261 ผลลัพธ์ สำหรับ *ยืนยัน*
ภาษา
หรือค้นหา: ยืนยัน, -ยืนยัน-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ยืนยัน | (v) assure, See also: affirm, reaffirm, confirm, insist, tell firmly, Example: เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกของโลกมีหลักฐานยืนยันว่า มีผู้ประดิษฐ์มาแล้วเกือบ 300 ปี, Thai Definition: พูดคงคำโดยแน่นแฟ้น, พูดรับรู้เห็นโดยแน่นอน, ย้ำหรือแจ้งให้รู้ข้อเท็จจริง |
คำยืนยัน | (n) confirmation, See also: insistence, corroboration, affirmation, Example: นายกรัฐมนตรีเดินทางไปย่างกุ้งเพื่อขอคำยืนยันจากพม่าถึงความปลอดภัยของนักศึกษาพม่าที่ต้องการเดินทางกลับรัฐบาล, Thai Definition: คำพูดอันประกอบด้วยหลักฐาน ข้อเท็จจริง หรืออื่นๆ เพื่อย้ำว่าเป็นเช่นนั้น |
ข้อยืนยัน | (n) proof, See also: evidence, testimony, verification, confirmation, substantiation, Syn. หลักฐาน, ข้อพิสูจน์, Example: สถิติจากการสำรวจดังกล่าวเป็นข้อยืนยันว่ามีคนไทยจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ยืนยัน | ก. พูดคงคำโดยแน่นแฟ้น, พูดรับว่ารู้เห็นหรือทำเป็นต้นโดยแน่นอน, เช่น เขายืนยันว่าเขาเห็นขโมยแน่, ยํ้าหรือแจ้งความจำนงโดยไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เขายืนยันการเดินทางในเที่ยวหน้า, ใช้ว่า ยัน คำเดียวก็มี. |
ข่าวลือ | น. ข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน. |
จริงอยู่แต่, จริงอยู่...แต่ | สัน. ใช้แสดงความยืนยันข้อความที่กล่าวมาแล้วข้างหน้า และแสดงว่ามีข้อความขัดแย้งตามมาข้างหลัง. |
นั่นแน่ | คำแสดงการยืนยันการพบเห็นเป็นต้น เช่น นั่นแน่ อยู่ที่นี่เอง นั่นแน่ ว่าแล้วอย่างไรล่ะ. |
ปฏิญญา | (ปะตินยา) น. การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. |
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน | น. การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออำนาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป. |
ปฏิเสธ | แสดงความหมายตรงกันข้ามกับยืนยัน รับ หรือ ยอมรับ. |
ปฏิเสธข่าว | ก. แสดงยืนยันว่าไม่เป็นไปตามนั้น. |
ปากแข็ง | ว. พูดยืนยันหรือเถียงอย่างดื้อดันไม่ยอมจำนนข้อเท็จจริง. |
เป็นไร | ว. ใช้ในความหมายที่ยืนยัน หมายความว่า เป็นอย่างนั้น เช่น นั่นเป็นไรล่ะ, ใช้ในความหมายที่เป็นคำถาม หมายความว่า เป็นอย่างไรไป เช่น นั่นเป็นไรหรือ. |
ยัน ๑ | ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด |
ยืนกระต่ายสามขา | ก. พูดยืนยันอยู่คำเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว. |
ยืนคำ | ก. ยืนยันคำพูดที่พูดไปแล้วโดยไม่เปลี่ยนแปลง. |
ระเค็ดระคาย | น. เค้าเงื่อนที่ทราบมานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยันให้แน่นอนไม่ได้, ระแคะระคาย ก็ว่า. |
ระแคะระคาย | น. เค้าเงื่อนที่ทราบมานิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยันให้แน่นอนไม่ได้, ระเค็ดระคาย ก็ว่า. |
รับประกัน | ก. ยืนยัน เช่น รับประกันว่าเขาเป็นคนซื่อ, รับรอง, รับใช้ค่าเสียหาย, เช่น รับประกันคุณภาพ รับประกันซ่อมฟรี. |
รับรู้ | ก. ยืนยันว่ารู้, รับว่ารู้ |
ล่ะ | ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีน้ำหนักขึ้น เช่น มิน่าล่ะ จะไปไหมล่ะ, เล่า ก็ว่า. |
