กระย่อง | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสำรับ, ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด, อีสานว่า กะย่อง. |
กระย่องกระแย่ง | ว. ย่องแย่ง. |
กระยิ้มกระย่อง | ก. ยิ้มย่อง, ยิ้มด้วยความอิ่มใจ, ยิ้มย่องผ่องใส ก็ว่า. |
กะย่อง | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสำรับ, ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอกดอกไม้บูชาตามวัด. |
ขนหย็อง | น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนกที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว. |
ตัดช่องย่องเบา | ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. |
มันย่อง | ว. มันจนมีน้ำมันเยิ้มหรือลอยเป็นฝาขึ้นมา. |
ม้าย่อง | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ มีท่อนเดียว |
ม้าย่อง | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา |
ม้าย่อง | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง จัดเข้าชุดเป็นเพลงชุดม้า คือ ม้ารำ ม้าสะบัดกีบ และม้าย่อง. |
ยกย่อง | ก. เชิดชู. |
ย่อง ๑ | ก. เดินอย่างใช้ปลายเท้าจดลงเบา ๆ. |
ย่องกริบ | ก. เดินเข้าไปอย่างเงียบกริบ. |
ย่องเบา | ก. อาการที่ย่องเข้าไปลักสิ่งของของเขาเพื่อไม่ให้เจ้าของรู้ตัว. |
ย่องแย่ง | ว. ไม่ถนัด, ไม่แข็งแรง, (ใช้แก่อาการเดินที่เหยียบไม่ถนัด), กระย่องกระแย่ง ก็ว่า. |
ย่อง ๒ | ว. ที่ลอยเหนือขึ้นมา เช่น แกงมันย่อง, มีเงางาม เช่น ขัดพื้นเป็นมันย่อง. |
ย้อง | ว. งาม, สวย. |
ย่องเหง็ด | น. จ้องหน่อง. |
ยิ้มย่อง, ยิ้มย่องผ่องใส | ก. ยิ้มด้วยความอิ่มใจ, กระยิ้มกระย่อง ก็ว่า. |
หมูหย็อง | น. ของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย. |
หย็อง ๑ | ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. |
หย็อง ๑ | ว. มีอาการหวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทำท่าหย็อง. |
หย็อง ๒ | ก. ทำให้เป็นฝอยฟู ๆ เช่น เอาเนื้อหมูไปหย็อง, เรียกเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ที่ทำให้เป็นฝอยฟู ๆ ว่า หมูหย็อง ไก่หย็อง. |
หย่อง | น. สิ่งสำหรับใส่หมากพลู มีรูปเหมือนถาดขอบสูง มีตีน โดยมากทำด้วยทองเหลือง |
หย่อง | เครื่องรองรับไม้แม่กำพองประจำช่องหน้าต่าง |
หย่อง | ส่วนประกอบของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ขิม ไวโอลิน ใช้รองรับสายพาดผ่าน เพื่อรับแรงสั่นสะเทือนจากสายลงสู่กล่องเครื่องดนตรีให้เสียงกังวานขึ้น, ส่วนประกอบของจะเข้ ใช้หนุนสายเพื่อมิให้แตะนมจะเข้ เรียกว่า ซุ้ม. |
หย่อง | ว. อาการที่นั่งชันเข่าทั้ง ๒ ข้างโดยก้นไม่ถึงพื้น เรียกว่า นั่งหย่อง หรือ นั่งยอง ๆ. |
หย่อง ๆ | ว. เหย่า ๆ (ใช้แก่กิริยาวิ่ง). |
หย็องกรอด | (หฺย็องกฺรอด) ว. ซูบผอมมีท่าทางคล้ายคนอิดโรย. |
หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ | ว. ทำท่าเล่น ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง เช่น นักมวยคู่นี้มัวแต่เต้นหย็องแหย็ง ๆ ไม่ชกกันเสียที |
หย็องแหย็ง, หย็องแหย็ง ๆ | ไม่มีท่าทาง, ไม่เป็นระเบียบ, เช่น เต้นหย็องแหย็ง กระโดดหย็องแหย็ง ๆ. |
หยิกหย็อง | ก. หยิกเป็นฝอย เช่น ผมหยิกหย็อง. |
กรรดิ | (กัด) ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี (ยวนพ่าย). |
กระซ่องกระแซ่ง | ว. กระย่องกระแย่ง, ซ่องแซ่ง ก็ว่า. |
กระหยิ่ม | ก. กริ่ม, ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น กระหยิ่มยิ้มย่อง. |
กรินทร์ | น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้ว่า กเรนทร์ ก็มี. |
กริบ | โดยปริยายหมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ. |
กเรนทร, กเรนทร์ | น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น พลคชคณหาญหัก กเรนทรปรปักษ์ ปราบประลัย (สมุทรโฆษ). |
กิตติมศักดิ์ | (-ติมะ-) ว. ยกย่องเพื่อเป็นเกียรติยศ เช่น ปริญญากิตติมศักดิ์ สมาชิกกิตติมศักดิ์. |
กิตติศัพท์ | น. เสียงเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, เสียงยกย่อง. |
เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ | (เกียด, เกียดติ-, เกียน) น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. |
แกรก | (แกฺรก) ว. เสียงดังเหมือนเล็บขูดพื้น, เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากการย่องหรือเล็ดลอด. |
ขยิ่ม | (ขะหฺยิ่ม) ก. กระหยิ่ม, ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น ขยิ่มยิ้มย่อง. |
ขวัญ | คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ |
ขึ้นโต๊ะ | ว. เรียกลักษณะของสิ่งที่ดีมีราคา, (ปาก) เรียกลักษณะของสิ่งที่ไม่มีราคาแต่ยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีราคา. |
ขึ้นแท่น | โดยปริยายหมายความว่า ได้รับการยกย่องหรือได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งที่สูง (ใช้ในความประชด) เช่น เขาขึ้นแท่นไปเป็นอธิบดีแล้วเลยเข้าพบยาก. |
เขียนด้วยมือลบด้วยตีน | ก. ยกย่องแล้วกลับทำลายในภายหลัง. |
คาทอลิก | น. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นพระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวชเรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก. |
คุณ ๑, คุณ- | คำที่ใช้เรียกนำหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร |
คุณนาย | น. คำยกย่อง ใช้เรียกภรรยาข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ยังมิได้เป็นคุณหญิง, ในปัจจุบันใช้เรียกยกย่องสตรีทั่ว ๆ ไปที่ผู้เรียกนับถือ. |