ดัง ๓, ดั่ง | ว. เช่น, อย่าง, ราวกับ, คล้าย, เหมือน, เช่น ได้ดังใจ, ถนัดดั่งไม้ร้อยอ้อม ท่าวท้าวทับทรวง (ลอ). |
ดั้ง ๑ | น. เครื่องถือสำหรับปิดป้องศัสตราวุธ รูปคล้ายกาบกล้วย, โบราณใช้ว่า ด้าง ก็มี |
ดั้ง ๑ | เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่บนหลังรอดตรงกึ่งกลางความยาวของตัวรอดขึ้นไปรับอกไก่ ว่า เสาดั้ง, เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสำหรับรับอกไก่ ว่า ดั้งแขวน |
ดั้ง ๑ | เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น ๒ สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง. ก. ป้องกัน. |
ดั้ง ๒ | น. สันจมูก, มักพูดว่า ดั้งจมูก. |
ดั้งเดิม | ว. เก่าก่อน, เก่าแก่, เดิมที. |
เป็นดั้งหน้า | ว. คอยออกหน้าป้องกัน เช่น รับเป็นดั้งหน้าเข้ามาแก้ (ไชยเชฐ). |
มอญตีดั้ง | น. ชื่อดอกไม้ไฟอย่างหนึ่งในพวกดอกไม้นํ้า. |
เรือดั้ง | น. เรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคจัดเป็น ๒ สาย ขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือพระที่นั่งชัยและเรือพระที่นั่งทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้. |
เสาดั้ง | น. เสาเรือนเครื่องสับ ตั้งอยู่บนหลังรอดตรงกึ่งกลางความยาวของตัวรอดขึ้นไปรับอกไก่, ดั้ง ก็ว่า. |
กณิการ์ | น. ไม้กรรณิการ์ เช่น งามดั่งดอกกณิการ์กาญจนสุหร่ายรดเบิกบานน่าชมเชย (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
กรรมขัย | (กำมะไข) น. การสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น อันว่าอายุสม์ยังมิควรตายแลมาตายดั่งนั้นชื่อว่ากรรมขัยแล (ไตรภูมิ). |
กระกรี๊ด | ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระบูนเลือด | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง หัวและต้นดั่งขมิ้นอ้อย ต้นและใบเขียว หัวขนาดหัวเผือก กลมเกลี้ยงเป็นมัน มีปล้องห่าง ๆ เนื้อขาว ฉุนร้อน ถ้าเคี้ยวจะทำให้ฟันโยก เชื่อกันว่าใช้ฝนกับนํ้าปูนใสหรือต้มเสียก่อนก็ได้ กินแก้ดานเลือด ดานลม และกระชับมดลูกให้แห้งสนิท. |
กระสือ ๒ | ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. |
กระหยะ | น. ขยะ เช่น หนึ่งนิทไทรในราษตรี บมิหลับดั่งมี กระหยะแลผงเลือดไร (อภิไธยโพธิบาทว์). |
กลบท | (กนละ-) น. คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดั่งแสนศร มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล เวรุชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน (กลบทตรีประดับ). |
กลม ๒ | กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว |
กล้ำแกล่ | ก. กลืน, กิน, เช่น คือดั่งปากเว้นกลํ้า แกล่เหมี้ยงหมากพลู (โลกนิติ). |
กังสะ | น. โลหะสัมฤทธิ์ เช่น บางช้างเชื้อดามพดำรี พื้นภาพหัสดี ดั่งดามพกังส กล่อมเกลา (สมุทรโฆษ). |
กางเวียน | การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคลทำกางเวียน (กฎหมายเก่า). |
ก้านต่อดอก | ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น แสนถวิลเทวษว้าอาวรณ์สมร ทุกข์ระทมกรมทรวงดั่งศรรอน จะนั่งนอนมีแต่พรํ่ากำสรวลครวญ. |
กำเนิด | (กำเหฺนิด) น. การเกิด เช่น บิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิดแก่บุตร, มูลเหตุดั้งเดิม เช่น ตัวหนังสือไทยมีกำเนิดมาอย่างไร. |
กำบัง ๓ | น. ชื่อว่านต้นดั่งกระชาย หัวเล็ก ๆ ติดกันดั่งกล้วยไข่ ต้นและใบเขียว เนื้อในขาว ใช้สำหรับเป็นว่านกันภัยในทางลัทธิ และกันว่านร้ายต่าง ๆ, ว่านกั้นบัง ก็เรียก. |
กำแพงขาว | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล. |
แก้ววิเชียร | น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้นหรือเพดานหรือกระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้องนับหนไม่ถ้วน. |
โกรธ | (โกฺรด) ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า ทรงพระโกรธ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล (อิเหนา). |
ขางดัง | น. ดั้งจมูก. |
เคา | น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวดเพียงหลังเคา (ม. คำหลวง กุมาร). |
จะบัน | ก. ตะบัน, ทิ่มหรือแทงกดลงไป, กระทุ้ง, เช่น ดาบดั้งดึงโดดดั้น จะบันแรง (ยอพระเกียรติกรุงธน). |
ฉะนั้น | ว. ฉันนั้น, เช่นนั้น, อย่างนั้น, ดังนั้น, ดั่งนั้น, เพราะฉะนั้น, เพราะเหตุนั้น. |
ฉะนี้ | ว. ฉันนี้, เช่นนี้, อย่างนี้, ดังนี้, ดั่งนี้, เพราะฉะนี้, เพราะเหตุนี้. |
ฉัททันตหัตถี | น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี. |
ชระเอม | (ชะระ-) ว. ร่มเย็น เช่น ดั่งฤๅดั่งไทรชระเอมชรอื้อ (ม. คำหลวง ชูชก). |
ชินโต | น. ชื่อศาสนาดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง มีคำสอนให้เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แม่นํ้า. |
ดัง ๑ | น. ดั้ง, จมูก. |
ด้าง | น. ดั้ง, เครื่องถือสำหรับปิดป้องศัสตราวุธ รูปคล้ายกาบกล้วย, เช่น หอกไปติดแพน แหลนไปติดด้าง ช้างไป่ถึงงา (ม. คำหลวง ชูชก). |
ต้นตระกูล | น. บรรพบุรุษดั้งเดิม. |
ต้นตำรับ | น. สูตรหรือตำราดั้งเดิม เช่น ยาหอมต้นตำรับ ต้นตำรับชาววัง, ผู้เป็นต้นคิดประดิษฐ์จนเป็นแบบแผนสืบต่อมา เช่น ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็นต้นตำรับอาหารไทยหลายอย่าง. |
ต้นแบบ | น. แบบดั้งเดิม, แบบที่มีมาแต่แรก, แบบที่ทำขึ้นไว้แต่แรก, สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นแบบฉบับ ใช้เป็นต้นเค้าสำหรับสร้างสิ่งอื่นให้มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน. |
ตระอร | ประคับประคอง เช่น อุษากำสรดกล่าว คดีโดยดั่งสมสอง ชายหนึ่งมาลอบลอง ในราตรีตระอรอร (อนิรุทธ์), เกื้อกามตระอร (กฤษณา). |
ตั้งอกตั้งใจ | ก. เอาใจจดจ่อ, มุ่งมั่นที่จะทำให้ได้ดั่งใจ. |
ถนัด | เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัดดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้ (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า. |
ถีบฉัด | ก. อาการที่ช้างใช้ตีนหลังถีบหรือเตะ เช่น ม้วนงวงแทงธรณีดล งางอนเงยกล คือดั่งจะเสื้องสอยดาว ถีบฉัดผัดผาผาดสราว ไม้ไล่เหิรหาว ก็ฟุ้งทั้งป่าเปนไฟ (อนิรุทธ์). |
ทรุด | (ซุด) ก. จมลงหรือลดลงกว่าระดับเดิมเพราะสิ่งรองรับมีกำลังต้านทานไม่พอ เช่น กำแพงทรุด สะพานทรุด, ยุบลง เช่น ดั้งจมูกทรุด, มีฐานะตกตํ่ากว่าเดิม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก, เรียกอาการไข้ที่หนักลงไปกว่าเดิม ว่า ไข้ทรุด. |
ที่ไหน | คำใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มีความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น แล้วว่าอนิจจาความรัก พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา (อิเหนา). |
ทุ่ม | ตี เช่น กระทุ่มดั่งทุ่มกร ตีอก เรียมฤๅ (ตะเลงพ่าย). |
เทวธรรม | น. ธรรมสำหรับเทวดา, ธรรมสำหรับทำบุคคลให้เป็นดั่งเทวดา มี หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น. |
นารีผล | น. ผลของต้นมักกะลี ต้นไม้ในวรรณคดี ลักษณะคล้ายหญิงวัยรุ่น เช่น ถัดนั้นไปมีป่าไม้นารีผล แลว่าลูกไม้นั้นงามนัก ดั่งสาวอันพึงใหญ่ได้ ๑๖ ปีแล ฝูงผู้ชายได้เห็นก็มีใจรักนัก ครั้นว่าหล่นตกลง ฝูงนกกลุ้มกินดั่งหมีกินผึ้ง (ไตรภูมิ). |
บรรพกาล | น. ดั้งเดิม. |