ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: อ่าว, -อ่าว- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ อ่าว | (n) bay, See also: gulf, Example: สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านได้ปิดอ่าวประท้วงเรืออวนลาก ที่กวาดหาปลาในเขตชายฝั่ง โดยละเมิดกฎหมาย, Count Unit: อ่าว, Thai Definition: ส่วนของมหาสมุทร ทะเล หรือทะเลสาบ ที่ล้ำเข้าไปในฝั่งหรือในแผ่นดิน | ปากอ่าว | (n) estuary, See also: mouth of a river, Example: การขนส่งลำเลียงไม้จะล่องซุงตามน้ำลงมาจนถึงปากอ่าวเจ้าพระยาหรือขึ้นบกที่ปากน้ำโพ, Thai Definition: ปากของส่วนทะเลที่เว้าเข้าไปในแผ่นดิน | อ่าวไทย | (n) gulf of Thailand, Example: การขุดคอคอดกระจะทำให้กระแสน้ำเย็นในทะเลอันดามันไหลเข้ามาในอ่าวไทย ซึ่งส่งผลให้น้ำหมุนเวียนและสะอาดมากขึ้น |
|
| นางอ้าว | ดู ดอกหมาก ๒. | ปากอ่าว | น. ปากของส่วนทะเลที่เว้าเข้าไปในแผ่นดิน. | ปิดอ่าว | ก. ใช้เรือรบหรือทุ่นระเบิดเป็นต้นปิดที่ปากอ่าวของฝ่ายตรงข้าม ไม่ให้เรือเข้าออก. | อบอ้าว | ว. ร้อนไม่มีลม. | อ้ายอ้าว | ดู ซิว และ ดอกหมาก ๒. | อ่าว | น. ส่วนของมหาสมุทร ทะเล หรือทะเลสาบ ที่ลํ้าเข้าไปในฝั่งหรือในแผ่นดิน มีลักษณะเว้าโค้งและเปิดกว้าง ทำให้มีแนวของชายฝั่งทะเลยาว. | อ้าว ๑ | ว. ร้อนระงม, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ อบ เป็น อบอ้าว. | อ้าวฝน | ว. ร้อนระงมก่อนฝนตก. | อ้าว ๒ | ว. อาการที่เรือหรือรถแล่น หรือคนวิ่งโดยเร็ว เรียกว่า แล่นอ้าว วิ่งอ้าว. | อ้าว ๓ | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกว่าไม่ตรงกับที่มุ่งหมายคาดไว้. | อ้าว ๔ | ดู ซิว และ ดอกหมาก ๒. | กรมท่าขวา | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ กับชาติที่อยู่ทางด้านขวาหรือทางตะวันตกของอ่าวไทย เช่น อินเดีย อิหร่าน รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. | กรมท่าซ้าย | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศกับชาติที่อยู่ทางด้านซ้ายหรือทางตะวันออกของอ่าวไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. | กระลุมพุก ๒ | น. ปลาตะลุมพุก เช่น ค้าวอ้าวอุกกระลุมพุกสีเสียดสุกรสิง (สรรพสิทธิ์). (ดู ตะลุมพุก ๒). | กระไส | น. ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส (ม. กาพย์ วนปเวสน์), ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี (นิ. เกาะแก้วกัลกตา). | เกียน | น. อ่าว, ทะเล, เช่น เกาะเกียน. | จะละเม็ด ๒ | น. ชื่อเต่าทะเลชนิด Caretta caretta Linn. ในวงศ์ Cheloniidae หัวโตกว่าเต่าทะเลชนิดอื่น เกล็ดกระดองหลังแถวข้างมี ๕ ชิ้น กระดองสีนํ้าตาลหรือนํ้าตาลแดง ท้องสีขาวครีม พบในมหาสมุทรแปซิฟิก เขตนํ้าอุ่นของมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย พบน้อยในอ่าวไทย, เรียกไข่เต่าทะเลทุกชนิด ว่า ไข่จะละเม็ด. | แจว | รีบหนีไป เช่น แจวอ้าว. | ฉลอม | (ฉะหฺลอม) น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้. | ซิว | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae มีขนาดเล็ก ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต เกล็ดโตหลุดง่าย อาศัยใกล้ผิวนํ้า เมื่อถูกจับขึ้นพ้นน้ำแล้วจะตายได้ง่าย ที่รู้จักกันทั่วไปและพบทั่วประเทศ ได้แก่ ซิวหนวดยาว ( Esomus metallicus Ahl) ซิวอ้าว อ้ายอ้าว อ้าว หรือ ซิวควาย ในสกุล Luciosoma, ซิวใบไผ่ ในสกุล Danio, ซิวหัวตะกั่ว ในสกุล Chela และ ซิว ในสกุล Rasbora | ไซโคลน | (-โคฺลน) น. ชื่อพายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. | ดอกหมาก ๒ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Raiamas guttatus (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาว เพรียว แบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากแหลมยาวล้ำขากรรไกรล่าง ปากกว้าง ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางปลายหัว เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบ เส้นข้างตัวพาดต่ำ ๆ ใกล้แนวสันท้อง ครีบหลังอยู่ท้ายแนวกึ่งกลางลำตัวและมีก้านครีบ ๙-๑๑ ก้าน ครีบก้นอยู่คล้อยไปข้างท้ายของลำตัวและมีก้านครีบ ๑๓-๑๔ ก้าน ครีบอกอยู่ใกล้แนวสันท้อง ส่วนครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบหลัง ครีบหางเป็นแฉกลึก บริเวณข้างลำตัวมีจุดสีน้ำเงินดำเรียบเป็นแถวยาวในแนวระดับตา ต่ำลงไปเหนือส่วนท้องจะเป็นจุดประกระจายทั่วไป ครีบต่าง ๆ มีสีอมเหลือง แพนหางตอนล่างมีแถบสีดำพาดตามยาวอยู่ที่ขอบด้านใน พบในเขตต้นน้ำหรือแม่น้ำที่มีพื้นเป็นกรวดทรายน้ำไหลแรงในทุกภาค ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, นางอ้าว อ้าว หรือ อ้ายอ้าว ก็เรียก. | นิทาฆะ | น. ความร้อน, ความอบอ้าว | ปากน้ำ | น. บริเวณที่แควไหลลงมาบรรจบลำน้ำใหญ่ เช่น ปากน้ำโพ หรือบริเวณที่ลำน้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ เช่น ปากน้ำเจ้าพระยา ปากน้ำบางปะกง, บางทีก็ใช้เรียกทางเข้าอ่าวจากมหาสมุทรหรือทะเลสู่ฝั่งด้วย. | ผด | น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นผื่นเม็ดเล็ก ๆ ตามผิวหนัง มักเกิดในเวลาที่มีอากาศร้อนอบอ้าว มีอาการคัน. | พายุไซโคลน | น. พายุหมุนที่มีกำลังแรงจัด ทำให้มีฝนตกหนักมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอาหรับ และอ่าวเบงกอล มีความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางตั้งแต่ ๖๕ นอต หรือ ๑๒๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป. | พายุเฮอริเคน | น. พายุที่มีความเร็วลมเช่นเดียวกับพายุไต้ฝุ่น แต่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ. | ระงม | อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคำว่า ร้อนระงม. | เรือฉลอม | น. เรือต่อชนิดหนึ่ง คล้ายเรือกระแชง หัวท้ายงอนเรียว กลางป่อง ตัวเรือเป็นเหลี่ยม กระดานข้างเรือเป็นทับเกล็ด นิยมใช้ตามหัวเมืองชายทะเลแถบปากอ่าว สำหรับบรรทุกสินค้าหรือหาปลา สมัยโบราณเวลาเกิดศึกสงครามก็จะถูกเกณฑ์ไปใช้ในราชการทัพด้วย อาจติดใบหรือไม่ก็ได้. | เฮอริเคน | น. ชื่อพายุที่มีความเร็วลมเช่นเดียวกับพายุไต้ฝุ่น แต่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ. |
| bay | อ่าว [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] | bay-head bar | สันดอนก้นอ่าว [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] | baymouth bar | สันดอนปากอ่าว [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] | baymouth spit | สันดอนจะงอยปากอ่าว [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] | creek | ๑. ลำธาร๒. อ่าวเล็ก [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] | gulf | อ่าว [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
| Bengal, Bay of | อ่าวเบงกอล [TU Subject Heading] | Blockade | การปิดอ่าว [TU Subject Heading] | Persian Gulf Region | กลุ่มประเทศริมอ่าวเปอร์เชีย [TU Subject Heading] | Persian Gulf States | กลุ่มประเทศอ่าวเปอร์เซีย [TU Subject Heading] | Persian Gulf War, 1991 | สงครามอ่าวเปอร์เชีย, ค.ศ. 1991 [TU Subject Heading] | Thailand, Gulf of | อ่าวไทย [TU Subject Heading] | Bay | อ่าว, Example: ส่วนของทะเลสาบ ซึ่งเว้าโค้งเข้าไปในแผ่นดิน โดยมีความกว้างที่ปากอ่าวมากกว่าความยาวจากปากอ่าวถึงก้นอ่าว [สิ่งแวดล้อม] | Cooperation Council for the Arab States of the Gulf | คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ " ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันมีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดี- อาระเบีย บาห์เรน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต โอมาน และกาตาร์ " [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Supervisory Control and Data Acquisition | ระบบ SCADA เป็นระบบตรวจสอบและควบคุมอย่างต่อเนื่องผ่านการสื่อสารดาวเทียม ซึ่งใช้ในการปฏิบัติงานส่งก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตั้งแต่แท่นผลิตในอ่าวไทยจนถึงลูกค้า ผู้ใช้ก๊าซฯ [ปิโตรเลี่ยม] | hurricane | พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อนที่มีกำลังแรงมาก ความเร็วลมใกล้บริเวณศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกอ่าวเม็กซิโก ถ้าเกิดบริเวณภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนเรียกพายุไต้ฝุ่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
| อ่าว | [āo] (n) EN: gulf ; bay FR: golfe [ m ] ; baie [ f ] | อ่าว | [āo] (adv) EN: fast ; quickly ; at full speed ; at a fast clip FR: rapidement | อ้าว | [āo] (x) EN: whoa ! ; oh ! FR: oh ! | อ่าวอลาสก้า | [Āo Alāskā] (n, prop) EN: Gulf of Alaska FR: golfe d'Alaska [ m ] | อ่าวเบงกอล | [Āo Bengkøn] (n, prop) EN: Bay of Bengal FR: Golfe du Bengale [ m ] | อ่าวฮัดสัน | [Āo Hatsan] (n, prop) EN: Hudson Bay FR: baie d'Hudson [ f ] | อ่าวกีนี | [Āo Kīnī] (n, prop) EN: Gulf of Guinea FR: golfe de Guinée [ m ] | อ่าวเม็กซิโก | [Āo Meksikō] (n, prop) EN: Gulf of Mexico FR: golfe du Mexique [ m ] | อ่าวเปอร์เซีย | [āo Poēsīa] (n, prop) EN: Persian Gulf FR: golfe Persique [ m ] | อ่าวไทย | [Āo Thai] (n, prop) EN: Gulf of Thailand FR: golfe de Thaïlande [ nm ] | โกยอ้าว | [kōi āo] (v, exp) FR: fuir | อบอ้าว | [op-āo] (adj) EN: muggy FR: moite ; chaud et humide ; lourd ; étouffant | ปากอ่าว | [pāk-āo] (n) EN: estuary ; mouth of a river FR: estuaire [ m ] ; embouchure [ f ] |
| bay | (n) อ่าว, See also: ที่เว้าของเทือกเขา, Syn. gulf | delta | (n) พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ, See also: อ่าวเล็กๆ ปากแม่น้ำ, Syn. fan, inlet, mouth | fiord | (n) อ่าวแคบที่อยู่ระหว่างหน้าผาสูงชันโดยเฉพาะในนอร์เวย์, Syn. fjord | fjord | (n) อ่าวแคบๆที่อยู่ระหว่างหน้าผาสูงชันโดยเฉพาะในนอร์เวย์, Syn. fiord | gulf | (n) อ่าว, Syn. bay, sea inlet | Scud (missile) | (n) ขีปนาวุธจากพื้นดินสู่พื้นดินในสงครามอ่าวเปอร์เซียปีค.ศ.1991 | seaport | (n) เมืองท่า, See also: ท่าจอดเรือ, อ่าวจอดเรือ, Syn. port, harbor, dock |
| basin | (เบ'ซิน) n. อ่าง, อ่างน้ำ, ชามอ่าง, อ่างล้างหน้า, อู่น้ำ, สระน้ำ, อู่เรือ, ลุ่มน้ำ, อ่าวด้านใน, Syn. bowl, tub | bay | (เบ) { bayed, baying, bays } n. อ่าวเล็ก, ที่เว้าของเทือกเขา, มุข, ชื่อเสียง (bays) , สีน้ำตาลปนแดง, ม้าหรือสัตว์ที่มีสีน้ำตาลปนแดง, เสียงเห่า, ภาวะหมดหนทาง, ความอับจน, การหอน vi. เห่า, หอน vt. เห่าใส่ adj. สีเทาปนแดง | bight | (ไบทฺ) n. ส่วนเวิ้ง, อ่าวเล็ก ๆ , ห่วงเชือก vt. เอาเชือกมาผูกเป็นห่วง, ใช้ห่วงเชือกผูกมัดไว้ | creek | (ครีค) n. ลำคลอง, ลำธาร, อ่าวเล็ก ๆ , ทางแคบระหว่างช่องเขา -Phr. (up the creek อยู่ในภาวะที่ลำบาก), Syn. streamlet, stream | embay | vt. โอบอ้อม, ทำให้เป็นรูปอ่าว ทำให้เรือเข้าอ่าว | estuary | (เอส'ชุอะรี) n. ปากแม่น้ำซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำจืดและน้ำเค็มบรรจบกัน, อ่าว, ปากน้ำ., See also: estrual adj. ดูestrus | fiord | (ฟยอร์ด, ฟโยร์ด) n. อ่าวแคบที่อยู่ระหว่างหน้าผาสูง, อ่าวในนอรเวย์., Syn. fjord | fjord | (ฟยอร์ด) n. อ่าวแคบและยาวที่อยู่ระหว่างหน้าผาสูงชัน., Syn. fiord | gulf | (กัลฟฺ) n. อ่าว, เหวลึก, หลุมลึก, การแยกออกกว้าง, การอยู่ห่างจากกันมาก, สิ่งที่กลืนกิน, สิ่งที่เขมือบ vt. กลืน, เขมือบ., See also: gulfy adj., Syn. chasm, abyss | indian red | ดินสีแดงอมเหลืองในบริเวณฝั่งอ่าวเปอร์เซีย ใช้เป็นสารสีและใช้ขัดเครื่องเงินเครื่องทอง | large scale integration | วงจรรวมความจุสูงนิยมใช้ตัวย่อว่า LSI (อ่าว่า แอลเอสไอ) เป็นเทคโนโลยีในการสร้างชิป (chip) ให้มีทรานซิสเตอร์จำนวนมากเป็นแสนตัวบนชิปตัวเดียว นำมาใช้เป็นหน่วยความจำ (memory) หรือตัวประมวลผลก่อน (preprocessor) ดู integrated circuit ประกอบ | loch | (ลอค) ทะเลสาบ, อ่าวยาวและแคบที่มีแผ่นดินล้อมรอบบางส่วน, Syn. lake | pare blockede | n. การประกาศปิดอ่าวแต่ไม่มีเรือรบเพียงพอ | recess | (รีเซส', รี'เซส) n. การหยุดพัก, การพักผ่อน, ช่วงระยะเวลาที่ศาลปิด, ข่วงระหว่างการปิดประชุม, การปิดภาคเรียน, เวิ้ง, อ่าว, ช่องหรือส่วนเว้าของกำแพง, ซอก, ที่ซ่อน, โพรง, vt. วางในซอกหรือช่อง, ใส่ในที่ลับ vi. พักผ่อน หยุดพัก ปิดภาคเรียน, See also: recesses n. ซอก | statue of liberty | n. อนุสาวรีย์เทพธิดาแห่งเสรีภาพบนเกาะ Liberty ในอ่าวท่าเรือนิวยอร์ค | united arab emirates | n. ชื่อประเทศอาหรับประเทศหนึ่งบนฝั่งของอ่าวเปอร์เซีย |
| bay | (n) เสียงเห่า, เสียงหอน, อ่าว | cove | (n) อ่าวเล็ก, ที่เว้า, ส่วนเว้า | engulf | (vt) ดูด, กลืน, ซัดเข้าหาอ่าว, ท่วม, จุ่ม | estuary | (n) ปากน้ำ, อ่าว | fiord | (n) อ่าวแคบ | gulf | (n) อ่าว | recess | (n) ซอก, ที่ซ่อนเร้น, อ่าว, เวิ้ง, โพรง, ตอนใน, การปิดภาคเรียน | sound | (n) เสียง, อ่าว |
| portolan chart | [พอร์โทลาน ชาร์ท] (n) แผนที่การเดินเรือโบราณก่อนที่จะมีการใช้เส้นรุ้งและเส้นแวง แผนที่สื่อสารโดยการบรรยายลักษณะที่เป็นที่น่าสังเกตของอ่าวและฝั่งทะเลอย่างละเอียดบนแผนที่ เป็นแผนที่่ที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1300 ในอิตาลีและสเปน การใช้อ่าวและฝั่งทะเลเป็นหลักทำให้ใช้ได้เฉพาะในการเดินเรือเลียบฝั่งทะเลเท่านั้น (แปลจาก wikipedia.org) | แผนที่การเดินเรือพอร์โทลาน | (Portolan chart) แผนที่การเดินเรือโบราณก่อนที่จะมีการใช้เส้นรุ้งและเส้นแวง แผนที่สื่อสารโดยการบรรยายลักษณะที่เป็นที่น่าสังเกตของอ่าวและฝั่งทะเลอย่างละเอียดบนแผนที่ เป็นแผนที่่ที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1300 ในอิตาลีและสเปน การใช้อ่าวและฝั่งทะเลเป็นหลักทำให้ใช้ได้เฉพาะในการเดินเรือเลียบฝั่งทะเลเท่านั้น (แปลจาก wikipedia.org) |
| |
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |