454 ผลลัพธ์ สำหรับ *ประกาศ*
ภาษา
หรือค้นหา: ประกาศ, -ประกาศ-Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
trade terms | [เทรด เทอมส] (n) "ข้อตกลงในการส่งมอบสินค้า" ยังไม่เจาะจงลงไปว่าเป็นแหล่งอ้างอิงจากชื่อใด เข่น AFTD: American Foreign Trade Definition หรือ RWO: Rules of Warsaw and Oxford หรือ GCDM: General Conditions for Delivery of Merchandise หรือ Combiterms หรือ Incoterms ซึ่งในแต่ละแหล่งอ้างอิงมี Terms ให้ใช้คล้ายกัน เช่น Ex Works, FOB หรือ CIF เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แหล่งอ้างอิงที่เสถียรในเรื่องค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการส่งมอบ คือแหล่ง Incoterms ทำให้หลายแหล่ง เช่น ล่าสุดทางอเมริกา ประกาศยกเลิก ธรรมนูญการค้าหรือ UCC บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งมอบสินค้าของตน ซึ่ง UCC นี้เองได้เป็นฐานในการกำหนดงเป็น AFTD ล่าสุดอเมริกาและแทบทั้งโลกมาขอใช้ร่วมกับ Incoterms ของ ICC International Chamber of Commerce, Paris, France นี้ เป็นมีการกำหนดจุดรับภาระที่แน่นอนกว่า |
Longdo Unapproved CN - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
发布 | [发 布] ประกาศ(คำสั่ง); แถลง(ข่าว) |
宣布 | [宣 布] ประกาศ; แถลงให้ทราบ |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ประกาศ | (n) notice, See also: notification, announcement, declaration, proclamation, Syn. ข้อมูล, ข่าวสาร, ข่าว, Example: รัฐบาลปิดประกาศให้ประชาชนไปเสียภาษี, Thai Definition: ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน |
ประกาศ | (v) announce, See also: proclaim, declare, promulgate, publish, state, Syn. แจ้ง, ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, ประชาสัมพันธ์, เผยแพร่, บอกกล่าว, พูด, แถลง, Example: รัฐบาลประกาศว่าจะเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนาม |
คำประกาศ | (n) announcement, See also: declaration, proclamation, manifesto, Example: ข้าพเจ้าอ่านคำประกาศกล่าวสดุดีหน่วยต่างๆ ที่ทำการรบในศึกคราวนี้, Count Unit: ฉบับ, Thai Definition: เนื้อความที่บอกให้รู้ทั่วกัน |
ประกาศิต | (n) command, See also: order, commandment, Syn. คำสั่งเด็ดขาด, คำพูดที่ศักดิ์สิทธิ์, Example: เขาขัดขืนประกาศิตพระผู้เป็นเจ้า |
ใบประกาศ | (n) poster, See also: handbill, notice, circular, Example: ใบประกาศรับสมัครงานติดอยู่หน้าบริษัท |
ใบประกาศ | (n) poster, See also: handbill, notice, circular, Example: ใบประกาศรับสมัครงานติดอยู่หน้าบริษัท |
ใบประกาศ | (n) poster, See also: handbill, notice, circular, Example: ใบประกาศรับสมัครงานติดอยู่หน้าบริษัท |
ติดประกาศ | (v) post a notice, Example: ทางมหาวิทยาลัยจะติดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบในวันพรุ่งนี้, Thai Definition: ติดป้ายบอกเรื่องราวให้ทราบทั่วกัน |
ที่ประกาศ | (n) board, See also: notice board, billboard, signboard, display panel, poster board, display panel, poster boa, Syn. ป้ายประกาศ |
ประกาศตัว | (v) declare oneself, See also: announce, proclaim, Example: กลุ่มผู้ประท้วงได้พยายามเคลื่อนไหวที่จะประกาศตัวจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นเพื่อต่อต้านรัฐบาล |
ประกาศรับ | (v) announce one is accepting application, See also: announce accepting application, Syn. รับสมัคร, ประกาศรับสมัคร, Example: หากบริษัทเรามีตำแหน่งว่าง เราจะประกาศรับทันที, Thai Definition: แจ้งให้ทราบถึงการรับสมัคร |
ประกาศใช้ | (v) promulgate, See also: declare, proclaim, Example: รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายในราชกิจจานุเบกษา |
ปิดประกาศ | (v) post a notice, See also: put up an announcement, placard, Example: ผู้ใช้บริการทุกคนสามารถส่งบทความมาปิดประกาศบนบอร์ดไฟฟ้านี้ได้, Thai Definition: นำแผ่นป้ายประกาศมาติดไว้เพื่อแจ้งให้ผู้คนทราบ |
ผู้ประกาศ | (n) announcer, See also: broadcaster, reporter, newsreader, Syn. ผู้ดำเนินรายการ, Example: ฤดีมาสสอบเป็นผู้ประกาศเมื่อหลายปีก่อน, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้อ่านข่าวทางโทรทัศน์หรือวิทยุ |
อัญประกาศ | (n) quotation marks, See also: double quotation marks, Syn. เครื่องหมายคำพูด, Thai Definition: เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ สำหรับเขียนคร่อมคำหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคำพูด หรือเพื่อเน้นความนั้นให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น |
อัญประกาศ | (n) quotation mark, Syn. เครื่องหมายคำพูด, Example: ประโยคนี้ต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศ, Count Unit: ตัว, คู่, Thai Definition: เครื่องหมายวรรคตอน สำหรับขีดคร่อมคำหรือข้อความเพื่อแสดงว่าเป็นคำพูด |
ป่าวประกาศ | (v) announce, See also: publicize, broadcast, proclaim, Syn. ประกาศ, ป่าว, Example: เรามีข้อมูลที่ค่อนข้างจะแจ้งว่าชัยชนะครั้งแรกที่พันธมิตรป่าวประกาศไปทั่วโลกนั้นห่างไกลจากความถูกต้อง, Thai Definition: บอกให้รู้ทั่วกัน |
ป้ายประกาศ | (n) sign board, See also: notice board, Example: ผมจะเป็นคนแรกที่เขียนป้ายประกาศให้นักศึกษารู้ว่าอาจารย์คนไหนไม่ควรเข้าเรียน, Count Unit: ป้าย, แผ่น, Thai Definition: แผ่นหนังสือมีแจ้งความไว้ให้คนดู |
หมายประกาศ | (n) notice, See also: announcement, notification, Syn. ประกาศ, Example: พระองค์โปรดให้มีหมายประกาศ ห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ในเวลาเฉลิมพระชนมพรรษา, Count Unit: ฉบับ |
เสียงประกาศ | (n) announcement, Example: งานวัดเลิกลาไปพร้อมกับเสียงประกาศชื่อผู้ใจบุญรายสุดท้ายทางไมโครโฟน, Thai Definition: เสียงป่าวร้องเพื่อแจ้งให้ทราบ |
ใบปิดประกาศ | (n) poster, Syn. โปสเตอร์, Example: ทั้ง 2 พรรคการเมืองหาเสียงร่วมกันโดยมีการทำใบปิดประกาศโฆษณาร่วมกัน, Count Unit: แผ่น, ใบ |
ประกาศสงคราม | (v) declare war, Syn. ทำสงคราม, Example: อังกฤษประกาศสงครามกับเยอรมนี |
ประกาศนียบัตร | (n) certificate, See also: diploma, testimonial, Syn. ใบสุทธิ, วุฒิบัตร, ใบรับรอง, Example: เขาเรียนจบระดับปวส. โดยมีประกาศนียบัตรรับรองความรู้, Thai Definition: เอกสารแสดงคุณวุฒิ ตามปกติต่ำกว่าระดับอุดมศึกษา |
