Clearance level | ระดับปล่อยผ่าน, ค่าที่เท่ากับหรือน้อยกว่า ค่าความเข้มข้นกัมมันตภาพรังสี หรือค่ากัมมันตภาพรังสีรวมของวัสดุกัมมันตรังสี หรือสารกัมมันตรังสี ที่คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติกำหนดไว้ ให้พ้นจากการควบคุม [นิวเคลียร์] |
Disposal, waste | การขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Waste disposal | การขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radioactive waste | กากกัมมันตรังสี, วัสดุที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส ที่เป็น หรือประกอบด้วย หรือปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีที่มีค่ากัมมันตภาพรังสีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งผู้ครอบครองวัสดุนั้นไม่ประสงค์จะใช้งานอีกต่อไป และให้หมายความรวมถึงวัสดุอื่นใดที่คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กำหนดให้เป็นกากกัมมันตรังสีด้วย <br>(ดู clearance level ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radioactive discharge | การระบายสิ่งเจือปนสารกัมมันตรังสี, การระบายแก๊สหรือของเหลวที่เจือปนสารกัมมันตรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยมีแผนงานและการควบคุมตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ <br>(ดู disposal, waste ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation area | บริเวณรังสี, บริเวณที่มีรังสีในปริมาณที่กำหนดไม่ว่ารังสีนั้นจะมาจากวัสดุกัมมันตรังสี หรือ เครื่องกำเนิดรังสี <br>ปริมาณรังสีที่กำหนดตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ. 2504 เท่ากับหรือมากกว่า 25 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมงที่ระยะ 30 เซนติเมตรจากต้นกำเนิดรังสี</br> [นิวเคลียร์] |
Nuclear safeguards | การพิทักษ์ทางนิวเคลียร์, มาตรการป้องกัน ยับยั้ง และตรวจสอบ มิให้วัสดุนิวเคลียร์สูญหาย แปรสภาพ หรือนำไปใช้ในทางที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ, Example: [นิวเคลียร์] |
International Atomic Energy Agency | ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ, ไอเออีเอ, หน่วยงานสากลด้านความร่วมมือทางนิวเคลียร์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 ภายใต้องค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสันติภาพของโลก ป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ให้ความช่วยเหลือด้านการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติเพื่อความปลอดภัยและความมั่นคงของมนุษยชาติ [นิวเคลียร์] |
European Union | สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นองค์การอิสระและมีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับสหประชาชาติ ทำหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการใช้พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
พลังงานปรมาณู | พลังงานปรมาณู, พลังงานไม่ว่าในลักษณะใดซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยออกมาในเมื่อมีการแยกรวม หรือแปลงนิวเคลียสของปรมาณู หรือพลังงานจากรังสีเอ็กซ์ [พลังงาน] |
nuclear reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, ปฏิกรณ์ปรมาณู, เครื่องมือใช้ผลิตพลังงานนิวเคลียร์จากปฏิกิริยาฟิชชันแบบลูกโซ่ เพื่อนำพลังงานไปใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า ผลิตสารกัมมันตรังสี เป็นต้น โดยทั่วไปนิยมเรียกเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู หรือเตาปรมาณู เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูของไทยตั้งอยู่ที่สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |