ขุนแผน ๑ | น. พรหมธาดา. |
ขุนแผน ๑ | ดูใน ขุน ๑. |
ขุนแผน ๒ | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Urocissa erythrorhyncha (Boddaert) วงศ์ย่อย Corvinae ในวงศ์ Corvidae ปากสีแดง หัวและคอสีดำ ลำตัวสีฟ้าอมเทา หางยาว กินผลไม้และสัตว์เล็ก ๆ. |
ขุนแผน ๒ | ชื่อนกหลายชนิด ในสกุล Harpactesวงศ์ Trogonidae ปากกว้าง ปีกสั้น ปลายปีกมน ขาสั้น หางยาว ปลายหางตัด มีหลายสี เช่น สีแดง เหลือง ดำ เช่น ขุนแผนหัวดำ [ H. diardii (Temminck) ] ขุนแผนอกสีส้ม [ H. oreskios (Temminck) ]. |
กบาล | เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเซ่นผีแล้วนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง เช่น เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก (ขุนช้างขุนแผน). |
กระเดื่อง ๓ | ก. แหนง, หมาง, เช่น จะกระเดื่องใจเมื่อไปถึง (ขุนช้างขุนแผน) |
กระทอก | ก. กระแทกขึ้นกระแทกลง, กำแน่นแล้วรูดขึ้นรูดลง, ทำให้ทะลัก เช่น กระทอกเลือดกระแทกล้มกระดิกดิ้น (ขุนช้างขุนแผน). |
กราง ๑ | (กฺราง) ก. ถูไปถูมาด้วยบุ้ง ตะไบ หรือหนังกระเบน เช่น กระเบนกรางหน้าผากไม่อยากเจ็บ (ขุนช้างขุนแผน). |
กริว ๑ | (กฺริว) น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ ๑, ตะพาบน้ำ). |
กล่อม ๒ | โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น นํ้าหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น (ขุนช้างขุนแผน). |
กวาน, กว่าน | (กฺวาน, กฺว่าน) น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่ (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน (ยวนพ่าย). |
กังก้า | ว. จังก้า, ลักษณะยืนถ่างขาตั้งท่าเตรียมสู้ เช่น ถกเขมรกังก้าเรียกข้าไทย (ขุนช้างขุนแผน-แจ้ง). |
กุย ๓ | น. หมัด, กำปั้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ ลูก ว่า ลูกกุย เช่น เตรียมลูกกุยมาทั่วที่ตัวดี (ขุนช้างขุนแผน). |
เกาะแกะ | ก. พูดพาดพิงเชิงชู้สาว, พูดเชิงเกี้ยวพาราสี, เช่น มันเกาะแกะเกินกํ้าเป็นธรรมดา (ขุนช้างขุนแผน), เคาะแคะ ก็ว่า. |
แกระ ๑ | (แกฺระ) ก. ตัด, แทง, เช่น กฤชกรดแกระทรวง (ขุนช้างขุนแผน). |
ขึ้นไม้ขึ้นมือ | ก. ชี้หน้าในเวลาโกรธ เช่น มาขึ้นไม้ขึ้นมืออยู่หรบหรบ (ขุนช้างขุนแผน). |
เข้าไม้ ๒ | ก. เอาศพใส่หีบหรือโลง เช่น อาบน้ำศพแล้วทาขมิ้น ผ้าขาวหุ้มสิ้นตราสังมั่น เข้าไม้ไว้ในเรือนใหญ่นั้น ค่ำสวดทุกวันหลายคืนมา (ขุนช้างขุนแผน). |
ครัดเคร่ง | (คฺรัดเคฺร่ง) ก. แน่น, ตึง, เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านมทั้งสองก็ครัดเคร่ง (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. |
เคร่งครัด | แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้งห่อผ้าห่มหวง (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. |
