กระจอก ๓ | ว. เขยก (ใช้แก่ขา). (ข. ขฺจก ว่า ขาพิการ) |
กระจอก ๓ | ไม่สำคัญ, เล็กน้อย, เช่น เรื่องกระจอก, ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก. |
กระบอก ๓ | น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย (นิ. นรินทร์), กว่ากลิ่นกระบอกบง- กชเกศเอาใจ (เสือโค), ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. |
กระปรอก ๓ | น. ชื่อเรียกเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล <i> Drynaria</i> และ <i> Platycerium</i> วงศ์ Polypodiaceae. |
ครอก ๓ | (คฺรอก) ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงกรนของคนที่หลับ. |
เงือก ๓ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Bucerotidae ปากใหญ่ บนส่วนท้ายของขากรรไกรบนมีโหนกแข็ง ส่วนใหญ่ภายในโหนกแข็งกลวง ยกเว้นบางชนิดมีโหนกแข็งตัน เช่น นกชนหิน ส่วนใหญ่ลำตัวสีดำ นอกฤดูผสมพันธุ์อยู่รวมกันเป็นฝูง ขณะบินมีเสียงดัง ระยะเริ่มตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหาร ดิน และมูลปิดปากโพรงด้านใน ตัวผู้ใช้วัสดุเดียวกันปิดปากโพรงทางด้านนอก เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนให้ขณะที่ตัวเมียฟักไข่และเลี้ยงลูกได้ ร้องเสียงดังมาก กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เงือกกรามช้าง [ <i> Rhyticeros undulatus</i> (Shaw) ] เงือกหัวแรด (<i> Buceros rhinoceros</i> Linn.) เงือกสีน้ำตาล [ <i> Ptilolaemus tickelli</i> (Blyth) ] เงือกดำ [ <i> Anthracoceros malayanus</i> (Raffles) ]. |
จอก ๓ | น. นกกระจอก. |
ช้างเผือก ๓ | น. ต้นคงคาเดือด. <i> (ดู คงคาเดือด)</i>. |
ช้างเผือก ๓ | <i>ดู ช้าง ๒</i>. |
ดอก ๓ | ว. คำประกอบใช้ในความแย้งหรือปฏิเสธ เช่น ได้แต่มัทรีที่แสนดื้อผู้เดียวดอก ไม่รู้จักปลิ้นปลอกพลิกไพล่เอาตัวหนี (ม.ร่ายยาว มัทรี), (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. |
ตอก ๓ | ก. แตก, ทำให้แตก, เช่น ตอกไข่ไก่. |
ตอก ๓ | น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอก ว่า ข้าวตอก. |
ต๊อก ๓, ต๊อก ๆ | ว. เสียงดังเช่นนั้น |
ต๊อก ๓, ต๊อก ๆ | อาการที่เดินเรื่อย ๆ ไปหรืออาการที่วิ่งไปวิ่งมาอย่างเด็กวิ่งเล่น เช่น เดินต๊อก ๆ วิ่งต๊อก ๆ. |
พอก ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ ในวงศ์ Veneridae รูปเปลือกค่อนข้างกลม สีนวล ผิวเปลือกมีสันลักษณะเป็นเส้นทั้งในแนวตั้งและแนวนอน เช่น ชนิด <i> Periglypta puerpera</i> (Linn). |
ล็อก ๓ | ก. ตวัดรัดให้แน่น เช่น ล็อกคอ ล็อกแขน. |
เลือก ๓ | ว. บาง, ลาง. |
อก ๓ | ว. หก, (โบ) เรียกลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า ลูกอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลูกลก. |
ออก ๓ | ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก |
ออก ๓ | ทำให้ปรากฏ เช่น ออกภาพทางโทรทัศน์ ออกลอตเตอรี่ ลอตเตอรี่ออก |
ออก ๓ | ทำให้เกิดขึ้น มีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย |
ออก ๓ | พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน |
ออก ๓ | แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก |
ออก ๓ | จ่าย เช่น ออกเงิน |
ออก ๓ | แสดง เช่น ออกท่า |
ออก ๓ | นำ เช่น ออกหน้า |
ออก ๓ | เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น บรรเลงเพลงลมพัดชายเขาจบ ออกเพลงลมหวน |
ออก ๓ | เป็นกริยาช่วย หมายความว่า ค่อนข้าง เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. |
ออก ๓ | ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก |
ออก ๓ | ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก |
ออก ๓ | หลุดไปได้, สำเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก |
ออก ๓ | ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก |
ออก ๓ | คำประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดำออกอย่างนี้ |
ออก ๓ | ขึ้น เช่น ตะวันออก เมืองออก. |
กลีบลำดวน | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีเคล้าน้ำตาลกับน้ำมัน ปั้นเป็นดอก ๓ กลีบอย่างดอกลำดวน แล้วอบหรือผิง, ดอกลำดวน ก็เรียก |
ขด ๑ | น. สิ่งที่เป็นวง ๆ, ลักษณนามเรียกของที่เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เชือก ๓ ขด. |
เข้าเดือน | น. กำหนดเวลาที่ไพร่หลวงไพร่สมเข้ามาทำงานให้ทางราชการในแต่ละปีเป็นจำนวนเดือน มากหรือน้อยเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย เช่น เข้าเดือน ออกเดือน เข้าเดือน ออก ๒ เดือน เข้าเดือน ออก ๓ เดือน. (<i>ดู ออกเดือน ประกอบ</i>). |
ดอกลำดวน | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีเคล้านํ้าตาลกับนํ้ามัน ปั้นเป็นดอก ๓ กลีบอย่างดอกลำดวน แล้วอบหรือผิง, กลีบลำดวน ก็เรียก. |
ติด ๒ | ก. แทงโปโดยวิธีเลี่ยม ลูกค้าติดประตูข้างเคียงได้ ๑ ประตู โปออกประตูที่ลูกค้าแทงเลี่ยมไว้ เจ้ามือจ่าย ๒ ต่อ ถ้าออกประตูที่ลูกค้าแทงติดไว้ ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าออกประตูอื่นนอกจากนั้น เจ้ามือกิน เช่น ลูกค้าแทงเลี่ยม ๒ ติด ๓ โปออก ๒ เจ้ามือจ่าย ๒ ต่อ ถ้าออก ๓ ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าออกหน่วยหรือครบ เจ้ามือกิน. |
ถั่ว ๒ | น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือ เมล็ดละหุ่ง เป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนนทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตูแทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธีแทงโปมาใช้ มี เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, โปกำ ก็เรียก. |
ธัญเบญจก | (-เบนจก) น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ–ข้าวเจ้า ๒. วฺรีหิ–ข้าวเปลือก ๓. ศูก–ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี–ถั่ว ๕. กฺษุทฺร–ข้าวกษุทร. |
เปีย ๑ | น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, ผมเปีย หรือ หางเปีย ก็เรียก, เรียกลายที่ถักตอก ๓ ขาไขว้กัน ว่า ลายเปีย หรือ ลายผมเปีย |
โปกำ | น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือเมล็ดละหุ่งเป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนนทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตูแทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธีแทงโปมาใช้ คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และ อา, ถั่ว ก็เรียก. |
ยืนโรง | ออกซํ้า ๆ เช่น ถั่วออก ๓ ยืนโรง (มักใช้แก่การพนันบางอย่าง). |
ลายไพรยักคิ้ว | น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานไซ ข้อง กระบุง กล่องข้าว เป็นต้น ใช้ตอก ๓ เส้นเสมอไป ส่วนตอกซังจะใช้น้อยหรือมากหรือถี่ห่างอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเป็นจำนวนคู่ สานโดยขึ้นตอกสาน ๓ เส้นขัดตอกซัง เว้นตอกซังไว้ ๒ เส้น แล้วเอาตอกสานเส้นกลางไพล่กลับข้ามตอกซัง ๓ เส้น ยกตอกซัง ๓ เส้น ต่อไปจึงไขว้ตอกสาน ๒ เส้นที่เหลือด้วยวิธีเดียวกัน สานไพล่ไปไพล่มาเช่นนี้ตลอด, ลายไพรกาว ก็เรียก. |
เหม็ง | น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเหม็งประตูใด โปออกประตูนั้น เจ้ามือใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกข้างเคียงซ้ายหรือขวา เป็นเจ๊า ถ้าออกประตูตรงข้าม เจ้ามือกิน เช่น เหม็ง ๒ ถ้าออก ๒ เป็นถูก ออกหน่วย ออก ๓ เป็นเจ๊า ออกครบ เจ้ามือกิน. |
ออกเดือน | น. กำหนดเวลาที่ไพร่หลวงไพร่สมไม่ต้องมาทำงานให้ทางราชการหลังจากการเข้าเดือนในแต่ละปี เป็นจำนวนเดือน มากหรือน้อยเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย เช่น เข้าเดือน ออกเดือน เข้าเดือน ออก ๒ เดือน เข้าเดือน ออก ๓ เดือน. <i> (ดู เข้าเดือน ประกอบ)</i>. |