Bremsstrahlung | เบรมส์ชตราลุง, รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมา เมื่ออนุภาคที่มีประจุถูกเร่งให้เร็วขึ้น หรือถูกหน่วงให้ช้าลง รังสีเอกซ์จากเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปก็เป็นรังสีชนิดนี้ [นิวเคลียร์] |
Electromagnetic radiation | รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กที่ประสาน และมีอันตรกิริยาต่อกัน เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ รังสีเหล่านี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และสามารถผ่านสุญญากาศได้ [นิวเคลียร์] |
Electromagnetic waves | คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
X-rays | รังสีเอกซ์, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Roentgen rays | รังสีเรินต์เก็น, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Radiation, nuclear | รังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
radiation | รังสี, การแผ่รังสี, พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีแอลฟา รังสีบีตา อนุภาคนิวตรอน อนุภาคโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Photon | โฟตอน, กลุ่มหนึ่งๆ ของพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีโมเมนตัมซึ่งเป็นลักษณะของอนุภาค แต่ไม่มีมวลหรือประจุไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ [นิวเคลียร์] |
Nuclear radiation | รังสีนิวเคลียร์, การแผ่รังสีของนิวเคลียส, รังสีในรูปของอนุภาคหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากนิวเคลียสของนิวไคลด์กัมมันตรังสี เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา และรังสีแกมมา <br>(ดู radiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Electromagnetic waves | คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading] |
Electromagnetic Waves | คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า [การแพทย์] |
heat radiation | การแผ่รังสีความร้อน, การถ่ายโอนความร้อนจากวัตถุในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การแผ่รังสีความร้อนนี้ไม่ต้องอาศัยวัตถุ และสามารถผ่านไปในอวกาศ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
carrier wave | คลื่นพาหะ, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง ใช้เป็นพาหะนำสัญญาณเสียงและภาพในการส่งวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnetic wave | คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นซึ่งเกิดจากการสั่นของประจุไฟฟ้าหรือเกิดจากประจุไฟฟ้าที่มีความเร่ง คลื่นนี้ประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนค่าตลอดเวลาและตั้งฉากซึ่งกันและกัน แผ่กระจายออกจากแหล่งกำเนิดคลื่นด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
threshold frequency | ความถี่ขีดเริ่ม, ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีค่าพลังงานพอดี ทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาจากผิวโลหะได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photon | โฟตอน, อนุภาคไม่มีมวลซึ่งประกอบด้วยควอนตัมของแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือโฟตอน เป็นพลังงานหน่วยหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากับ hf โดย h เป็นค่าคงตัวของพลังค์ และ f เป็น ความถี่ของแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาหรือถูกดูดกลืน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
microwave | ไมโครเวฟ, สื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล โดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gamma ray [ γ-ray ] | รังสีแกมมา, รังสีชนิดหนึ่งที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีอำนาจในการผ่านทะลุสูงกว่ารังสีแอลฟาและรังสีบีตา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
X-rays | รังสีเอกซ์, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นระหว่างรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีแกมมา รังสีเอกซ์เกิดขึ้นจากการยิงอิเล็กตรอน พลังงานจลน์สูงเข้าชนอะตอมของเป้าโลหะ แล้วอิเล็กตรอนจะมีความเร็วลดลงและคายพลังงานในรูปรังสีเอกซ์ การเกิดรังสีเอกซ์อีกวิธีหนึ่ง คือ อิเล็กตรอนพลั [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
radar | เรดาร์, ย่อมาจาก radio detection and ranging 1. อุปกรณ์ตรวจสอบหาตำแหน่งวัตถุระยะไกล 2. วิธีการตรวจสอบหาตำแหน่งและทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ (เรือ เครื่องบิน) โดยใช้วิธีการสะท้อนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ไมโครเวฟ) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
radio [ wireless ] | วิทยุ, ระบบสื่อสารที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการรับและส่งโดยไม่ต้องใช้สายต่อถึงกัน ความถี่ของคลื่นวิทยุอยู่ในช่วงระหว่าง 3 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 300, 000 เมกะเฮิรตซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
spectrum | สเปกตรัม, แถบรังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน สเปกตรัมที่มองเห็นได้คือแสง เมื่อแสงขาวผ่านปริซึมจะเกิดการหักเหเป็นแสงสีต่าง ๆ ซึ่งเรียกสเปกตรัม ตั้งแต่ความยาวคลื่นน้อยไปหามากตามลำดับดังนี้ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnetic spectrum | สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, แถบแสดงความถี่หรือความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละช่วงมีชื่อต่าง ๆ เช่น คลื่นวิทยุ รังสีอินฟราเรด แสง รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
light | แสง, พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 4 x 10-7 ? 7.7 x 10-7 เมตร ซึ่งเป็นช่วงที่มองเห็นได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Angstrom unit | หน่วยอังสตรอม, หน่วยความ ยาวใช้กับความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ Å 1 Å = 10-10m [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
amplitude | แอมพลิจูด, ค่าสูงสุดของปริมาณซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นคาบ เช่น ระยะระหว่างจุดกึ่งกลางและจุดสูงสุด (หรือจุดต่ำสุด) ของคลื่นน้ำ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
coaxial cable | สายโคแอกซ์, สายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
twisted pair cable | สายคู่บิดเกลียว, สายนำสัญญาณ แต่ละคู่สายที่เป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอก ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะทางไกลได้หลายกิโลเมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |