จุกพราหมณ์ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Cymbiola nobilis (Lightfoot) ในวงศ์ Volutidae เปลือกหนา พื้นผิวด้านนอกเรียบสีน้ำตาลอ่อนมีลายเส้นหยักสีนํ้าตาลไหม้เข้ม เปลือกม้วนเป็นวงซ้อนกันปลายยอดเป็นจุกเหมือนมวยผมของพราหมณ์. |
ชีพราหมณ์ | น. คำเรียกชายหรือหญิงที่นุ่งขาวห่มขาว ถือศีล ๘ แต่ไม่โกนคิ้วไม่โกนผม. |
พราหมณ-, พราหมณ์ ๑ | (พฺรามมะนะ-, พฺราม) น. คนในวรรณะที่ ๑ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร, ผู้ที่ถือเพศไว้ผม นุ่งขาวห่มขาว เช่น พราหมณ์ปุโรหิต พราหมณ์พฤฒิบาศ. |
พราหมณ์ ๒ | (พฺรามมะนะ-, พฺราม) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย เช่น พราหมณ์เข้าโบสถ์ พราหมณ์เก็บหัวแหวน พราหมณ์ดีดน้ำเต้า พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก. |
พราหมณ์ ๓ | (พฺราม) น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ปลาพราหมณ์. |
พราหมณ์ขายเมีย | (พฺราม-) น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด Mangifera indica L. |
สังวาลพราหมณ์ | น. สายธุรำของพราหมณ์. |
หนวดพราหมณ์ ๑ | (หฺนวดพฺราม) น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นจามจุรี แต่ไม่มีกลิ่นหอม. |
หนวดพราหมณ์ ๑ | ชื่อกล้วยไม้ชนิด Seidenfadenia mitrata (Rchb. f.) Garay ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีม่วงแดง กลิ่นหอม, เอื้องหนวดพราหมณ์ ก็เรียก. |
หนวดพราหมณ์ ๒ | (หฺนวดพฺราม) น. ชื่อปลานํ้าจืดหรือน้ำกร่อยในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ลำตัวยาว แบนข้าง หัวแหลม ปากอยู่ตํ่ามาก ตาเล็ก เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สำคัญก้านครีบส่วนล่างของครีบอกแยกกันและยื่นเป็นเส้นคล้ายหนวดหลายเส้นยาวเลยครีบหาง ลำตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า. |
หนวดพราหมณ์ ๓ | (หฺนวดพฺราม) น. เชือกหลาย ๆ เส้นที่ผูกโยงปลายเสาหรือที่โยงเอาของขึ้นไปในที่สูง. |
หนวดพราหมณ์ ๔ | (หฺนวดพฺราม) น. ปลายสายของซอสามสายที่พาดผ่านหย่องลงมาสอดเข้าที่รูหน้าของทวนล่างไปออกทางด้านหลัง แล้วขมวดเข้าด้วยกัน ทิ้งชายซึ่งเรียกว่าหนวดพราหมณ์ไว้. |
เอื้องหนวดพราหมณ์ | ดู หนวดพราหมณ์ ๑ (๒). |
กรด ๔ | (กฺรด) น. ภาชนะใส่นํ้าเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือนคนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกานํ้า. |
กรรซ้นน | (กันซั้น) ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน (ม. คำหลวง กุมาร). |
กรสาปน, กรสาปน์ | (กฺระสาบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทองร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชนทงงหลายบมิขาดเลย (ม. คำหลวง ชูชก). |
กรสุทธิ์ | (กะระ-) น. “การชำระมือให้หมดจด”, พิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. |
กระยาสังแวง | น. ชื่อข้าวในพิธีธนญชัยบาศรับช้างเผือกของพราหมณ์พฤฒิบาศ คลุกด้วยสีเหลือง สีแดง แล้วปั้นเป็นก้อน ๆ เรียกว่า ข้าวกระยาสังแวง, ข้าวเภา ก็เรียก. |
กระยาจก | น. ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก (มโนห์รา). |
กฤดายุค | (กฺริดา-) น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฤตยุค). (ดู จตุรยุค). |
กลด ๒ | (กฺลด) น. กลศ, ภาชนะใส่นํ้าเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือนคนโท มีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ. |
กลบบัตรสุมเพลิง | (-บัดสุมเพฺลิง) น. ชื่อพิธีพราหมณ์อย่างหนึ่ง ทำแก้เสนียด. |
กลศ | (กฺลด) น. ภาชนะใส่นํ้าเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือนคนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกานํ้า เรียกว่า หม้อกลศ, (โบ) เขียนเป็น กลด ก็มี. |
