กุ้งมังกร | น. ชื่อกุ้งทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Panulirusวงศ์ Palinuridae หัวและอกโต ผิวเปลือกมีหนามมากและมีลายหลายสี, กุ้งหนามใหญ่ หรือ กุ้งหัวโขน ก็เรียก. |
มังกร ๑ | น. สัตว์ในนิยายจีน รูปร่างคล้ายงู แต่มีตีน มีเขา |
มังกร ๑ | ชื่อกลุ่มดาวรูปมังกร เรียกว่า ราศีมังกร เป็นราศีที่ ๙ ในจักรราศี. |
มังกร ๒ | น. ดู ยอดจาก. |
มังกร ๒ | ดู ตะพัด. |
มังกร ๓ | น. กุ้งมังกร. (ดู กุ้งมังกร ที่ กุ้ง ๑). |
ลิ้นมังกร | น. ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora vitifolia Humb., Bonpl. et Kunth ในวงศ์ Passifloraceae ดอกสีแดง. |
ลิ้นมังกร | ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sansevieria thyrsiflora Thunb. ในวงศ์ Dracaenaceae ดอกสีขาว กลางคืนมีกลิ่นหอม. |
ลิ้นมังกร | ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Antirrhinum majus L. ในวงศ์ Scrophulariaceae ดอกมีหลายสี. |
หงส์ร่อนมังกรรำ | น. ชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่หญิงทำเพื่อให้ผัวหลงรักตัวคนเดียว. |
หัวมังกุท้ายมังกร | ว. ไม่เข้ากัน, ไม่กลมกลืนกัน, มีหลายแบบหลายอย่างปนกัน. |
โอ่งมังกร | น. โอ่งดินเผาเคลือบ มีสีนํ้าตาลปนเหลือง มักมีลายเป็นรูปมังกร. |
กรกฎ, กรกฏ | (กอระกด) น. ปู เช่น กรกฎกุ้งกั้งมังกร (ม. ร่ายยาว มหาพน) |
กระบวนจีน | น. วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของจีนมาดัดแปลงหรือประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และมัณฑนศิลป์ของไทย, เรียกลวดลายผ้าแพร โดยมากเป็นรูปประแจ กะแปะ มังกร ว่า ลายกระบวนจีน. |
กิเลน | น. ชื่อสัตว์ในนิยายจีน, ตามตำราของจีนว่า หัวเป็นมังกร มีเขาอ่อน ๑ เขา ตัวเป็นกวาง ตีนมีกีบเหมือนม้า หางเป็นพวง. |
กุ้งหนามใหญ่ | ดู กุ้งมังกร. |
กุ้งหัวโขน | ดู กุ้งมังกร. |
คอลัมน์ | น. ข้อเขียนในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร ซึ่งมักเป็นเรื่องแนวเดียวกัน เช่น คอลัมน์สุขภาพ หรือมีผู้เขียนประจำ เช่น คอลัมน์มังกรห้าเล็บ. |
จักรราศี | น. อาณาเขตที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์, อาณาเขตโดยรอบดวงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์เดิน, วิถีโคจรประจำของดวงอาทิตย์ซึ่งดูเสมือนวนไปรอบท้องฟ้าได้ ๓๖๐ องศาใน ๑ ปี วงโคจรนี้แบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วน หรือ ๑๒ ราศี แต่ละส่วนหรือแต่ละราศีมีช่วง ๓๐ องศา ได้แก่ ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุลหรือราศีดุล ราศีพฤศจิกหรือราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และราศีมีน, วงโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่สมมุติขึ้นทางโหราศาสตร์ ประกอบด้วย ๑๒ ราศี. |
ตะพัด ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Scleropages formosus (Müller & Schlegel) ในวงศ์ Osteoglossidae เป็นปลาโบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ลำตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของสันหลังตรงโดยตลอด แนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหางมาก ขอบหางกลม เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง พื้นลำตัวเป็นสีเงินอมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาในจังหวัดตราดและจันทบุรี รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, มังกร ก็เรียก. |
มกร, มกร- | (มะกอน, มะกอระ-, มะกะระ-) น. มังกร, ชื่อดาวราศีที่ ๑๐. |
มกรกุณฑล | (มะกอระ-) น. เครื่องประดับหูมีรูปคล้ายมังกร. |
มังกุ ๑ | น. เรือที่มีกระดูกงูใหญ่ รูปเหมือนเรือโขมดยา หัวเป็น ๓ เส้า เช่น เอาหัวเป็นมังกุ เอาท้ายเป็นมังกร, แต่มักใช้เพี้ยนไปเป็น มงกุฎ. |
ยอดจาก | น. ชื่อปลาไหลทะเลในสกุล Muraenesox และ Congresox วงศ์ Muraenesocidae ลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหางแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากแหลมอ้าได้กว้าง จะงอยปากบนยาวล้ำขากรรไกรล่าง ฟันคมแข็งแรง ครีบอกใหญ่ พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลอ่อนปนเหลืองหรือคล้ำ ด้านท้องสีขาว ขอบครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒.๕ เมตร, เงี้ยว หลด ไหล หรือ มังกร ก็เรียก. |
เรือพิฆาต ๑ | น. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้ากระบวนเรือเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์. |
ศตภิษัช, สตภิสชะ | (-พิสัด, สะตะพิดชะ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก. |
สตภิสชะ, ศตภิษัช | (สะตะพิดชะ, สะตะพิสัด, สัดตะพิสัด) น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก. |
สินธู | น. ลำน้ำ, แม่น้ำ, สายน้ำ, น้ำ, ทะเล, มหาสมุทร, เช่น มังกรเกี่ยวเลี้ยวล่องท้องสินธู เป็นคู่คู่เคียงมาในวารี (อภัย), สินสมุทรสุดรักพระธิดา เอาใส่บ่าแบกวายสายสินธู (อภัย), ใช้ว่า สินธุ หรือ สินธุ์ ก็มี. |
หนามใหญ่ | น. กุ้งหนามใหญ่. (ดู กุ้งมังกร ที่ กุ้ง ๑). |
หัวโขน ๓ | น. กุ้งมังกร. (ดู กุ้งมังกร ที่ กุ้ง ๑). |
เหรา ๒ | (เห-รา) น. สัตว์ในนิยายมีรูปครึ่งนาคครึ่งมังกร. |
ไหล ๑ | ดู มังกร ๒. |