ประกาศอิสรภาพ | (v) declare independence, Syn. ปลดปล่อย, Example: วันนี้เป็นวันที่ประเทศอเมริกาประกาศอิสรภาพจากประเทศอังกฤษ |
ผู้ประกาศข่าว | (n) announcer, See also: broadcaster, newscaster, newsreader, Syn. ผู้อ่านข่าว, ผู้รายงานข่าว, Example: การรายงานข่าวของสถานีนี้ใช้ผู้ประกาศข่าวถึง 5 คน ซึ่งถือว่าเกินความจำเป็น, Count Unit: คน, Thai Definition: บุคคลที่ทำหน้าที่อ่านหรือรายงานข่าวให้ผู้ฟังได้รับ ทราบ |
กิตติกรรมประกาศ | (n) acknowledgement, See also: repute, recognized virtues, Example: เขาเขียนกิตติกรรมประกาศในวิทยานิพนธ์เป็นอย่างดี, Thai Definition: ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่างๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์ |
อัญประกาศเดี่ยว | (n) single quotation marks, Thai Definition: เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ' ' |
อัญประกาศเดี่ยว | (n) single quotation mark, Count Unit: ตัว, คู่, Thai Definition: เครื่องหมายวรรคตอน ' ' ซ้อนอยู่ในข้อความที่มีเครื่องหมายอัญประกาศ |
ประกาศนียบัตรชั้นสูง | (n) diploma, Example: มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดรับสมัครนักศึกษารอบเพิ่มเติมประจำปีการศึกษา 2541 ในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง, Count Unit: ใบ, Thai Definition: เอกสารแสดงคุณวุฒิ ในระดับอุดมศึกษา |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
กิตติกรรมประกาศ | น. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. |
ประกาศ | ก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. |
ประกาศ | น. ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของบริษัท |
ประกาศ | ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือวางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศกระทรวง ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี. |
ประกาศก | (-กาสก) น. ผู้ประกาศ. |
ประกาศนียบัตร | (-กาสะนียะบัด, ปฺระกาดสะนียะบัด) น. เอกสารแสดงคุณวุฒิ ตามปรกติตํ่ากว่าระดับอุดมศึกษา. |
ประกาศิต | น. คำสั่งเด็ดขาด, คำพูดที่ศักดิ์สิทธิ์. |
ป่าวประกาศ | ก. ประกาศให้รู้ทั่วกัน. |
สัญประกาศ | (สันยะปฺระกาด) น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ – ใช้ขีดไว้ใต้คำหรือข้อความที่สำคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก. |
อัญประกาศ | (อันยะ-) น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ “ ” สำหรับเขียนคร่อมคำหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าข้อความนั้นเป็นคำพูด หรือเพื่อเน้นความนั้นให้เด่นชัดขึ้นเป็นต้น. |
อัญประกาศเดี่ยว | น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ‘ ’ สำหรับเขียนคร่อมคำหรือข้อความที่ซ้อนอยู่ภายในข้อความที่มีเครื่องหมายอัญประกาศอยู่แล้ว. |
กฎ | ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง |
กฎอัยการศึก | น. กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารลิดรอนสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ตามความจำเป็น ทั้งให้มีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกจะกระทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยจะให้มีผลบังคับทุกท้องที่หรือบางท้องที่ก็ได้ตามความจำเป็น. |
กตเวทิตา | (กะตะ-) น. ความเป็นผู้ประกาศคุณท่าน, ความเป็นผู้สนองคุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตัญญุตา. |
กตเวที | (กะตะ-) ว. ซึ่งประกาศคุณท่าน, ซึ่งสนองคุณท่าน, เป็นคำคู่กันกับ กตัญญู. [ ป. กต ว่า อันเขาทำแล้ว + เวที ว่า ซึ่งรู้, ซึ่งประกาศให้รู้ ]. |
กรรมวาจา | (กำมะ-) น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. |
กระจองงอง, กระจองงอง ๆ | ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย. |
กริยาวิเศษณ์วลี | น. ท่อนความที่มีคำกริยาวิเศษณ์ที่พ่วงบุรพบทเข้าขยายกริยา เช่น ม้าวิ่งไปข้างโน้น ความที่ขีดสัญประกาศนั้นเป็นกริยาวิเศษณ์วลี. |
ก้อง ๒ | ก. อ่อนน้อมเจริญพระราชไมตรี เช่น พระเจ้ากรุงไทยแต่งขุนนางไปก้องกรุงปักกิ่ง (ประกาศ ร. ๔). |
การยุบสภา | น.อำนาจของฝ่ายบริหารในการประกาศให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ การยุบสภาต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา. |
แกล้ง | ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์ (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
ขีดเส้นใต้ | น. ชื่อหนึ่งของเครื่องหมายสัญประกาศ. (ดู สัญประกาศ). |
เขตติดโรค | น. ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด. |
ครรภมล | (คับพะมน) น. รก. (ประกาศ ร. ๔), ราชาศัพท์ว่า พระครรภมล. |
คว่ำบาตร | ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น. |
คำเผดียงสงฆ์ | น. ญัตติ, คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน. |
โฆษก | (โคสก) น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ |
โฆษณา | ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า |
เงินตาย | น. เงินตราที่ทางราชการประกาศยกเลิก, เงินพดด้วงซึ่งทางราชการประกาศยกเลิกภายหลังที่มีการใช้เงินเหรียญและธนบัตร. |
ชทึง | (ชะ-) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง (ประกาศพระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. |
ญัตติ | น. คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน, คำเผดียงสงฆ์ ก็ว่า |
เดินเหิน | ก. วิ่งเต้นเพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น ผู้ใดรับสินบนเดินเหินช่วยแก้ไขให้คนเช่นนั้นได้ไปเป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมือง จะได้บาปกรรมมากนัก (ประกาศ ร. ๔) |
ตำบล | น. ท้องที่ที่รวมหมู่บ้านหลายหมู่บ้านประมาณยี่สิบหมู่บ้านเข้าด้วยกัน และมีประกาศจัดตั้งเป็นตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้าปกครอง. |
ติด ๑ | ผนึก เช่น ติดแสตมป์ ติดประกาศ ติดกาว |
ถ้อยแถลง | (-ถะแหฺลง) น. คำชี้แจง, คำประกาศ, คำอธิบายเป็นทางการ. |
ทอง ๑ | น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า, เรียกเต็มว่า ทองคำ, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่น ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า (สังข์ทอง ตอนตีคลี) |
