คุ่น | น. ชื่อแมลงในสกุล <i> Simulium</i>วงศ์ Simuliidae ขนาดเล็ก มีความยาว ๒-๔ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตัวป้อมสีดำ มีปีกใสค่อนข้างกว้าง ๑ คู่ มักพบบินเป็นกลุ่มเวลาพลบค่ำหรือเช้ามืดบริเวณลำธารน้ำไหล ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ทำให้ผิวหนังบวมแดง ถ้าเป็นมากจะอักเสบจนเป็นหนอง เช่น ชนิด <i> S. nigrogilrum</i> Summers พบทางภาคเหนือ, บึ่ง ปึ่ง หรือ ริ้นดำ ก็เรียก. |
คุ้น | ก. รู้จักชอบพอกันมานาน เช่น เป็นคนคุ้นกัน, เคยผ่านหูหรือผ่านตาบ่อย ๆ เช่น คุ้นหน้า คุ้นตา คุ้นหู. |
คุ้นเคย | ก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกันมานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทำบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืดได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้. |
มักคุ้น, มักจี่ | ก. ชอบพอกัน, คุ้นเคยกัน, ใช้ว่า รู้จักมักคุ้น รู้จักมักจี่. |
รู้จักมักคุ้น, รู้จักมักจี่ | ก. คุ้นเคยกัน เช่น เขารู้จักมักคุ้นกับน้องฉันมานานแล้ว. |
เกี่ยวก้อย | ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่. |
คลุมถุงชน | น. ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน. |
เคย ๒ | ก. ชิน, คุ้น, เช่น เคยสนาม เคยเวที. |
เจน | ว. คุ้น, ชิน, เช่น เจนตา, ชำนาญ เช่น เจนสังเวียน, จำได้แม่นยำ เช่น เจนทาง. |
ชิน ๒ | ก. เคยบ่อย ๆ จนคุ้นหรือเจน. |
เชื่อง | ว. ไม่เปรียว, ไม่ดุ, ที่คุ้นกับคน, (ใช้แก่สัตว์). |
ตื่นเต้น | ก. แสดงอาการลิงโลดเพราะดีใจหรือแปลกใจ, มีความประหม่าเพราะไม่คุ้นเคย. |
ทอดสะพาน | ใช้ผู้อื่นเป็นสื่อเข้าไปติดต่อทำความสนิทสนมกับผู้ที่ตนต้องการคุ้นเคย. |
ที่รัก | น. คนรัก, คำแบบแสดงถึงความสุภาพ ความเคารพ ความนับถือเวลาพูดในที่ชุมนุมชนเป็นต้น เช่น พี่น้องที่รักทั้งหลาย หรือในจดหมายที่มีไปถึงผู้ที่คุ้นเคยกัน เช่น แดงที่รัก. |
บึ่ง ๑ | <i>ดู คุ่น</i>. |
ปึ่ง ๒ | <i>ดู คุ่น</i>. |
เป็นกันเอง | ว. มีความสนิทสนมคุ้นเคยกัน. |
เปรียว | (เปฺรียว) ว. ไม่เชื่อง, ว่องไว, (ใช้แก่สัตว์บางชนิดเช่นนกหรือไก่เป็นต้นที่ไม่คุ้นคน), โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น |
ผิดกลิ่น | ว. แปลกไปจากกลิ่นที่คุ้นเคยและทำให้เกิดปฏิกิริยา. |
ผิดอากาศ | ก. ผิดไปจากอากาศที่เคยคุ้น, แพ้อากาศ. |
พบปะ | ก. พบด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย. |
เพื่อน ๑ | น. ผู้ชอบพอรักใคร่กัน, ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน, เช่น เขามีเพื่อนมาก, ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น เช่น เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมรุ่น เพื่อนข้าราชการ เพื่อนกรรมกร, ผู้ร่วมธุระ เช่น อยู่เป็นเพื่อนกันก่อน ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย, ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน เช่น เพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลก. |
เพื่อนฝูง | น. เพื่อนที่รู้จักมักคุ้นกัน. |
ภาษาปาก | น. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า. |
มิตร, มิตร- | (มิด, มิดตฺระ-) น. เพื่อนรักใคร่คุ้นเคย เช่น มิตรแท้ มิตรเทียม ฉันมิตร. |
รัตนาภรณ์ | น. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณ มี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์. |
ริ้นดำ | <i>ดู คุ่น</i>. |
รู้จัก | คุ้นเคยกัน เช่น นายดำกับนายแดงรู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ, รู้จักมักคุ้น ก็ว่า |
วะ ๑ | ว. คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคยเป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ. |
วิสาสะ | น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม |
วิสาสะ | ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. |
สนิทสนม | ก. ชอบพอ, คุ้นเคยกันดี, เช่น สองคนนี้สนิทสนมกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก. |
สันถว-, สันถวะ | ความคุ้นเคย, ความสนิทสนมกัน. |
หน้าเก่า | ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดาราหน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า. |
หน้าเดิม | ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มีแต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า. |
อุตสาหกรรมศิลป์ | (อุดสาหะกำสิน) น. วิชาที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญในการประดิษฐ์และเกิดความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือและเครื่องกล. |