จ้อมป้อม | ว. จอมเปาะ. |
ตะล่อมป้อม | ว. กลม ๆ ป้อม ๆ. |
ป้อม ๑ | น. หอรบ |
ป้อม ๑ | ที่อยู่หรือที่พักซึ่งทำขึ้นใช้กันแดดกันฝน เช่น ป้อมตำรวจ. |
ป้อมบังคับการ | น. ที่ซึ่งมีที่กำบังแข็งแรงสำหรับใช้ในการควบคุมการใช้อาวุธและสั่งการเดินเรือในยามสงคราม. |
ป้อม ๒, ป้อม ๆ | ว. กลม ๆ. |
ป๋อม | ว. เสียงดังอย่างของมีนํ้าหนักตกนํ้า, โดยปริยายหมายถึง อาการที่สูญหายไปอย่างของตกนํ้า เช่น หายป๋อมไปเลย. |
พญาขามป้อม, พญามะขามป้อม | น. ชื่อไม้ต้นพวกเมล็ดเปลือยชนิด <i> Cephalotaxus griffithii</i> Hook.f. ในวงศ์ Cephalotaxaceae, มะขามป้อมดง ก็เรียก. |
พญาขามป้อม, พญามะขามป้อม | ชื่อไม้ต้นพวกเมล็ดเปลือยชนิด <i> Dacryarpus imbricatus</i> (Blume) de Laub. ในวงศ์ Podocarpaceae. |
มะขามป้อม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i>Phyllanthus emblica</i> L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทำยาได้. |
มะขามป้อมดง | <i>ดู พญาขามป้อม, พญามะขามป้อม (๑)</i>. |
ลูกป้อม | น. ที่กำบังตัวทหารที่รักษาการณ์อยู่บนกำแพงป้อม เป็นรูปสี่เหลี่ยม. |
หอมป้อม | <i>ดู ชี ๒</i>. |
กบ ๒ | น. ชื่อสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหลายชนิด ในสกุล <i> Rana</i> วงศ์ Ranidae ลำตัวสั้นป้อมมีขนาดต่าง ๆ กัน ขาคู่หลังใหญ่และยาวกว่าขาคู่หน้า ตีนแบนมีพังผืดติดเป็นพืด เมื่อโตเต็มที่ไม่มีหาง กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำ ดำน้ำได้เร็ว เมื่อยังเป็นตัวอ่อนมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจำศีล เช่น กบนา [ <i> Hoplobatrachus rugulosus</i> (Wiegmann) หรือ <i> R. rugulosus</i> (Wiegmann) ]. |
กระเจา | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล <i> Corchorus</i>วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (<i> C. capsularis</i> L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และปอกระเจาฝักยาว (<i> C. olitorius</i> L.) ฝักยาวเรียวมีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิดนี้มีพิษ ปอใช้ทำกระสอบ. |
กระชอน ๒ | น. ชื่อแมลงหลายชนิด ในวงศ์ Gryllotalpidae ลำตัวสีน้ำตาล ยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร ปีกสั้น บินได้ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นป้อมและแบนทางข้าง คล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนามแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ ที่พบบ่อย เช่น ชนิด <i> Gryllotalpa orientalis</i> Burmeister. |
กระแชง ๑ | ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทำเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง. |
กระติ๊ด ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Estrildidae ปากสั้นหนารูปกรวยปลายแหลม หัวกลม ลำตัวอ้วนป้อม มีหลายสี ปลายหางแหลม ใช้หญ้าทำรังเป็นรูปกลมอยู่บนพุ่มไม้เตี้ย ๆ หรือกอหญ้า ปากรังอยู่ทางด้านข้าง กินเมล็ดพืช มีหลายชนิด ที่พบมาก คือ กระติ๊ดขี้หมู [ <i> Lonchura punctulata</i> (Linn.) ] ชนิดอื่น ๆ เช่น กระติ๊ดเขียวหรือไผ่ [ <i> Erythrura prasina</i> (Sparrman) ] กระติ๊ดแดงหรือสีชมพูดง [ <i> Amandava amandava</i> (Linn.) ] กระติ๊ดท้องขาว[ <i> Lonchura leucogastra</i> (Blyth) ], กะทิ ก็เรียก. |
กระปุก | น. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลายของผลระกำหรือผลจาก เช่น ผลระกำกระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก. |
กระเปาะเหลาะ | ว. มีสัณฐานกลมป้อม, เปาะเหลาะ ก็ว่า. |
กรัน ๒ | (กฺรัน) น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของสกุล <i> Musa</i>x paradisiaca L. ผลสั้นป้อม ไม่มีเมล็ด. |
กวัก ๑ | (กฺวัก) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด <i> Amaurornis phoenicurus</i> (Pennant) ในวงศ์ Rallidae ลำตัวสั้น รูปร่างป้อม ขาและนิ้วยาว หน้าผากและด้านล่างลำตัวสีขาว อาศัยอยู่ตามหนองนํ้า เดินหากินบนพื้นดินหรือบนใบพืชนํ้า เช่น บัว จอก แหน ขณะเดินหางมักกระดกขึ้นกระดกลง ในตอนเช้าหรือพลบคํ่าร้องเสียงดัง “กวัก ๆ ”. |
กวางโจน | (กฺวาง-) น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาวคล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. |
กะทกรก | ชื่อไม้เถาชนิด <i> Passiflora foetida</i> L. ในวงศ์ Passifloraceae มีมือเกาะ ใบป้อมมี ๓ หยัก ดอกสีขาว ผลกลม เมื่อสุกสีเหลืองกินได้ มีใบประดับเป็นฝอยหุ้ม ยอดนำมาต้มใช้เป็นผัก, กระโปรงทอง เงาะป่า ถลกบาตร เถาเงาะ เถาสิงโต หรือ หญ้ารกช้าง ก็เรียก. |
กะรัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล <i> Epinephelus, Cephalopholis</i> และ <i> Plectopomus</i> วงศ์ Serranidae หัวโต รูปร่างป้อม เรียวยาวไปทางหาง แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคลํ้าทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่งหรือเกาะ. |
กะราง, กะลาง | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อม หากินเป็นฝูงตามพื้นดิน อาจหากินร่วมกับนกชนิดอื่น ๆ พวกที่อยู่ในวงศ์ Sylviidae มีปากหนาสั้นสีดำปลายแหลม เช่น กะรางหัวหงอก [ <i> Garrulax</i> <i> leucolophus</i> (Hardwicke) ] กะรางคอดำ [ <i> G. chinensis</i> (Scopoli) ] กะรางสร้อยคอเล็ก [ <i> G. monileqer</i> (Hodgson) ] พวกที่อยู่ในวงศ์ Upupidae ได้แก่ กะรางหัวขวาน (<i> Upupa epops</i> Linn.) ปากยาวแหลมโค้งสีดำ หงอนขนสีส้มขอบดำ ลักษณะหงอนขนเหมือนหมวกของอินเดียนแดง ขนตามลำตัวสีนํ้าตาลอมเหลือง มีแถบดำขาวสลับกัน, ชนิดนี้ การางหัวขวาน หรือ หงอนชบา ก็เรียก. |
กะหำแพะ | น. ชื่อมะเขือพันธุ์หนึ่งของชนิด <i> Solanum melongena</i> L. ผลมีสีม่วง สั้นและป้อมกว่ามะเขือยาว. |
กะเหลาะเปาะ | ว. กระเปาะเหลาะ, มีสัณฐานกลมป้อม, ตะเหลาะเปาะ ก็ว่า. |
กันภัย, กันภัยมหิดล | น. ชื่อไม้เถาชนิด <i> Afgekia mahidoliae</i> Burtt et Chermsir. ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีนํ้าตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. |
กิ้งโครง ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อมคล้ายนกเอี้ยง หางสั้น ขาแข็งแรง กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมี ๖ ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็ก เช่น กิ้งโครงแกลบปีกขาว [ <i> Sturnus sinensis</i> (Gmelin) ] ชนิดที่มีขนาดกลาง เช่น กิ้งโครงคอดำ (<i> S. nigricollis</i> (Paykull)), คลิ้งโคลง ก็เรียก. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด<i> Epinephelus</i> <i> merra</i> Bloch, <i> E. sexfasiatus</i> (Valenciennes), <i> Cephalopholis boenak</i> (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด <i> Promicrops lanceolatus</i> (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด <i> P. l</i>. (Bloch)<i> </i>. |
แก้ว ๒ | น. ชื่อนกปากขอหลายชนิด ในวงศ์ Psittacidae ปากสีแดงหรือเหลือง จะงอยปากบนงอโค้งเป็นขอปลายแหลมขยับไปมาและขึ้นลงได้ จะงอยปากล่างขยับไปข้างหน้าและถอยมาข้างหลังได้ หัวค่อนข้างโต ลำตัวป้อม สีส่วนใหญ่ของลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลือง อยู่ร่วมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๗ ชนิด แต่ที่เรียกว่านกแก้วมี ๒ ชนิด ได้แก่ แก้วโม่ง [ <i> Psittacula eupatria</i> (Linn.) ] ซึ่งเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดของไทย และแก้วหัวแพร (<i> P. roseata</i> Biswas)<i> </i>. |
ไก่ฟ้า | น. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Phasianidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับไก่บ้าน ปากสั้นแข็งแรง ปลายแหลมโค้งเล็กน้อย ตัวผู้ส่วนใหญ่ที่หน้ามีแผ่นหนังสีสดใสคล้ายหน้ากาก เกือบทุกชนิดมีหงอนเป็นพู่ขน คอยาว ลำตัวป้อม มีหลายสี ขาแข็งแรง หางยาวโดยเฉพาะตัวผู้มีหางกะลวยสวยงามเป็นพิเศษและสีสันสวยงามกว่าตัวเมีย กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ ผลไม้สุก และเมล็ดพืช เช่น ไก่ฟ้าหลังขาว [ <i> Lophura nycthemera</i> (Linn.) ] พญาลอหรือไก่ฟ้าพญาลอ (<i> L. diardi</i> (Bonaparte)) ไก่ฟ้าหางลายขวาง [ <i> Syrmaticus humiae</i> (Hume) ]<i> </i>. |
ข้าหลวง ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กชนิด <i> Scolopsis ciliatus</i> (Lacepéde) ในวงศ์ Nemipteridae ลำตัวป้อม แบนข้างปานกลาง พื้นลำตัวสีเขียวหม่น มีแถบสีขาวเด่นพาดตามยาวใกล้แนวสันหลังข้างละเส้น ระหว่างตาและแผ่นกระดูกใต้ตามีหนามแหลม ๑ อัน ชี้ไปทางด้านหน้า ขอบด้านนอกของขากรรไกรบนจักเป็นฟันเลื่อย พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๑๓ เซนติเมตร. |
คะนน | น. เรียกหม้อดินขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ตัวหม้อกลมป้อม ปากแคบ มีขีดเป็นรอยโดยรอบ สำหรับใส่น้ำ น้ำตาลโตนด เป็นต้น ว่า หม้อคะนน, ทะนน ก็ว่า. |
คับแค | น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด <i> Nettapus coromandelianus</i> (Gmelin) ในวงศ์ Anatidae เป็นนกเป็ดนํ้าที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ปากสั้น รูปร่างอ้วนป้อม ตัวผู้ปีกสีเขียวเข้มเป็นมัน หน้า คอ และท้องสีขาว ที่คอมีวงสีเขียวเข้มหรือดำ ตัวเมียปีกสีนํ้าตาล ท้องสีขาวมีกระสีนํ้าตาล ทำรังในโพรงไม้. |
คีรีบูน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Fringillidae เป็นนกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม คล้ายนกจาบปีกอ่อน ขนลำตัวมีหลายสี ขาค่อนข้างยาวบอบบาง กินเมล็ดพืช ถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น ทวีปยุโรป ตอนเหนือของทวีปเอเชีย นิยมเลี้ยงในกรง ร้องเสียงไพเราะ เช่น ชนิดสีเหลือง [ <i> Serinus pusillus</i> (Pallas) ]. |
คุ่น | น. ชื่อแมลงในสกุล <i> Simulium</i>วงศ์ Simuliidae ขนาดเล็ก มีความยาว ๒-๔ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตัวป้อมสีดำ มีปีกใสค่อนข้างกว้าง ๑ คู่ มักพบบินเป็นกลุ่มเวลาพลบค่ำหรือเช้ามืดบริเวณลำธารน้ำไหล ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ทำให้ผิวหนังบวมแดง ถ้าเป็นมากจะอักเสบจนเป็นหนอง เช่น ชนิด <i> S. nigrogilrum</i> Summers พบทางภาคเหนือ, บึ่ง ปึ่ง หรือ ริ้นดำ ก็เรียก. |
คุ่ม ๑ | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดใน ๒ วงศ์ ลำตัวอ้วนป้อมปีกเล็กสั้นแข็งแรง ขาสั้นไม่มีขนคลุม หางสั้น หากินตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ ได้แก่ วงศ์ Turnicidae ตีนมี ๓ นิ้ว จับเกาะกิ่งไม้ไม่ได้ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มอืดเล็ก[ <i> Turnix sylvatica</i> (Desfontaines) ] คุ่มอืดใหญ่ (<i> T. tanki</i> Blyth) และคุ่มอกลายหรือคุ่มอืดอกลาย [ <i> T</i>.<i> suscitator</i> (Gmelin) ] และวงศ์ Phasianidae ตีนมี ๔ นิ้ว จับเกาะกิ่งไม้ได้ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มสี [ <i> Coturnix chinensis</i> (Linn.) ] คุ่มอกดำ [ <i> C. coromandelica</i> (Gmelin) ] และคุ่มญี่ปุ่น (<i> C. japonica</i>Temminck & Schlegel)<i> </i>. |
จตุผลาธิกะ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนผลไม้อันให้คุณไว้ ๔ อย่าง คือ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก ลูกมะขามป้อม ลูกสมอเทศ. |
จะละเม็ด ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล <i> Pampus</i> วงศ์ Stromateidae และในสกุล <i> Parastromateus</i> วงศ์ Carangidae รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลำตัวแบนข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ได้แก่ จะละเม็ดขาว [ <i> Pampus</i> <i> argenteus</i> (Euphrasen) ] หางเป็นแฉกยาว เว้าลึก จะละเม็ดเทา [ <i> P</i>. <i> chinensis</i> (Euphrasen) ] หางเว้าตื้น ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่มีครีบท้อง ส่วนจะละเม็ดดำ [ <i> Parastromateus</i> <i> niger</i> (Bloch) ] ที่บริเวณคอดหางเป็นสันคม และมีครีบท้องเฉพาะในปลาขนาดเล็ก. |
จาบปีกอ่อน | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด ในวงศ์ Emberizidae เป็นนกที่อพยพมาประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว ปากสั้นหนาแข็งแรง ลำตัวอ้วนป้อม หางยาวปานกลาง ปลายหางเว้าตื้น ทั้งสองเพศมีสีแตกต่างกัน ตัวผู้สีสดกว่าตัวเมีย กินเมล็ดผลไม้และแมลง เช่น จาบปีกอ่อนสีตาล (<i> Emberiza rutila</i>Pallas) จาบปีกอ่อนอกเหลือง (<i> E. aureola</i> Pallas) จาบปีกอ่อนหงอน [ <i> Melophus lathami</i> (Gray) ]. |
จาบฝน | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Alaudidae รูปร่างอ้วนป้อม สีน้ำตาลเหลือง มีลายจุดที่คอและอก หางสั้น เสียงร้องไพเราะ อยู่ตามทุ่งโล่ง กินแมลงและเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จาบฝนเสียงใส (<i> Mirafra javanica</i> Horsfield) จาบฝนปีกแดง (<i> M. assamica</i> Horsfield) และจาบฝนเสียงสวรรค์ (<i> Alaula gulgula</i> Franklin). |
ชะมด ๒ | น. ชื่อกวางในสกุล <i> Moschus</i> วงศ์ Moschidae เป็นกวางขนาดเล็ก ลำตัวป้อม หัวเล็ก ไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้งออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (<i> Moschus moschiferus</i> Linn.) กวางชะมดเขาสูง [ <i> M</i>. <i> chrysogaster</i> (Hodgson) ] กวางชะมดดำ (<i> M. Fuscus</i> Li) และกวางชะมดป่า (<i> M. berezovskii</i> Flerov) ไม่พบในประเทศไทยแต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. |
ชี ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Coriandrum sativum</i> L. ในวงศ์ Umbelliferae ทั้งต้นมีกลิ่น ใช้เป็นผัก เรียกว่า ผักชี ดอกเล็กสีขาว ผลกลมมีกลิ่นฉุน เมื่อแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ, ชีลา หรือ หอมป้อม ก็เรียก. |
ซ่งฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด <i> Hypophthalmichthys nobilis</i> (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร. |
ไซ ๒ | น. ชื่องูน้ำจืดขนาดกลางชนิด <i> Enhydris bocourti</i> Jan ในวงศ์ Colubridae หัวป้อมใหญ่ ปลายปากมน คอไม่คอด ลำตัวอ้วนกลมสีน้ำตาลเหลืองหรือน้ำตาลแดง บนหลังมีลายเป็นปล้องใหญ่ หางสั้น มีพิษอ่อนมาก ผู้ถูกกัดมักไม่มีปฏิกิริยาต่อพิษงูชนิดนี้. |
ตรีผลา | (-ผะลา) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นผลไม้ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. |
ตลับนาก | (ตะหฺลับ-) น. ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่ง ผลกลมป้อม กลิ่นหอม. |
ตะขาบ ๒ | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Coraciidae ปากใหญ่ แบนข้าง หัวใหญ่ ตัวป้อม มักเกาะตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยโฉบจับแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน ตัวผู้เกี้ยวตัวเมียโดยการบินขึ้นไปในอากาศ แล้วม้วนตัวกลับลงมา ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง [ <i> Coracias benghalensis</i> (Linn.) ] ปากสีดำ หัวและปีกสีฟ้า ตัวสีนํ้าตาล และตะขาบดง [ <i> Eurystomus orientalis</i> (Linn.) ] ปากสีแดง ตัวสีน้ำเงินแกมเขียว, ขาบ ก็เรียก. |