โทธก | (-ทก) น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ บทหนึ่งมี ๔ บาท แต่ละบาทมี ๑๑ พยางค์ กำหนดด้วย ภะคณะ ภะคณะ ภะคณะ และครุ ๒ พยางค์ ตามลำดับเหมือนกันทุกบาท (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย (ชุมนุมตำรากลอน). |
เนติบัณฑิต | น. ผู้ได้รับประกาศนียบัตรทางวิชากฎหมายของโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม, ผู้สอบได้ตามหลักสูตรของสำนักศึกษาอบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา. |
บอกศาลา | ก. ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป. |
บังคับ | ทำให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์การใช้ภาษา เช่น บังคับให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศเมื่ออ้างถึงคำพูดของผู้อื่น ภาษาไทยไม่บังคับการใช้เครื่องหมายมหัพภาคเคร่งครัดนัก |
บิหลั่น | น. ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา. |
ใบแทรก | น. แผ่นกระดาษมีข้อความประกาศหรือโฆษณาเป็นต้นที่แทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์. |
ใบสัจ | น. เอกสารแสดงรายการสิ่งของที่ถูกปล้นเพื่อแจ้งแก่เจ้าหน้าที่, เอกสารบันทึกคำให้การของโจทก์และจำเลยซึ่งได้ความจริงทั้ง ๒ ฝ่ายแล้ว เช่น ถ้าแลส่งไปให้ปรับ ๆ มาว่าประการใดแล้วให้ยุกระบัตรพิจารณาดู ในใบสัจซึ่งปรับมาใส่ด้วยบทพระอายการ (สามดวง), บางทีเขียนเป็น ใบสัตย์ ก็มี เช่น หลวงญาณประกาศเทพราชธาดา พร้อมหน้านั่งฟังใบสัตย์อยู่ เชิญบทพระไอยการออกอ่านดู ผู้ปรับทั้งคู่อยู่พร้อมกัน (ขุนช้างขุนแผน). |
ประกิต | ก. แจ้งความ, ประกาศ, แสดง. |
ประโคมข่าว | ก. ป่าวประกาศให้ครึกโครม. |
ประจาน | ก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่วเมือง. |
ประชุม | ก. มารวมกันหรือเรียกให้มารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง, มาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือ, เช่น ประชุมกรรมการ, โดยปริยายใช้หมายถึงเอาสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันมารวมกัน เช่น ประชุมพงศาวดาร ประชุมปาฐกถา, บางทีใช้หมายความอย่างเดียวกับชุมนุม เช่น ประชุมพระบรมราชาธิบาย ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔. |
ประตูชัย | น. ประตูที่มีลักษณะเป็นซุ้ม อาจสร้างเป็นการถาวรหรือชั่วคราว สำหรับผู้ชนะสงครามจะเดินลอดในพิธีเพื่อประกาศชัยชนะ. |
ประมวลกฎหมาย | น. บทบัญญัติที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบและได้รับการประกาศให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
ปิด | ติด เช่น ปิดประกาศ ปิดทอง |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
posting | การประกาศ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
posting | การประกาศ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
proclamation | ประกาศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
proclamation | ประกาศ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
proclamation, royal | ประกาศพระบรมราชโองการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
proclamation, Royal | ประกาศพระบรมราชโองการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public notice | ประกาศ, แจ้งความ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
poster | ใบปิดประกาศ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
post | ประกาศ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
publication | ๑. การประกาศโฆษณา๒. สิ่งพิมพ์เผยแพร่ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
promulgation | การประกาศใช้กฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
promulgation | ๑. การออกประกาศ (ก. แพ่ง)๒. การประกาศใช้กฎหมาย (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
post | ประกาศ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
post | ๑. ปิดประกาศ๒. ไปรษณีย์๓. ตำแหน่ง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
publication of banns | การประกาศชื่อผู้จะสมรส [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
publicity | โฆษณาการ, การประกาศโฆษณา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
royal proclamation | ประกาศพระบรมราชโองการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Royal proclamation | ประกาศพระบรมราชโองการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
service by publication | การส่งหมายหรือคำคู่ความโดยวิธีประกาศในหนังสือพิมพ์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
self-announcement | การประกาศตนเข้าแข่งขัน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
outlawry | การประกาศให้เป็นคนนอกกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
order-in-council | พระบรมราชโองการ (ที่ประกาศโดยคำแนะนำของคณะองคมนตรีของอังกฤษ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
order-in-council | พระบรมราชโองการ (ที่ประกาศโดยคำแนะนำของคณะองคมนตรีของอังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
acknowledgement | ๑. การตอบรับ๒. กิตติกรรมประกาศ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
announcement service | การบริการประกาศ [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bonus declaration | การประกาศเงินปันผล [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
banns of marriage | การประกาศว่าชายหญิงจะสมรสกัน (ก. อังกฤษ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
manifesto | คำแถลงอุดมการณ์, คำประกาศเจตนา [ศิลปะ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
manifest | ๑. ประกาศเป็นทางการ (ก. ปกครอง)๒. คำแสดง (ก. ศุลกากร) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
manifesto | ๑. คำแถลงนโยบายทางการเมือง๒. คำประกาศต่อประชาชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
manifesto | คำประกาศเจตนา [วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕] |
certificate | หนังสือสำคัญ, ใบรับรอง, ประกาศนียบัตร [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
certificate | ๑. ประกาศนียบัตร๒. ใบสำคัญ (การจดทะเบียน) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
citation | ๑. หมายเรียกบุคคล (ของศาลหรือเจ้าพนักงาน) (ป. วิ. อาญา)๒. คำประกาศกิตติคุณ (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
