Aeration | การเติมอากาศ [TU Subject Heading] |
Hydrogenation | การเติมไฮโดรเจน [TU Subject Heading] |
Chlorination | การเติมคลอรีน, Example: การใส่คลอรีน เช่น การเติมคลอรีนลงในน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรค [สิ่งแวดล้อม] |
Super Chlorination | การเติมคลอรีนเกินขั้น, Example: การฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนโดยที่ปริมาณคลอรีนมีมาก พอจะทำให้เกิดคลอรีนอิสระ [สิ่งแวดล้อม] |
Prechlorination | การเติมคลอรีนก่อนบำบัด, Example: การใช้คลอรีนในการบำบัดน้ำหรือน้ำเสียก่อนการ บำบัดด้วย วิธีอื่น ๆ [สิ่งแวดล้อม] |
Seeding | การเติมหัวเชื้อ, Example: หมวดคุณภาพน้ำ seed หมายถึง จุลินทรีย์ที่เติมลงในระบบบำบัด เพื่อให้แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว <br>หมวดกฎหมายสิ่งแวดล้อม หมายถึง เมล็ด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชที่ใช้เพาะปลูกหรือใช้ทำพันธุ์ เช่น ต้น ตอ หน่อ เหง้า กิ่ง แขนง ตา ราก หัว ดอก หรือผล </br> [สิ่งแวดล้อม] |
Reaeration | การเติมออกซิเจนซ้ำ, Example: การที่ออกซิเจนในอากาศซึมสู่น้ำในสภาวะการขาด แคลนออกซิเจน [สิ่งแวดล้อม] |
Reoxygenation | การเติมออกซิเจนซ้ำ, Example: การที่ปริมาณออกซิเจนในลำน้ำเพิ่มขึ้นจากการ เติมน้ำดีในน้ำเสีย หรือจาก การสังเคราะห์โดยใช้แสงของพืชและจากการสัมผัสอากาศผิวน้ำ [สิ่งแวดล้อม] |
Aeration | การเติมอากาศ, Example: กระบวนการที่ทำให้น้ำและอากาศสัมผัสกัน ทำให้ค่าออกซิเจนละลายน้ำ เพิ่มขึ้น [สิ่งแวดล้อม] |
Mechanical Aeration | การเติมอากาศแบบเครื่องกล, Example: การเติมอากาศแก่น้ำเสียในระบบเอเอสด้วยเครื่อง จักรกล โดยการตีปั่น ให้น้ำที่ผิวฟุ้งกระจายสัมผัสอากาศ [สิ่งแวดล้อม] |
Step Aeration | การเติมอากาศแบบเป็นขั้น, Example: วิธีการหนึ่งในระบบเอเอส ที่มีการป้อนน้ำเสียเข้าหลายจุดตาม ความยาวของถังเติมอากาศ [สิ่งแวดล้อม] |
Jet Aeration | การเติมอากาศแบบดูดพ่น, Example: การเติมอากาศโดยอาศัยแรงดูดเนื่องจากความเร็ว ของกระแสลม ในท่อดูดอากาศทำให้ดูดอากาศลงไปผสมกับน้ำแล้วพ่นออก [สิ่งแวดล้อม] |
Preaeration | การเติมอากาศก่อน(บำบัด), Example: การตระเตรียมสภาพของน้ำก่อนการบำบัด โดยการเติมอากาศเพื่อไล่ก๊าซ เพิ่มออกซิเจนให้ไขมันลอยตัว [สิ่งแวดล้อม] |
Coagulant | สารเคมีที่เติมลงไปในตัวกลางที่มีอนุภาคขนาดเล็กแขวนลอยอยู่ ทำให้อนุภาคเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่และตกตะกอน เช่น การเติมกรดซัลฟุริก (H2SO4) กรดฟอร์มิก (HCOOH) หรือ กรดแอซิติก (CH3COOH) ลงในน้ำยาง ทำให้น้ำยางจับตัว [เทคโนโลยียาง] |
Constant viscosity rubber | ยางธรรมชาติที่มีการเติมสารเคมี เช่น hydroxylamine ลงไปในน้ำยางก่อนที่จะเติมกรดเพื่อทำให้ยางจับตัว สารดังกล่าวจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับหมู่อัลดีไฮด์ ป้องกันไม่ให้เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของยางดิบที่เก็บไว้ก่อนนำมา ใช้แปรรูป ทำให้ค่าความหนืดคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาการเก็บรักษา [เทคโนโลยียาง] |
Crosslinking | การทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของพอลิเมอร์ เช่น การเติมกำมะถันในยางธรรมชาติ (กระบวนการเรียกว่า vulcanization) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างโมเลกุลของยางโดยกำมะถัน ได้ยางที่มีโครงสร้างแบบเชื่อมโยง (crosslink) หรือร่างแห (network) ทำให้ยางเปลี่ยนสมบัติจากอ่อนนิ่ม เป็นยางที่มีสมบัติแข็งและเหนียวขึ้น เหมาะแก่การใช้งาน [เทคโนโลยียาง] |
Epichlorohydrin | ยางอิพิคลอโรไฮดรินเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่หลักเป็นพอลิ อีเทอร์และมีหมู่คลอโรเมทิลเป็นกิ่งก้าน แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 1.โฮโมพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดริน (CO) ได้จากการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงแหวนของอิพิคลอโรไฮดริน 2.โคพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดรินและเอทิลีนออกไซด์ (ECO) ได้จากการนำเอทิลีนออกไซด์ไปพอลิเมอไรเซชันร่วมกับอิพิคลอโรไฮดริน 3.เทอร์พอลิเมอร์ระหว่างอิพิคลอโรไฮดริน เอทิลีนออกไซด์ และมอนอเมอร์ชนิดที่ไม่อิ่มตัว (GECO/ETER) ได้จากการเติมมอนอเมอร์ชนิดที่สามลงไปเพื่อให้ยางชนิดนี้สามารถคงรูปได้โดย ใช้ระบบกำมะถันและเพอร์ออกไซด์ ยางอิพิคลอโรไฮดรินมีสมบัติเด่นหลายประการ คือ ทนต่อน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ทนต่อความร้อนและโอโซนได้ดีเยี่ยม มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซและน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำที่สุด ทนทานต่อการติดไฟได้ดี และมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดีมากอีกด้วย ยางชนิดนี้แม้ว่าจะมีสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ไม่นิยมนำมาใช้มากนักเนื่องจากยางชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะและยางจะ อ่อนตัว (reversion) เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานและมีราคาแพงมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางชนิดนี้ ได้แก่ ซีล ปะเก็น ท่อน้ำมัน ปลอกหุ้มสายเคเบิล ลูกกลิ้งในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Epoxidised or Epoxidized natural rubber | ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์เป็นยางที่ได้จากการเติมออกซิเจนเข้าไปใน โมเลกุลของยางตรงบริเวณพันธะคู่เกิดเป็นวงแหวนอิพ็อกไซด์โดยผ่านปฏิกิริยาอิ พ็อกซิเดชัน (Epoxidation) โดยมีระดับของการเกิดอิพ็อกซิเดชันตั้งแต่ร้อยละ 10-50 ยาง ENR ที่ได้จึงมีความเป็นขั้วสูงกว่ายางธรรมชาติทั่วไป ทำให้ทนต่อความร้อนและน้ำมันได้ดีขึ้น โดยยาง ENR เกรดที่มีระดับอิพ็อกซิเดชันสูงถึงร้อยละ 50 จะมีความเป็นขั้วสูงเทียบเท่ากับยาง NBR ที่มีปริมาณอะไครโลไนไทรล์ปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่ายาง ENR ที่เสริมแรงด้วยซิลิกาจะมีสมบัติคล้ายกับยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำ อีกด้วย การเตรียมยาง ENR นี้สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง [เทคโนโลยียาง] |
Mastication | ขั้นตอนการบดให้ยางนิ่ม มักใช้กับยางธรรมชาติเนื่องจากยางธรรมชาติมีน้ำหนักโมเลกุลสูงมาก (ความหนืดสูงมาก) การบดยางให้นิ่มเป็นการทำให้โมเลกุลฉีกขาด น้ำหนักโมเลกุลของยางลดลง (ใช้แรงเฉือน และออกซิเจนในอากาศ) สามารถทำได้โดยการบดยางล้วนๆ หรืออาจเพิ่มประสิทธิภาพในการบดยางได้โดยการเติมเพปไทเซอร์ลงไปเล็กน้อยและ การใช้อุณหภูมิสูง ผลที่ได้ทำให้ยางนิ่มลง เมื่อผสมสารเคมีลงไปจะทำให้สารเคมีนั้นให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับยางได้ง่าย ขึ้น ส่วนยางสังเคราะห์ที่มีการควบคุมน้ำหนักโมเลกุลตั้งแต่ขั้นตอนการสังเคราะห์ ทำให้ความหนืดเริ่มต้นไม่สูงมาก จึงไม่จำเป็นต้องนำมาบดให้นิ่มก่อน [เทคโนโลยียาง] |
Silicone rubber | ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Styrene-butadiene rubber | ยางเอสบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตโดยการเตรียมโคพอลิ เมอร์ระหว่างสไตรีนและบิวทาไดอีนด้วยวิธีพอลิเมอไรเซชั่นแบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization) มีชื่อเรียกว่า Buna-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1) และ GR-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นยางที่ใช้ในงานทั่วไป ราคาไม่แพง มีหลายเกรดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์ ยางเอสบีอาร์เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติจะมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่า มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และที่สำคัญคือ ไม่ต้องบดยางให้นิ่มก่อนทำการผสมเคมียางเนื่องจากยางชนิดนี้ถูกสังเคราะห์มา ให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่ไม่สูงมากนัก จึงมีความหนืดที่เหมาะสมทำให้สารเคมีกระจายตัวได้ดี ไหลได้ง่ายในระหว่างการขึ้นรูป มีแนวโน้มที่จะเกิดยางตายในระหว่างกระบวนการผลิตน้อยกว่า มีอัตราเร็วในการคงรูปช้ากว่าและถูกออกซิไดซ์ได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทำให้สามารถผสมยางในเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิสูงกว่าได้ แม้ว่ายางเอสบีอาร์จะมีค่าความทนต่อแรงดึงและความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายาง ธรรมชาติ เนื่องจากไม่สามารถเกิดการตกผลึกได้เมื่อถูกยืด แต่ถ้ามีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงลงไปก็สามารถทำให้ค่าดังกล่าวสูงใกล้ เคียงหรือต่ำกว่ายางธรรมชาติเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ และส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อยานพาหนะขนาดเล็กโดยใช้ผสมกับ ยางชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ ยางบิวทาไดอีน [เทคโนโลยียาง] |
Acetylation-Deacetylation | การเติมหรือดึงหมู่อะเซทิล, การเติมหรือดึงหมู่อะเซทิล [การแพทย์] |
Addition | ปฏิกิริยาการรวมตัว, การเพิ่มขึ้น, การเติมเข้าไป, แอดดิชัน [การแพทย์] |
Additives | สารเสริม, การเติมสารตัวอื่น, สารที่ผสมในอาหาร [การแพทย์] |
Adenylation-Deadenylation | การเติมหรือดึงหมู่อะดีนิล [การแพทย์] |
Antioxidants | สารพวกแอนตี้อ๊อกซีแด้นท์, สารกันอ็อกซิเดชั่น, สารต้านการเสื่อมในอากาศ, สารกันหืน, สารต้านออกซิเดชัน, วัตถุกันหืน, แอนติออกซิเดนท์, สารยับยั้งออกซิเดชั่น, แอนตี้ออกซิแดนท์, สารป้องกันการเกิดอ๊อกซิไดซ์, สารแอนติออกซิแดนต์, สารต้านออกซิไดซ์, สารกันการเติมออกซิเจน, สารยับยั้งการออกซิไดส์, แอนตี้ออกซิแดนท์, ตัวต่อต้านการออกซิไดส์, สารตัวกันออกซิเดชัน, สารต้านการออกซิไดซ์, ป้องกันน้ำมันหืน [การแพทย์] |
Bromination | การเติมโบรมีน [การแพทย์] |
Calcification | หินปูนเกาะ, การแข็งตัวของกระดูก, หินปูนจับ, การมีหินปูน, หินปูนมาจับ, การเกาะของแคลเซียม, การพอกตัวของแคลเซี่ยม, การจับเกาะของแคลเซียมที่กระดูก, มีแคลเซี่ยมมาหุ้ม, การเกิดหินปูนจับ, หินปูนเกาะจับ, การมีแคลเซี่ยม, การเติมแคลเซียม, มีหินปูนจับ [การแพทย์] |
Desaturation | ปฏิกิริยาการเติมพันธะคู่ [การแพทย์] |
Emulsifiers, Auxiliary | การเติมสารทำอิมมัลชันเสริม, อิมัลชั่นเสริม, ตัวทำอิมัลชั่นช่วย [การแพทย์] |
Enrichment | การเติมสารอาหารลงไปให้มีปริมาณเท่ากับที่เคยมี [การแพทย์] |
Fluoridation | ฟลูออริเดชัน, ฟลูออไรด์, การเติม [การแพทย์] |
Fluoridation of Water Supplies | การเติมฟลูออไรด์ในน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภค [การแพทย์] |
groundwater recharge | groundwater recharge, การเติมน้ำใต้ดิน [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
aeration | aeration, การเติมอากาศ [เทคนิคด้านการชลประทานและการระบายน้ำ] |
addition polymerization reaction | ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม, ปฏิกิริยาเคมีที่มอนอเมอร์ชนิดเดียวกันทำปฏิกิริยาการเติมซ้ำ ๆ กัน แล้วได้สารใหม่ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า พอลิเมอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
addition reaction | ปฏิกิริยาการเติม, 1. ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมเป็นสารใหม่เพียงชนิดเดียว 2. ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมรวมเป็นโมเลกุลเดียวกับสารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวตรงตำแหน่งพันธะคู่หรือพันธะสาม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
catalysis | คะตะลิซิส, กระบวนการที่ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีมีการเปลี่ยนแปลงโดยการเติมตัวเร่งปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Hydrogenation | การเติมไฮโดรเจน, [การแพทย์] |
Hydrogenation, Selective | ขบวนการเติมไฮโดรเจนเป็นบางส่วน [การแพทย์] |
Iodination | การเติมไอโอดิน, การเติมไอโอดีน [การแพทย์] |
Iron Fortification | การเติมเหล็กในอาหาร [การแพทย์] |
Methylation | เมทิเลชัน, กระบวนการ; เมธิย์เลชัน; เมธิลเลชั่น; การเติมหมู่เมธิล; หมู่เมธิล [การแพทย์] |