ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ประมุข*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ประมุข, -ประมุข-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา มาเลย์ (MS) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ต่วนกู[ต่วน-กู] ต่วนกู เป็นฐานันดรศักดิ์ของมลายูและเป็นชั้นยศสูงสุด หมายถึงพระเจ้าแผ่นดิน สุลต่าน ตลอดจนองค์ประมุขสูงสุดหรือองค์ประมุขแห่งรัฐ

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ประมุข(n) leader, See also: chief, chief of state, head, chieftain, Syn. กษัตริย์, ผู้เป็นใหญ่, ผู้มีอำนาจ, ผู้นำ, ผู้อยู่เหนือ, นาย, เจ้านาย, หัวหน้า, Example: ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข, Count Unit: องค์, Thai Definition: ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ประมุขน. ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าของประเทศหรือศาสนาเป็นต้น.
กองเกียรติยศน. กองทหารหรือตำรวจเป็นต้นที่จัดขึ้นเพื่อให้เป็นเกียรติแก่ประมุขของประเทศ บุคคลสำคัญ ศพทหารตำรวจ หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น ธงชัยเฉลิมพล.
คาทอลิกน. ชื่อนิกายหนึ่งของคริสต์ศาสนา มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข เชื่อถือในตรีเอกภาพ คือถือว่า พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นพระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน พระเยซูมี ๒ สภาวะ คือ สภาวะพระเป็นเจ้า กับ สภาวะมนุษย์ ยกย่องแม่พระและนักบุญ มีนักบวชเรียกว่า บาทหลวง, เรียกเต็มว่า โรมันคาทอลิก.
เครือจักรภพ, เครือรัฐ(-จักกฺระพบ, -รัด) น. กลุ่มประเทศหรือรัฐที่มีการปกครองตนเอง แต่ยอมรับนับถือประมุขร่วมกัน เช่น ประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ รัฐต่าง ๆ ในเครือรัฐออสเตรเลีย.
จักรพรรดิน. พระราชาธิราช, ประมุขของจักรวรรดิ, โบราณเขียนว่า จักรพัตราธิราช ก็มี.
จักรวรรดิ(-หฺวัด) น. รัฐหรือสหภาพของรัฐต่าง ๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมัน, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยการปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ.
ตัวจำนำน. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็นหัวหน้าหรือประมุข.
ประธานาธิบดี(ปฺระทานาทิบอดี, ปฺระทานาทิบบอดี) น. ประมุขของประเทศที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ.
พงศาวดาร(-สาวะดาน) น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.
รัฐทูต(รัดถะทูด) น. ทูตที่ประมุขของรัฐหนึ่งแต่งตั้งไปประจำสำนักประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อไปปฏิบัติภารกิจทางการทูต มีฐานะตํ่ากว่าเอกอัครราชทูตแต่สูงกว่าอุปทูต.
ราชนาวี(ราดชะนาวี) น. กองทัพเรือของประเทศที่มีพระราชาหรือพระราชินีเป็นประมุข เช่น ราชนาวีไทย ราชนาวีอังกฤษ.
ราชสาส์น(ราดชะสาน) น. จดหมายของพระมหากษัตริย์ที่มีถึงประมุขต่างประเทศ เช่นใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรี แสดงความยินดีหรือความเสียใจ เรียกว่า พระราช-สาส์น.
ราชอาณาจักรน. ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข.
โรมันคาทอลิกน. ชื่อนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา มีสันตะปาปาเป็นประมุข, นักบวชในนิกายนี้ เรียกว่า บาทหลวง.
สกลมหาสังฆปริณายก(สะกนมะหาสังคะปะรินายก) น. ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง.
สมณสาสน์(-สาด) น. จดหมายของสมเด็จพระสังฆราชหรือประมุขของประเทศซึ่งเป็นนักบวชที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ.
สมเด็จพระสังฆราชน. ประมุขแห่งคณะสงฆ์ ซึ่งตามกฎหมายคณะสงฆ์บัญญัติให้สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก.
สันตะปาปาน. ผู้เป็นประมุขคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก, โป๊ป ก็เรียก.
สาธารณรัฐน. ประเทศหรือการปกครองที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี.
สาสน, สาสน-, สาสน์, สาส์นจดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, ถ้าเป็นจดหมายของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชสาส์น, ถ้าเป็นจดหมายของประธานาธิบดี เรียกว่า อักษรสาส์น, เขียนเป็น อักษรสาสน หรือ อักษรสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า สมณสาสน์, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เรียกว่า พระสมณสาสน์.
สุลต่าน(สุนละ-) น. ประมุขของบางประเทศหรือเจ้าครองนครบางรัฐที่นับถือศาสนาอิสลาม.
อักษรสาส์น(อักสอนระสาด, อักสอนสาด) น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.
อัครสมณทูต(-สะมะนะทูด) น. ทูตที่สันตะปาปาทรงแต่งตั้งไปประจำสำนักประมุขของอีกรัฐหนึ่งในกรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งเอกอัครสมณทูต มีฐานะระดับเดียวกับรัฐทูต.
เอกอัครราชทูต(เอกอักคฺระ-) น. ทูตอันดับหนึ่งซึ่งประมุขของรัฐแต่งตั้งไปประจำยังสำนักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้เป็นตัวแทนในการเจรจากิจการต่าง ๆ และดูแลผลประโยชน์คนในชาติของตนในรัฐนั้น ๆ.
เอกอัครสมณทูต(เอกอักคฺระ-) น. สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปาทรงแต่งตั้งไปประจำสำนักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทนทางการทูต รวมทั้งทำหน้าที่ดูแลและประสานงานกับคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา มีฐานะระดับเดียวกับเอกอัครราชทูต.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
personal unionรัฐร่วมประมุข [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
leadershipภาวะผู้นำ, ประมุขภาพ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
acephalusการปกครองที่ไม่มีประมุข [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
Chef de l'Etat (Fr.)ประมุขแห่งรัฐ (ก. ฝรั่งเศส) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
kingmakerผู้กำหนดตัวประมุขของรัฐ, ผู้กำหนดตัวผู้บริหารระดับสูง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
head of stateประมุขแห่งรัฐ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
union, personalรัฐร่วมประมุข [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Ambassadorเอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต]
Commencement of the Functions of the Head of Diplomatic Missionการเริ่มต้นรับหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทนทางการ ทูต กล่าวคือ เมื่อหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตเดินทางไปถึงนครหลวงของประเทศผู้รับแล้ว ควรรีบแจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทราบว่า ตนได้เดินทางมาถึงแล้วและขอนัดเยี่ยมคารวะ ตามปกติกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมพิธีการทูตจะดำเนินการตระเตรียมให้หัวหน้าคณะ ผู้แทนทางการทูตได้เข้ายื่นสารตราตั้งต่อไประหว่างนั้น หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะต้องไม่ไปพบเยี่ยมผู้ใดเป็นทางการ จนกว่าจะได้ยื่นสารตราตั้งเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี หัวหน้าคณะผู้แทนอาจขอพบเป็นการภายในกับหัวหน้าของคณะทูตานุทูต (Dean หรือ Doyen of the Diplomatic Corps) ได้ เพื่อขอทราบพิธีการปฏิบัติในการเข้ายื่นสารตราตั้งต่อประมุขของประเทศผู้รับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ว่า1. พึงถือได้ว่าหัวหน้าคณะผู้แทนได้เข้ารับภารกิจหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้งหรือเมื่อตนได้บอกกล่าวการมาถึงของตน พร้อมทั้งได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้งต่อกระทรวงการต่างประเทศของ รัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกันในแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป2. ลำดับของการยื่นสารตราตั้ง หรือสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง จะได้พิจารณากำหนดตามวันและเวลาของการมาถึงของหัวหน้าคณะผู้แทน [การทูต]
Communiquéคำประกาศทางการหรือแถลงการณ์ทางการ ซึ่งรายงานให้ทราบผลของการประชุม หรือการเจรจาเป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หรือบุคคลอื่นในระดับนั้น คำแถลงการณ์ที่เรียกว่า Communiqué นี้ไม่มีรูปแบบโดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยปกติอะไรที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาจะบรรจุไว้ด้วยถ้อยคำกว้างๆ ส่วนอะไรที่มิได้ระบุไว้ในแถลงการณ์มักจะมีความสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำที่เขียน ไว้เสียด้วย [การทูต]
Condolencesเมื่อใดที่ประมุขของรัฐผู้รับ หรือบุคคลในครอบครัวของประมุขนั้นถึงแก่กรรม เป็นธรรมเนียมที่ผู้แทนทางการทูตซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ประจำอยู่ในรัฐนั้น หลังจากที่ได้รายงานให้กระทรวงการต่างประเทศของผู้แทนทางการทูตนั้นก่อนทาง โทรเลขหรือโทรสารจะไปเยี่ยมหรือพบกับเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมของรัฐนั้นเพื่อ แสดงความเสียใจในนามของประมุขของรัฐของตน โดยมิต้องรอรับคำสั่งเป็นพิเศษจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนตามปกติ โทรเลขหรือโทรสารแสดงความเสียใจนั้นจะส่งจากประมุขของรัฐ ไปยังบุคคลที่เหมาะสมในครอบครัวที่ประสบความทุกข์โศกนั้นโดยตรง [การทูต]
Credential หรือ Letter of Credenceเอกสารทางราชการที่ประมุขของประเทศเป็นผู้ลงนาม ในเอกสารนั้น ประมุขของประเทศจะกล่าวยกย่องตัวทูตต่อประมุขของรัฐที่ผู้ที่เป็นทูตไปประจำ อยู่ (รัฐผู้รับ) ภาษาที่ใช้ในเอกสารจะเขียนด้วยถ้อยคำสำนวนหรูหรา และกล่าวถึงคุณสมบัติของทูตอย่างสูงส่ง แล้วลงท้ายด้วยการขอให้ความเชื่อถือแก่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทูตอาจจะกล่าวใน นามของรัฐบาลของตน [การทูต]
credentials, letters of credence" 1. อักษรสาส์นตราตั้ง พระราชสาส์นตราตั้ง (การทูต) หมายถึง หนังสือแต่งตั้งเอกอัครราชทูตจากประมุขของรัฐผู้ส่ง ถึงประมุขของรัฐผู้รับ 2. ตราสารแต่งตั้ง (ผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ) " [การทูต]
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corpsหัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต]
Diplomatic Privileges and Immunitiesเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต]
Excellencyเป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต]
Exequaturคำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต]
Head of Diplomatic Missionบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต]
Heads of Stateผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต]
Introducer of Ambassadorsหมายถึง เจ้าหน้าที่แนะนำเอกอัครราชทูต ในนครหลวงของบางประเทศจะมีเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะ ซึ่งรับผิดชอบการติดต่อกับเอกอัครราชทูตซึ่งกำหนดจะยื่นสารตราตั้ง ให้เดินทางจากทำเนียบเอกอัครราชทูตไปยังทำเนียบของประมุขแห่งรัฐ และจะเป็นผู้เบิกตัว หรือแนะนำเอกอัครราชทูตผู้นั้นต่อประมุขของรัฐในพิธียื่นสารตราตั้ง ในนครหลวงของอีกบางประเทศ เจ้าหน้าที่แนะนำตัวเอกอัครราชทูตจะมีตำแหน่งเรียกอย่างอื่นคือ Master of Ceremonies ส่วนในประเทศอังกฤษ ณ พระราชสำนักแห่งเซนต์เจมส์ ผู้ที่ทำหน้าที่เช่นนี้จะเรียกว่า Her Majesty?s Marshal of the Diplomatic Corps ส่วนในสหรัฐอเมริกา ผู้กระทำหน้าที่นี้คืออธิบดีกรมพิธีการทูต (Chief of Protocol) [การทูต]
Inviolabilityหมายถึง ความละเมิดมิได้ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ตัวแทนทางการทูตต้องได้รับการคุ้มครองมากยิ่งกว่าบุคคล ธรรมดา มีการกล่าวกันว่า ตัวเอกอัครราชทูตนั้นจะได้รับการเคารพยกย่องพอ ๆ กับตัวประมุขของรัฐทีเดียว การให้ความคุ้มครองเช่นนี้จะขยายไปถึงสิ่งของทุกชิ้นที่เป็นของเอกอัคร ราชทูตบุคคลในครอบครัว บริวาร คนใช้ เครื่องเรือน เอกสาร และจดหมายโต้ตอบของเอกอัครราชทูต เป็นต้น [การทูต]
letter of credenceสาส์นตราตั้ง หนังสือแต่งตั้งเอกอัครราชทูต จากประมุขรัฐผู้ส่งถึงประมุขของรัฐผู้รับ [การทูต]
letter of recallสาส์นถอน หนังสือแจ้งการถอดถอนเอกอัครราชทูตคนก่อน จากประมุขรัฐผู้ส่งถึงประมุขของรัฐผู้รับ [การทูต]
Millennium Summitการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต]
Order of Precedenceหมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต]
Persona non grataเป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต]
Personal Diplomacyคือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต]
Personal Inviolability of Diplomatic Agentsหมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต]
Political Offensesความผิดทางการเมือง หลักการข้อหนึ่งของการส่งตัวผู้กระทำความผิดไปให้อีก ประเทศหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ ผู้ที่กระทำผิดทางการเมืองจะถูกส่งข้ามแดนไปให้อีกประเทศหนึ่งไม่ได้เป็นอัน ขาด แต่อย่างไรก็ดี มีปัญหาในปฏิบัติคือว่า จะแยกความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างความผิดทางการเมือง กับที่มิใช่ด้วยเหตุผลทางการเมือง นักวิชาการบางท่านนิยามความหมายของคำว่าความผิดทางการเมืองไว้ว่า คือ ความผิดฐานกบฏ (Treason) ซึ่งในกฎหมายของหลายประเทศหมายถึงการประทุษร้าย หรือพยายามประทุษร้ายต่อประมุขของประเทศ หรือช่วยฝ่ายศัตรูทำสงครามกับประเทศของตน ความผิดฐานปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ (Sedition) หรือการประกอบจารกรรม (Espionage) อันเป็นการคุกคามต่อความั่นคงหรือต่อระบบการปกครองของประเทศผู้ร้องขอ (หมายถึงประเทศที่ร้องขอให้ส่งตัวผู้กระทำผิดไปให้ในลักษณะผู้ร้ายข้ามแดน) ไม่ว่าจะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม [การทูต]
Presentation of Credentialsหมายถึง การยื่นสารตราตั้ง เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูตว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศใดประเทศหนึ่ง ก่อนที่จะปฏิบัติงานในหน้าที่ จะต้องนำสารตราตั้ง (Credentials) ไปยื่นต่อประมุขของรัฐนั้น ๆ พิธียื่นสารตราตั้งจะกระทำไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ แล้วแต่จะพิจารณาเห็นความเหมาะสม และความเคร่งต่อธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นสำคัญ เช่น อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่พิธียื่นสารตราตั้งของเอกอัครราชทูตต่อองค์ประมุข ของประเทศค่อนข้างวิจิตรพิสดารมาก ส่วนบางประเทศมีพิธียื่นสารอย่างง่าย ๆ แทบจะไม่มีพิธีรีตองอย่างใดในสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตันดีซี พิธียื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดีของสหรัฐฯ กระทำอย่างเรียบง่าย กล่าวคือ พอถึงเวลาที่กำหนดในวันยื่นสารตราตั้ง อธิบดีกรมพิธีการทูตหรือผู้แทนของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จะนำรถยนต์ลีมูซีนสีดำไปยังทำเนียบของเอกอัครราชทูต เพื่อรับเอกอัครราชทูตและครอบครัวไปยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ณ ตึกทำเนียบขาว ( White House)มีข้อน่าสนใจอันหนึ่งคือ ทางฝ่ายสหรัฐฯ จะสนับสนุนให้เอกอัครราชทูตพาภรรยาและบุตรทั้งชายหญิงไปร่วมในการยื่นสารตรา ตั้งนั้นด้วย การแต่งกายของเอกอัครราชทูตก็สวมชุดสากลผูกเน็คไทตามธรรมดา ระหว่างที่ยื่นสารมีการปฏิสันถารกันพอสมควรระหว่างเอกอัครราชทูตกับ ประธานาธิบดีสหรัฐฯมีช่างภาพของทางราชการถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และมอบภาพถ่ายให้แก่เอกอัครราชทูตในวันหลัง (ต่างกับพิธีของอังกฤษมาก) เอกอัครราชทูตไม่ต้องพาคณะเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย หลังจากพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว อธิบดีกรมพิธีการทูตจะนำเอกอัครราชทูตและครอบครัวกลับไปยังทำเนียบที่พักโดย รถยนต์คันเดิม เป็นอันเสร็จพิธียื่นสารตราตั้ง โดยที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกต่างมีสถานเอกอัครราชทูตของตนตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี ดังนั้น ในวันไหนที่มีการยื่นสารตราตั้งต่อประธานาธิบดี ทางการทำเนียบขาวมักจะกำหนดให้เอกอัครราชทูตใหม่จากประเทศต่าง ๆ เข้ายื่นสารในวันนั้นราว 4-5 ประเทศติดต่อกัน มิใช่วันละคนอย่างที่ปฏิบัติในบางประเทศทันทีที่เอกอัครราชทูตยื่นสารตรา ตั้งต่อประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว เอกอัครราชทูตจะมีหนังสือเวียนไปยังหัวหน้าคณะทูตทุกแห่งในกรุงวอชิงตันดีซี แจ้งให้ทราบว่าในวันนั้น ๆ เขาได้ยื่นสารตราตั้งต่อประมุขของรัฐ ในฐานะเอกอัครราชทูตเรียบร้อยแล้ว พร้อมกับแสดงความหวังในหนังสือว่าความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างคณะผู้ แทนทางการทูตทั้งสอง ทั้งในทางราชการและทางส่วนตัว จะมั่นคงเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้นอีก จากนั้น เอกอัครราชทูตใหม่ก็จะหาเวลาไปเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ที่ประจำอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซีทีละราย กว่าจะเยี่ยมหมดทุกคนก็กินเวลานานอยู่หลายเดือนทีเดียว [การทูต]
presentation of the letter of credenceการยื่นสาส์นตราตั้ง เป็นการกำหนดให้เอกอัครราชทูตยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขของประเทศที่เข้าไป พำนักอยู่ ซึ่งรูปแบบพิธีการก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ [การทูต]
suite of honourคณะผู้ติดตามเกียรติยศ - สำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการระดับประมุขของรัฐ จะประกอบด้วย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ประมุขของรัฐจัดให้มาประจำประมุขของรัฐผู้มาเยือน - สำหรับการเยือนอย่างเป็นทางการระดับหัวหน้ารัฐบาล จะประกอบด้วย รัฐมนตรีเกียรติยศ เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศผู้มาเยือน อธิบดีกรมพิธีการทูต พร้อมทั้งนายทหารเกียรติยศ ในกรณีที่ผู้มาเยือนมีคู่สมรส ก็จะเพิ่มคู่สมรสของคณะผู้ติดตามเกียรติยศ และนายตำรวจหญิงประจำ ตลอดการเยือน [การทูต]
State Banquetงานเลี้ยงอาหารค่ำที่ประมุขของรัฐผู้รับจัดขึ้นอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นเกียรติแก่ประมุขของรัฐผู้มาเยือน สำหรับงานเลี้ยงอาหารค่ำซึ่งประมุขของรัฐผู้มาเยือนอย่างเป็นทางการ จัดขึ้นเพื่อเป็นการตอบแทนแก่ประมุขของรัฐผู้รับ เรียกว่า Return Banquet [การทูต]
Summit Diplomacyการเจรจาตัวต่อตัวโดยตรง (Direct face-to-face negotiation) ระหว่างประมุขของรัฐ (Head of State) หรือ ระหว่างหัวหน้าของรัฐ (Head of Government) ในปัจจุบันเรียกว่า การเจรจาสุดยอด [การทูต]
Termination of Mission of Diplomatic Agentภารกิจของผู้แทนทางการทูตหรือหัวหน้าคณะทูตจะสิ้น สุดลง 1. ระยะเวลาที่ผู้แทนทางการทูตได้รับแต่งตั้งให้ประจำอยู่ในประเทศผู้รับได้ครบ กำหนดตามวาระ2. เมื่อวัตถุประสงค์ของภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติได้สัมฤทธิผลเรียบ ร้อยแล้ว3. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากต้องโยกย้ายไปที่อื่น หรือลาออก หรือเนื่องจากครบเกษียณอายุ4. ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของรัฐบาลของตน หรือกระทำตามคำขอร้องของรัฐบาลของประเทศผู้รับ ซึ่งเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่5. เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระมหากษัตริย์ของประเทศตน หรือประเทศที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงาน6. หากตัวเขาเองได้กระทำการอันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศบางอย่าง หรือเนื่องจากเกิดเหตุการณ์บางอย่างที่คาดไม่ถึง และมีลักษณะร้ายแรงจริง ๆ ตัวเขาเองจะต้องรับผิดชอบในการตัดความสัมพันธ์7. เมื่อรัฐบาลผู้รับ ซึ่งตัวเขาได้รับแต่งตั้งให้ประจำทำงานอยู่นั้น แล้วจะด้วยเหตุผลอย่างใดก็ตาม ได้แจ้งให้เขาเดินทางออกไปจากประเทศในทันที โดยไม่ต้องระให้รัฐบาลของตนเรียกตัวกลับ8. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของผู้แทนทางการทูต ดังเช่น ได้รับเลื่อนตำแหน่งจากอัครราชทูตขึ้นเป็นเอกอัครราชทูต9. เนื่องจากเกิดสงครามขึ้นระหว่างรัฐทั้งสอง10. เนื่องจากถูกถอดจากตำแหน่ง หรือสละราชบัลลังก์ของประมุขของประเทศใดประเทศหนึ่ง 11. เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในประเทศใดประเทศหนึ่ง จากระบบพระมหากษัตริย์เป็นระบบสาธารณรัฐ หรือเป็นระบบสาธารณรัฐอันมีประมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย12. เนื่องจากรัฐใดรัฐหนึ่งของทั้งสองรัฐต้องสูญสภาวะในการเป็นรัฐเหตุผลข้างต้น ทั้งหมดนี้ เป็นทรรศนะของเซอร์เออร์เนสท์ ซาทาว ซึ่งได้ให้ไว้ในหนังสือของท่าน ชื่อว่า ?A Guide to Diplomatic Practice? ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 4 โดยเซอร์เนวิลล์ แบลนด์ [การทูต]
The Foreign Officeในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต]
visitการเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต]
Wives of Diplomatsภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต]
Leadershipประมุขศิลป [การแพทย์]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
The Ayatollah of Rock and Roller!ประมุขแห่ง ร็อคเอ็นโรลลาร์! The Road Warrior (1981)
To be able to disarm my whisk with the Divine Finger Flick... besides the lord of Peach Blossom Island... there can be no one else!มีเพียงท่านที่สามารถปลดแส้ข้าได้โดยใช้วิชาดรรชนีอันเยี่ยมยอด... ท่านประมุขเกาะดอกท้อ... ไม่มีทางเป็นใครอื่น! Return of the Condor Heroes (1983)
And yet our arch rivals, the Koga Ninja... like so... are said to have countless numbers.ประมุขคู่แข่งของเราน่ะ, โคกะ นินจา... ดังนั้น... จึงบอกได้ว่า พวกนั้นมีมากจนนับไม่ถ้วน Nin x Nin: Ninja Hattori-kun, the Movie (2004)
The sénéchaux and the Grand Master himself.เซเนโชซ์ทั้งสาม และ ประมุข The Da Vinci Code (2006)
The Grand Master and the three sénéchaux..หนึ่งประมุข กับอีก 3 เซเนโช The Da Vinci Code (2006)
He was on your list of who could be Grand Master, wasn't he?เขาอาจจะเป็นถึงประมุขเลยก็ได้ ใช่ไหมครับ? The Da Vinci Code (2006)
What if you yourself were dying, a Grand Master?ถ้าคุณเป็นประมุขที่กำลังจะตาย The Da Vinci Code (2006)
To be trained by the Grand Master himself.เพื่อที่จะได้รับการฝึกฝนจากท่านประมุขเิอง The Da Vinci Code (2006)
he was also a Grand Master of the Priory as well.ตัวเขาเองก็เป็นประมุขของไพเออรี่ ด้วยเช่นกัน The Da Vinci Code (2006)
They hid you with the Grand Master himself..พวกเขาซ่อนคุณไว้กับตัวท่านประมุขเองเลย The Da Vinci Code (2006)
I want you to become the next presidentข้าต้องการให้ท่านมาเป็นประมุขคนต่อไป Fearless (2006)
We come from a nation where we allow a lady of catholic origin... to step aside for a Sikh to be sworn in as Prime Minister... or a muslim President to govern a nation of over 80 percent Hindus.เรามาจากประเทศที่เรายินยอมให้ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่มีต้นกำเนิดจากคาทอลิก... ได้ก้าวออกจากชาวซิกห์ เพื่อไปสาบานเป็นนายกรัฐมนตรี... หรือประมุขของศาสนามุสลิม เพื่อปกครองประเทศที่มีชาวฮินดูมากกว่า 80% Namastey London (2007)
And tell me this, me little McShipmate-- how is that scurrilous, black-hearted pirate king of ours, Captain One-Shot Gibbs?และบอกกับฉันว่านี่ฉันคือเรือน้อยแม็กชิเมท- -(เงือกน้อย=ลิทเติ้ลเมอร์เมด) หยาบคายมากใจดำกับตันประมุขแห่งเรือสลัดของพวกเรา, กิบบส์? Last Man Standing (2008)
Your Highness, they've crossed the Canadian border.ท่านประมุขพวกเขาข้ามพรมแดนคานาดาแล้ว Babylon A.D. (2008)
- This is the Noelite Church C.E.O.- นี่ประมุขโบสถ์โนอีไล้ท์พูด Babylon A.D. (2008)
Try not to get upset, Your Highness. It's bad for your blood pressure.อย่าFกรธเลยครับท่านประมุข \\\ จะเป็นผลเสียต่อเรื่องความดันน่ะครับ Babylon A.D. (2008)
Your Highness, we want to launch a campaign... to inform the people that we were targets of a terrorist attack.ท่านประมุขเราต้องเริ่มการโฆษณา ให้ผู้คนได้รู้ว่าเราวางเป้าหมายไปที่ผู้ก่อการร้าย Babylon A.D. (2008)
Anakin and I have a full scale war on our hands since chairman Cho refuses to be reasonnable.อนาคินกับข้าตกอยู่ในสงครามเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ประมุขโชปฏิเสธที่จะใช้เหตุผล Defenders of Peace (2009)
The chairman of Orto-Plutonia requested it?ท่านประมุข แห่งออโต-พลูโตเนีย เรียกร้องยังงั้นรึ? ทำไมล่ะ? Trespass (2009)
Chairman Cho, Senator Chuchi.ท่านประมุขโช, ท่านวุฒิฯชูจิ Trespass (2009)
This is sovereign Pantora territory.แต่ข้าจะไปที่ที่ข้าได้เลือกไว้ ที่นี่เป็นอาณาเขตของประมุขแห่งแพนทอร่า Trespass (2009)
With all due respect, Chairman, this is for the Senate to decide, not us.ด้วยความเคารพนะ ท่านประมุข นี่เป็นสิ่งที่สภาสูงต้องเป็นคนตัดสินใจ ไม่ใช่เรา Trespass (2009)
Technically speaking, Master Jedi, the Chairman is correct.ว่ากันตามเทคนิคนะ อาจารย์เจได ท่านประมุขพูดถูก Trespass (2009)
Chairman, what makes you so certain the Separatists are behind this attack?ท่านประมุข อะไรที่ทำให้ท่านมั่นใจว่า พวกแบ่งแยกอยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนี้? Trespass (2009)
- There will be no attack, chairman.- จะไม่มีการโจมตีอะไรทั้งนั้น ท่านประมุข Trespass (2009)
With respect, Chairman Cho, these creatures, the Talz, aren't advanced enough to master space travel.ด้วยความเคารพนะ ท่านประมุขโช สัตว์พวกนี้ ทาลซ์ ไม่เจริญพอที่จะเดินทางข้ามอวกาศได้ Trespass (2009)
Do you stand against your chairman, Senator?ท่านกล้าแย้งประมุขของท่านยังงั้นหรือ ท่านวุฒิฯ? Trespass (2009)
No matter what the chairman thinks, we're not going to war.ไม่ว่าท่านประมุขคิดจะทำอะไร เราจะไม่มีวันกระโจนเข้าสู่สงครามแน่ Trespass (2009)
Nothing is under your control, Chairman.ไม่มีสิ่งใดอยู่ภายใต้ความควบคุมของท่าน ท่านประมุข Trespass (2009)
And as the Supreme Chairman and exalted ruler of Pantora, you will not command me to leave this planet or do anything else.และในฐานะประมุขสูงสุดและผู้นำสูงส่งแห่งแพนทอร่า เจ้าไม่มีสิทธิ์จะมาสั่งข้าให้ออกไปจากดาวนี่ หรือให้ทำอะไรอย่างอื่นทั้งนั้น Trespass (2009)
Chairman, I promised the Talz that we would leave them in peace.ท่านประมุข ข้าสัญญากับพวกทาลซ์ไว้ ว่าเราจะปล่อยพวกเขาให้อยู่อย่างสงบ Trespass (2009)
You're gonna stay with the chairman until we can work things out.เจ้าอยู่ติดกับท่านประมุขไว้นะ จนกว่าพวกเราจะจัดการเรื่องนี้เสร็จ Trespass (2009)
Chairman, get down!ท่านประมุข หมอบลงซะ Trespass (2009)
The assembly has decided that the actions of Chairman Cho are out of order.สภาผู้แทนได้ตัดสิน ว่าปฏิบัติการของประมุขโชนั้น ถือเป็นโมฆะ Trespass (2009)
Senator Chuchi, you're given the authority to negotiate a peaceful settlement between the sovereign planet of Pantora and the Talz.วุฒิสมาชิกชูจิ ท่านได้รับมอบอำนาจ ในการเจรจาการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ระหว่างดาวเคราะห์ของประมุขแห่งแพนทอร่ากับพวกทาลซ์ Trespass (2009)
11 dead, the rest wounded, including the Chairman.ตาย11 ที่เหลือบาดเจ็บ รวมทั้งท่านประมุขด้วย Trespass (2009)
Chairman, can you hear me?ท่านประมุข ได้ยินข้ามั้ย? Trespass (2009)
As my final command as chairman of Pantora, นี่เป็นคำสั่งสุดท้ายของประมุขแห่งแพนทอร่า Trespass (2009)
I'm afraid I cannot do that, Chairman.ข้าเกรงว่าข้าคงทำยังงั้นไม่ได้ ท่านประมุข Trespass (2009)
Listen, next time you're at the Founding Fathers, you should try the meatloaf with the egg.ฟังนะคราวหน้า ในประมุขแห่งองค์กร นายควรลองทาน มีทโลฟกับไข่ A Night at the Bones Museum (2009)
And do people there generally support your decision to take his place as head of state?และประชาชนที่นั่น ยังคงสนับสนุนการตัดสินใจของท่าน รับตำแหน่งของเขาในฐานะประมุขหรือเปล่า? Day 8: 11:00 a.m.-12:00 p.m. (2010)
Where's the Russian tsar?เดวิด คริสตจักรเราไม่ยอมรับการหย่า และพี่ก็ถือเป็นประมุขนะ The King's Speech (2010)
- You can outshine David. - Don't take liberties!และกษัตริย์ที่เป็นประมุขนิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์ จะแต่งงานกับหญิงหย่าสามีไม่ได้ The King's Speech (2010)
Oh, the rulers of vampires, they are my allies?เหล่าประมุขแห่งแวมไพร์ คือพันธมิตรของฉันหรือนี่? Spellbound (2011)
Well, so is monarchy, but it's important to my family.งี่เง่าอ่ะ ดังนั้นสำหรับการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุขนั้น มันเป็นเรื่องที่สำคัญต่อครอบครัวยิ่ง และพวกเขาก็สำคัญต่อฉันด้วย The Princesses and the Frog (2011)
There's no point in being the head of state if it means I can't follow my heart.ไม่มีอะไรที่ชี้ว่าจะเป็นประมุข ถ้ามันหมายถึงว่าฉันไม่สามารถทำตามหัวใจของฉัน The Princesses and the Frog (2011)
- What are you doing here? - The Clergy sent me. Ordered me to bring you back.เธอมาทำอะไรที่นี่ /N ประมุขส่งชั้นมา สั่งให้เอาตัวคุณกลับไป Priest (2011)
- Have you ever seen a Queen? - No. No one has.ประมุขของโซเวียตยืนยัน เราต้องเก็บเป็นความลับ Ender's Game (2013)
And I'm the head of a great family.ข้าเป็นประมุขของตระกูลทรงเกียรติเหมือนกัน The House of Black and White (2015)
Our royal family will attend the private services in St. James's Palace the morning of with 28 other heads of state from all over the globe.เหล่าเชื้อพระวงศ์ของเรา จะเข้าร่วมพิธีภายใน ที่พระราชวังเซนต์เจมส์เช้าวันนั้น พร้อมกับประมุขอีก 28 ท่านจากทั่วโลก London Has Fallen (2016)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ประมุข[pramuk] (n) EN: leader ; chief ; chief of state ; head ; chieftain  FR: chef [ m ] ; leader [ m ] ; dirigeant [ m ]
ประมุขของประเทศ[pramuk khøng prathēt] (n, exp) EN: head of state ; chief of state  FR: chef d'État [ m ]
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข[rabøp prachāthippatai an mī phramahākasat pen pramuk] (n, exp) EN: constitutional monarchy  FR: monarchie constitutionnelle [ f ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
emir(n) ผู้ปกครองในประเทศอิสลามบางประเทศ, See also: ประมุข, ผู้นำในประเทศอิสลามบางประเทศ
Jove(n) จูปิเตอร์, See also: ประมุขของเทพเจ้าโรมัน, Syn. Jupiter
monarchy(n) การปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข, See also: ราชาธิปไตย, ระบอบกษัตริย์, Syn. kingship, sovereignty
monarchy(n) ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
sultan(n) สุลต่าน, See also: ประมุขของประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม, ประมุขของประเทศมุสลิม, Syn. emperor, king, ruler
throne(n) ผู้ครองบัลลังก์, See also: ประมุขผู้ครองบัลลังก์, กษัตริย์, Syn. sovereign

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
archangel(อาร์ค'เอนเจิล) n. ทูตสวรรค์ชั้นหัวหน้า, ประมุขทูตสวรรค์, สมุนไพรชนิดหนึ่ง. -archangelic (al) adj.
king(คิง) n. กษัตริย์, ประมุข, ผู้นำ, เผ่า, ราชา, หมากรุกที่เดินข้ามกระดานจนได้เป็นเจ้า. vt. ทำให้เป็นกษัตริย์ vi. ปกครองเป็นกษัตริย์., See also: kinghood ดูking, Syn. ruler, sovereign
lese majesty(ลิซ แมจ'เจสทิ) n. ความผิดอาญาฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, ความผิดฐานหมิ่นประมุขของรัฐ, การหักหาญจารีตประเพณีหรือธรรมเนียมปฏิบัติ., Syn. lesemajeste
michael(ไม'เคิล) n, ประมุขทูตสวรรค์
monarch(มอน'เนิร์ค) n. กษัตริย์, พระราชา, พระมหากษัตริย์, พระราชินี, ประมุขของรัฐ
president(เพรส'ซิเดินทฺ) n. ประธาน, นายก, ประธานาธิบดี, ประมุข, ประธานบริษัท, อธิการบด' (ของมหาวิทยาลัยอเมริกา) , คณบดี (ของมหาวิทยาลัยในอังกฤษ), Syn. chairman
ruler(รู'เลอะ) n. ผู้ปกครอง, ผู้ควบคุม, ผู้ครอบงำ, ประมุข, ผู้ชี้ขาด, ไม้บรรทัด, Syn. monarch
sultan(ซัล'เทิน) n. ประมุขของประเทศมุสลิม, สุลต่าน, See also: sultanic adj. . sultanship n.
zeus(ซูส) n. ประมุขแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย, เทพเจ้าแห่งสวรรค์, เทพนิยายโรมัน, เทพเจ้า Jupiter

English-Thai: Nontri Dictionary
archangel(n) หัวหน้าเทวทูต, หัวหน้าทูตสวรรค์, ประมุขทูตสวรรค์
chieftain(n) ประมุข, หัวหน้าเผ่า, หัวหน้าคณะ, หัวหน้าแก๊ง
head(n) ศีรษะ, หัว, ยอด, หัวหน้า, ประมุข, สมอง, สติปัญญา, ความคิด, หัวข้อ
president(n) ประธานาธิบดี, ประธาน, ประมุข, ผู้อำนวยการ, ผู้จัดการใหญ่
raja(n) ประมุข, ผู้นำ
rajah(n) ประมุข, ผู้นำ
ruler(n) ผู้ควบคุม, ผู้ชี้ขาด, ผู้ปกครอง, ประมุข, ไม้บรรทัด
sultan(n) สุลต่าน, เจ้าแขก, ประมุข

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
cathedral(n) วัดของคริสต์ศาสนาที่มีสังฆราช (bishop) เป็นประมุขและที่เป็นทีตั้งของ “อาสนะสังฆราช” (bishop's cathedra) เป็นสถานที่ทางศาสนาที่ใช้ในการสักการะบูชา (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่นนิกาย นิกายโรมันคาทอลิก นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ นิกายอังกลิคัน และ นิกายลูเทอรัน มหาวิหารจะเป็นวัดที่เป็นที่นั่งของสังฆราช (วัดประจำตำแหน่ง) ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของสังฆมณฑล (Diocese หรือ See) ที่อยู่ใต้การปกครองของสังฆราชที่กำหนดไว้
Dominion(รัฐศาสตร์) รัฐอธิราช เป็นประเทศเอกราชซึ่งยอมรับกษัตริย์สหราชอาณาจักรเป็นประมุขแห่งรัฐ

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top