certificate | ๑. ใบรับรอง๒. ประกาศนียบัตร๓. หนังสือสำคัญ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
diploma | ประกาศนียบัตรชั้นสูง [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
declaration | ๑. ปฏิญญา (ก. ปกครอง และ ก. ระหว่างประเทศ)๒. การประกาศ, การแสดง (ก. แพ่ง)๓. การสำแดง (ศุลกากร) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
declaration of bonus | การประกาศเงินปันผล มีความหมายเหมือนกับ bonus declaration [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
declaration of dividend | การประกาศจ่ายเงินปันผล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
Declaration of Independence | คำประกาศอิสรภาพ (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
declaration of trust | การประกาศของบุคคลว่าตนยึดถือทรัพย์สินไว้เพื่อประโยชน์ของคนอื่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
declaration of war | การประกาศสงคราม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
declaration of war | การประกาศสงคราม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
declaration statement; declarative statement | ข้อความ(สั่ง)ประกาศ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
declarative language | ภาษาเชิงประกาศ [ มีความหมายเหมือนกับ nonprocedural language ] [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
declarative statement; declaration statement | ข้อความ(สั่ง)ประกาศ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
declare | ประกาศ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
declaration | การประกาศ [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔] |
declaration | ๑. คำประกาศ, ปฏิญญา๒. การประกาศ, การแสดง๓. การสำแดง (ศุลกากร) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
gazette | ประกาศทางราชการ, กิจจานุเบกษา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Acknowledgement | กิตติกรรมประกาศ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Acknowledgement | กิตติกรรมประกาศ, ประกาศคุณูปการ, Example: คำที่ผู้เขียนกล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการเขียนหนังสือ บางครั้งอาจแห่ง อาจใช้เป็น กิตติกรรมประกาศ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Academic decoration of honor | เครื่องหมายประกาศเกียรติคุณของสถาบันการศึกษา [TU Subject Heading] |
Certification | ประกาศนียบัตร [TU Subject Heading] |
Decorations of honor | เครื่องหมายประกาศเกียรติคุณ [TU Subject Heading] |
Acknowledgement | ประกาศคุณูปการ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Phrachetiyavisakhabujanusornsakonlokprakadborvornbujawanvisakha | พระเจดีย์วิสาขบูชานุสรณ์สกลโลกประกาศบวรบูชาวันวิสาขะ [TU Subject Heading] |
Proclamation | ประกาศ [TU Subject Heading] |
Radio announcing | การประกาศทางวิทยุ [TU Subject Heading] |
Television announcing | การประกาศทางโทรทัศน์ [TU Subject Heading] |
Television news anchors | ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ [TU Subject Heading] |
Currency Revaluation | การประกาศเพิ่มค่าเงิน, Example: การประกาศเพิ่มค่าของเงินสกุลหนึ่ง เมื่อเทียบกับค่าเงินตราสกุลอื่นๆ การประกาศเพิ่มค่าเงิน มีความหมายในทางปฏิบัติเช่นเดียวกับการเพิ่มค่าของเงิน (ดู Currency Appreciation) แต่ส่วนที่แตกต่างกัน คือ กรณี "revaluation" จะใช้กับการเพิ่มค่าของเงินตราในระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยการประกาศลดค่าอย่างเป็นทางการ ในขณะที่ "appreciation" ใช้กับการเพิ่มค่าของเงินในระบบอัตราแลกเปลี่ยนอื่นๆ [สิ่งแวดล้อม] |
Devaluation, Currency | การประกาศลดค่าเงิน, Example: การประกาศลดค่าของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเทียบกับ ค่าเงินตราสกุลอื่นๆ การประกาศลดค่าเงิน มีความหมายในทางปฏิบัติเช่นเดียวกับการลดค่าของเงิน (ดู Currency Depreciation) แต่ส่วนที่แตกต่างกันคือ กรณีของ "Devaluation" จะใช้กับการลดค่าของเงินตราใน ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่โดยการประกาศลดลงอย่างเป็นทางการในขณะที่ "Depreciation" ใช้กับการลดค่าของเงินในระบบอัตราแลกเปลี่ยนอื่นๆ [สิ่งแวดล้อม] |
Accelerating Economic Recovery in Asia | โครงการเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจในเอเชีย (สำหรับประเทศไทย) เป็นโครงการที่สหรัฐอเมริกาได้ประกาศในระหว่างการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 6 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศในเอเชีย 3 ประเทศที่ประสบภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ คือ สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย และไทย [การทูต] |
Agreement for the Application of the Bolivarian Alternative for the Peoples of our America and the People’s Trade Agreements | ความตกลงอัลบา เกิดขึ้นจากแนวความคิดของประธานาธิบดี Hugo Cha'vez แห่งเวเนซุเอลาหลังประกาศถอนตัวจากการเป็นสมาชิกประชาคมแอนเดียนเพื่อแสดง ความไม่พอใจที่โคลัมเบียและเปรูจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ข้อตกลง ALBA จึงเป็นทางเลือกในการจัดทำความตกลงทางการค้าตามแนวสังคมนิยมแทนการจัดทำเขต การค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 3 ประเทศ ได้แก่ เวเนซุเอลา คิวบา และโบลิเวีย [การทูต] |
Communiqué | คำประกาศทางการหรือแถลงการณ์ทางการ ซึ่งรายงานให้ทราบผลของการประชุม หรือการเจรจาเป็นทางการระหว่างเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาล เช่น ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ เอกอัครราชทูต หรือบุคคลอื่นในระดับนั้น คำแถลงการณ์ที่เรียกว่า Communiqué นี้ไม่มีรูปแบบโดยเฉพาะแต่อย่างใด โดยปกติอะไรที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจาจะบรรจุไว้ด้วยถ้อยคำกว้างๆ ส่วนอะไรที่มิได้ระบุไว้ในแถลงการณ์มักจะมีความสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำที่เขียน ไว้เสียด้วย [การทูต] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] |
Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Drug-Free ASEAN | อาเซียนที่ปลอดจากยาเสพติด เป็นคำประกาศของอาเซียนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 31 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการตั้งเป้าหมาย ที่จะทำให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากยาเสพติดในปี พ.ศ. 2563 และต่อมา ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ได้ประกาศร่นกำหนดเวลาดังกล่าวให้เร็วขึ้น 5 ปี จากเดิมในปี พ.ศ. 2563 เป็นปี พ.ศ. 2558 [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Joint Declaration for a Socially Cohesive and Caring ASEAN | ปฏิญญาร่วมว่าด้วยสังคมที่เป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรในอาเซียน เป็นคำประกาศของอาเซียนซึ่งมีการลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้มีการดำเนินโครงการด้านโครงข่ายรองรับทาง สังคมในภูมิภาคนี้ร่วมกันอย่างจริงจัง ในอันที่จะเป็นการนำอาเซียนไปสู่การเป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้อ อาทรตามวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] |
moratorium | ประกาศพัก/ระงับชั่วคราว [การทูต] |
National Holiday | วันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
Open Diplomacy | คือการทูตแบบเปิดเผย อดีตประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลที่สนับสนุนและเผยแพร่วิธีการทูตแบบเปิดเผยอย่างเต็มที่ หวังจะให้ชุมชนนานาชาติพร้อมใจกันสนับสนุนการทูตนี้เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1918 วูดโรว์ วิลสัน ได้ประกาศให้โลกทราบนโยบายของท่าน 14 ข้อ ข้อหนึ่งในจำนวนนั้นท่านปรารถนาว่า ในอนาคตประเทศต่าง ๆ ควรจะทำความตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องสันติภาพอย่างเปิดเผย และต่อไปไม่ควรจะมีการเจรจาทำความตกลงระหว่างประเทศแบบลับเฉพาะอย่างใดทั้ง สิ้นแม้ว่าโดยทั่วไปจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายข้อแรกของ วูดโรว์ วิลสัน คือ ความตกลงหรือสนธิสัญญาใด ๆ เมื่อตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ให้ประกาศเปิดเผยให้โลกทราบ แต่สำหรับข้องสองคือการเจรจาในระหว่างทำสนธิสัญญาให้กระทำกันอย่างเปิดเผย นั้น ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าลำพังการเจรจานั้น โดยสารัตถะสำคัญแล้วควรจะถือเป็นความลับไว้ก่อนจนกว่าจะเสร็จการเจรจา ทั้งนี้ เซอร์เดวิด เคลลี่ อดีตนักการทูตอังกฤษเคยให้ทรรศนะว่า การทูตแบบเปิดเผยนั้นเป็นถ้อยคำที่ขัดกันในตัว คือหากกระทำกันอย่างเปิดเผยเสียแล้วก็ไม่ใช่การทูตเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาตรา 102 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติว่า ?1. สนธิสัญญาทุกฉบับ และความตกลงระหว่างประเทศทุกฉบับ ซึ่งสมาชิกใด ๆ แห่งสหประชาชาติได้เข้าเป็นภาคี ภายหลังที่กฎบัตรปัจจุบันได้ใช้บังคับ จักต้องจดทะเบียนไว้กับสำนักเลขาธิการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจักได้พิมพ์ขึ้นโดยสำนักงานนี้ 2. ภาคีแห่งสนธิสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่าใด ซึ่งมิได้จดทะเบียนไว้ตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งข้อนี้ ไม่อาจยกเอาสนธิสัญญาหรือความตกลงนั้น ๆ ขึ้นกล่าวอ้างต่อองค์กรใด ๆ ของสหประชาชาติ? [การทูต] |
Pacific Charter | คือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
Potsdam Proclamation | คือคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม ออกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 โดยหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ลงนามโดยประธานาธิบดีของรัฐบาลจีนคณะชาติ เป็นคำประกาศเมื่อตอนใกล้จะเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง โดยฝ่ายสัมพันธมิตรดังกล่าวกำลังทำสงครามขับเคี่ยวอยู่กับฝ่ายญี่ปุ่น พึงสังเกตว่า สหภาพโซเวียต ในตอนนั้นมิได้มีส่วนร่วมในการออกคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดมแต่อย่างใดโดยแท้จริงแล้ว คำประกาศนี้เท่ากับเป็นการยื่นคำขาดให้ฝ่ายญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกเอาว่าจะทำ การสู้รบต่อไป หรือจะยอมจำนนเพื่อยุติสงคราม คำประกาศได้เตือนอย่างหนักแน่นว่า หากญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะสู้รบต่อไป แสนยานุภาพอันมหาศาลของสัมพันธมิตรก็จะมุ่งหน้าโจมตีบดขยี้กองทัพและประเทศ ญี่ปุ่นให้แหลกลาญ แต่หากว่าญี่ปุ่นยอมโดยคำนึงถึงเหตุผล ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ตั้งเงื่อนไขไว้หลายข้อ สรุปแล้วก็คือ ลัทธิถืออำนาจทหารเป็นใหญ่จะต้องถูกกำจัดให้สูญสิ้นไปจากโลกอำนาจและอิทธิพล ของบรรดาผู้ที่ชักนำให้พลเมืองญี่ปุ่นหลงผิด โดยกระโจนเข้าสู่สงครามเพื่อครองโลกนั้น จะต้องถูกทำลายให้สิ้นซาก รวมทั้งพลังอำนาจในการก่อสงครามของญี่ปุ่นด้วยจุดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด จะต้องถูกยึดครองไว้จนกระทั่งได้ปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายของสัมพันธมิตรเป็นผล สำเร็จแล้ว อำนาจอธิปไตยของญี่ปุ่นให้จำกัดอยู่เฉพาะภายในเกาะฮอนซู ฮ็อกไกโด กิวชู ชิโกกุ และเกาะเล็กน้อยอื่น ๆ ตามที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะกำหนด อาชญากรสงครามทุกคนจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาล รวมทั้งที่ทำทารุณโหดร้ายต่อเชลยศึกของสัมพันธมิตร รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องกำจัดสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่เป็นอุปสรรคต่อการรื้อฟื้น และเสริมสร้างความเชื่อถือในหลักประชาธิปไตยในระหว่างพลเมืองญี่ปุ่น และจัดให้มีเสรีภาพในการพูด การนับถือศาสนา และในการแสดงความคิดเห็น ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการด้านอุตสาหกรรมที่จะเกื้อกูลต่อภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ และความสามารถที่จะชำระค่าปฏิกรรมสงคราม แต่จะไม่ยอมให้คงไว้ซึ่งกิจการอุตสาหกรรมชนิดที่จะช่วยให้ญี่ปุ่นสร้างสม อาวุธเพื่อทำสงครามขึ้นมาอีก ในทีสุด กำลังทหารสัมพันธมิตรจะถอนตัวออกจากประเทศญี่ปุ่นในทันทีที่จุดประสงค์ต่าง ๆ ได้บรรลุผลเรียบร้อยแล้ว ในตอนท้ายของเงื่อนไข สัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข เสียโดยไว [การทูต] |
Unfriendly Act | การกระทำที่ไม่เป็นมิตร กล่าวคือ เมื่อรัฐหนึ่งประกาศว่า จะถือว่าการปฏิบัติบางอย่างของอีกประเทศหนึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตร นั่นหมายความว่า เป็นการเตือนว่าการกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ [การทูต] |
