ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: เคารพ, -เคารพ- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ grean | [เกรียน] (n, adj, adv) 1. หมายถึงนิสัย หรือพฤติกรรมของบุคคลที่ไม่เคารพผู้อื่น หรือ ทำตัวไม่ดี เช่น พูดจาไม่ดี(ปากเสีย) 2. ผมสั้นติดหนังหัว เช่น ผมเกรียน หรือหัวเกรียน(คำไม่สุภาพ) |
|
| | เคารพ | (v) respect, See also: esteem, regard, value, Syn. ยกย่อง, ชื่นชม, นับถือ, เคารพนับถือ, ให้เกียรติ, Ant. ดูหมิ่น, ดูแคลน, Example: นักเรียนควรเคารพครูบาอาจารย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน, Thai Definition: แสดงอาการนับถือ | น่าเคารพ | (adj) respectable, See also: venerable, honorable, Syn. น่าเกรงขาม, น่านับถือ, น่ายกย่อง, น่ายำเกรง, Ant. น่าดูหมิ่น, เหยียดหยาม, Example: ท่านควรทำตัวเองให้เป็นครูที่น่าเคารพของลูกศิษย์ | น่าเคารพ | (v) be respectful, See also: be showing deference, be venerable, Syn. น่าเกรงขาม, น่านับถือ, น่ายกย่อง, น่ายำเกรง, Ant. น่าดูหมิ่น, เหยียดหยาม, Example: พ่อเฒ่าเจ้าเล่ห์แสนกลคนนั้นไม่น่าเคารพเลย | ความเคารพ | (n) respect, See also: regard, esteem, Syn. ความนับถือ, ความเคารพนับถือ, Example: ความเคารพครูบาอาจารย์เป็นสิ่งที่น่านับถือและยกย่อง | เคารพบูชา | (v) worship, See also: praise, adore, pray to, glorify, venerate, Syn. เทิดทูนบูชา, เคารพสักการะ, Example: ประชาชนมาเคารพบูชาและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาที่พระมหาสถูปอันศักดิ์สิทธิ์, Thai Definition: แสดงอาการนับถือ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใส | ทำความเคารพ | (v) salute, See also: greet, Example: นักเรียนทำความเคารพครูใหญ่ | เคารพนับถือ | (v) respect, See also: esteem, regard, value, appreciate, Syn. ยกย่อง, ชื่นชม, เคารพ, นับถือ, ให้เกียรติ, Ant. ดูหมิ่น, ดูแคลน, Example: เด็กๆ ควรเคารพนับถือญาติผู้ใหญ่ | น่าเคารพนับถือ | (v) be respectable, See also: be honorable, Example: ท่านไปไหว้พระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่น่าเคารพนับถือเกือบทั่วประเทศแล้วเช่น พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ พระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่, Thai Definition: สมควรจะให้ความเคารพ |
| เคารพ | ก. แสดงอาการนับถือ เช่น เคารพผู้ใหญ่ เคารพธงชาติ | เคารพ | ไม่ล่วงเกิน, ไม่ล่วงละเมิด, เช่น เคารพสิทธิของผู้อื่น. | ก้มหลัง | ก. น้อมหลังลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ. | ก้มหัว | ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร. | กราบ ๒ | (กฺราบ) ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผาก จดลงกับพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน. | เกล้า | (เกฺล้า) น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. | เกล้ากระผม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. | แก้ว ๑ | โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคำว่า แก้วทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคำนามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว. | ขึ้นพรหม | น. ท่ารำกระบี่กระบอง เพื่อแสดงความเคารพ เป็นท่าต่อจากท่าถวายบังคม มี ๒ แบบ คือ ขึ้นพรหมนั่ง และ ขึ้นพรหมยืน. | ครูบา | น. ครูผู้สอนกุลบุตร หมายถึง สมภาร, คำใช้เรียกพระเถระผู้เป็นที่เคารพนับถือ ซึ่งมักจะมีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป. | คารพ | (-รบ) น. ความเคารพ, ความนับถือ. | คารวะ | (คาระ-) น. ความเคารพ, ความนับถือ. | คารวะ | (คาระ-) ก. แสดงความเคารพ. | ค้ำหัว | ก. ยืนชิดข้างหลังผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่หรือด้านหัวผู้ใหญ่ที่นอนอยู่ ถือว่าแสดงอาการไม่เคารพ เรียกว่า ยืนคํ้าหัว. | คำนับ ๑ | ก. ทำความเคารพ, ทำความเคารพโดยก้มศีรษะให้. | จงรัก, จงรักภักดี | ก. ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง. | จบ ๒ | กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทำความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ. | เจดีย-, เจดีย์ ๑ | (-ดียะ-) น. สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ. | เจดียฐาน, เจดียสถาน | น. สถานที่เคารพเช่นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา พระพุทธบาท พระพุทธฉายา และพระบรมสารีริกธาตุ. | เจ้าปู่ | น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, ปู่เจ้า ก็ว่า. | ช้างจบ | ก. กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทำความเคารพ. | ชินโต | น. ชื่อศาสนาดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง มีคำสอนให้เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แม่นํ้า. | เชิญ | ก. แสดงความปรารถนาเพื่อขอให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความเคารพหรืออ่อนน้อม เช่น เชิญมาเป็นเกียรติในพิธีมงคลสมรส | เชิญ | ถือ อุ้ม ชู หรือนำไปเป็นต้นด้วยความเคารพ เช่น เชิญพระแสง เชิญพระพุทธรูป เชิญธง | ฐากูร | (ถากูน) น. รูปเคารพ, เทพเจ้าที่นับถือ. | ดำหัว | น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทำในวันสงกรานต์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือ วิธีดำหัว คือ เอานํ้าสะอาด พร้อมดอกคำฝอย ฝักส้มป่อย และผงขมิ้น ใส่ขัน ไปเคารพและขอขมาผู้ใหญ่ โดยให้ท่านจุ่มน้ำลูบศีรษะตนเองเพื่อให้ท่านอยู่เย็นเป็นสุขและขอรับพรจากท่าน. | เดินเทียน | ก. อาการที่ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินประทักษิณสิ่งที่เคารพบูชา, ปัจจุบันใช้ว่า เวียนเทียน. | แด่ | บ. แก่ (ใช้แก่บุคคลหรือสิ่งที่เคารพ). | ตะเบ๊ะ | ก. ทำความเคารพอย่างคนในเครื่องแบบ คือ ทำวันทยหัตถ์. [ เทียบ ม. angkat tabek ว่า วันทยหัตถ์ (angkat ว่า ยกขึ้น tabek เป็นคำทักทายที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่) ] | ตา ๑ | น. พ่อของแม่, ผัวของยาย, ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับตา, (ปาก) คำเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ตาเถร ตาแก่ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ตาหนู. | ใต้เท้า | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยอย่างเคารพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. | ถวายบังคม | ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย. | ถอนสายบัว | ก. ทำความเคารพโดยยืนตรงแล้วชักขาข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลัง พร้อมกับย่อเข่าและก้มศีรษะเล็กน้อย เป็นการแสดงความเคารพของสตรีต่อเจ้านายชั้นสูง. | ท่าน | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำกลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. | ที่รัก | น. คนรัก, คำแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความนับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก. | เทวรูป | น. รูปเทพเจ้าหรือเทวดาที่เคารพนับถือ. | เทิดทูน | ก. ยกย่อง, เชิดชูไว้เป็นที่เคารพ. | แท่น | น. ที่นั่งที่นอน มีลักษณะเหมือนมีฐานที่ทึบทั้ง ๔ ด้าน ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แท่นที่บูชา, (ราชา) เรียกที่ประทับหรือที่บรรทมของพระมหากษัตริย์ว่า พระแท่น เช่น พระแท่นราชบัลลังก์ พระแท่นราชบรรจถรณ์. | ธูปแพเทียนแพ | น. ธูปไม้ระกำกับเทียน ๔ คู่ วางซ้อนกันโดยแพธูปอยู่เหนือแพเทียน และมีกระทงใส่ดอกไม้กับกรวยใบตองครอบวางเหนือแพธูป ใช้เป็นเครื่องแสดงความเคารพอย่างสูง. | นม- ๒, นมะ | (นะมะ-) น. การนอบน้อม, การเคารพ, การไหว้. | นอบน้อม | ก. อาการแสดงความเคารพอย่างสูง เช่น นอบน้อมพระรัตนตรัย, อาการที่ยอบตัวลงแสดงความเคารพ. | น้อม | ก. โน้ม เช่น น้อมลาภมาเพื่อตน, ค้อม เช่น กิ่งไม้น้อมลง, โอนลงเป็นการแสดงความเคารพ เช่น น้อมกาย น้อมใจ, โอนอ่อนตาม เช่น น้อมใจเชื่อ. | นับถือ | ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคำลงท้ายจดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ. | นับหน้าถือตา | ก. เคารพยกย่อง เช่น เขามีคนนับหน้าถือตาอยู่ทั่วไป. | นิปัจการ | (นิปัดจะกาน) น. การเคารพ. | บรรณาการ | (บันนากาน) น. สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือหรือด้วยไมตรี. (ป. ปณฺณาการ; ส. ปรฺณาการ), ในบทประพันธ์ใช้ว่า บรรณา ก็มี. | บังคม | ก. แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง ตามประเพณีไทย, ใช้ว่า ถวายบังคม. | บูชา | ก. แสดงความเคารพบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น เช่น บูชาพระ บูชาเทวดา บูชาไฟ, ยกย่องเทิดทูนด้วยความนับถือหรือเลื่อมใสในความรู้ความสามารถ เช่น บูชาวีรบุรุษ บูชาความรู้ บูชาฝีมือ | บูชาพระ | ก. แสดงความเคารพพระพุทธรูปด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น | ประดิษฐาน | (ปฺระดิดสะถาน) ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี. |
| sacrilege | การลบหลู่สิ่งเคารพทางศาสนา, การเหยียดหยามศาสนา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | iconoclasm | ลัทธิทำลายรูปเคารพ [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | iconoclast art | ศิลปะไร้รูปเคารพ [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | icon | รูปเคารพ [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | idol | รูปเคารพ, เทวรูป [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
| พวงมาลา | ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สําหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ [ศัพท์พระราชพิธี] | ประดิษฐาน | [ ปฺระดิดสะถาน ] ก. ตั้งไว้ (ใช้แก่สิ่งที่เคารพนับถือ) เช่น นําพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ในโบสถ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา, แต่งตั้งไว้ในตําแหน่งสูง เช่น ประดิษฐานไว้ในตําแหน่งอัครมเหสี [ศัพท์พระราชพิธี] | Idols and images | รูปเคารพ [TU Subject Heading] | Military ceremonies, honors, and salutes | พิธีเกียรติยศทางทหารและการแสดงความเคารพ [TU Subject Heading] | Naval ceremonies, honors, and salutes | พิธีเกียรติยศทางทหารเรือและการแสดงความเคารพ [TU Subject Heading] | ASEAN Vision 2020 | วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน [การทูต] | Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] | Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] | Economic and Social Council | คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต] | Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] | Inviolability | หมายถึง ความละเมิดมิได้ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตัวแทนทางการทูตต้องได้รับการคุ้มครองมากยิ่งกว่าบุคคล ธรรมดา มีการกล่าวกันว่า ตัวเอกอัครราชทูตนั้นจะได้รับการเคารพยกย่องพอ ๆ กับตัวประมุขของรัฐทีเดียว การให้ความคุ้มครองเช่นนี้จะขยายไปถึงสิ่งของทุกชิ้นที่เป็นของเอกอัคร ราชทูตบุคคลในครอบครัว บริวาร คนใช้ เครื่องเรือน เอกสาร และจดหมายโต้ตอบของเอกอัครราชทูต เป็นต้น [การทูต] | Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] | observance of rights | การเคารพสิทธิ [การทูต] | pacta sunt servanda | หลักสัญญาต้องเป็นสัญญา เป็นหลักที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเคารพในสัญญา [การทูต] | Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] | Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] | Treaty of Amity and Cooperation | สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยอาเซียนเมี่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนด หลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค โดยมีหลักการที่สำคัญได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติ การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตราเกี่ยวกับแนวทางยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี (High Council) ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ เป็นภาคีสนธิสัญญาฯ " [การทูต] | Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
| การเคารพ | [kān khaorop] (n) EN: salutation | เคารพ | [khaorop] (v) EN: respect ; honour ; esteem ; abide ; regard ; value ; revere FR: respecter ; honorer ; vénérer ; révérer ; être respectueux ; avoir des égards ; estimer | เคารพบูชา | [khaorop būchā] (v, exp) EN: worship ; praise ; adore ; pray to ; glorify ; venerate FR: adorer ; vénérer ; glorifier | เคารพนับถือ | [khaoropnaptheū] (v, exp) EN: respect ; esteem ; regard ; value ; appreciate FR: respecter ; estimer | ความเคารพ | [khwām khaorop] (n) EN: respect ; regard ; esteem ; honour FR: respect [ m ] ; estime [ f ] ; égard [ m ] | น่าเคารพ | [nākhaorop] (adj) EN: respectable ; venerable ; honorable FR: respectable ; honorable | ทำความเคารพ | [tham khwām khaorop] (v, exp) EN: salute ; greet FR: saluer |
| | adoration | (n) ความเคารพบูชา, See also: ความเลื่อมใส, Syn. devotion, veneration | adore | (vt) บูชา, See also: เคารพบูชา, กราบไหว้, Syn. venerate, revere | august | (adj) น่าเคารพ, See also: น่าชื่นชม | bob to | (phrv) ถอนสายบัว (การทำความเคารพของผู้หญิง) | cap | (vt) แตะหมวกคำนับ, See also: ถอดหมวกออกแสดงความเคารพ | cardinal virtue | (n) คุณสมบัติของคนที่น่าเคารพอย่างมาก (ฉลาดรอบคอบ, ยุติธรรม, การควบคุมอารมณ์, ความอดทน) | cheek | (n) พฤติกรรมที่ไม่เคารพ (คำไม่เป็นทางการ), See also: ความทะลึ่ง, พฤติกรรมที่ทะลึ่ง, Syn. impudence, disrespect | cheekily | (adv) อย่างไม่มีความเคารพ, Syn. impudently, insolently | cheeky | (adj) ที่ไม่เคารพ, Syn. impudent, insolent | do homage to | (phrv) แสดงความเคารพต่อ, See also: ทำความเคารพต่อ, ถวายบังคม, Syn. pay to | fall down | (phrv) คุกเข่าทำความเคารพ, Syn. drop through, fall down on, fall flat, fall through | deference | (n) การแสดงความเคารพนับถือ, Syn. respect, homage | deferential | (adj) ซึ่งแสดงความเคารพ, See also: ยอมเชื่อฟัง, ยอมผ่อนผัน, คล้อยตาม, Syn. obeisant, respectful, submissive | deification | (n) การทำให้เป็นพระเจ้า, See also: การเคารพบูชาเหมือนเป็นพระเจ้า, Syn. exaltation, honor | deify | (vt) ทำให้เป็นพระเจ้าหรือเทวดา, See also: เคารพบูชาประหนึ่งเป็นพระเจ้า, Syn. apotheosize, exalt | demigod | (n) ผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ แต่ต้อยต่ำกว่าพระเจ้า, See also: ผู้ที่ถูกเคารพบูชาเหมือนเป็นพระเจ้า | diabolism | (n) การเคารพบูชาภูตผีปีศาจ, Syn. Satanism, black magic | disrespect | (n) การขาดความเคารพ, See