กระแชงอ่อน | น. ชื่อฝาเรือนไทยแบบหนึ่ง กรุด้วยใบจากอ่อน. |
กระแบะ ๓ | น. ลักษณนามใช้เรียกฝาเรือนทรงไทยที่แยกออกได้เป็นส่วน ๆ. |
กรุ ๒ | (กฺรุ) ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝาเรือน, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ. |
ขัดแตะ | ก. เรียกรั้วหรือฝาเรือนที่ใช้ไม้รวกหรือไม้ไผ่ผ่าซีกขัดกัน ว่า รั้วขัดแตะ ฝาขัดแตะ, เรียกเรือนที่มีฝาเอาไม้ไผ่ซีกสอดขัดกับลูกตั้ง ว่า เรือนฝาขัดแตะ. |
จาด ๑ | น. สีขาวใช้ทาฝาเรือนและอื่น ๆ. |
ตีแตะ | ก. ขัดแตะโดยเอาไม้ไผ่ผ่าให้เป็นซี่ ๆ แล้วขัดกันให้เป็นแผ่นหรือเป็นปื้น ใช้ทำรั้วบ้านและฝาเรือน. |
ปะกน | น. ไม้ลูกสกัดฝาเรือนสำหรับเอากระดานกรุ, ลูกปะกน ก็เรียก. |
ปุ ๒ | ก. ปะ เช่น เอาไม้ไปปุฝาเรือน. |
ฝา | เครื่องกั้นด้านนอกหรือเครื่องกั้นแบ่งห้องของตัวเรือนโรงเป็นต้น เช่น ฝาบ้าน ฝาเรือน ฝาห้อง |
ฝาสำหรวด | น. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้แผ่นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง. |
ฝาหอยโข่ง | น. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง. |
ภิตติ | น. ฝาเรือน, กำแพง. |
มอบ ๓ | น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกัน หรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน เรียกว่า ไม้มอบ. |
แม่ฝา | น. ไม้กรอบประกับฝาเรือนฝากระดานทั้ง ๔ ด้าน. |
ไม้กระดาน | น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ สำหรับปูพื้นหรือทำฝาเรือนเป็นต้น, ถ้าใช้ปูพื้น เรียกว่า กระดานพื้น, ถ้าใช้ทำฝา เรียกว่า ไม้ฝา, เรียกเรือนไม้จริงที่ฝาทำด้วยไม้กระดานว่า เรือนฝากระดาน. |
ไม้มอบ | น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกันหรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน. |
ร่องตีนช้าง | น. ส่วนล่างของฝาเรือนทรงไทย อยู่ระหว่างธรณีประตูหรือธรณีหน้าต่างกับพื้น มีลักษณะเป็นช่อง ๆ กรุด้วยแผ่นไม้กระดาน. |
ลด | ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทำให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือนอน เช่น ลดตัวลงนั่ง. |
ล้มฝา | ก. ทำปลายฝาเรือนทรงไทยให้สอบขึ้น. |
ลำแพน ๒ | น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง มักสานด้วยตอกไม้ไผ่เส้นใหญ่ ๆ แบน ๆ ซึ่งเรียกว่า ตอกปื้น ที่ทำด้วยหวายหรือเส้นใยเปลือกไม้ก็มี ใช้ปูหรือทำเป็นแผงใช้กั้นหรือกรุเป็นฝาเรือนเป็นต้น เรียกว่า เสื่อลำแพน. |
ลูกปะกน | น. ไม้ลูกสกัดฝาเรือนสำหรับเอากระดานกรุ, ปะกน ก็เรียก. |
สำหรวด | น. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้แผ่นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาสำหรวด. |
เสื่อลำแพน | น. เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง มักสานด้วยตอกไม้ไผ่เส้นใหญ่ ๆ แบน ๆ ซึ่งเรียกว่า ตอกปื้น ที่ทำด้วยหวายหรือเส้นใยเปลือกไม้ก็มี ใช้ปูหรือทำเป็นแผงใช้กั้นหรือกรุเป็นฝาเรือนเป็นต้น. |
หอยโข่ง | น. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาหอยโข่ง. |