขลัง | (ขฺลัง) ว. มีกำลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์. |
ขวัญ | สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทำให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน , และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจ เช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกำลังใจของเมือง |
ขวานฟ้า | น. ขวานที่ทำด้วยหินในยุคหิน เชื่อกันว่าตกลงมาจากฟ้าเมื่อเวลาฟ้าผ่า. |
ของ | สิ่งที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์, ของขลัง ก็ว่า. |
ของขลัง | น. สิ่งที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์, ของ ก็ว่า. |
ขัณฑสกร | (ขันทดสะกอน) น. นํ้าตาลกรวด, เครื่องยาไทยอย่างหนึ่งคล้ายนํ้าตาลกรวด, นํ้าตาลชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าเกิดที่ใบบัว, เช่น เมื่อเวลาพุ่มไม้มีดอกออกตระการบานเต็มที่พร้อมฤดู เสาวคนธ-รสเรณูโรยร่วงลงบนใบอุบล ซึ่งลอยลาดดาดาษอยู่บนหลังน้ำ เมื่อล่วงเวลากาลก็ก่อเกิดโอชะวิเศษหวานเป็นมธุรส มีนามกำหนดเรียกว่า โบกขรมธุ ผู้เรียนรู้ลุในตำราแพทยศาสตร์ ย่อมสืบเสาะแสวงหามาประกอบใช้ในการโอสถ มีนามปรากฏเรียกว่า ขัณฑสกร (ม. ร่ายยาว จุลพน). |
เข้าสิง | ก. อาการที่เชื่อกันว่าผีเข้าแทรกอยู่ในตัวคน เช่น เขาถูกผีเข้าสิง, โดยปริยายหมายความว่า ครอบงำ เช่น เขาถูกผีการพนันเข้าสิง. |
คเณศ | (คะเนด) น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปะ เชื่อกันว่าถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, วิฆเนศ พิฆเนศ วิฆเนศวร หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. |
คู่เวรคู่กรรม | น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความเดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกันมาแต่ชาติก่อน. |
เคล็ด ๑ | การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา เช่น ต้นไม้บางชนิดไม่มีลูก เชื่อกันว่าถ้าเอามีดไปสับต้นเป็นเคล็ดแล้วจะมีลูก |
จะกละ ๒ | น. ชื่อผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีรูปเป็นแมว อยู่ในจำพวกผีป่า หมอผีชาวป่าเลี้ยงไว้ใช้ไปทำร้ายศัตรู. |
จานบิน | น. วัตถุบิน ลักษณะคล้ายจาน ๒ ใบควํ่าประกบกัน เชื่อกันว่าเป็นยานอวกาศที่มาจากดาวดวงอื่น, จานผี ก็เรียก. |
ตานี ๑ | น. ชื่อกล้วยชนิด Musa balbisiana Colla ในวงศ์ Musaceae ใบเหนียวกว่ากล้วยชนิดอื่น มีเมล็ดทั่วทั้งผล, เชื่อกันว่ามีผีผู้หญิงสิงอยู่ในต้นกล้วยตานี เฉพาะต้นที่ออกปลีกลางต้น เรียกว่า พรายตานี. |
นนทรี ๓ | (นนซี) น. ยักษ์คู่เป็นหญิงและชาย เชื่อกันว่าทำหน้าที่เฝ้าประตูเพื่อป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้อาศัยที่อยู่ในบ้าน โดยยักษ์หญิงยืนอยู่ที่ประตูทางซ้าย ยักษ์ชายยืนอยู่ที่ประตูทางขวา. |
นรก | (นะ-) น. แดนหรือภูมิที่เชื่อกันว่าผู้ทำบาปจะต้องไปเกิดและถูกลงโทษ, โดยปริยายหมายถึงแดนที่มีแต่ความทุกข์ทรมาน. |
น้ำมันมนตร์ | น. นํ้ามันมะพร้าวที่เสกเป่าด้วยเวทมนตร์คาถา เชื่อกันว่าทาแก้เมื่อยขบเป็นต้น. |
บรรลัยกัลป์ | (บันไลกัน) น. เรียกไฟที่เชื่อกันว่าจะล้างโลกเมื่อสิ้นกัป ว่า ไฟบรรลัยกัลป์, ไฟกัลป์ หรือ ไฟประลัยกัลป์ ก็ว่า. |
ปอบ | น. ผีชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าสิงอยู่ในตัวคน กินตับไตไส้พุงจนหมดแล้วออกไป คนนั้นก็ตาย. |
โป่งค่าง | น. สัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายค่างแต่ใหญ่กว่ามาก ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า เชื่อกันว่าเป็นผีโป่งชนิดหนึ่ง. |
ผีกระหัง | น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง. |
ผีกองกอย | น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้าของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. |
ผีปอบ | น. ผีชนิดหนึ่งเชื่อกันว่าสิงอยู่ในตัวคน กินตับไตไส้พุงจนหมดแล้วออกไป คนนั้นก็ตาย. |
ผีเสื้อสมุทร | น. ยักษ์พวกหนึ่ง เชื่อกันว่าสิงอยู่ในทะเล. |
พุทธกาล | น. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่, พุทธสมัย ก็ใช้, (ปาก) ช่วงระยะเวลาที่เชื่อกันว่าหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ ๕, ๐๐๐ ปี. |
เมฆฉาย | การอธิษฐานโดยบริกรรมด้วยมนตร์ เชื่อกันว่าจะทำให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่าคนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร. |
เมืองลับแล | น. เมืองที่เร้นลับ ถือกันว่าจะพบได้ก็แต่โดยบังเอิญ ถ้าตั้งใจไปไม่พบ, บางทีก็เรียกว่า เมืองแม่ม่าย เพราะเชื่อกันว่าผู้หญิงที่อยู่ในเมืองนี้ล้วนเป็นแม่ม่ายทั้งสิ้น. |
แม่ซื้อ | น. เทวดาหรือผีที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ดูแลรักษาทารก, แม่วี ก็เรียก. |
ยาสั่ง | น. ยาพิษจำพวกหนึ่งที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกินเข้าไปแล้วจะต้องตาย เมื่อไปกินอาหารที่กำหนดหรือตามเวลาที่กำหนดไว้. |
รามสูร | (รามมะสูน) น. ชื่อยักษ์ตนหนึ่งตามเทพนิยายของอินเดีย เชื่อกันว่าเสียงฟ้าร้องเป็นเสียงรามสูรขว้างขวาน. |
ราศี ๒ | สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอก เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า. |
ราหุ, ร่าหุ์, ราหู ๑ | น. ชื่ออสูรตนหนึ่งมีตัวขาดครึ่งท่อน เชื่อกันว่าเมื่อเวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสเป็นเพราะดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ถูกราหูอมเอาไว้, ในตำราโหรว่า เป็นเทวดาพระเคราะห์ มีอาภรณ์และพาหนะสีคลํ้า |
เร้นลับ | ว. เหลือรู้เหลือเห็น เหลือที่จะเข้าใจ เช่น ซ่อนสมบัติไว้ในที่เร้นลับ เชื่อกันว่าเมืองลับแลเป็นเมืองที่เร้นลับ. |
เรียกเนื้อ | ทำให้อ้วน, ทำให้สมบูรณ์, เช่น เชื่อกันว่าอาบน้ำให้เด็กอ่อนบ่อย ๆ เรียกเนื้อได้ดี. |
ลักซ่อน | ก. อาการที่คล้ายมีอะไรบางอย่างมาทำให้มองไม่เห็นหรือหาไม่พบ เชื่อกันว่าถูกผีลักไปซ่อนหรือผีบังตา. |