ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*กรุงเทพฯ*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: กรุงเทพฯ, -กรุงเทพฯ-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ(n) Bangkok Mass Transit Authority, Syn. ขสมก., Example: เขาเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
ใบเบิกร่องน. เอกสารที่กรมศุลกากรออกให้แก่เรือที่มีระวางจดทะเบียนตํ่ากว่า ๒๐๐ ตัน ที่ออกจากท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อนำเรือผ่านด่านศุลกากรที่ปากนํ้าสมุทรปราการ.
ไปยาลน. เครื่องหมายละคำ รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สำหรับละคำที่ประกอบคำหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สำหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ”, หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า “ละถึง”, เปยยาล ก็เรียก.
มณฑลเทศาภิบาลน. เขตการปกครองในระบบเทศาภิบาล โดยการรวมเมืองตั้งแต่ ๒ เมืองขึ้นไปเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลที่ส่งไปจากกรุงเทพฯ เป็นผู้ปกครอง.
รู้จักก. เคยพบเคยเห็นและจำได้ เช่น คนกรุงเทพฯ รู้จักวัดพระแก้วดี แม้เด็ก ๆ ก็ยังรู้จักหนูและแมว
ลูกเมียหลวงน. ลูกของเมียหลวงซึ่งมีสิทธิ์มากกว่าลูกของเมียน้อย, โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะเหนือกว่าผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลายคนมองว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เป็นลูกเมียหลวง.
หนาแน่นว. คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก.

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Bangkokกรุงเทพฯ [TU Subject Heading]
OTCศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพฯ [TU Subject Heading]
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategyยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต]
ASEAN Regional Forumการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต]
ASEAN-UN Summitการประชุมผู้นำอาเซียน-สหประชาชาติ เป็นการประชุมระหว่างหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนกับเลขาธิการสห ประชาชาติ มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 [การทูต]
Asia Europe Meetingการประชุมเอเชีย-ยุโรป " เป็นการประชุมระดับผู้นำจากเอเชีย 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน ดารุสซาลาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ผู้นำจากยุโรป 15 ประเทศ คือ สหราช- อาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป การประชุมครั้งแรกมีขึ้น ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2539 " [การทูต]
Bilateral Economic Consultationการประชุมระหว่างไทยกับอาร์เจนตินาที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 เพื่อเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-อาร์เจนตินา ครั้งที่ 1 (Thai-Argentine Joint Committee ? JC) [การทูต]
Drug-Free ASEANอาเซียนที่ปลอดจากยาเสพติด เป็นคำประกาศของอาเซียนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 31 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการตั้งเป้าหมาย ที่จะทำให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากยาเสพติดในปี พ.ศ. 2563 และต่อมา ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ได้ประกาศร่นกำหนดเวลาดังกล่าวให้เร็วขึ้น 5 ปี จากเดิมในปี พ.ศ. 2563 เป็นปี พ.ศ. 2558 [การทูต]
Economic and Social Commission for Asia and the Pacificคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและ แปซิฟิก มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ [การทูต]
Joint Declaration for a Socially Cohesive and Caring ASEANปฏิญญาร่วมว่าด้วยสังคมที่เป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรในอาเซียน เป็นคำประกาศของอาเซียนซึ่งมีการลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้มีการดำเนินโครงการด้านโครงข่ายรองรับทาง สังคมในภูมิภาคนี้ร่วมกันอย่างจริงจัง ในอันที่จะเป็นการนำอาเซียนไปสู่การเป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้อ อาทรตามวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต]
Mekong - Ganga Cooperationความร่วมมือแม่นำโขง - คงคา ริเริ่มขึ้นเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2543 ที่กรุงเทพฯ มีสมาชิก 6 ประเทศ คือกัมพูชา อินเดีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศในลุ่มแม่น้ำคงคาในด้านการ ท่องเที่ยว การศึกษาวัฒนธรรม และคมนาคมขนส่งโดยอาศัยปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกันและความสัมพันธ์ที่ ดีระหว่างกัน และเป็นยุทธศาสตร์เชื่อมโยง GMS (จีน) ไปสู่อินเดีย [การทูต]
Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treatyสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ลงนามในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาคและส่งเสริมความพยายามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคใน การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่ง นอกจากเป็นส่วนประกอบสำคัญของแผนงานว่าด้วยเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Zone of Peace, Freedom and Neutrality - ZOPFAN) แล้ว ยังเป็นการสนับ สนุนกระบวนการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ในเวทีระดับโลกอีกด้วย " [การทูต]
Sister Citiesบ้านพี่เมืองน้อง หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศ หรือเมืองในประเทศที่ต่างกัน ในการที่จะสถาปนาเมืองในประเทศของแต่ละฝ่ายให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเป็น พิเศษ เช่น นครเชียงใหม่เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับนครเซี่ยงไฮ้ หรือกรุงเทพฯ เป็นบ้านพี่เมืองน้องกับนครลอสแอนเจลิส [การทูต]
The ASEAN Declaration (Bangkok Declaration)" หมายถึง เอกสารก่อตั้งสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of South-East Asian Nations : ASEAN) ซึ่งได้มีการลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดย ผู้แทนระดับรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย " [การทูต]
The Great Wonders of Suwannabhumiโครงการสิ่งมหัศจรรย์แห่งสุวรรณภูมิ หมายถึง โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคที่นับถือศาสนาพุทธ อันประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยร่วมกันจัดรายการนำเที่ยวในโบราณสถานที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของ 4 ประเทศ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพฯ นครวัดในกัมพูชา โบราณสถานในพุกาม/มัณฑะเลย์ในพม่า และแขวงหลวงพระบางในลาว เพื่อที่จะดึงดูดชาวต่างชาติให้มาสนใจในดินแดนแห่งนี้ และนำมาซึ่งการพัฒนาสถานที่ดังกล่าว รวมทั้งยังจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง 4 ประเทศอย่างสมบูรณ์ โครงการนี้เสนอโดย ฯพณฯ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว กัมพูชา และพม่า เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2542 ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 3 ที่กรุงมะนิลา [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
From Bangkok.จากกรุงเทพฯ Pu'olo (2012)
Uh, I got it in this little shop in Bangkok.ฉันซื้อมาจากร้านเล็กๆที่กรุงเทพฯค่ะ I Helu Pu (2012)
It reminds me of a woman I met in Bangkok...มันทำให้ผมนึกถึงผู้หญิง ที่ฉันได้พบในกรุงเทพฯ ... Grudge Match (2013)
Chow said he blew the other half in Bangkok.Chow กล่าวว่า เขา blew อีกครึ่งหนึ่งในกรุงเทพฯ. The Hangover Part III (2013)
There's a record of him traveling to Bangkok, but his passport never cleared Customs.มีบันทึกว่าเขาเดินทางไปที่กรุงเทพฯ แต่หนังสือเดินทางของเขาไม่ผ่านกรมศุลกากร Sister's Keeper (2013)
I worked with one in Lisbon, and... and I heard about another in Bangkok.ฉันทำงานกับหนึ่งในลิสบอน และ.. และฉันได้ยินว่ามีอีกที่กรุงเทพฯ Wesen Nacht (2015)
No, Lisbon and Bangkok.ไม่ใช่ ในลิสบอนกับกรุงเทพฯ Eve of Destruction (2016)
It's the Athena, docked in Bangkok.เรือ อะธีน่า เทียบท่าที่กรุงเทพฯ Kong: Skull Island (2017)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ชาวกรุงเทพฯ[Chāo Krungthēp] (n, prop) FR: Bangkokois [ m ] ; Bangkokoise [ f[ ; Bangkokien [ m ] ; Bangkokienne [ f ]
ความเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ[khwām penyū nai Krungthēp] (n, exp) EN: living in Bangkok  FR: la vie à Bangkok
กรุงเทพฯ[Krungthēp] (n, prop) EN: Bangkok  FR: Bangkok
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ = องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ[Ongkān Khonsong Mūanchon Krungthēp] (org) EN: Bangkok Mass Transit Authority (BMTA )
สถานทูตอังกฤษประจำกรุงเทพฯ[Sathānthūt Angkrit Prajam Krungthēp] (n, prop) EN: British Embassy in Bangkok  FR: Ambassade de Grande-Bretagne à Bangkpk [ f ]
อยู่กรุงเทพฯ[yū Krungthēp] (v, exp) EN: be in Bangkok  FR: être à Bangkok

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Assumption Collegeโรงเรียนอัสสัมชัญเป็นสถานศึกษาเอกชนในเครือมูลนิธิเซนต์คาเบรียล ตั้งอยู่ที่ 26 ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 สามารถติดต่อได้ที่ 0-2630-7111-25
Bangkok Mass Transit Authority (BMTA)[แบงคอก ทรานซิท อาธอริตี] (n) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ

German-Thai: Longdo Dictionary
liegen(n) |etw. lag irgendwo/irgendwie, etw. hat irgendwo/irgendwie gelegen| สิ่งใดสิ่งหนึ่งตั้งวางอยู่(ในแนวนอน) เช่น Chiangmai liegt nördlich von Bangkok. เชียงใหม่ตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงเทพฯ
Verdacht(n) |der, nur Sg.| สถานการณ์ที่กำลังถูกสงสัยอยู่ เช่น Man weiß nicht wo sie ist, aber es besteht Verdacht auf Bangkok. ไม่มีใครรู้ว่าเธอหายไปไหน แต่มีเหตุการณ์ชี้ว่าเธอน่าจะอยู่ที่กรุงเทพฯ
eine Panne habenมีปัญหาเครื่องมอเตอร์ไม่ทำงานหรือผิดปกติ เช่น Ich habe eine Panne während der Fahrt nach Bangkok. ฉันมีปัญหาเครื่องยนต์(ของรถยนต์)ระหว่างการเดินทางไปกรุงเทพฯ

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top