ปรับอาบัติ | ก. เอาโทษเป็นผิดตามพระวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ). |
ปลงอาบัติ | ก. แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ). |
อาบัติ | น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาษิต มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. |
เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม | ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า. |
ครุก- | (คะรุกะ-) ว. หนัก เช่น ครุกาบัติ ว่า อาบัติหนัก. |
ครุกาบัติ | (คะรุกาบัด) น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวชใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ. |
ตาลยอดด้วน | พระภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกไม่อาจกลับมาบวชใหม่ได้. |
ถุลลัจจัย | (ถุนลัดไจ) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
ทุกกฏ | (ทุกกด) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
ทุพภาษิต | (ทุบพาสิด) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
ปริวาส | ชื่อกรรมที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ. |
ปาจิตตีย์ | น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
ปาฏิเทสนียะ | (ปาติเทสะนียะ) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
ปาราชิก | น. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวดอุตริมนุสธรรม. |
ปาราชิก | ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. |
มานัต | น. วินัยกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต. |
ลหุกาบัติ | (ละหุกาบัด) น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้องบอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. |
โลกวัชชะ | (โลกะ-) น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหายเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท. |
สงฆ์ | ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. |
สังฆาทิเสส | น. ชื่ออาบัติหนักหมวดหนึ่งรองจากปาราชิก. |
อนิยต | (อะนิยด) น. ชื่ออาบัติที่ไม่แน่นอนว่าจะเป็นอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้องวินิจฉัย. |
อยู่กรรม, อยู่ปริวาส | ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้าปฏิวาสกรรม ก็ว่า. |
อัพภาน | (อับพาน) น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทำโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. |
อาบัน | ก. ต้อง เช่น อาบัติอาบัน ว่า ต้องอาบัติ |