งาย | น. เวลาเช้า เช่น พ่อแผนจะไปแต่ในงาย สายแล้วสำรับไม่ยกมา (ขุนช้างขุนแผน). |
งุย | ว. ซึม, เซื่อง, มึนหัว, เช่น อ้ายพลายแก้วมิ่งเมืองไม่เงื่องงุย เอางาชุ่ยสอยดาวเข้าราวนม (ขุนช้างขุนแผน). |
จึ้ง | น. เหล็กสำหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง (ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). |
จู้ ๑ | น. นม, ใช้ว่า นมจู้ เช่น มาฉกชักผ้าห่มชมชู นมจู้เจ้าเณรนี้ราคี (ขุนช้างขุนแผน). |
ฉลาง | ชื่อผ้าที่มีลายชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผ้าลายฉลาง เช่น พวกโขลนเลวลายฉลางกับริ้วญวน (ขุนช้างขุนแผน). |
ชะต้า | อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขาเป็นหญิงยังทำได้ (ขุนช้างขุนแผน–แจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี. |
ชั้นฉาย | น. ชื่อหน่วยในมาตราวัดเวลาในสมัยโบราณ วัดโดยอาศัยการวัดเงาของตัวคนที่เกิดจากแสงแดดด้วยระยะความยาวของฝ่าเท้าของบุคคลนั้น ตอนเช้าหรือเย็นเงาจะทอดยาว และตอนเที่ยงเงาจะสั้นที่สุดหรืออาจไม่มีเลย เงาจะเปลี่ยนสั้นยาวได้จากเดือนหนึ่งไปสู่อีกเดือนหนึ่ง, เงายาว ๑ ฝ่าเท้า เรียกว่า ๑ ชั้นฉาย สามารถเทียบเวลาได้ ถ้าเป็นตอนเช้าเท่ากับ ๑๑.๔๕ นาฬิกา ถ้าเป็นตอนบ่ายเท่ากับ ๑๒.๑๕ นาฬิกา เช่น ปีขาลวันอังคารเดือนห้า ตกฟากเวลาสามชั้นฉาย (ขุนช้างขุนแผน). |
ช่างกระไร | คำกล่าวติเตียน ตัดพ้อ หรือผิดหวัง เช่น เมียเจ้ารูปทองสิบสองหนัก ยศศักดิ์ปึ่งชาจะหาไหน พี่น้องพร้อมพรั่งช่างกระไร แต่จะยกมือไหว้ก็ไม่มี (สังข์ทอง), คำกล่าวแสดงความตื่นเต้น เช่น น้องเอ๋ยรูปร่างช่างกระไร นางในกรุงศรีไม่มีเทียม (ขุนช้างขุนแผน). |
ชิงคม | ก. รีบซ้อนกลทำร้ายเสียก่อน เช่น ชะอ้ายแก้วชิงคมเอากูได้ (ขุนช้างขุนแผน). |
ชิงหมาเกิด | คำเปรียบเปรยคนที่เลวต่ำช้า เช่น หมามันจะเกิดชิงหมาเกิด มึงไปตายเสียเถิดอ้ายห้าเบี้ย (ขุนช้างขุนแผน). |
ชี่ | น. ยาย้อมฟัน ทำจากกะลามะพร้าวเผาไฟแล้วบดให้ละเอียด ใช้สีเพื่อให้ฟันดำเป็นมัน เช่น เอาชี่สีฟันเป็นมันขลับ กระจกส่องเงาวับดูจับแสง (ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร), สี้ ก็เรียก. |
ชุ่ย ๒ | ก. เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป, เสือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้, เช่น อ้ายพลายแก้วมิ่งเมืองไม่เงื่องงุย เอางาชุ่ยสอยดาวเข้าราวนม (ขุนช้างขุนแผน). |
ญัตติ | หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. |
ดอม ๓ | ว. ด้วย เช่น พ่อแม่เป็นผู้ใหญ่จะไปดอม (ขุนช้างขุนแผน). |
ดือ | น. สะดือ เช่น ขุนช้างฉุดผ้าคว้าจิ้มดือ (ขุนช้างขุนแผน). |
ตกแสก | ว. ที่หวีแหวกกลางศีรษะ (ใช้แก่ผม) เช่น งามโศกตกแสกเมื่อยามเศร้า ปิ้มประหนึ่งจะเข้าประคองขวัญ (ขุนช้างขุนแผน). |
ตรึก ๒ | (ตฺรึก) ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, หมายความว่า มาก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรำพันให้ครั่นครึก (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาวสาว ขาวขาวดี ดีมีไม่ตรึก (มณีพิชัย). |
ตุ้งก่า | น. หม้อสูบกัญชาของโบราณ เลียนแบบหม้อสูบยาของชาวอาหรับ เช่น แล้วเชิญหม้อตุ้งก่าออกมาตั้ง นางนั่งเป่าชุดจุดถวาย ทรงศักดิ์ชักพลางทางยิ้มพราย โฉมฉายควั่นอ้อยคอยแก้คอ (ระเด่นลันได), สองแขกขยับตุ้งก่า จ้าหลิ่มยัดกัญชาไฟจุดเข้า (ขุนช้างขุนแผน). |
เต้า ๒ | น. นม เช่น แสงสอดลอดในพระไทรพราย เดือนบ่ายต้องเต้าเจ้าวันทอง (ขุนช้างขุนแผน), บัวตูมติดขั้วบังใบ บังใบท้าวไท ว่าเต้าสุดาดวงมาลย์ (อนิรุทธ์) |
ถ้ำ ๒ | น. ภาชนะทรงกระบอก มีฝาครอบปิดสนิท สำหรับใส่ใบชาหรือยาดมเป็นต้น เช่น ขมิ้นดินสอพองเอาไว้ไหน เมื่อวานกูใส่ไว้ในถํ้า (ขุนช้างขุนแผน). |
ทะยาทะแย, ทะยาทะแยแส | ก. เอาใจใส่, สนใจ, แยแส, เช่น แก้สาดเสียสิ้นกินแต่ของ อันใบตองหาทะยาทะแยไม่ (ขุนช้างขุนแผน), เมื่อนั้นรจนาไม่ทะยาทะแยแส คิดว่าเงาะลูบหลังทำรังแก ไม่เหลียวแลร้องอึงคะนึงไป (สังข์ทอง). |
ทารพี | (ทาระ-) น. ทัพพี, ทรพี, เช่น จัดแจงข้าวปลาทารพี (ขุนช้างขุนแผน). |
นคเรศ | (นะคะเรด) น. เมือง เช่น ครานั้นเจ้าเชียงอินทร์ปิ่นนคเรศ ได้ฟังเหตุว่าทัพนั้นยับป่น (ขุนช้างขุนแผน). |
บังเหตุ | ทำให้เป็นเหตุ, บันดาลเหตุ, เช่น ใบก็บังเหตุร่วงประจักษ์ตา (ขุนช้างขุนแผน). |
บ้าหว่า | (-หฺว่า) น. เครื่องประดับข้อมืออย่างหนึ่ง เช่น บ้าหว่าทองผูกสองข้างแขนนั้น (ขุนช้างขุนแผน). |
ใบสัจ | น. เอกสารแสดงรายการสิ่งของที่ถูกปล้นเพื่อแจ้งแก่เจ้าหน้าที่, เอกสารบันทึกคำให้การของโจทก์และจำเลยซึ่งได้ความจริงทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว เช่น ถ้าแลส่งไปให้ปรับ ๆ มาว่าประการใดแล้วให้ยุกระบัตรพิจารณาดู ในใบสัจซึ่งปรับมาใส่ด้วยบทพระอายการ (สามดวง), บางทีเขียนเป็น ใบสัตย์ ก็มี เช่น หลวงญาณประกาศเทพราชธาดา พร้อมหน้านั่งฟังใบสัตย์อยู่ เชิญบทพระไอยการออกอ่านดู ผู้ปรับทั้งคู่อยู่พร้อมกัน (ขุนช้างขุนแผน). |
ไบ่ ๆ | ว. อาการที่เคี้ยวสิ่งของทำปากเยื้องไปมา เช่น หยิบพานมาว่าจะกินหมาก มันผิดปากส่งไพล่ไปรูหู เคี้ยวเล่นไบ่ไบ่ได้แต่พลู เพื่อนบ่าวเขารู้หัวเราะฮา (ขุนช้างขุนแผน). |
เป็นตัว | ก. มีชีวิตอยู่ เช่น จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว (ขุนช้างขุนแผน). |
ผู้ชายพายเรือ | น. ผู้ชายทั่วไป เช่น ผู้ชายพายเรืออยู่เต็มไป (ขุนช้างขุนแผน), ผู้ชายรายเรือ ก็ว่า เช่น ดิฉันเป็นผู้หญิงสาว ไม่เหมือนผู้ชายรายเรือ (มิตรสภา). |
แผน ๒ | น. เรียกพระพรหม ว่า ขุนแผน เช่น ขุนแผนแรกเอาดินดูที (แช่งนํ้า). |
พืชพันธุ์ | กำพืด เช่น ด้วยพืชพันธุ์มันไม่น่าจะอาลัย (ขุนช้างขุนแผน). |