ฉลองพระหัตถ์ | น. ช้อนส้อม, ตะเกียบ, มีดสำหรับโต๊ะอาหาร, ใช้ว่า ฉลองพระหัตถ์ช้อนส้อม ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ฉลองพระหัตถ์มีด. |
ซ้องหัตถ์ | ก. ประนมมือ. |
นารายณ์หัตถ์ | น. ไม้เกาหลัง, ฉลองได หรือ สนองได ก็เรียก. |
ลายพระหัตถ์ | น. ลายมือ |
ลายพระหัตถ์ | จดหมาย. |
วชิรปาณี, วชิรหัตถ์ | น. “ผู้ถือวชิระ” คือ พระอินทร์, วัชรปาณี ก็ว่า. |
วันทยหัตถ์ | น. ท่าเคารพด้วยมือของทหาร ตำรวจ ลูกเสือ เป็นต้น ที่แต่งเครื่องแบบ สวมหมวก มิได้ถืออาวุธ. |
หัตถ-, หัตถ์ | (หัดถะ-, หัด) น. มือ |
หัตถ-, หัตถ์ | ศอกหนึ่ง |
หัตถ-, หัตถ์ | งวงช้าง. |
กรรมชวาต | (กำมะชะวาด) น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์ (ปฐมสมโพธิกถา), เขียนเป็น กรรมัชวาต ก็มี. |
กระวัด | (-หฺวัด) ก. จับด้ามวัตถุแล้วปัดไปมา เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู (สรรพสิทธิ์). |
ขัดสมาธิ | (ขัดสะหฺมาด) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย. |
จงกรมแก้ว | น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. |
ฉลองได | น. ไม้เกาหลัง, นารายณ์หัตถ์ หรือ สนองได ก็เรียก. |
ช้อน | น. เครื่องใช้สำหรับตักของกิน มีด้ามจับ เรียกชื่อตามสิ่งที่ตัก เช่น ช้อนแกง ช้อนขนม ช้อนกาแฟ ช้อนซุป หรือเรียกชื่อตามวัสดุที่ใช้ทำช้อน เช่น ช้อนกระเบื้อง ช้อนสังกะสี ช้อนหอย ช้อนพลาสติก, ลักษณนามว่า คัน, ราชาศัพท์ว่า ฉลองพระหัตถ์ช้อน |
ดนุช | น. “ผู้บังเกิดแต่ตน”, ลูก, เช่น ใกล้หัตถ์ดลดนุช สองวิสุทธเพาพาล (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
ตรีศูล | น. ศัสตราประจำหัตถ์พระอิศวร มีลักษณะคล้ายใบหอกสั้นหรือพระขรรค์ ๓ เล่ม โคนร่วมอยู่ในด้ามเดียวกัน. |
ตะเบ๊ะ | ก. ทำความเคารพอย่างคนในเครื่องแบบ คือ ทำวันทยหัตถ์. [ เทียบ ม. angkat tabek ว่า วันทยหัตถ์ (angkat ว่า ยกขึ้น tabek เป็นคำทักทายที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่) ] |
ถวายเนตร | น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง ในพระอิริยาบถยืนด้วยพระอาการสำรวม พระหัตถ์ขวาทาบหลังพระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตรทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์. |
ทุกรกิริยา | ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนที่พระเพลา พระวรกายผ่ายผอมจนเห็นพระผาสุกะ (ซี่โครง). |
นวย | ก. เยื้องกราย, กรีดกราย, เช่น งามหัตถ์งามกรช่างอ่อนระทวย ช่างนาดช่างนวยสวยยั่วนัยนา (ฉุยฉายพราหมณ์) |
นาคปรก | (นากปฺรก) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสอง วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกเหนือพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาค อีกแบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกายไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน. |
นาคาวโลก | (-คาวะ-) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์ไปทางซ้าย (เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีอย่างไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย). |
ปฐมเทศนา | ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมายสำคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทำนิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทำท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง. |
ปัทมปาณี | น. ผู้มีดอกบัวในมือ คือ พระพรหม พระวิษณุ, ชื่อหนึ่งหรือปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระหัตถ์ทรงดอกบัว. |
ฝีมือ | น. ความเชี่ยวชาญในการใช้มืออย่างมีศิลปะ เช่น มีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย มีฝีมือในการปรุงอาหาร, เรียกการช่างทำด้วยมืออย่างมีศิลปะ ว่า การช่างฝีมือ, ราชาศัพท์ว่า ฝีพระหัตถ์ |
มารวิชัย | (มาระ-, มาน-) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. |
ไม้เกาหลัง | น. ไม้ด้ามยาว ปลายด้านหนึ่งมักทำเป็นรูปมือ สำหรับใช้เกาหลัง, ราชาศัพท์ ใช้ว่า ฉลองได สนองได หรือ นารายณ์หัตถ์. |
รำพึง | น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย เป็นกิริยารำพึง. |
ลายมือ | น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลายมือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์ |
ลายมือ | ตัวหนังสือเขียน มักมีลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลายมือตนเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึงจดหมายของเจ้านายด้วย. |
ลีลา | ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี |
วัชรปาณี | น. “ผู้ถือวชิระ” คือ พระอินทร์, วชิรปาณี ก็ว่า, ชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งตามคติฝ่ายมหายาน พระหัตถ์ทรงสายฟ้า. |
สนองได | น. ไม้เกาหลัง, นารายณ์หัตถ์ หรือ ฉลองได ก็เรียก. |
สิบสองพระกำนัล | น. นางพระกำนัลที่มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ มี ๑๒ ตำแหน่ง ได้แก่ กำนัลรับพระหัตถ์ กำนัลพระขันหมาก กำนัลน้ำเสวย กำนัลพัชนี กำนัลพระสำอาง กำนัลพระมาลา กำนัลพระบังคน กำนัลพระไสยาสน์ กำนัลทิพยรส กำนัลพระโภชน์ กำนัลพระโอษฐ์ และกำนัลทาพระองค์. |
เส้นลายมือ | น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว, ลายมือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์. |
ไสยาสน์ | (ไสยาด) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระเขนย พระบาททั้ง ๒ ตั้งซ้อนกัน. [ ป. เสยฺย (นอน) + อาสน (นั่ง) ]. |
หัตถาภรณ์ | <i>ดู หัตถ-, หัตถ์</i>. |
หัตถาลังการ | <i>ดู หัตถ-, หัตถ์</i>. |
หัสต์ | (หัด) น. หัตถ์, มือ. |
ห้ามญาติ | น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระกายตามปรกติ พระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม. |
ห้ามพระแก่นจันทน์ | น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม. |
ห้ามสมุทร | น. ชื่อพระพุทธ-รูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง ๒ ข้างยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาห้าม ที่สร้างเป็นแบบพระทรงเครื่องก็มี. |