พิชย-, พิชัย | (พิชะยะ) น. ความชนะ. |
พิชัยสงคราม | น. ตำราว่าด้วยกลยุทธ์, ตำราว่าด้วยวิธีการเอาชนะในสงคราม. |
กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). |
กฎ | (กด) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้ (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้ (อัยการเบ็ดเสร็จ), พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). |
กรอกรุย | ก. ทำท่าเจ้าชู้ เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน (มณีพิชัย). |
กระแด้แร่ | ว. กระแดะ, ดัดจริต, เช่น อย่าทำดื้อกระแด้แร่เลยแม่เอ๋ย (มณีพิชัย). |
กระป๋อหลอ | ว. เหลอ (ใช้แก่หน้า) เช่น ก็หยุดยั้งนั่งหน้ากระป๋อหลอ (มณีพิชัย). |
กรุย ๒ | (กฺรุย) ว. ทำทีท่าเจ้าชู้ เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน (มณีพิชัย). |
กรูม | (กฺรูม) ว. กรอม, คลุม, เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน (มณีพิชัย). |
กฤษฎาธาร | (กฺริดสะดาทาน) น. พระที่นั่งที่ทำขึ้นสำหรับเกียรติยศ เช่น พระมหาพิชัยราชรถกฤษฎาธาร (เรื่องพระบรมศพ). |
กล้องสลัด | น. กล้องที่ใช้ใส่อาวุธซัดไป. (พิชัยสงคราม) |
กะยุ | ก. ยก, ย่าง, เยื้อง, เช่น กะยุบาทไคลคลา (เสือโค), กะยุบาทเบื้องปลายตีน (พิชัยสงคราม). |
กำด้น | น. ท้ายทอย, ส่วนที่คอกับศีรษะต่อกัน, เช่น เหมือนกดคอยอกำด้นลูกสาวศรี (มณีพิชัย). |
ขย่อน | (ขะหฺย่อน) ว. กระชั้น เช่น ครั้นไก่ขันขย่อนค่อนคืน (มณีพิชัย). |
จู่ลู่ | โดยปริยายหมายความว่า วู่วาม, หุนหันพลันแล่น, เช่น อย่าจู่ลู่ดูถูกนะลูกรัก (อภัย), ดูทำนองพระมณีพี่ยา เห็นว่าจะจู่ลู่วู่วาม (มณีพิชัย), เพื่อนกันช่วยฉุดยุดไว้ ผิดไปไม่ได้อย่าจู่ลู่ ตามกรรมตามเวรนางโฉมตรู จู่ลู่จะพากันวุ่นวาย (สังข์ทอง). |
ดั้น ๑ | ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น ดั้นหมอกออกเมฆด้วยฤทธิไกร ผ่านพิชัยขีดขินบูรินมา (รามเกียรติ์ ร. ๑), มักใช้เข้าคู่กับคำ ด้น เป็น ดั้นด้น หรือ ด้นดั้น. |
ตรึก ๒ | (ตฺรึก) ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, หมายความว่า มาก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรำพันให้ครั่นครึก (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาวสาว ขาวขาวดี ดีมีไม่ตรึก (มณีพิชัย). |
ตายลาภ | ว. เป็นลาภแน่ ๆ, หนีไม่พ้น, เช่น นางนี้ดีร้ายตายลาภเรา (มณีพิชัย). |
ทุ้ง ๒ | ก. กระทุ้ง เช่น ชอบแต่ทุบถองทุ้งให้กุ้งกิน (มณีพิชัย). |
ราชรถ | (ราดชะรด) น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีเรือนยอดทรงบุษบก ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ เช่น พระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ. |
ศิลปศาสตร์ | ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์. |