กฎหมายระหว่างประเทศ | น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ. |
กระหว่า | ว. ราวกับว่า เช่น หน้าตาหัวอกรกเป็นขน ดูสง่ากระหว่าคนหรือนนทรี (มโนห์รา), ปักษ์ใต้ว่า หวา. |
กระเหว่า | (-เหฺว่า) น. นกดุเหว่า เช่น กระเหว่าเสียงเพราะแท้ แก่ตัว (โลกนิติ), กาเหว่า ก็ว่า. (ดู ดุเหว่า). |
กาเหว่า | ดู ดุเหว่า. |
ดุเหว่า | (-เหฺว่า) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Eudynamis scolopacea (Linn.) ในวงศ์ Cuculidae ตัวเล็กกว่ากาเล็กน้อย ตาแดง หางยาว ตัวผู้สีดำ ตัวเมียสีนํ้าตาล มีลายจุดสีขาวพาดตลอดลำตัว วางไข่ให้นกชนิดอื่นฟัก มักหากินตามลำพัง กินแมลงและผลไม้, กาเหว่า ก็เรียก. |
นาหว่าน | น. นาชนิดที่หว่านเมล็ดข้าวลงในนา. |
บ้าหว่า | (-หฺว่า) น. เครื่องประดับข้อมืออย่างหนึ่ง เช่น บ้าหว่าทองผูกสองข้างแขนนั้น (ขุนช้างขุนแผน). |
ประหว่า | ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เช่น มือประหว่าคว้าหมอน (สมุทรโฆษ). |
ระหว่าง | น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะเวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียนหนังสืออยู่, เวลาที่กำลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. |
ระหว่าง | บ. คำที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือสถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่างมหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ. |
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ | น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาอื่น รวมทั้งกิจการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศบางเรื่อง. |
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ | น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น. |
สับหว่าง | ว. เยื้องระหว่างแถว จะเป็น ๒ แถวหรือหลายแถวก็ได้ เช่น นั่งสับหว่าง ยืนสับหว่าง. |
หวา, หว่า ๑ | ว. คำประกอบท้ายเพื่อเน้นความ เช่น ไปไหนหวา. |
หว่า ๒ | ว. คำประกอบท้ายแสดงความแคลงใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนหว่า. |
หว่า ๓ | ว. เปล่า, ว้าเหว่. |
หว้า ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Syzygium Cumini (L.) Skeels. ในวงศ์ Myrtaceae ผลสุกสีม่วงดำ กินได้. |
หว้า ๒ | น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Argusianus argus (Linn.) ในวงศ์ Phasianidae หนังบริเวณใบหน้าและคอสีฟ้าตัวสีน้ำตาลตัวผู้หางยาว ขนที่ปีกมีแวว ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะรำแพนปีกเกี้ยวตัวเมียโดยสร้างอาณาเขตเดินเป็นวงกลม กว้าง ๒-๓ เมตร เรียกว่า ลานนกหว้า ทำรังแบบง่าย ๆ ตามพื้นดิน กินเมล็ดพืช ผลไม้ และแมลง. |
หว่าง | น. ช่องว่างจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง เช่น หว่างคิ้ว หว่างเขา. |
หว่าน | ก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดยปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน. |
หว่านพืชหวังผล | ก. ให้ผลประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อหวังผลตอบแทน. |
หว่านล้อม | ว. ตะล่อมเข้ามาตามที่ต้องการ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดหว่านล้อม เจรจาหว่านล้อม. |
โอดกาเหว่า | ก. ร้องไห้ครํ่าครวญ. |
กฎหมาย | น. กฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นการทั่วไป ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย กฎหมายอาจตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ กฎหมายอาจเกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันก็ได้. |
กฎหมายปกครอง | น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน. |
กฎหมายพาณิชย์ | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ ตั๋วเงิน หุ้นส่วน บริษัท. |
กฎหมายแพ่ง | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. |
กฎหมายมหาชน | น. กฎหมายที่วางระเบียบโครงสร้างและการปกครองของรัฐหรือการบริหารราชการแผ่นดิน รวมตลอดทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับเอกชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง. |
กฎหมายรัฐธรรมนูญ | น. กฎหมายที่วางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตย การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย. |
