มหาพน | น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๗ ของมหาชาติ ว่าด้วยเรื่องป่า. |
กรกฎ, กรกฏ | (กอระกด) น. ปู เช่น กรกฎกุ้งกั้งมังกร (ม. ร่ายยาว มหาพน) |
กรนทา | (กฺรน-) น. ไม้คนทา (ลิปิ) เช่น กรนทาดาษดวงพรายก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
กระชอม | ว. มาก, ใหญ่, เช่น ผักกาดกองกระชอมก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
กระดาก ๓ | น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง เช่น กระดากกระโดนดำดง (ม. ฉันท์ มหาพน). |
กระทดกระทัน | ว. คด ๆ ค้อม ๆ เช่น ที่เตี้ยค่อมค้อมคดกระทดกระทันนั้นก็มีอยู่มากหลาย (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
กระเทียมหอม | น. ต้นหอม เช่น กระเทียมหอมรำแย้ ก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
กระลุมพู | น. นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน (ม. ร่ายยาว มหาพน). <i> (ดู ลุมพู)</i>. |
กรามพลู | (กฺรามพฺลู) น. กานพลู เช่น แห้วหมูพิชกรามพลูก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
กริว ๒ | (กฺริว) ว. เกรียว, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, เช่น บางหมู่ก็กริวเกริ่น (ม. ฉันท์ มหาพน). |
กลัมพก, กลัมพัก | (กะลำ-) น. ผักบุ้ง เช่น ประเทศที่ตํ่านํ้าลึกล้วนเหล่ากลัมพัก พ่านทอดยอดยาวสล้างสลอน (ม. ร. ๔ มหาพน). |
กับบุเรศ | (-เรด) น. การบูร เช่น กับบุเรศสมุลแว้งก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
ก่าน | ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน (ม. คำหลวง มหาพน) |
กำพง | น. ท่านํ้า, ตำบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกำพงไพร (ม. คำหลวง มหาพน). |
กำหนัด | (-หฺนัด) ก. ใคร่ในกามคุณ เช่น เทียรย่อมให้เกิดวัฒนาการกำหนัดใน (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
เกสร | ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
ไกรศร, ไกรสร | (ไกฺรสอน) น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอนกาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
ข่า ๓ | น. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคำหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
คระเมิม | (คฺระ-) ว. ดุ, น่ากลัว, เช่น ครึ้มคระเมิมภัยรา (ม. คำหลวง มหาพน). |
เคด, เค็ด | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Catunaregum tomentosa</i> (Blume ex DC.) Tirveng. ในวงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีหนามยาว ใบรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ตามยอดอ่อนด้านล่างของใบและดอกมีขนนุ่ม ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เช่น ปรูปรางเคดดวงดาษก็มี (ม. คำหลวง มหาพน), มะเค็ด ก็เรียก. |
เครื่องเล่น | น. แหล่เทศน์มหาชาตินอกเรื่องเดิม มักมีทำนองตลกขบขันหรือเป็นเชิงสั่งสอนเป็นต้น โดยเฉพาะในกัณฑ์ชูชก มหาพน และมหาราช. |
แครงเครียว | (แคฺรงเคฺรียว) ว. แรงมาก, โบราณเขียนเป็น แครงครยว ก็มี เช่น ท่านนี้แครงครยว คืนคํ่าขํ่าขยว จักขอสักอัน (ม. คำหลวง มหาพน). |
จริก ๒ | (จะหฺริก) น. ต้นจิก เช่น จริกโจรตพยงผกากรรณก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
จาว ๕ | ก. บาน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น โพทเลจาวดวงดอกก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
เจริด | (จะเหฺริด) ว. งาม, เชิด, สูง, เช่น ป่านั้นเจริดจรุงใจก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
ชมไช | ก. ชื่นชมยินดี, รื่นเริง, เช่น พนคณนกหคชมไช (ม. คำหลวง มหาพน). |
ชะง่อน | น. หินที่เป็นปุ่มเป็นแง่ยื่นออกมาจากเขา เช่น ที่งอกง้ำเป็นแง่เงื้อมก็ชะงุ้มชะโงกชะง่อนผาที่ผุดเผินเป็นแผ่นพูตะเพิงพัก (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
ชะงุ้ม | ว. เป็นเพิงงุ้มลงมา เช่น ที่งอกง้ำเป็นแง่เงื้อมก็ชะงุ้มชะโงกชะง่อนผาที่ผุดเผินเป็นแผ่นพูตะเพิงพัก (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
ซะซ่อง | ว. ซ่องซ่อง, เงื่อง, เซื่อง, บางทีเขียนเป็น ซซ่อง ก็มี เช่น เถ้าก็ชุลมุนไปซซ่อง ยังช้นนช่องดงดอย (ม. คำหลวง มหาพน). |
ซะซอเซีย | ว. เสียงนกร้องจอแจ, บางทีเขียนเป็น ซซอเซีย ก็มี เช่น นกจอกนกจาบมีทงงนกจิบ เยียซซิบซซอเซีย (ม. คำหลวง มหาพน). |
ซะซิบ | ว. เสียงเช่นเสียงนกเล็ก ๆ ร้อง, บางทีเขียนเป็น ซซิบ ก็มี เช่น นกจอกนกจาบมีทงงนกจิบ เยียซซิบซซอเซีย (ม. คำหลวง มหาพน). |
ดำเกิง | ว. รุ่งเรือง, สูง, สูงศักดิ์ เช่น รื่นเริงดำเกิงใจยะย้าว (ม. คำหลวง มหาพน). |
เดือนเย็น | น. หน้าหนาว เช่น ทงงเดือนเย็นเดือนร้อนก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
เดือนร้อน | น. หน้าร้อน เช่น ทงงเดือนเย็นเดือนร้อนก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
ตระกวน | (ตฺระ-) น. ผักบุ้ง เช่น ตระกวนสนเสียดสร้อยก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
ตระคัร | (ตฺระคัน) น. ไม้กฤษณา, เขียนเป็น ตรคัล ก็มี เช่น กฤษณาขาวแลตรคัลก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
ตระสัก | ไพเราะ เช่น จักจั่นแลปักษี ดุจดนตรีตระสักสวรรค (ม. คำหลวง มหาพน). |
ถ้อง | น. ทาง เช่น พฤกษาในเถื่อนถ้อง (ม. คำหลวง มหาพน). |
ทรมุก | (ทอระ-) น. กรักขี เช่น ทรมุกพรรณดวงจาวก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
ทรเล่ห์ | (ทอระ-) ก. เฉียดหลังนํ้า เช่น ทุงทองทรเล่ห์สระทรหวล (ม. คำหลวง มหาพน). |
ทรสองทรสุม | (ทอระสองทอระสุม) ก. ซ่องสุม, ประชุมกัน, เช่น ดูทรสองทรสุมผกา (ม. คำหลวง มหาพน). |
ทรสาย | (ทอระ-) ว. สยาย, รุงรัง, เช่น ทรสายกิ่งชื้อชัฏ (ม. คำหลวง จุลพน), ใช้เข้าคู่กับคำ ทรสุม เป็น ทรสายทรสุม ก็มี เช่น กิ่งทรสายทรสุมผกา (ม. คำหลวง มหาพน). |
แนม | ก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ (อิเหนา) |
บันเหิน | ก. เหาะไป, บินไป, โบราณเขียนเป็น บันเหอร ก็มี เช่น ดอกบววบินบนบันหารบันเหอรจับจร (ม. คำหลวง มหาพน). |
โบกขรณี | (-ขะระนี, -ขอระนี) น. สระบัว เช่น ชื่อมุจลินท์สินธุสาโรชโบกขรณี (ม. ร่ายยาว มหาพน), บางทีเขียนเป็น โบษขรณี ก็มี เช่น ท้าวธก็จะยลสระสโรช อันชื่อโบษขรณี อันมีทรุมทํทุมแลไหล้ (ม. คำหลวง วนประเวศน์). |
เผิน | ว. บน, สูง, เช่น ที่งอกง้ำเป็นแง่เงื้อมก็ชะงุ้มชะโงกชะง่อนผาที่ผุดเผินเป็นแผ่นพูตะเพิงพัก (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
มโนศิลา | น. ศิลาอ่อนที่ย่อยให้ละเอียดประสมเป็นสีทาสิ่งอื่นได้, อีกนัยหนึ่งว่าสารหนูแดง, เรียกหินลายสีแดง ๆ เช่น รัตนผลึกเลื่อมมโนศิลาลาย (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
รำแย้ | น. ชื่อพืชชนิดหนึ่ง เช่น กระเทียมหอมรำแย้ก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
อัสมุขี | ว. มีหน้าเป็นหน้าม้า. (ม. ร่ายยาว มหาพน). |