กระทุ่ม ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด <i> Anthocephalus chinensis</i> (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลำกิ่งและระหว่างก้านใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทำเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบก ตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. |
กระทุ่มขี้หมู, กระทุ่มนา, กระทุ่มหมู | <i>ดู กระท่อมขี้หมู ที่ กระท่อม ๒</i>. |
กระทุ่ม ๒ | ก. เอาเท้าตีนํ้าเมื่อเวลาว่ายนํ้า |
กระทุ่ม ๒ | ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ รํ่าร้อง (เพชรมงกุฎ) |
กระทุ่ม ๒ | โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง (แช่งน้ำ). |
ทุ่ม | ก. เอาของหนัก ๆ ทิ้งลงไป เช่น เอาก้อนหินทุ่มลงไปในนํ้า, ทิ้งทับลง, ทิ้งถมลง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทุ่มเงิน |
ทุ่ม | ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ (ตะเลงพ่าย). |
ทุ่ม | น. วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม, (โบ) วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกาของอีกวันหนึ่ง. |
ทุ่มตลาด | ก. นำสินค้าจำนวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคาปรกติ |
ทุ่มตลาด | การส่งสินค้าเข้ามาในประเทศไทยเพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ โดยมีราคาส่งออกที่ตํ่ากว่ามูลค่าปรกติของสินค้าชนิดเดียวกัน. |
ทุ่มเท | ก. ให้อย่างเต็มที่หรือเต็มกำลังความสามารถ เช่น ทุ่มเทเงินทอง ทุ่มเทกำลังความคิด. |
ทุ้ม | ว. ไม่แหลม, ตํ่าแต่มีความนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว, (ใช้แก่เสียง). |
ทุ่มเถียง | ก. เถียงกันรุนแรงอย่างทะเลาะ. |
ผมดอกกระทุ่ม | น. ทรงผมผู้หญิงที่ตัดสั้นแล้วหวีเสยให้เป็นพุ่มคล้ายดอกกระทุ่ม ไม่มีจอน. |
ระนาดทุ้ม | น. ระนาดที่มีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอก ลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ปรกติมี ๑๗ ลูก ปากรางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวน ด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้น มีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว. |
ลินลากระทุ่ม | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่, ปัจจุบันเรียกว่า ลีลากระทุ่ม. |
ลีลากระทุ่ม | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่, เดิมเรียกว่า ลินลากระทุ่ม. |
กระจร ๑ | น. ต้นสลิด เช่น กระทุ่มกระจรแล้ คชน้าวกาหลง (พงศ. เหนือ). |
กระท่อมขี้หมู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล <i> Mitragyna</i> วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด <i> M. diversifolia</i> (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก |
กระท่อมขี้หมู | ชนิด <i> M. rotundifolia</i> (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก. |
กรีฑา ๑ | (กฺรีทา) น. กีฬาอย่างหนึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทลู่ เช่น การวิ่งระยะทางต่าง ๆ วิ่งผลัด วิ่งข้างรั้ว ซึ่งในการแข่งขันต้องมีทางหรือแนวทางวิ่ง อีกประเภทหนึ่ง คือ ประเภทลาน เช่น กระโดดสูง พุ่งแหลน ทุ่มน้ำหนัก ซึ่งต้องมีสถานที่กว้างเพื่อการแข่งขัน |
ก้านเหลือง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด <i> Nauclea orientalis</i> (L.) L. ในวงศ์ Rubiaceae คล้ายกระทุ่ม ขึ้นตามริมนํ้า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ในการก่อสร้าง. |
ขว้าว | (ขฺว้าว) น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Haldina cordifolia</i> (Roxb.) Ridsdale ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณทั่วไป ลำต้นสูงใหญ่ ใบมนรูปหัวใจ ปลายแหลม ดอกสีเหลือง คล้ายดอกกระทุ่ม แต่เล็กกว่า เนื้อไม้สีเหลือง ละเอียด ใช้ทำฝาบ้าน เครื่องเรือน เครื่องกลึง และเครื่องแกะสลัก, กว้าว ขวาว หรือ คว่าว ก็เรียก. |
เครื่องใหญ่ | น. ปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก. |
ฆ้องโหม่ง | น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”. |
จรวดไจร | (จะหฺรวดจะไร) ก. ตรวจดู, พิจารณาดู, เช่น ทังทุ่มทู้ต่างย้าง จรวจไจร (ยวนพ่าย). |
จำทับ | ก. โผลง, โจนลง, ทุ่มลง, ตกลง. |
ซออู้ | น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีสาย ๒ สาย กะโหลกซอตัดจากกะโหลกมะพร้าว มีเสียงทุ้มกังวาน ใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์. |
เดี่ยวรอบวง | ก. บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง เรียงตามลำดับหน้าที่ของเครื่องดนตรี เช่นในวงปี่พาทย์เรียงลำดับดังนี้ ปี่ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม. |
ตะกู | <i>ดู กระทุ่ม ๑</i>. |
ตะโกส้ม | <i>ดู กระทุ่ม ๑</i>. |
แต่วัน, แต่หัววัน | ว. ก่อนเวลากำหนดมาก เช่น งานเริ่มทุ่มหนึ่ง มาแต่วันเชียว, ก่อนเวลาที่ควรเป็น (มักใช้เฉพาะเวลาช่วงบ่ายค่อนไปทางเย็น) เช่น วันนี้กลับบ้านแต่วัน กินข้าวแต่วัน กินเหล้าแต่หัววัน. |
ถนัด | เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัดดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้ (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า. |
ทะเลาะ | ก. ทุ่มเถียงกันด้วยความโกรธ, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน. |
เทง, เท้ง ๑ | ก. ทุบ, เคาะ, เช่น อันว่าพระมหาสัตว์ก็ถามเพื่อว่าดึกดื่น ตื่นนอนใครแลมาเทงทรวารพระกุฎีกูดังนี้ (ม. คำหลวง กุมาร), ตระบัดก็ให้เท้ง กระทุ่มเภรียครืนเครง กึกก้องบันลือเลวง (อนิรุทธ์). |
น้ำพักน้ำแรง | น. การทุ่มเททำงานอย่างอุตสาหะจนบรรลุผลสำเร็จด้วยตนเอง เช่น บ้านหลังนี้สร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของเขาแท้ ๆ. |
ปฐมยาม | (ปะถมมะ-) น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. |
ประเด | ก. มอบให้หมด เช่น ประเดงานเข้ามาจนทำไม่ไหว, ทุ่มเทให้ เช่น ประเดให้จนเกินต้องการ. |
ปา | คำใช้แทนกิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำประกอบที่ทำให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม. |
ปี่พาทย์เครื่องคู่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง (ปัจจุบันนิยมใช้ปี่ในเพียงเลาเดียว). |
ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ และฆ้องโหม่งผสมด้วย (ปัจจุบันนิยมใช้แต่ปี่ใน). |
โปะ | เพิ่ม, ทุ่ม, เช่น โปะเงินลงไป. |
เพะ | ก. โปะเข้าไป, ทุ่มเทเข้าไป. |
เพียงออ | น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งมีเสียงทุ้ม |
ภัณฑนะ | (พันดะนะ) น. การทะเลาะ, การทุ่มเถียง, การแก่งแย่ง. |
มัชฌิมยาม | น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. |
มีปากมีเสียง | ก. ทะเลาะกัน, ทุ่มเถียงกัน. |
ระนาดแก้ว | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ลักษณะคล้ายระนาดเอกเหล็กหรือระนาดทุ้มเหล็ก ลูกระนาดทำด้วยแผ่นแก้วหนาวางเรียงบนรางระนาด ปัจจุบันไม่นิยมใช้เนื่องจากเสียงไม่ไพเราะ. |
ระนาดเอก | น. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมากทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง โดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัด มีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือ ไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบาและนุ่มนวล. |
ลาก | ยาวออกไป เช่น การประชุมลากยาวไปถึง ๒ ทุ่ม, ทำให้ยาวออกไป เช่น ลากเสียง ลากเส้น |