also: การดูหมิ่น; ความหยาบคาย, Syn. lack of respect, rudeness;impoliteness | disrespectful | (adj) ที่ไม่เคารพ, See also: หยาบคาย, ดูหมิ่น, Syn. impolite, insolent, insulting, rude | dowager | (n) หญิงสูงศักดิ์, See also: หญิงที่ได้รับความเคารพนับถือ | esteem | (n) ความเคารพ, See also: ความนับถือ, ความนิยม, ความชื่นชอบ, Syn. appreciation, regard, respect | esteem | (vt) เคารพ, See also: ยกย่อง, เคารพนับถือ, นับถือ, Syn. appreciate, respect, value | esteemed | (adj) ซึ่งได้รับการยกย่อง, See also: น่าเคารพ, น่านับถือ, Syn. admired, regarded, respectable | estimable | (adj) น่านับถือ, See also: น่าชื่นชม, น่าเคารพ, น่ายกย่อง, Syn. admirable, honorable, respectable | estimation | (n) ความเคารพ, See also: ความนับถือ, Syn. esteem, regard | flout | (vt) ไม่เคารพกฎหมาย, Syn. defy, oppose, disobey, Ant. obey | genuflect | (vi) คุกเข่าหรือโค้งทำความเคารพ, Syn. bow, kneel | grand | (adj) น่าเกรงขาม, See also: เป็นที่เคารพ, ซึ่งมีอำนาจ, Syn. significant, Ant. insignificant | greet | (vt) ทักทาย, See also: ปราศรัย, ทำความเคารพ, แสดงการต้อนรับ, Syn. salute, welcome | hallowed | (adj) ศักดิ์สิทธิ์, See also: เป็นที่เคารพนับถือ, เป็นที่สักการบูชา, Syn. sacred, sacrosanct | homage | (n) การคารวะ, See also: การแสดงความเคารพ, การแสดงความนับถือ, Syn. deference, reverence | honor | (n) ความเคารพ, See also: การนับถือ | honor | (vt) เคารพ, See also: แสดงความเคารพ, นับถือ | honorable | (adj) ที่ควรค่าแก่การให้เกียรติ, See also: ที่น่าเคารพนับถือ | honorably | (adv) อย่างควรค่าแก่การให้เกียรติ, See also: อย่างน่าเคารพนับถืออย่างน่าเคารพนับถือ | hot-rodder | (n) คนขับตีนผี, See also: คนขับรถเร็วมากและไม่เคารพกฎจราจร | impertinence | (n) ความหยาบคาย, See also: ความโอหัง, การไม่เคารพนับถือผู้ใหญ่, การพูด / การกระทำที่หยาบคาย, การประพฤติตัวไม่เหมาะสม, Syn. disrespect, flippancy, Ant. courtesy, politeness, respect; | impertinent | (adj) ทะลึ่ง, See also: หยาบคาย, ซึ่งขาดความเคารพ, Syn. impudent, insolent, saucy | impiety | (n) การขาดความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา, See also: การขาดความเคารพ, การกระทำที่ขาดความเคารพ, Syn. irreverence, Ant. reverence | impious | (adj) ซึ่งไม่เคารพในศาสนาหรือพระเจ้า (คำทางการ), See also: ซึ่งขาดความนับถือ, ซึ่งไม่เลื่อมใสศรัทธา, Syn. amoral, unprincipled, Ant. moral, pious, pure | impudently | (adv) อย่างไม่เกรงใจ, See also: อย่างไม่เคารพนับถือ, Syn. insolent, rude, saucy | inviolable | (adj) ซึ่งเป็นที่เคารพ (กฎระเบียบ), See also: ซึ่งได้รับการยอมรับ, Syn. holy, sacred, unalterable | jump to attention | (idm) รีบยืนทำความเคารพ, See also: รีบยืนเป็นระเบียบ, Syn. stand at | look up to | (phrv) เคารพ, See also: ชื่นชม, ชื่นชอบ | look up to | (phrv) นับถือ, See also: ยอมรับนับถือ, เคารพ, ยำเกรง | lout | (vi) โค้งคำนับ, See also: แสดงความเคารพ, Syn. bend, stoop, bow | majestic | (adj) สูงส่ง, See also: น่าเคารพนับถือ, น่าเกรงขาม, ซึ่งมีอำนาจ, Syn. royal, regal, dignified | majestically | (adv) อย่างสง่าผ่าเผย, See also: อย่างน่าเกรงขาม, อย่างน่าเคารพนับถือ | matriarch | (n) ผู้เฒ่าหญิงที่ควรแก่การเคารพ, See also: ปูชนียบุคคล, Syn. ancestress, precursor | obeisance | (n) พฤติกรรมที่แสดงถึงการเคารพ, Syn. courtesy, deference |