กฎหมายเอกชน | น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. |
กติกาสัญญา | น. ความตกลงระหว่างประเทศ. |
กรรเหิม | (กัน-) ก. เหิม เช่น กรรเหิมหายหว่นนหว่า (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กร่อม ๒ | น. เครื่องมือครอบจับปูทะเล ตามชายฝั่งทะเล ใช้ไม้ไผ่ต้นเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ เหลาซี่เหล่านั้นให้อ่อน เอาวงแหวนทำด้วยไม้ไผ่ หวาย หรือลวด ใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก, กะกร่อม หรือ ตะกร่อม ก็เรียก. |
กระจับ ๑ | นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกันอวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย. |
กระเจียว | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma sessilis Gage ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย มีหัวใต้ดิน ขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกเป็นช่อตั้ง รูปคล้ายทรงกระบอก ดอกสีขาว อยู่ระหว่างกาบสีขาวปลายสีม่วง ใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก อาวแดง. |
กระเช้าสวรรค์ | น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่กับที่ มีที่นั่งคล้ายกระเช้าห้อยติดอยู่เป็นช่วง ๆ ระหว่างโครงของล้อทั้ง ๒, ชิงช้าสวรรค์ ก็ว่า. |
กระแตแต้แว้ด ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Vanellus indicus (Boddaert) วงศ์ย่อย Charadriinae ในวงศ์ Charadriidae ปากยาว หัวสีดำ ขนบริเวณหูสีขาว มีติ่งเนื้อสีแดงพาดระหว่างตาผ่านหน้าผาก ขายาวสีเหลือง วางไข่ในแอ่งตื้น ๆ บนพื้นดิน กินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก ร้องเสียงแตแต้แว้ด, กระต้อยตีวิด ต้อยตีวิด หรือ แต้แว้ด ก็เรียก. |
กระถอบ | น. แผ่นทองคำฉลุลายเป็นกิ่งต้นเครือวัลย์กระหนก สำหรับเสียบห้อยที่ชายพกลงมาในระหว่างช่องหน้าขาทั้ง ๒ สามัญเรียกว่า ช่อทับชาย เช่น ที่ประดับเทวรูปทรงเครื่องทั่วไป เรียกกันว่า สุวรรณกระถอบ หรือ สุวรรณกัญจน์ถอบ. |
กระทุง | น. ชื่อนกนํ้าขนาดใหญ่ชนิด Pelecanus philip-pensis Gmelin ในวงศ์ Pelecanidae ตัวขนาดห่าน ขนสีขาวหรือสีเทา ปากยาวใหญ่ ระหว่างขากรรไกรล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่สำหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่นํ้าลำคลองและชายทะเล. |
กระทุ่ม ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลำกิ่งและระหว่างก้านใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทำเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบก ตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. |
กระเบน | เรียกชายผ้าที่เป็นส่วนกว้างของผ้านุ่งที่ประกบกันแล้วม้วนเฉียงสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นแล้วเอาชายไปเหน็บที่ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน |
กระป่ำ ๒ | ว. อร่อย เช่น อนี้ต้นหว้าหวานกระป่ำ (ม. คำหลวง กุมาร; มัทรี). |
กระพี้ | น. ส่วนของเนื้อไม้ที่หุ้มแก่น, เนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกกับแก่น มีลักษณะอ่อนและยุ่ยง่าย. |
กระแสจิต | น. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิดที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ว่า การส่งกระแสจิต. |
กระโสง | น. ปลากระสง เช่น กระโสงสังควาดหว้าย ชลา (สรรพสิทธิ์). (ดู กระสง). |
กระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ทูลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่มิได้ทรงกรม และหม่อมเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, สรรพนามบุรุษที่ ๑ ที่หม่อมเจ้ามีรับสั่งระหว่างกัน. |
กระแอม ๒ | น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ อยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สำหรับอุดหรือปิดช่องไฟระหว่างปลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม หรือ ตัวกระแอม. |
กลาง | (กฺลาง) น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน กลางทาง |
กลางคัน | ว. ในระหว่างเหตุการณ์, ในระหว่างที่ยังไม่เสร็จ. |
กลางคืน | น. ระยะเวลาตั้งแต่ยํ่าคํ่าถึงยํ่ารุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น. |