พระธรรมนูญศาลยุติธรรม | น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กรศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาลยุติธรรมต่าง ๆ. |
พระธรรมศาสตร์ | ดู ธรรมศาสตร์. |
หีบพระธรรม | น. หีบสำหรับเก็บพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ มักตั้งด้านหน้าพระสวดพระอภิธรรม. |
กัณฑ์เทศน์ | น. สิ่งของหรือไทยธรรมสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า |
เครื่องกัณฑ์ | น. สิ่งของหรือไทยธรรมสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรผู้แสดงพระธรรมเทศนา, กัณฑ์เทศน์ ก็ว่า. |
เครื่องสังเค็ด | น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ. |
เครื่องห้า ๑ | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า. |
ตรีกาย | น. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย). |
ตรีปิฎก | น. ไตรปิฎก, พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก. |
ตรีรัตน์ | น. แก้วทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, โดยมากใช้ ไตรรัตน์. |
ติงทุเลา | ก. ถ่วงเวลา, แย้งขอให้ระงับไว้ก่อน, เช่น แลอั้นคำค้านเสียมิได้ถามพญาณ แลอั้นคำท้วงติงทุเลาเสีย (สามดวง พระธรรมนูน), ครั้นว่าพี่มีคำติงทุเลา ช่างกระไรไม่เอาสักอย่าง (รามเกียรติ์ ร. ๒). |
ไตรปิฎก | (-ปิดก) น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ใช้ว่า ตรีปิฎก ก็ได้. |
ไตรรัตน์ | น. แก้ว ๓ ประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน หมายถึง พระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธรัตนะ พระธรรม เรียกว่า ธรรมรัตนะ พระสงฆ์ เรียกว่า สังฆรัตนะ, รัตนตรัย ก็เรียก. |
ไตรสรณคมน์, ไตรสรณาคมน์ | (-สะระนะคม, -สะระนาคม) น. การยึดถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกโดยการน้อมนำเอาพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มาเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ. |
ถึง ๑ | รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก |
ทานบน | น. ทัณฑ์บน, ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, เช่น ให้เอาตัวมาสบถษาบานเฉพาะพระพุทธพระธรรมพระสงฆเจ้าจงหนักหนา แล้วให้เรียกเอาทานบนไว้ครั้งหนึ่งก่อน ถ้าผู้นั้นมิละพะยศยังทำอยู่อิกไซ้ ก็ให้จับเอาตัวมาส่งให้ผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการ (สามดวง). |
เทววาจิกสรณคมน์ | (ทะเววาจิกะสะระนะคม) น. การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ เป็นสรณคมน์ที่ตปุสสะและภัลลิกะกล่าวหลังจากที่ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงแด่พระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากตรัสรู้. |
ธรรมกถึก | น. เรียกพระที่เป็นนักเทศน์ผู้แสดงธรรม ว่า พระธรรมกถึก. |
ธรรมขันธ์ | ข้อธรรม (กำหนดข้อธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔, ๐๐๐ พระธรรมขันธ์). |
ธรรมคุณ | น. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. |
ธรรมเจดีย์ | น. คัมภีร์ที่จารึกพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก, เจดีย์ที่บรรจุพระธรรมที่มักจารลงบนใบลาน. |
ธรรมนูญ | น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กร เช่น ธรรมนูญศาลทหาร พระธรรมนูญศาลยุติธรรม. |
ธรรมศาสตร์ | คัมภีร์กฎหมายเก่าของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกำเนิดแห่งกฎหมาย, พระธรรมศาสตร์ ก็เรียก. |
ธรรมสังคีติ | น. การสังคายพระธรรมวินัย. |
ธรรม ๓ | น. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นเทพ ตํ่ากว่าชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า ชั้นธรรม เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมเจดีย์. |
บพิตรพระราชสมภาร | ส. คำที่พระสงฆ์เรียกพระมหากษัตริย์ มักใช้ในการถวายพระธรรมเทศนา. |
พระ | บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้านามพระสนม เช่น พระอินทราณี พระสุจริตสุดา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ร้อยกรอง | ตรวจชำระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคำว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย |
รัตน-, รัตน์, รัตนะ | ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน |
รัตนตรัย | น. แก้ว ๓ ประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน หมายถึง พระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธรัตนะ พระธรรม เรียกว่า ธรรมรัตนะ พระสงฆ์ เรียกว่า สังฆรัตนะ, ไตรรัตน์ ก็เรียก. |
ราต | ก. ให้มาแล้ว เช่น ธรรมราต ว่า พระธรรมให้มา. |
สดับ | (สะดับ) ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง |
สดับตรับฟัง | ก. ฟังด้วยความเอาใจใส่ เช่น สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา. |
สรณตรัย | น. ที่พึ่งทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์. |
สังเค็ด | น. ทานวัตถุมีตู้พระธรรมโต๊ะหมู่เป็นต้น ที่เจ้าภาพจัดถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุผู้เทศน์หรือชักบังสุกุลในเวลาปลงศพ เรียกว่า เครื่องสังเค็ด. |
สันทิฐิก- | (สันทิดถิกะ-) ว. ควรเห็นเอง, เป็นคุณของพระธรรมอย่างหนึ่ง. |
อมฤตรส | พระธรรม (ในพระพุทธศาสนา). |
โองการ | น. คำศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำในพระราชพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยา (ศรีสัจจปานกาล), ถ้าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์มาจากพระดำรัสสั่งของพระมหากษัตริย์ที่รับบรมราชาภิเษกแล้ว เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. [ ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม ซึ่งมาจากคำว่า “อะ อุ มะ” ในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึง พระมหาเทพทั้ง ๓ คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม ในทางพระพุทธศาสนา อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุต̣ตมธม̣ม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสง̣ฆ (พระสงฆ์) ]. |
โอม | ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. |