| adoration | (อะดอ' เรเชิน) adj. การบูชา, การเคารพ, ความคลั่งรัก, Syn. worship, love | adore | (อะดอร์') vt., vi. นิยม, เคารพ, บูชา, รัก. | august | (ออกัสทฺ') adj. น่าเคารพ, น่าชื่นชม, สง่า, สง่างาม. -augustness n. | deferential | (เดฟฟะเริน'เชิล) adj. น่าเคารพนับถือ, ซึ่งอนุโลม | desecrate | (เดส'ซะเครท) vt. ดูหมิ่น (สถานที่เคารพ), See also: desecrater n. ดูdesecrate desecrator n. ดูdesecrate desecration n. ดูdesecrate, Syn. profane, Ant. consecrate | devoir | (ดิวาร์') n. มารยาท, ความสุภาพ, ความเคารพ, ภารกิจ, หน้าที่ | disrespect | (ดิสริสเพคทฺ') n. การขาดความเคารพนับถือ, การดูหมิ่น, ความไม่เคารพยำเกรง | disrespectful | (ดิสริสเพค'ฟูล) adj. เป็นการดูหมิ่น, ขาดความเคารพยำเกรง, See also: disrespectfulness n. ดูdisrespectful, Syn. discourteous, rude | dreadful | (เดรด'ฟูล) adj. น่ากลัวมาก, น่าเคารพยำเกรง, เลวมาก. n. | dutiful | (ดิว'ทิฟูล) adj. เกี่ยวกับหน้าที่, ซึ่งรับผิดชอบต่อหน้าที่, เชื่อฟัง, ซื่อสัตย์, น่าเคารพ | esteem | (อีสทีม') vt., n. (ความ) เคารพ, นับถือ, นิยม, ยกย่อง, สรรเสริญ, เข้าใจว่า, ถือว่า, ประเมินค่า, Syn. regard | estimable | (เอส'ทะมะเบิล) adj. น่านับถือ, น่าเคารพ, น่ายกย่อง, ซึ่งประเมินค่าได้, กะได้., See also: estimableness n. ดูestimable estimably adv. ดูestimable | estimation | (เอสทิเม'เชิน) n. การประมาณ, การประเมิน, การวินิจฉัย, ความคิดเห็น, ความนับถือ, ความเคารพ, Syn. estimate | father | (ฟา'เธอะ) { fathered, fathering, fathers } n. บิดา, พ่อ, ผู้ปกครอง, พระ, พ่อบุญธรรม, คำเรียกชื่อผู้อาวุโสเพื่อแสดงความเคารพ, ผู้อาวุโสที่สุดของกลุ่ม, ผู้นำของเมือง, ผู้ก่อตั้ง, ผู้มาก่อน, แบบเริ่มแรก -Phr. (the Father พระผู้เป็นเจ้า) . vt. ให้กำเนิด, ริเริ่ม, เป็นพ่อ, ยอมร | fornication | (ฟอร์นะเค'เชิน) n. การลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน, การเป็นชู้, การบูชาเทวรูป, การเคารพบูชาอย่างหลับหูหลับตา., See also: fornicatory adj. | grand old man | ผู้อาวุโสที่เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูง, รัฐบุรุษผู้เฒ่า | hajj | (แฮจ) n. การเดินทางไปนมัสการสิ่งที่เคารพที่กรุงเมกกะซึ่งชาวมุสลิมทุกคนต้องไปครั้งหนึ่งอย่างน้อยในชีวิต -pl. hajjis, Syn. hadj | hajji | (แฮจ'จี) n. มุสลิมทีเดินทางไปนมัสการ, สิ่งที่เคารพในกรุงเมกกะ -pl. hajjis, Syn. hadji, haji | hallowed | (แฮล'โลด์) adj. ศักดิ์สิทธิ์, เป็นที่เคารพนับถือ, เป็นที่สักการบูชา, See also: hallowedness n., Syn. consecrated | holier-than-thou | adj. มีศีลธรรม, น่าเคารพ | holily | (โฮ'ลิลี่) adj. ศักดิ์สิทธิ์, น่าเคารพ, เคร่งศาสนา, Syn. self-righteous | holy | (โฮ'ลี) adj. ศักดิ์สิทธิ์, เป็นที่เคารพบูชา, เคร่งศาสนา, ใจบุญอย่างยิ่ง, อย่ายิ่ง, เหลือเกิน, น่ากลัว. n. สถานที่ศักดิ์สิทธิ์, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, Syn. pious, consecrated | homage | (ฮอม'มิจฺ) n. ความเคารพ, ความจงรักภักดี, Syn. obeisance | honor | (ออน'เนอะ) n. เกียรติยศ, ชื่อเสียง, ศักดิ์ศรี, เกียรติศักดิ์, ความเคารพ, ความนับถือ, เหรียญตรา, ปริญญาขั้นเกียรตินิยม. vt. เคารพ, นับถือ, ให้เกียรติแก่กัน, จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน | honorable | (ออน'เนอะระเบิล) เกี่ยวกับเกียรติยศ, น่าเคารพนับถือ, ซื่อตรง, น่าเชื่อถือ, มีหน้ามีตา, มีศักดิ์ศรี., See also: honourableness, honorbleness n., Syn. virtuous, ethical | honour | (ออน'เนอะ) n. เกียรติยศ, ชื่อเสียง, ศักดิ์ศรี, เกียรติศักดิ์, ความเคารพ, ความนับถือ, เหรียญตรา, ปริญญาขั้นเกียรตินิยม. vt. เคารพ, นับถือ, ให้เกียรติแก่กัน, จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงิน | honourable | (ออน'เนอะระเบิล) เกี่ยวกับเกียรติยศ, น่าเคารพนับถือ, ซื่อตรง, น่าเชื่อถือ, มีหน้ามีตา, มีศักดิ์ศรี., See also: honourableness, honorbleness n., Syn. virtuous, ethical | idolatry | (ไอดอล'ละทรี) n. การเคารพบูชาทางศาสนา, การบูชารูปปั้น, การหลงใหลอย่างหลับหูหลับตา | impiety | (อิมไพ' อิที) n. การขาดความเลื่อมใสศรัทธา, การขาดความเคารพ, การกระทำที่ขาดความเคารพ (lack of piety) | lawful | (ลอ'ฟูล) adj. ถูกต้องตามกฎหมาย, ปฏิบัติตามกฎหมาย, เคารพกฎหมาย, See also: lawfulness n. ดูlawful | majestic | (มะเจส'ทิค) adj. สง่าผ่าเผย, สูงส่ง, ตระหง่าน, มีอำนาจ, น่าเกรงขามและน่าเคารพนับถือ, ใหญ่โต, See also: majestically adv., Syn. grand, splendid | mariolatry | (แมริออล'ละทรี) n. การเคารพสักการะบูชาพระนางมาเรีย | monsignor | (มอนซี'เนอ) n. พระคุณเจ้า, ท่าน, คำเคารพที่ใช้เรียกพระ, พระ, พระราชาคณะ., Syn. monsignor, Monsignore | obeisance | (โอเบ'เซินซฺ) n. การก้มคำนับ, การปฏิบัติตาม, การเคารพ., See also: obeisant adj., Syn. fealty | pious | (ไพ'เอิส) เคร่งครัดในศาสนา, มีศรัทธามาก, นับถือพระ, แสดงความเคารพนับถือ, See also: piousness n., Syn. devout, religious | prestigious | (เพรสทิจ'เจิส) adj. มีชื่อเสียง, มีเกียรติ, เป็นที่เคารพนับถือ, Syn. honoured, esteemed, Ant. obscurity | ranking | (แรง'คิง) adj. (ตำแหน่ง) อาวุโส, เป็นที่เคารพนับถืออย่างมาก, มีตำแหน่งหน้าที่เฉพาะ | regard | (รีการ์ด') vt. พิจารณา, ถือว่า, เห็นว่า, จ้องมอง, เอาใจใส่, นับถือ, เคารพ vi. สนใจ, จ้องมอง n. การอ้างอิง, ความสัมพันธ์, ความคิด, ความสนใจ, การมอง, การจ้องมอง, ความนับถือ, ความเคารพ, ไมตรีจิต, See also: regards n. ความเคารพนับถือ regardable adj. | remembrance | (รีเมม'เบรินซฺ) n. ความทรงจำ, ความคิดถึง, การจำ, การรำลึก, ความรำลึก, เครื่องรำลึก, ช่วงเวลาแห่งความทรงจำ, See also: remembrances n. ความเคารพ, ความนับถือ, Syn. memory, recall, memento | reputable | (เรพ'พิวทะเบิล) adj. มีชื่อเสียง, น่าเคารพ, น่านับถือ, ได้มาตรฐาน, ดี, See also: reputability, reputableness n. reputably adv., Syn. honourable, esteemed | respect | (รีสเพคทฺ') n. ความนับถือ, ความเคารพ, ความยำเกรง, ความคารวะ, ความเอาใจใส่, ความสัมพันธ์, ความเกี่ยวข้อง, ประเด็น, ข้อ, ประการ vt. นับถือ, เคารพ, สัมพันธ์กับ, เกี่ยวกับ, คำนึง, พิจารณา, See also: respecter n., Syn. regard, esteem | respectability | (รีสเพค'ทะบิล'ลิที) n. ความน่านับถือ, ความน่าเคารพ, ความน่ายำเกรง, ความมีหน้ามีตา, บุคคลที่มีหน้ามีตา, ความสูงต่ำ, ความเหมาะสม, ความถูกต้องสมควร, See also: respectabilities n. สิ่งที่ถูกต้องสมควร, สิ่งที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม | respectable | (รีสเพค'ทะเบิล) adj. น่านับถือ, น่าเคารพ, น่ายำเกรง, มีหน้ามีตา, สูงส่ง, สมควร, ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม, มีศักดิ์ศรี, มากมาย, See also: respectableness n. respectably adv., Syn. admirable, proper, appreciable | respecter | (รีสเพค'เทอะ) n. ผู้นับถือ, ผู้เคารพ, ผู้ยำเกรง, | respectful | (รีสเพคทฺ'ฟูล) adj. มีความนับถือ, มีความเคารพ, มีความยำเกรง, สุภาพเรียบร้อย, See also: respectfully adv. respectfulness n., Syn. reverent, Ant. rude | revere | (รีเวียร') vt. เคารพนับถือ, บูชา, ยำเกรง, See also: reverable adj. reverer n. | reverence | (เรฟ'เวอเรินซฺ, เรฟ'เรินซฺ) n. ความเคารพนับถือ, การบูชา, การแสดงคารวะ, การโค้งคำนับ, , See also: Reverence