Work of the United Nations for the Independence of Colonial Peoples | งานขององค์การสหประชาชาติ ในการช่วยให้ชาติอาณานิคมทั้งหลายได้รับความเป็นเอกราช นับตั้งแต่เริ่มตั้งองค์การสหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ.1945 เป็นต้นมา มีชนชาติของดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเอง รวมทั้งดินแดนในภาวะทรัสตีตามส่วนต่าง ๆ ของโลก ได้รับความเป็นเอกราชไปแล้วไม่น้อยกว่า 170 ล้านคน ดินแดนที่แต่ก่อนยังไม่มีฐานะปกครองตนเองราว 50 แห่งได้กลายฐานะเป็นรัฐเอกราช มีอธิปไตยไปแล้ว ขณะนี้ยังเหลือดินแดนที่ยังมิได้ปกครองตนเองอีกไม่มาก กำลังจะได้รับฐานะเป็นประเทศเอกราชต่อไปแม้ว่าปัจจัยสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ เกิดวิวัฒนาการอันมีความสำคคัญทางประวัติศาสตร์ จะได้แก่ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของประชาชนในดินแดนเมืองขึ้นทั้งหลาย แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้แสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนชนชาติ ที่ยังมิได้เป็นเอกราช และชาติที่ยังปกครองดินแดนเหล่านั้นอยู่ ให้รีบเร่งที่จะให้ชาชาติในดินแดนเหล่านั้นได้รับฐานะเป็นเอกราชโดยเร็วที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้การที่องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหน้าที่ดังกล่าวเพราะ ถือตามหลักแห่งความเชื่อศรัทธาที่ว่า มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิง และชาติทั้งหลายไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกัน และได้ยืนยันความตั้งใจอันแน่วแน่ของประเทศสมาชิกที่จะใช้กลไกระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้ชนชาติทั้งหลายในโลกได้ประสบความก้าวหน้าทั้งในทางเศรษฐกิจและ สังคมนอกจากนั้น เพื่อเร่งรัดให้ชนชาติที่ยังอยูใต้การปกครองแบบอาณานิคมได้ก้าวหน้าไปสู่ เอกราช สมัชชาของสหประชาชาติ (General Assembly of the United Nations) ก็ได้ออกปฏิญญา (Declaration) เกี่ยวกับการให้ความเป็นเอกราชแก่ประเทศและชนชาติอาณานิคม เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 ซึ่งในปฏิญญานั้น ได้ประกาศยืนยันความจำเป็นที่จะให้ลัทธิอาณานิคมไม่ว่าในรูปใด สิ้นสุดลงโดยเร็วและปราศจากเงื่อนไขใด ๆ สมัชชายังได้ประกาศด้วยว่า การที่บังคับชนชาติอื่นให้ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครอง แล้วเรียกร้องประโยชน์จากชนชาติเหล่านั้น ถือว่าเป็นการปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน เป็นการขัดกับกฎบัตรของสหประชาชาติ เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมสันติภาพและความร่วมมือของโลกสมัชชาสหประชาชาติ ยังได้ประกาศต่อไปว่า จะต้องมีการดำเนินการโดยด่วนที่สุด โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อสงวนใด ๆ ตามเจตนารมณ์ ซึ่งแสดงออกอย่างเสรี โดยไม่จำกัดความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ หลักความเชื่อถือ หรือผิว เพื่อให้ดินแดนทั้งหลายที่ยังไม่ได้มีการปกครองของตนเองเหล่านั้นได้รับความ เป็นเอกราชและอิสรภาพโดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1961 สมัชชาสหประชาชาติก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อตรวจดูและให้มีการปฏิบัติให้เป็นตามคำปฏิญญาของสหประชาชาติ และถึงสิ้นปี ค.ศ. 1962 คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกันหลายต่อหลายครั้งทั้งในและนอกสำนักงานใหญ่ ขององค์การสหประชาชาติ แล้วรวบรวมเรื่องราวหลักฐานจากบรรดาตัวแทนของพรรคการเมืองทั้งหลาย จากดินแดนที่ยังไม่ได้รับการปกครองตนเอง แล้วคณะกรรมการได้ตั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ โดยมุ่งจะเร่งรัดให้การปกครองอาณานิคมสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
wetlands | พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาจเป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร ซึ่งภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ประเทศต่าง ๆ สามารถที่จะกำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ ระหว่างประเทศ เช่น ประเทศไทยได้ประกาศให้บริเวณเขตพรุควนขี้เสียน และบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากนี้ พื้นที่ชุ่มน้ำบางแห่งอาจอยู่ตามพรมแดนระหว่างประเทศด้วย [การทูต] |
เชื้อเพลิง | เชื้อเพลิง, หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงสังเคราะห์ ฟืน ไม้ แกลบ กากอ้อย ขยะและสิ่งอื่น ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] |
ไอน้ำมันเชื้อเพลิง | ไอน้ำมันเชื้อเพลิง, ไอน้ำมันเบนซิน และให้หมายความรวมถึง ไอของน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด [พลังงาน] |
น้ำมันเชื้อเพลิง | น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] |
Declared dividend | เงินปันผลที่ประกาศจ่าย [การบัญชี] |
Acknowledgement | กิติกรรมประกาศ [การแพทย์] |
Certification | ประกาศนียบัตร, การสอบเพื่อตัดสินผล [การแพทย์] |
Declaration on Population | คำประกาศว่าด้วยประชากร [การแพทย์] |
Bulletin board | กระดานข่าว, กระดานข่าว, บอร์ดประกาศ, Example: Bulletin board หมายถึง กระดานข่าว กระดานข่าวมีไว้สำหรับติดประกาศข้อความต่าง ๆ เช่น เพื่อโฆษณารายการที่ต้องการหรือเพื่อประกาศหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ กระดานข่าวมักจะทำจากวัสดุเช่นไม้ก๊อกเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดประกาศข้อความเพิ่มเติมหรือเอาข้อความออกได้ง่าย ในปัจจุบันใช้กระดานข่าวแม่เหล็กแทนกระดานไม้ก๊อกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากไม่ต้องมีปัญหาเสื่อมสภาพจากการปักหมุดและการถอนหมุดตลอดเวลา ในห้องสมุดมักจะติดกระดานข่าวไว้กับผนังใกล้ประตูทางเข้าห้องสมุดเพื่อใช้แสดงประกาศเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กำลังจะมาถึง บนกระดานข่าวบางครั้งจะจัดแสดงใบหุ้มปกของหนังสือใหม่ หรือรายการหนังสือใหม่ของห้องสมุด บทวิจารณ์และข้อเสนอแนะจากผู้ใช้ห้องสมุด บางครั้งเป็นคำตอบจากผู้บริหารห้องสมุด และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของห้องสมุด กระดานข่าวอาจทำเป็นตู้ปิดล็อคหรือเปิดโล่งก็ได้ กระดานข่าวเป็นวิธีที่ง่ายและให้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มสีสันการประดับตกแต่งในห้องสมุด ทำให้ผนังของห้องสมุดสว่างขึ้นและให้ความรู้กับผู้ใช้เกี่ยวกับทรัพยากรห้องสมุด บรรณารักษ์สามารถใช้กระดานข่าวเพื่อดึงดูดใจลูกค้าห้องสมุดให้อ่านได้ตลอดทั้งปี [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
อัญประกาศ | [anyaprakāt] (n) EN: quotation marks FR: guillemets [ mpl ] |
อัญประกาศเดี่ยว | [anyaprakāt dīo] (n, exp) EN: single quotation marks ; ' ' |
ใบปิดประกาศ | [baipit prakāt] (n, exp) EN: poster FR: affiche [ f ] |
ใบประกาศ | [baiprakāt] (n) EN: poster ; handbill ; notice ; circular FR: affiche [ f ] |
บอร์ดประกาศ | [bøt prakāt] (n, exp) EN: bulletin board FR: tableau d'affichage [ m ] ; valves [ fpl ] (Belg.) |
การป่าวประกาศ | [kān pāoprakāt] (n) FR: annonciation [ f ] (vx) ; annoncement [ m ] (vx) |
การปิดประกาศ | [kān pit prakāt] (n, exp) FR: affichage [ m ] |
การประกาศ | [kān prakāt] (n) EN: announcement ; declaration ; stating FR: déclaration [ f ] ; annonce [ f ] ; proclamation [ f ] |
การประกาศใช้ | [kān prakāt chai] (n, exp) EN: promulgation FR: promulgation [ f ] |
การประกาศใช้กฎหมาย | [kān prakāt chai kotmāi] (n, exp) FR: promulgation d'une loi [ f ] |
การประกาศอิสรภาพ | [kān prakāt itsaraphāp] (n, exp) FR: proclamation d'indépendance [ f ] |
การประกาศจ่ายเงินปันผล | [kān prakāt jāi ngoen panphon] (n, exp) EN: declaration of a dividend |
การประกาศเจตจำนง | [kān prakāt jētjamnong] (n, exp) EN: declaration of intent FR: déclaration d'intention [ f ] |
การประกาศของเทพ | [Kān Prakāt Khøng Thēp] (n, prop) EN: Annunciation FR: Annonciation [ f ] |
การประกาศสงคราม | [kān prakāt songkhrām] (n, exp) EN: declaration of war FR: déclaration de guerre [ f ] |
คำประกาศิต | [khamprakāsit] (n) EN: command |
คำประกาศ | [khamprakāt] (n) EN: announcement ; declaration |
เครื่องหมายอัญประกาศ | [khreūangmāi anyaprakāt] (n, exp) EN: « “ “ » ; « » ; quotation marks ; double quotation marks FR: « “ “ » ; « » ; guillemets [ mpl ] |
เครื่องหมายสัญประกาศ | [khreūangmāi sanyaprakāt] (n, exp) EN: « _ » ; underscore FR: « _ » ; soulignement [ m ] |
หมายประกาศ | [māi prakāt] (n, exp) EN: announcement ; notice |
มีประกาศว่า... | [mī prakāt wa ...] (v, exp) EN: it has been announced that ... |
เงินปันผลที่ประกาศจ่าย | [ngoenpanphon thī prakāt jāi] (n, exp) EN: declared dividend |
ป้ายประกาศ | [pāi prakāt] (n, exp) EN: bilboard FR: panneau d'affichage [ m ] |
ป่าวประกาศ | [pāoprakāt] (v) EN: announce ; publicize ; broadcast ; proclaim FR: annoncer ; proclamer |
ป่าประกาศ | [pāprakāt] (v) EN: proclaim |
ผู้ป่าวประกาศ | [phū pāoprakāt] (n, exp) FR: annonciateur [ m ] ; annonciatrice [ f ] |
ผู้ปิดประกาศ | [phū pit prakāt] (n, exp) FR: afficheur [ m ] ; placardeur [ m ] (vx) |
ผู้ประกาศ | [phūprakāt] (n) EN: announcer ; broadcaster ; reporter ; newsreader ; speaker FR: annonceur [ m ] ; présentateur [ m ] |
ผู้ประกาศข่าว | [phūprakāt khāo] (n, exp) EN: newsreader ; newscaster |
ปิดประกาศ | [pit prakāt] (v, exp) EN: post a notice FR: placarder |
ประกาศิต | [prakāsit] (n) EN: command |
ประกาศ | [prakāt] (n) EN: announcement ; declaration ; proclamation ; notice ; notification FR: annonce [ f ] ; déclaration [ f ] ; proclamation [ f ] ; notification [ f ] |
ประกาศ | [prakāt] (v) EN: announce ; promulgate ; proclaim ; give notice ; declare ; publish ; notice ; post ; state ; make known ; advertise FR: annoncer ; proclamer ; déclarer ; faire savoir ; promulguer ; prononcer |
ประกาศใช้ | [prakāt chai] (v) EN: promulgate |
ประกาศอิสรภาพ | [prakāt itsaraphāp] (v, exp) EN: declare independence |
ประกาศจับ | [prakāt jap] (n, exp) EN: wanted poster |
ประกาศคำพิพากษา | [prakāt khamphiphāksā] (v, exp) EN: pronounce a judgement |
ประกาศโฆษณา | [prakāt khōtsanā = prakāt khōsanā] (n, exp) EN: advertising poster ; advertisement |
ประกาศลดราคา | [prakāt lot rākhā] (v, exp) EN: announce a price cut |
ประกาศรับ | [prakāt rap] (v, exp) EN: announce one is accepting application |
ประกาศรับรอง | [prakāt raprøng] (v, exp) EN: declare |
ประกาศรับสมัคร | [prakāt rap samak] (v, exp) EN: announce one is accepting application |
ประกาศนียบัตร | [prakātsanīyabat] (n) EN: diploma ; certificate FR: diplôme [ m ] ; certificat [ m ] ; brevet [ m ] |
ประกาศนียบัตรชั้นสูง | [prakātsanīyabat chan sūng] (n, exp) EN: diploma |
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ | [prakātsanīyabat wichāchīp] (n, exp) EN: vocational certificate |
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง | [prakātsanīyabat wichāchīp chan sūng] (n, exp) EN: high vocational Certificate |
ประกาศสงคราม | [prakāt songkhrām] (v, exp) EN: declare war FR: déclarer la guerre |
ประกาศเตือนภัย | [prakāt teūoen phai] (n, exp) FR: avis d'alerte [ m ] |
ประกาศต่อหน้าธารกำนัล | [prakāt tønā thārakamnan] (v, exp) EN: declare openly ; declare publicly ; proclaim in public FR: déclarer publiquement |
ประกาศตัว | [prakāt tūa] (v) EN: declare oneself |
Longdo Approved EN-TH
quotation mark | (n) อัญประกาศ หรือเครื่องหมายคำพูด (เครื่องหมายรูป |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
absolve | (vt) ประกาศว่าพ้นผิด, Syn. acquit, exonerate |
acquit | (vt) ประกาศว่าไม่มีความผิด, See also: ประกาศว่าพ้นผิด, Syn. exonerate, clear, absolve |
admission | (n) การประกาศยอมรับ, See also: การยอมรับ |
advertise | (vt) ลงประกาศ, See also: แจ้งความ, เสนอข่าว |
advertise | (vi) ลงประกาศ, See also: แจ้งความ, เสนอข่าว, Syn. proclaim, publicize, announce |
air | (vt) ประกาศ, See also: แสดง |
align | (vt) ประกาศสนับสนุน |
aline | (vt) ประกาศสนับสนุน |
anchor | (vt) เป็นผู้ประกาศข่าว |
anchor | (n) ผู้ประกาศข่าว, Syn. newscaster, commentator |
announce | (vt) ป่าวประกาศ, See also: ประกาศ, Syn. declare, proclaim |
announcement | (n) การประกาศ, See also: เสียงประกาศ, การป่าวประกาศ, Syn. declaration, notification, proclamation |