กล่อม ๓ | (กฺล่อม) น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทำตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบำเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. |
กล่อมหงส์ | พิธีขับกล่อมหงส์ ทำต่อเนื่องจากพิธีตรียัมปวาย เป็นการส่งเสด็จพระอิศวร พระอุมา และพระมหาพิฆเนศวรกลับสู่สวรรค์ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ |
กลี | ชื่อผีร้ายหรือผีการพนันตามคติของพราหมณ์. |
กลียุค | (กะลี-) น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลงโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน (ดู จตุรยุค), ช่วงเวลาที่มีแต่ความรุนแรงเลวร้ายเกิดขึ้น . |
กษัตริย-, กษัตริย์ | คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมี ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. |
กัตติเกยา | น. การตามเพลิงในพิธีพราหมณ์. |
กัลป-, กัลป์ | (กันละปะ-, กัน) น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑, ๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. |
กัศมล | (กัดสะมน) ว. น่าเกลียด, ไม่งาม, อุจาด, เช่น บพิตรพราหมณ์นี้กาจกัศมลร้ายพ้นคนในโลกย์นี้ (ม. คำหลวง กุมาร). |
เกน ๆ | ว. อาการที่ตะโกนหรือร้องดัง ๆ ใช้ว่า ตะโกนเกน ๆ ร้องเกน ๆ, เช่น มนนก็จรจรัลไปมาในป่า ก็ได้ยินซ่าศับท์ สำนยงพราหมณ์ไห้ ในต้นไม้เกนเกนอยู่น้นน (ม. คำหลวง ชูชก). |
เกาบิล | (-บิน) น. ชื่อแหวนคู่กับสายธุรำในพิธีพราหมณ์. |
ไกรลาส, ไกลาส | (ไกฺรลาด, ไกลาด) น. ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. |
ข้อย | น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์ (ม. คำหลวง กุมาร). |
ข้าวกระยาสังแวง | น. ชื่อข้าวในพิธีธนญชัยบาศรับช้างเผือกของพราหมณ์พฤติบาศ คลุกด้วยสีเหลือง สีแดง แล้วปั้นเป็นก้อน ๆ, ข้าวเภา ก็เรียก. |
ข้าวเภา | น. ชื่อข้าวในพิธีธนญชัยบาศรับช้างเผือกของพราหมณ์พฤฒิบาศ คลุกด้วยสีเหลือง สีแดง แล้วปั้นเป็นก้อน ๆ, ข้าวกระยาสังแวง ก็เรียก. |
โขลนทวาร | (โขฺลนทะวาน) น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทำตามตำราพราหมณ์ คือทำเป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพที่ยกไป เรียกว่า เบิกโขลนทวาร. |
คันชีพ ๒ | น. จงกลเทียนหลายกิ่ง สำหรับพราหมณ์ถือแกว่งในมือขวา มือซ้ายแกว่งบัณเฑาะว์. |
จตุบริษัท | น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. |
จตุรเวท, จตุรเพท | (-เวด, -เพด) น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-). |
จองเปรียง | (-เปฺรียง) น. ชื่อพิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ เป็นพิธีจุดโคมรับเทพเจ้า ทำในวันเพ็ญเดือน ๑๒. |
ช ๒ | ในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิดในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้ง หมายถึง พราหมณ์, นก. |
ช้าหงส์, ช้าเจ้าหงส์ | พิธีขับกล่อมหงส์ ทำต่อเนื่องจากพิธีตรียัมปวาย เป็นการส่งเสด็จพระอิศวร พระอุมาและพระมหาพิฆเนศวร กลับสู่สวรรค์ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ |
ชาวนอก | คนที่มาจากนอกเมือง, คนต่างเมือง, เช่น ชายชาวนอกสองคน พราหมณ์ตนหนึ่งเป็นสาม (ลอ). |
เชยชิด | ก. สัมผัสแนบชิด เช่น ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย ยังไม่เคยเชยชิดพิสมัย (อภัย). |
ตรีมูรติ | น. ชื่อเรียกเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทำลาย). |
ตรีปวาย | (ตฺรีปะ-) น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่พระนารายณ์ ซึ่งกระทำในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. |
ตรียัมปวาย | (ตฺรียำปะ-) น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทำในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. |
ติลก ๑ | (-หฺลก) น. เครื่องหมายที่เจิมที่หน้าผากของพวกพราหมณ์เป็นเครื่องหมายนิกาย. |