n. คำนำหน้าชื่อพระคริสต์, เกียรติศักดิ์ vt. แสดงความเคารพนับถือ reverencer n., Syn. veneration | reverend | (เรฟ'เวเรินด, เรฟ'เรินดฺ) n. น่าเคารพนับถือ, น่าบูชา, เกี่ยวกับพระ n. พระ, บาทหลวง, ตำแหน่งพระ, ตำแหน่งบาทหลวง, See also: reverendship n., Syn. clergyman | reverent | (เรฟ'เวอเรินทฺ, เรฟ'เรินทฺ) adj. แสดงความเคารพนับถือ, See also: reverentness n., Syn. respectful | reverential | (เรฟ'วะเรน'เชิล) adj. เกี่ยวกับความเคารพนับถือ, เต็มไปด้วยความเคารพนับถือ, See also: reverentiality n., Syn. reverent |
| adoration | (n) การบูชา, การเคารพ, ความรัก | adore | (vt) บูชา, เคารพ, นิยม | august | (adj) น่าเคารพนับถือ | complimentary | (adj) ซึ่งยกย่อง, ซึ่งชมเชย, ซึ่งสรรเสริญ, ด้วยความนับถือ, ด้วยความเคารพ | deference | (n) การคล้อยตาม, การยอมตาม, การอนุโลม, การเชื่อฟัง, ความเคารพ | deferential | (adj) ซึ่งยอมตาม, ซึ่งอนุโลม, ว่าง่าย, นอบน้อม, น่าเคารพ | disrespectful | (adj) หยาบคาย, ไม่สุภาพ, ไม่เคารพนับถือ, ดูหมิ่น | esteem | (n) การยกย่อง, การนับถือ, การเคารพ, ความนิยม, การสรรเสริญ | esteem | (vt) ยกย่อง, เคารพ, นับถือ, นิยม, สรรเสริญ | estimable | (adj) น่าเคารพ, น่านับถือ, น่าเคารพยกย่อง | greet | (vt) ต้อนรับ, ปฏิสันถาร, ทักทาย, คำนับ, ทำความเคารพ, รับรอง | greeting | (n) การรับรอง, การปฏิสันถาร, การต้อนรับ, การทักทาย, การทำความเคารพ | holy | (adj) ศักดิ์สิทธิ์, ใจบุญ, เป็นที่เคารพบูชา, เป็นที่สักการะบูชา | homage | (n) ความสักการะ, ความเคารพ, ความจงรักภักดี | honourable | (adj) น่าเคารพนับถือ, มีศักดิ์ศรี, มีหน้ามีตา, น่ายกย่อง | idolater | (n) ผู้เคารพรูปปั้น | idolatrous | (adj) ที่เคารพรูปปั้น, หลงใหล, ที่เคารพบูชา | idolize | (vt) รักมาก, เคารพบูชา, หลงใหล, เลื่อมใสมาก | impious | (adj) อกตัญญู, ไม่เลื่อมใสศรัทธา, ไม่เคารพนับถือ | irreverence | (n) ความไม่เคารพ, ความไม่เลื่อมใส | irreverent | (adj) ไม่เคารพ, ไม่เลื่อมใส | lawful | (adj) ตามกฎหมาย, ถูกต้อง, ที่เคารพกฎหมาย | lawless | (adj) ไม่เคารพกฎหมาย, ไร้ระเบียบ, ไม่มีขื่อมีแป, ไม่รักษากฎ, ผิดกฎหมาย | regards | (n) ความเคารพนับถือ, ความหวังดี, ความนับถือ | reputable | (adj) น่านับถือ, มีชื่อเสียง, น่าเคารพ, ได้มาตรฐาน | respect | (n) ความเคารพ, ความนับถือ, ความเกี่ยวเนื่อง, ความสัมพันธ์ | respect | (vt) เคารพ, นับถือ, พาดพิง, เกี่ยวกับ, คำนึงถึง | respectable | (adj) น่าเคารพยำเกรง, น่านับถือ, สูงส่ง, ถูกต้อง, เหมาะสม | respectful | (adj) ซึ่งเคารพยำเกรง, ซึ่งเคารพนับถือ | revere | (vt) เคารพ, นับถือ, บูชา, ยำเกรง | reverence | (n) ความเคารพ, ความนับถือ, การบูชา, การแสดงคารวะ | reverence | (vt) แสดงความเคารพ, บูชา | reverend | (adj) น่าเคารพ, น่านับถือ, น่าบูชา, น่าเคารพยำเกรง | reverential | (adj) ด้วยความเคารพ, ด้วยความนับถือ | ribald | (adj) พูดสามหาว, พูดหยาบคาย, ไม่เคารพ | ribaldry | (n) การพูดสามหาว, การพูดหยาบคาย, การไม่เคารพ | sacred | (adj) เป็นที่สักการะ, ศักดิ์สิทธิ์, เป็นที่เคารพบูชา | salaam | (n) การโค้งคำนับ, การแสดงความเคารพ | sanctity | (n) ความมีศีลธรรม, ความศักดิ์สิทธิ์, ความน่าเคารพบูชา | venerable | (adj) เป็นที่เคารพ, น่าเคารพนับถือ | venerate | (vt) นับถือ, เคารพ | veneration | (n) การนับถือ, ความเคารพ, ความเลื่อมใส | worshipful | (adj) น่านับถือ, น่าบูชา, น่าเคารพ, น่าสักการะ, น่าเลื่อมใส |
| | 弔問 | [ちょうもん, choumon] (n, vt) คารวะศพ เคารพศพ |
| 尊敬 | [そんけい, sonkei] 1.การเคารพ 2.การยกย่อง 3.การนับถือ |
| |
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |