ตรัสรู้ | (ตฺรัดสะ-) ก. รู้แจ้ง (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า) |
ตรัสรู้ | รู้เอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้. |
เทววาจิกสรณคมน์ | (ทะเววาจิกะสะระนะคม) น. การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ เป็นสรณคมน์ที่ตปุสสะและภัลลิกะกล่าวหลังจากที่ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงแด่พระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากตรัสรู้. |
ธรรมาภิสมัย | (ทำมา-) น. การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล. |
ปฏิเวธ | ก. เข้าใจตลอด, ตรัสรู้, ลุล่วงผลปฏิบัติ. |
ปฐมโพธิกาล | (ปะถมมะโพทิกาน) น. กาลแรกตรัสรู้ คือ ระยะเวลานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้จนถึงทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ. |
ปรมาภิเษก | (ปะระ-, ปอระ-) น. อภิเษกอย่างยิ่ง คือ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
ปัจเจกพุทธะ | (ปัดเจกกะ-) น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. |
ปัจเจกโพธิ | (ปัดเจกกะโพด) น. ความตรัสรู้เฉพาะตัว คือ ความตรัสรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้า. |
พุทธ, พุทธ-, พุทธะ | (พุด, พุดทะ-) น. ผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว, ใช้เฉพาะเป็นพระนามของพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา เรียกเป็นสามัญว่า พระพุทธเจ้า. |
โพ ๑ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Ficus religiosa</i>L. ในวงศ์ Moraceae เป็นต้นไม้ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใบรูปหัวใจ ปลายยาวคล้ายหาง ผลกินได้ ใบอ่อนและผลใช้ทำยาได้, โพศรีมหาโพธิ ก็เรียก. |
โพชฌงค์ | (โพดชง) น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ |
โพธิ-, โพธิ์ | (โพทิ-, โพ) น. ความตรัสรู้ |
โพธิ-, โพธิ์ | ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, ปัจจุบันหมายถึงต้นโพ (<i> Ficus religiosa</i>L.). |
โพธิญาณ | น. พระปัญญาที่ทำให้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
โพธิบัลลังก์ | น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, รัตนบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็ว่า. |
โพธิปักขิยธรรม | น. ธรรมเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมเกื้อกูลแก่ความตรัสรู้มี ๓๗ ประการ. |
โพธิสัตว์ | น. ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
เมตไตรย | (เมดไตฺร) น. พระนามของพระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้า. |
รัตนบัลลังก์ | น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้, โพธิบัลลังก์ หรือ วัชรอาสน์ ก็เรียก, แท่นที่รองรับพระพุทธรูป. |
วรัญญู | (วะรันยู) น. “ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ” คือ พระพุทธเจ้า. |
วัชรอาสน์ | น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้ เรียกว่า พระแท่นวัชรอาสน์, โพธิบัลลังก์ หรือ รัตนบัลลังก์ ก็เรียก. |
วันวิสาขบูชา | น. วันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. |
วิศาขบูชา | น. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. |
วิสาขบูชา | น. การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, โบราณใช้ว่า วิศาขบูชา ก็มี. |
สมโพธิ | (-โพด) น. การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
สมัญญา | (สะมัน-) น. ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ศาสดาของศาสนาเชนได้รับสมัญญาว่า มหาวีระ เพราะเป็นผู้มีความกล้าหาญมาก. |
สังเวชนียสถาน | (-นียะสะถาน) น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินี ปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย. |
สัตมหาสถาน | (สัดตะมะหาสะถาน) น. สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขภายหลังตรัสรู้. |
อภิสมโพธิ, อภิสัมโพธิ | (อะพิสมโพด, -สำโพทิ) น. ความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
อภิสมัย | (อะพิสะไหฺม) น. ความตรัสรู้, ความบรรลุ, การถึง, ใช้ในคำว่า ธรรมาภิสมัย. |
อภิสัมโพธิญาณ | (อะพิสำโพทิยาน) น. ญาณคือความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. |
อสัตถพฤกษ์, อัสสัตถพฤกษ์ | (อะสัดถะพฺรึก, อัดสัดถะพฺรึก) น. ชื่อต้นไม้ที่พระโคตมพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นแล้วได้ตรัสรู้ เรียกว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ต้นโพธิ์. |
อัศจรรย์ | (อัดสะจัน) น. ปรากฏการณ์อันเนื่องแต่บุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้แสดงปฐมเทศนา ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน จะมีความหวั่นไหวปั่นป่วนของโลกธาตุบังเกิดขึ้น. |
เอกังสพยากรณ์ | (-สะพะยากอน) น. “การพยากรณ์โดยส่วนเดียว” หมายถึง การพยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจน สามารถตอบได้อย่างแจ่มแจ้งทันที. |