ลือ | ก. พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน เช่น เขาลือว่าจะเกิดเหตุที่ท่าน้ำ, (โบราณ ใช้ ฦๅ). |
เล่า | ว. คำใช้ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า. |
วงเล็บเหลี่ยม | น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง, ใช้กันข้อความในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏในหนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐานยืนยัน เช่น [ ตรี อมาตยกุล ] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[ x + 4 – 3{ x + 5 – 4(x + 1) } ] = 23, ใช้ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [ Ba2+ ][ F−2 ] = 1.05.10−6, Na2[ Fe(Cn)5(NO) ]·2H2O. |
สหประชาชาติ | น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization). |
สัตยาบัน | น. การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้กระทำขึ้นไว้ |
สาธุ | ว. ดีแล้ว, ชอบแล้ว, (เป็นคำที่พระสงฆ์เปล่งวาจาเพื่อยืนยันหรือรับรองพิธีทางศาสนาที่กระทำไป). |
เสียงแข็ง | ว. อาการที่กล่าวออกมาอย่างยืนยันหนักแน่น เช่น เขาเถียงเสียงแข็งว่าเขาทำถูกต้องแล้ว |
หลักฐาน | เครื่องแสดงประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน. |
หัวเด็ดตีนขาด | คำพูดแสดงการยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยว แม้จะตายก็ไม่ยอมเปลี่ยนใจ เช่น หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมย้าย หัวเด็ดตีนขาดก็จะอยู่ที่นี่. |
เอกังสวาที | (-สะ-) น. “ผู้กล่าวโดยส่วนเดียว” หมายถึง ผู้กล่าวยืนยันเด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
protest | ใบแจ้งยืนยัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
sworn | สาบานยืนยัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
sanction | ๑. ทางบังคับ, วิธีการบังคับ๒. การให้ความเห็นชอบ, การยืนยันรับรอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
avowry | การยืนยันสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
affirm | ยืนตาม, ยืนยัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
affirmation | การยืนยัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
affirmative action | การยืนยันสิทธิประโยชน์ (ของบุคคลบางกลุ่ม) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
affirmative pregnant | ยืนยันว่าตั้งครรภ์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
affirmative, the | คำยืนยันข้อเท็จจริง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
assertion | ข้อความยืนยัน [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
confirmation | การให้ความเห็นชอบ, การให้สัตยาบัน, การยืนยัน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
confirmation | การยืนยัน, การให้สัตยาบัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
definite advice | คำยืนยันแน่นอน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
extended protest | ใบแจ้งยืนยันโดยละเอียด [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
implied assertion | การยืนยันโดยปริยาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
verification | การพิสูจน์ยืนยัน, การพิสูจน์ว่าเป็นจริง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
verification | การพิสูจน์ยืนยัน, การพิสูจน์ว่าจริง, การทวนสอบ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
verification | การพิสูจน์ยืนยัน, การพิสูจน์ว่าเป็นจริง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
verify | พิสูจน์ยืนยัน, พิสูจน์ว่าจริง, ทวนสอบ [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Mass-energy equation | สมการมวล-พลังงาน, สมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมวลกับพลังงาน ของ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งอธิบายว่า “มวลของวัตถุก็คือมาตรวัดพลังงานที่มีอยู่ในวัตถุนั้น” ต่อมาได้รับการพิสูจน์ยืนยัน โดยการวัดค่าของมวลและพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ดังสมการ <br>E = mc<sup>2</sup></br> <br>เมื่อ E คือ พลังงาน</br> <br>m คือ มวลของวัตถุที่เปลี่ยนเป็นพลังงาน</br> <br>c คือ ความเร็วของแสงในสุญญากาศ</br> <br>สมการนี้บางครั้งเรียกว่า Einstein equation</br> [นิวเคลียร์] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
initial | ลงนามย่อ " หมายถึง การลงลายมือชื่อย่อในร่างสนธิสัญญาเพื่อยืนยันความ ถูกต้องของร่างนั้น " [การทูต] |
Millennium Summit | การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
United Nations Emergency Force | กองกำลังฉุกเฉินของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 สมัชชาแห่งสหประชาชาติได้ขอรัองให้เลขาธิการสหประชาชาติเสนอแผนการภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติของสหประชาชาติ โดยได้รับอนุมัติจากชาติที่เกี่ยวข้อง ให้ทำหน้าที่ยุติและควบคุมดูแลการหยุดรบในประเทศอียิปต์ วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 5 พฤศจิกายน สมัชชาก็ได้ลงมติให้จัดตั้งกองบัญชาการแห่งสหประชาชาติขึ้นปรากฏว่า ผู้แทนของสหภาพโซเวียตได้กล่าวอ้างว่า การจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ โดยยกบทที่ 7 ของกฎบัตรขึ้นมาอ้างว่า คณะมนตรีความมั่นคงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่กฎบัตรให้อำนาจจัดตั้งกองกำลังระหว่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ สหภาพโซเวียตและอีกบางประเทศจึงแถลงว่า จะไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกเงินค่าใช้จ่ายสำหรับกองกำลังดังกล่าวโดยเด็ดขาด พึงสังเกตว่า การที่สหภาพโซเวียตอ้างยืนยันว่า คณะมนตรีความมั่นคงเท่านั้นที่กฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจตั้งกองกำลังสห ประชาชาติได้ ก็เพราะหากยินยอมตามข้ออ้างของสหภาพโซเวียตดังกล่าว จะไม่มีทางจัดตั้งกองกำลังขึ้นได้เลย เพราะสหภาพโซเวียตจะใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคงอย่างไม่ต้องสงสัย [การทูต] |
Vienna Convention on Consular Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Bank confirmation | หนังสือยืนยันยอดจากธนาคาร [การบัญชี] |
Confirmation | การยืนยันความถูกต้อง [การบัญชี] |
Verify | พิสูจน์ยืนยัน [การบัญชี] |
Confirm | ยืนยัน, การส่งเสริม [การแพทย์] |
Confirmation | การยืนยัน, ยืนยัน [การแพทย์] |
Confirmation Test | การตรวจสอบเพื่อยืนยัน, การตรวจวิเคราะห์ขั้นยืนยัน [การแพทย์] |
Confirming Test | วิธีการยืนยัน [การแพทย์] |
Evidences, Confirming | หลักฐานที่ยืนยัน [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
การยืนยัน | [kān yeūnyan] (n) EN: confirmation FR: confirmation [ f ] |
ยืนยัน | [yeūnyan] (v) EN: assure ; affirm ; reaffirm ; confirm ; insist ; tell firmly ; attest FR: confirmer ; affirmer ; assurer ; attester |
ยืนยันว่าจริง | [yeūnyan wā jing] (v, exp) FR: confirmer ; affirmer |
Longdo Approved EN-TH
cryptocurrency | (n) เงินตราเข้ารหัสลับ, คริปโทเคอร์เรนซี, สินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรม ซึ่งใช้วิทยาการเข้ารหัสลับสำหรับรับประกันความถูกต้องของธุรกรรมนั้น เพื่อควบคุมการสร้างหน่วยเงินดิจิทัลเพิ่ม และเพื่อยืนยันความถูกต้องของการโอนสินทรัพย์ เป็นเงินดิจิทัลรูปแบบหนึ่งที่ควบคุมโดยกระจายศูนย์กลางผ่านบล็อกเชน [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Hope Dictionary
affirm | (อะเฟิร์ม') vt. ยืนยัน, เห็นพ้อง, อนุมัติ, พิสูจน์เป็นความจริง, รับรอง, Syn. state, assert |
affirmant | (อะเฟอ' เมินทฺ) n. ผู้ที่ยืนยัน |
affirmation | (แอฟเฟอเม' เชิน) n. การยืนยัน, การรับรอง, Syn. assertion |
affirmative | (อะเฟอ' มาทิฟว) adj. ซึ่งยืนยัน. |
allegation | (แอลลิเก' เชิน) n. การกล่าวหา, การยืนยัน, การอ้าง, ข้อกล่าวหา, ข้ออ้าง, ข้อยืนยัน, กล่าวหา, Syn. accusation, assertion |
allege | (อะเลจฺ') vt. กล่าวหา, อ้าง, ยืนยัน, แถลง. -allegeable adj. -alleger n. |
alleged | (อะเลดจฺดฺ') adj. ซึ่งกล่าวหา, ซึ่งยืนยัน, น่าสงสัย, ซึ่งกล่าวถึง. -alledgedly adv., Syn. assert |
apodeictic | (แอพพะดิค'ทิค) adj. ไม่เป็นที่สงสัย, ยืนยันอย่างเด็ดขาด, ไม่สามารถโต้แย้งได้ (incontestable) |
approve | (อะพรูฟว') vt., vi. เห็นด้วย, ยืนยันด้วย, ให้สัตยาบัน, พอใจ. -approver n. |
assert | (อะเซิร์ทฺ') vt. ยืนยัน, ถือ (สิทธิ์) , อ้าง, แสดงสิทธิ์, วินิจฉัย, พิทักษ์, รักษา. -asserter, assertor n. -assertory adj. (declare) |
assertion | (อะเซิร์ท'เชิน) n. การกล่าวยืนยัน, การอ้าง, การถือสิทธิ์, การวินิจฉัย, การพิทักษ์, การรักษา, ข้อเสนอ, ข้อวินิจฉัย, Syn. statement |
assertive | (อะเซอ'ทิฟว) adj. ซึ่งยืนยัน, รุกราน, Syn. decided, positive, aggressive |
asseverate | (อะเซฟ'เวอเรท) vt. ยืนยัน, แถลงยืนยัน. -asseveration n., Syn. assert |
assure | (อะชัวร์') vt. ทำให้มั่นใจ, ทำให้แน่นอน, รับรอง, ประกัน, ยืนยัน, ให้กำลังใจ. |
attest | (อะเทสทฺ') vt., vi. เป็นพยาน, รับรอง, พิสูจน์, ให้การ, ยืนยัน, ทำให้สาบานหรือให้คำปฏิญาณ, เป็นเครื่องพิสูจน์. -attestant, attester, attestor, attestator n. |
aver | (อะเวอ') vt. ยืนยันด้วยความมั่นใจ, ยืนยันข้อเท็จจริง, Syn. attest, affirm, swear |
check sum | ผลรวมตรวจสอบหมายถึง ผลการคำนวณเพื่อยืนยันในความแม่นตรงของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางโมเด็ม ส่วนมากจะเป็น XModem โดยปกติ ในการส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะต้องจัดการแยกข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน ฉะนั้นเมื่อส่งเรียบร้อยแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบผลรวม ถ้าตรงกัน ก็แปลว่า ข้อมูลที่ส่งออกไปถูกต้องครบถ้วน |
circumstantiate | (เซอคัมสแทน'ชิเอท) vt. ยืนยัน, เสนอข้ออ้างอิงเพื่อยืนยัน, อธิบายอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุม, See also: circumstantiation n. ดูcircumstantiate |
confirm | (คันเฟิร์ม') { confirmed, confirming, confirms } vt. รับรอง, ทำใหแข็งแรงหรือแน่นแฟ้นขึ้น, ยืนยัน, ประกอบพิธีศีลมหาสนิทอีกครั้งให้แน่นแฟ้นขึ้น., See also: confirmer n. ดูconfirm confirmor n. ดูconfirm, Syn. prove, assure, Ant. de |
confirmand | (คอนเฟอแมนดฺ') n. ผู้ขอรับศีลมหาสนิท, ผู้ได้รับการยืนยัน |
confirmation | (คอนเฟอร์เม'เชิน) n. การยืนยัน, การรับรอง, พิธีศีลมหาสนิท |
confirmatory | (คันเฟอร์'มะโทรี) adj. ซึ่งยืนยัน, เกี่ยวกับพิธีศีลมหาสนิท, Syn. confirmative |
confirmed | (คันเฟิร์มดฺ') adj. ซึ่งได้รับการยืนยัน, ซึ่งไดรับการรับรอง, ฝังหัว, ติด (ยา), Syn. established, inveterate, Ant. unaccustomed, green |
contend | (คันเทนดฺ') { contended, contending, contends } vi. แข่งขัน, ต่อสู้ vt. ยืนยัน, โต้เถียง., See also: contendingly adv. ดูcontend |
corroborate | (คะรอบ'บะเรท) vi. ยืนยัน, ทำให้แน่ใจยิ่งขึ้น, ทำให้หนักแน่นขึ้น, See also: corroborative adj. ดูcorroborate corroboratory adj. ดูcorroborate corroborator n. ดูcorroborate, Syn. confirm, verify |
corroboration | (คะรอบบะเร'เชิน) n. การหาหลักฐานยืนยัน, การทำให้แน่ใจยิ่งขึ้น, ข้อเท็จจริงหรือคำพูดที่ยืนยันสนับสนุน, Syn. confirmation, proof |
definite | (เดฟ'ฟินิท) adj. แน่นอน, แน่ชัด, ชัดเจน, ยืนยัน เด็ดขาด, See also: definiteness n., Syn. fixed |
definitive | (เดฟฟิน'นิทิฟว) adj. ซึ่งน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจได้มากที่สุด, สมบูรณ์ที่สุด, เป็นการอธิบาย, เป็นการจำกัดความ, ตกลงแล้ว, กำหนดแล้ว, เป็นที่ยืนยัน, See also: definitiveness n. ดูdefinitive |
ill-founded | adj. ซึ่งมีหลักฐานอ่อน, ไม่ยืนยัน, ด้วยเหตุผล |
immovable | (อิมูฟ'วะเบิล) adj. เคลื่อนไม่ได้, หยุดนิ่ง, ไม่เปลี่ยนแปลง, ไร้อารมณ์, เมินเฉย, ไม่ยอมแพ้, ยืนยัน, เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์. n. สิ่งที่เคลื่อนไม่ได้., See also: immovables n. อสังหาริมทรัพย์. immovability, immovableness n. immovably adv. คำที่ม |
immoveable | (อิมูฟ'วะเบิล) adj. เคลื่อนไม่ได้, หยุดนิ่ง, ไม่เปลี่ยนแปลง, ไร้อารมณ์, เมินเฉย, ไม่ยอมแพ้, ยืนยัน, เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์. n. สิ่งที่เคลื่อนไม่ได้., See also: immovables n. อสังหาริมทรัพย์. immovability, immovableness n. immovably adv. คำที่ม |
indurate | (อิน'ดูเรท) vt. ทำให้แข็ง, ทำให้ด้าน, ทำให้ดื้อ, ทำให้ไร้ความรู้สึก, ทำให้คุ้นเคย, ยืนยัน. vi. กลายเป็นแข็ง, ยึดมั่น, Syn. harden |
insist | (อินซิสทฺ') vi., vt. ยืนยัน, ยืนกราน, ยืนหยัด, เรียกร้อง., See also: insister n. insistly adv., Syn. urge, maintain, assert |
insistence | (อินซิส'เทินซฺ) n. การยืนยัน, การยืนหยัด, Syn. assertion |
insistent | (อินซิส'เทินทฺ) adj. ยืนยัน, ยืนหยัด, ยืนกราน, หัวรั้น. |
loud | (เลาดฺ) adj., adv. ดัง, (เสียง) สูง, กึกก้อง, อึกทึก, ฉูดฉาด, บาดตา, ยืนยัน, เน้น, หยาบคาย, See also: loudly adv. ดูloud loudness n. ดูloud |
positive | (พอส'ซิทิฟว) adj. แน่นอน, แน่ใจ, เชื่อถือได้, ยืนยันได้, เด็ดขาด, มั่นใจ, มีประจุบวก, (การทดสอบ) ได้ผลบวกของพยาธิสภาพ, มีอยู่จริง, (รูปถ่าย) มีสีถูกต้อง. n. สิ่งที่เป็นบวก, สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบวก, ภาพที่มีสีถูกต้อง (ตรงกันข้ามกับภาพเป็นกาติฟว์) , ฐานะที่ชัดเจน, รูปแบบที่แน่นอน |
postulate | (พอส'ชะลิท) n. ขอร้อง, ยืนยัน, อ้าง, วางสมมุติฐาน, วางหลัก. n. สมมุติฐาน, หลัก, หลักฐาน, หลักการพื้นฐาน, เงื่อนไขที่ต้องมีก่อน., See also: postulation n. postulational adj., Syn. demand premise |
predicable | (เพรด'ดะคะเบิล) adj. ยืนยันได้ว่า, สรุปได้ว่า, วินิจฉัยได้ว่า. n. สิ่งที่ยืนยันได้, สิ่งที่วินิจฉัย, See also: predicability n. |
predicate | (เพรด'คะเคท) vt. ยืนยัน, วินิจฉัยสรุป, กล่าว. vi. ยืนยัน. adj. ซึ่งยืนยัน, ซึ่งสรุป., See also: predication n. predicative adj. |
predicate adjective | คุณศัพท์ยืนยันที่ใช้ตามหลังกริยาเช่น alive (He is alive) |
protest | (โพรเทสทฺ') vt., vi. คัดค้าน, ประท้วง, ประกาศยืนยัน, ยืนยัน, เสนอแย้ง, ปฏิเสธชำระ (บิล) n. (โพร'เทสทฺ) การคัดค้าน, การประท้วง, การปฏิเสธการชำระบิล, คำร้อง., See also: protester n. protestingly adv., Syn. objection |
protestation | (พรอท'ทิสเท'เชิน) n. การคัดค้าน, การประท้วง, การประกาศยืนยัน, การเสนอแย้ง |
rather | (รา'เธอะ) adv. ค่อนข้าง, ค่อนข้างจะ, ออกจะ, พอสมควร, อยาก, มากกว่า, ตรงกันข้าม, แน่นอนทีเดียว -interj. คำอุทานแสดงการยืนยัน |
ratification | (แรททิฟิเค'เชิน) n. การให้สัตยาบัน, การยืนยัน, การอนุมัติ, See also: ratificationist n., Syn. approval |
ratify | (แรท'ทิไฟ) vt. ให้สัตยาบัน, ยืนยัน, อนุมัติ, See also: ratifier n., Syn. corroborate, approve |
renewal | (รีนิว'เอิล) n. การเริ่มใหม่, การเปลี่ยนใหม่, การฟื้นฟู, การสร้างใหม่, การทำให้กลับสู่สภาพเดิม, การต่อสัญญาใหม่, การรับนิตยสารต่อ, การยืนยัน, การยืนยันคำมั่นสัญญา |
self-assertion | n. การยืนยันในความคิดของตัวเอง, การกระทำตามอำเภอใจ, ความอวดดี, ความเสือก., See also: self-asserting adj. . self-assertive adj., Syn. assertiveness |
substantiate | (ซับสแทน'ชิเอท) vt. พิสูจน์, ยืนยันด้วยหลักฐานพยาน, ทำให้มีลักษณะเป็นของจริง, ยืนยัน, ทำให้มีแก่นสาร. -substantiation n., See also: substantiative adj. substantiator n., Syn. confirm, affirm |
sure | (ชัวร์) adj., adv. แน่นอน, มั่นใจ, ยืนยัน, เชื่อมั่น, ไว้ใจได้, ไม่ต้องสงสัย, มั่นคง, ไม่เปลี่ยนแปลง, ไม่มีปัญหา, be sure ระวังตัว, for sure แน่นอน, มั่นใจ, , See also: sureness n. -Phr. make sure ให้แน่ใจ -Phr. sure enough แน่นอน มั่นใจ |
Nontri Dictionary
affirm | (vi, vt) รับว่าจริง, ยืนยัน, รับรอง, เห็นพ้อง |
affirmation | (n) การประกาศ, การยืนยัน, การรับรอง |
affirmative | (adj) ซึ่งยืนยัน, ซึ่งรับรอง |
affirmative | (n) การรับ, คำยืนยัน, คำรับรอง |
assert | (vt) ยืนยัน, ถือสิทธิ์, แสดงสิทธิ์, อ้างสิทธิ์ |
assertion | (n) การยืนยัน, การอ้างสิทธิ์, การถือสิทธิ์, การแสดงสิทธิ์ |
assertive | (adj) แน่วแน่, ซึ่งยืนยัน |
attest | (vi, vt) พิสูจน์, ให้การ, รับรอง, ยืนยัน, ให้คำปฏิญาณ, สาบาน, เป็นพยาน |
aver | (vt) ยืนยัน, รับรองว่าจริง |
claim | (vt) อ้างสิทธิ, เรียกร้องสิทธิ์, ยืนยัน |
confirm | (vt) ยืนยัน, รับรอง, ทำให้แน่นแฟ้นขึ้น |
confirmation | (n) การยืนยัน, การรับรอง, พยานหลักฐาน |
confirmed | (adj) ได้รับการยืนยันแล้ว, ผ่านการรับรองแล้ว |
contend | (vt, vi) ต่อสู้, ยืนยัน, โต้แย้ง, ชิงชัย, แข่งขัน |
corroborate | (vt) สนับสนุน, ทำให้แน่ใจ, ยืนยัน, ยืนกราน |
corroboration | (n) เครื่องสนับสนุน, การทำให้แน่ใจ, การยืนยัน, การยืนกราน |
definite | (adj) มีเขตจำกัด, แน่นอน, ชัดเจน, เด็ดขาด, ยืนยัน |
guarantee | (vt) รับประกัน, รับรอง, ค้ำประกัน, ยืนยัน, ให้คำมั่น |
have | (vt) มี, ได้, เป็น, รับประทาน, ดื่ม, กล่าว, ยืนยัน, ใช้ |
insist | (vi) คะยั้นคะยอ, ยืนยัน, รบเร้า, เรียกร้อง |
insistence | (n) การคะยั้นคะยอ, การยืนยัน, การรบเร้า, การเรียกร้อง |
plight | (vt) สัญญา, ให้คำมั่น, รับรอง, ยืนยัน, หมั้น |
postulate | (vt) สมมุติ, อ้าง, ยืนยัน, ขอร้อง, วางหลัก |
predicate | (vt) กล่าว, ยืนยันว่าเป็นจริง, วินิจฉัย, สรุป |
ratification | (n) การอนุมัติ, สัตยาบัน, การยืนยัน |
ratify | (vt) อนุมัติ, ให้สัตยาบัน, ยืนยัน |
substantiate | (vt) ยืนยัน, พิสูจน์ |
testify | (vi) เป็นพยาน, แสดงหลักฐาน, ให้การ, ยืนยัน, พิสูจน์ |
verification | (n) การตรวจสอบ, การพิสูจน์ความจริง, การยืนยัน |
vouch | (vi) รับประกัน, ยืนยัน, สนับสนุน, รับรอง |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
hard word | ยืนยัน |
Longdo Approved JP-TH
再確認 | [さいかくにん, saikakunin] (vt) ยืนยันอีกครั้ง |
確認 | [かくにん, kakunin] (vt) ยืนยัน |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
主張 | [しゅちょう, shuchou] การยืนกราน การยืนยันความคิดของตนเอง |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
がんばる | [がんばる, ganbaru] TH: ยืนยัน EN: to persist |
頑張る | [がんばる, ganbaru] TH: ยืนยัน EN: to insist on |
確認 | [かくにん, kakunin] TH: การตรวจสอบเพื่อยืนยันให้แน่ใจ EN: affirmation |
Longdo Approved DE-TH
bestehen | ยืนยัน, ยืนกราน | bestand, bestanden | |
beglaubigen | (vt) |beglaubigte, hat beglaubigt, etw.(A)| ให้การรับรอง, ยืนยัน, พิสูจน์ว่าจริง เช่น Die Kopie des Abschlusszeugnisses muß beglaubigt werden. สำเนาใบประกาศนียบัตรจบการศึกษาต้องได้รับการรับรอง |
Bestätigung | (n) |die, pl. Bestätigungen| ใบรับรอง, ใบยืนยัน |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0328 seconds, cache age: 12.032 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม