พื้นท้อง | น. เนื้อตรงส่วนท้อง (โดยมากหมายถึงส่วนท้องของปลา). |
ก้นขบ | น. ชื่องูขนาดเล็กชนิด <i> Cylindrophis</i><i> ruffus</i> (Laurenti) ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae สีดำแกมม่วง มีลายประตามลำตัวสีขาวเห็นได้ชัดเมื่อยังมีขนาดเล็ก ท้องมีลายดำขาวสลับกัน พื้นท้องของหางเกือบปลายสุดมีสีแดงอมส้ม ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษข้างหางเพราะชูและแผ่หางแบนม้วนให้เห็นเมื่อพบศัตรู. |
กะ ๓ | น. ส่วนของสมอแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายแขนยื่นออกไป ๒ ข้าง สำหรับช่วยยึดเกาะติดพื้นท้องน้ำ. |
กะพง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด <i> Musculista</i><i> senhousia</i> (Benson) ในวงศ์ Mytilidae เปลือกบางรูปยาวรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเป็นเส้นสีนํ้าตาล อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือแผ่เป็นแผ่นใหญ่. |
เกา | ก. เอาเล็บหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บครูดผิวหนังเพื่อให้หายคันเป็นต้น, อาการที่สมอเรือครูดไปตามพื้นท้องน้ำ ไม่ยึดอยู่กับที่. |
เกาสมอ | ก. ลากสมอครูดไปตามพื้นท้องน้ำ โดยเฉพาะในขณะที่กำลังกว้านสมอขึ้นเก็บ. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด<i> Epinephelus</i> <i> merra</i> Bloch, <i> E. sexfasiatus</i> (Valenciennes), <i> Cephalopholis boenak</i> (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด <i> Promicrops lanceolatus</i> (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด <i> P. l</i>. (Bloch)<i> </i>. |
ขี้ควาย | น. ชื่อปลาทะเลชนิด <i> Trachicephalus uranoscopus</i> (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Scorpaenidae ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลำตัวมีรอยด่างสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดำคลํ้า เงี่ยงมีพิษ ซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินหรือหมกตัวอยู่ตามพื้นท้องทะเล ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, ขี้ขุย ก็เรียก. |
คางคก ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด <i> Batrachoides grunniers</i> (Bloch) และ<i> Batrachomoeus trispinosus</i> (Günther) ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลำตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาลเป็นด่างดวงทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก. |
แค้ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล <i> Bagarius</i> วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด<i> B. bagarius</i> (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ <i> B. yarrelli</i> Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก. |
โคก ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล <i> Anodontostoma</i> และ <i> Nematalosa</i> วงศ์ Clupeidae หัวเล็ก ปากเล็ก ลำตัวสั้น แบนข้าง ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ตามชายฝั่งที่มีพื้นท้องทะเลเป็นโคลน, ตะเพียนนํ้าเค็ม ก็เรียก. |
งัว ๔ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล เช่น ในสกุล <i> Triacanthus</i> วงศ์ Triacanthidae, ในสกุล <i> Monacanthus</i> วงศ์ Monacanthidae, ในสกุล <i> Balistes</i> วงศ์ Balistidae, ในสกุล <i> Anacanthus</i> วงศ์ Anacanthidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ยยาว ๓๐ เซนติเมตร บางชนิดยาวได้ถึง ๗๕ เซนติเมตร ผิวหนังหยาบเหนียวหรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็มหาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรกและครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง. |
ฉลาม | (ฉะหฺลาม) น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลากระดูกอ่อน ขนาดยาวได้ถึง ๒๑.๔ เมตร ส่วนใหญ่มีช่องเหงือก ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยกสูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะสืบพันธุ์ เรียกว่า ตะเกียบหรือเดือย บางชนิดเป็นปลาผิวนํ้า เช่น ฉลามหนู [ <i> Scoliodon sorrakowah</i> (Cuvier) หรือ <i> S. laticaudus</i> Müller & Henle ], ฉลามเสือ เสือทะเล พิมพา หรือ ตะเพียนทอง [ <i> Galeocerdo cuvieri</i> (Peron & Le Sueur) ] บางชนิดอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบหรือฉลามหิน [ <i> Chiloscyllium plagiosum</i> (Bennett) ] บางชนิดอยู่ในนํ้าลึกมาก เช่น ฉลามนํ้าลึก (<i> Squalus acanthias</i>Linn.) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ (<i> Rhincodon typus</i> Smith) ชนิดที่หัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด <i> Sphyrna leweni</i> (Griffith & Smith). |
ซ่งฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Hypophthalmichthys nobilis</i> (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร. |
ตาพอง ๓ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล <i> Priacanthus</i> วงศ์ Priacanthidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น คางยื่น ตาโตคลุมด้วยเยื่อใส เกล็ดเล็กสากมือ ลำตัวและครีบสีแดงสด อาศัยอยู่ใกล้พื้นท้องนํ้าหรือในระดับนํ้าลึก ที่ชุกชุมได้แก่ ชนิด <i> P. tayenus</i> Richardson ขนาดโตได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ตาโต หรือ ตาหวาน ก็เรียก. |
เต่าดำ | น. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด <i> Siebenrockiella crassicollis</i> (Gray)ในวงศ์ Emydidae หัวสีดำมีแต้มสีขาวที่ขมับ กระดองหลังสีดำกว่าเต่าชนิดอื่น ๆ อาศัยตามโคลนเลนบนพื้นท้องน้ำ, ดำแก้มขาว ก็เรียก. |
ท้องขาว ๒ | น. ชื่อหนูขนาดกลางชนิด <i> Rattus rattus</i> (Linn.) ในวงศ์ Muridae ตัวสีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลแดง พื้นท้องสีขาว มีเส้นสีนํ้าตาลหรือดำพาดขวางหน้าอก จมูกแหลม ใบหูใหญ่ หางสีดำยาวไล่เลี่ยกับความยาวของส่วนหัวและลำตัว กินเมล็ดพืชและเศษอาหาร มีชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย. |
น้ำผึ้ง ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i>Gyrinocheilus aymonieri</i> (Tirant) และชนิด <i>G. pennocki</i> (Fowler) ในวงศ์ Gyrinocheilidae ลำตัวทรงกระบอก คอดหางใหญ่ ครีบหางเว้าตื้น ปลายหัวมน งุ้ม ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน ที่สำคัญคือ มีรูน้ำเข้า ๑ รูอยู่เหนือแผ่นปิดเหงือก บริเวณจะงอยปากมีตุ่มเนื้อขนาดเล็ก ไม่มีหนวด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดสีดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว จุดสีดำยังอาจพบบนครีบ อาศัยตามที่ลุ่มน้ำต้นฤดูน้ำ หรือตามลำธารบนภูเขา กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ปรกติใช้ปากดูดเกาะห้อยตัวอยู่กับวัตถุใต้น้ำหรืออยู่ตามพื้นท้องน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, สร้อยน้ำผึ้ง ปากใต้ ลูกผึ้ง ผึ้ง หรือ อีดูด ก็เรียก. |
ใบโพ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล <i>Drepane</i> วงศ์ Drepanidae ลำตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด <i>D. punctata</i> (Linn.) มีจุดดำที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด <i>D. longimana</i> (Bloch & Schneider) มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก. |
ปล้องอ้อย | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด <i> Acanthopthalmus kuhlii</i> (Valenciennes) ในวงศ์ Cobitidae ลำตัวยาว แบนข้าง ท้องมน คอดหางกว้าง หัวเล็กปลายทู่ ปากเล็กอยู่ตํ่า ตาเล็ก มีกระดูกเป็นหนามอยู่ใต้ตา เกล็ดเล็กมาก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง พื้นลำตัวสีเหลืองอ่อนหรือส้ม มีแถบกว้างสีดำหรือนํ้าตาลเข้มพาดขวางเป็นปล้อง ๆ โดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดเป็นทรายตามลำธารเขตภูเขา เคลื่อนไหวรวดเร็วคล้ายงูเลื้อย กินสาหร่ายและเศษซาก ขนาดยาวเพียงไม่เกิน ๘ เซนติเมตร. |
ปลาหน้าดิน | น. ปลาที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล เช่น ปลาเห็ดโคน ปลาเก๋า. |
มือเสือ ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Tridacnidae เปลือกหนาหนักสีขาวคล้ำหรือสีนวล บางชนิดมีลายเป็นเส้นสีน้ำตาล เปลือกมีสันและร่องทำให้ขอบเปลือกหยักเป็นลอน พบตามพื้นท้องทะเลบริเวณที่มีแนวปะการัง เช่น ชนิด <i>Tridacna squamosa</i> Lamarck, <i>T. Crocea</i> Lamarck, <i>Hippopus hippopus</i> (Linn.). |
รากกล้วย ๑ | น. ชื่อปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล <i>Acantopsis</i>วงศ์ cobitidae หัวยาวปลายแหลม ลำตัวยาวเรียว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา ข้างตัวมักมีจุดสีดำเรียงในแนวยาวหรือประอยู่ด้านหลัง บ้างมีแถบสีดำคล้ำตามแนวยาว พบอาศัยอยู่เป็นฝูงตามลำน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลหรือพื้นท้องน้ำเป็นกรวดทรายซึ่งปลามุดซ่อนตัว, ซ่อนทราย กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก. |
สมอเกา | ก. อาการที่สมอหลุดจากพื้นที่ทอดไว้ แล้วครูดไปตามพื้นท้องน้ำด้วยแรงลมและกระแสน้ำ. |
สะดือ | น. ส่วนของร่างกายอยู่ตรงกลางพื้นท้องเป็นรูหวำเข้าไป. |
หมอเทศ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด <i>Oreochromis mossambicus</i> (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร. |