announcement | (n) คำประกาศ, Syn. statement, news |
announcer | (n) ผู้ประกาศ, See also: โฆษก, Syn. program announcer, broadcaster |
annulment | (n) การประกาศว่าเป็นโมฆะ, Syn. invalidation, nullification, cancellation |
annunciator | (n) ผู้ประกาศ, Syn. announcer |
absolve from | (phrv) ยกโทษให้, See also: ประกาศว่า บางคน ไม่มีความผิด |
absolve of | (phrv) ยกโทษให้, See also: ประกาศว่า บางคน ไม่มีความผิด |
acquit of | (phrv) ประกาศว่าไม่มีความผิด (ทางกฎหมาย) |
advertise for | (phrv) ประกาศรับ, See also: โฆษณา เพื่อรับสมัคร |
announce to | (phrv) ประกาศต่อ |
assign to | (phrv) ระบุว่าเป็นหรืออยู่ในช่วง, See also: ประกาศว่าเป็นของ |
billboard | (vt) ประกาศหรือโฆษณา |
bulletin | (n) แถลงการณ์, See also: ประกาศ, Syn. announcement |
book off | (phrv) ประท้วงไม่ทำงาน, See also: ประกาศไม่เข้าทำงาน |
bring down | (phrv) ประกาศหรือบอกให้รู้อย่างเป็นทางการ, Syn. hand down |
caller | (n) ผู้ประกาศ, Syn. announcer |
canonise | (vt) ประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นนักบุญ, Syn. canonize, saint, sanctify |
canonize | (vt) ประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นนักบุญ, Syn. canonise, saint, sanctify |
celebrate | (vt) ประกาศ, Syn. declare, proclaim |
certificate | (n) ประกาศนียบัตร, Syn. credential |
certificate | (vt) ให้หนังสือรับรอง, See also: ให้ประกาศนียบัตร |
certify | (vt) ประกาศว่าวิกลจริตตามกฎหมาย |
certify | (vt) ให้หนังสือรับรอง, See also: ให้ประกาศนียบัตร |
clarion | (vt) ประกาศอย่างดัง |
condemn | (vt) ประกาศว่าทำผิด, See also: กล่าวโทษ, Syn. convict |
crier | (n) ผู้ประกาศ, Syn. proclaimer |
call by2 | (phrv) เรียกชื่อ, See also: ประกาศชื่อ, ขานชื่อ, Syn. go by |
charge with | (phrv) ประกาศว่ามีความผิด |
close the door on | (idm) ประกาศว่าหมดหวังสำหรับ, Syn. shut on |
convict of | (phrv) ประกาศว่ามีความผิดฐาน, See also: มีความผิดในเรื่อง |
count out | (phrv) ประกาศว่าสมาชิกในการประชุมสภาไม่เพียงพอ (เพื่อปิดการประชุม) |
declaim against | (phrv) ประกาศโจมตีต่อสาธารณชน, Syn. declare for |
declare for | (phrv) ประกาศโจมตีต่อสาธารณชน, Syn. declaim against |
declare off | (phrv) ประกาศว่าจะไม่เกิดขึ้น, Syn. break off, declare on |
declare on | (phrv) ประกาศว่าจะไม่เกิดขึ้น, Syn. break off, declare on |
declare on | (phrv) ประกาศทำลาย (ด้วยทุกวิถีทาง), Syn. declare against, make on |
declare oneself | (phrv) แสดงตัวอย่างชัดเจน, See also: ประกาศอย่างชัดเจน |
declare to | (phrv) ประกาศต่อ |
drop a bombshell | (idm) ประกาศข่าวที่น่าตื่นตะลึง (คำไม่เป็นทางการ), See also: ทำให้แตกตื่น |
Hope Dictionary
advertise | (แอด' เวอไทซ, แอดเวอไทซ') vt., vi. แจ้งความ, โฆษณา, ประกาศ. |
advertize | (แอด' เวอไทซ, แอดเวอไทซ') vt., vi. แจ้งความ, โฆษณา, ประกาศ. |
announce | (อะเนาซฺ') vt., vi. ประกาศ, แจ้ง, แสดง, ทำให้รู้, ทำหน้าที่เป็นโฆษก, โฆษณา |
announcement | (อะเนาซฺ' เมินทฺ) n. การประกาศ, การแถลง, การทำให้รู้, การโฆษณา |
announcer | (อะเนา' เซอะ) n. ผู้ประกาศ, ผู้แถลง, ผู้โฆษณา, Syn. broadcaster |
annunciate | (อะนัน' ซีเอท) vt. แจ้งให้ทราบ, ประกาศ, ประกาศให้ทราบ -annunciable adj., Syn. tell, announce -annunciation n. |
annunciator | (อะนัน'ซีเอเทอะ) n. ผู้ประกาศ, เครื่องบอกสัญญาณ (signaling apparatus) |
attaint | (อะเทนทฺ') vt. ประกาศเพิกถอนสิทธิ, ทำให้เสื่อมเสีย (เกียรติ) , กล่าวหา -n. =attainder, ความเสื่อมเสีย (เกียรติ) (disgrace, taint) |
avow | (อะเวา') vt. ประกาศ, รับรอง, ยอมรับ, รับสารภาพ, ปฏิญาณ, สบถสาบาน. -avower n., Syn. testify, avouch, Ant. deny, hide |
avowal | (อะเวา'เอิล) n. การรับรองอย่างเปิดเผยการประกาศ, การยอมรับ (acknowledgment) |
ban | (แบน) { banned, banning, bans } vt., n. ห้าม, ประกาศห้าม, สั่งห้าม, ขับออกนอกศาสนา, ประณาม, สาปแช่ง |
banns | (แบนซ) n., pl. ประกาศล่วงหน้าที่แจ้งการแต่งงานที่จะมีขึ้น |
bans | (แบนซ) n., pl. ประกาศล่วงหน้าที่แจ้งการแต่งงานที่จะมีขึ้น |
bbs | (บีบีเอส) ย่อมาจาก bulletin board system หรือที่แปลว่า ระบบแผงข่าว เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น บีบีเอสของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) |
bid | (บิด) { bade/bid, bidden/bid, bidding, bids } vt., n. (การ) ออกคำสั่ง, สั่ง, กล่าว, บอก, ให้ราคา, ประมูลราคา, เชื้อเชิญ, ประกาศอย่างเปิดเผย, รับเป็นสมาชิก, ความพยายามเพื่อให้ได้มา vi. ออกคำสั่ง, กริยาช่อง 3 ของ bide, See also: bidder n. ดู bid -Conf. bade |
bill poster | n. ผู้ติดประกาศ, ผู้ติดโฆษณา, ผู้ติดใบปลิว, See also: billsticking n. |
bill sticker | n. ผู้ติดประกาศ, ผู้ติดโฆษณา, ผู้ติดใบปลิว, See also: billsticking n. |
billposter | n. คนที่ประกาศ, คนติดโฆษณา, คนติดใบปลิว, See also: billposting, billsticking n. |
billsticker | n. คนที่ประกาศ, คนติดโฆษณา, คนติดใบปลิว, See also: billposting, billsticking n. |
blazer | (เบล'เซอะ) n. สิ่งที่ลุกสว่างโชติช่วง, ผู้แพร่กระจาย, ผู้ประกาศ |
blazon | (เบล'เซิน) { blazoned, blazoning, blazons } n. ตรา, เครื่องหมาย ธง vt. ทำเครื่องหมาย, ทำตรา, แสดง, ประกาศ, เผยแพร่, โอ้อวด, See also: blazoner n. blazonment n. ดูblazon blazoning n. ดูblazon, Syn. proclaim |
bulletin | (บูล'ละทิน) n. แถลงการณ์, ประกาศ, รายงานข่าว, สิ่งตีพิมพ์ที่ออกมาเป็นระยะ |
bulletin board system | ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) |
canonise | (แคน'นะไนซ) { canonized, canonised, canonizeingcanonising, canonizes, canonises } vt. ประกาศให้เป็นนักบุญ (saint) , ยกย่องว่าประเสริฐ, ถือว่าศักดิ์สิทธิ์, ถือว่าถูกต้องแท้จริง, จัดอยู่ในบทหนังสือฉบับแท้ของพระคัมภีร์ไบเบิล., See also: canonisation n. ดูcanoniz |
canonize | (แคน'นะไนซ) { canonized, canonised, canonizeingcanonising, canonizes, canonises } vt. ประกาศให้เป็นนักบุญ (saint) , ยกย่องว่าประเสริฐ, ถือว่าศักดิ์สิทธิ์, ถือว่าถูกต้องแท้จริง, จัดอยู่ในบทหนังสือฉบับแท้ของพระคัมภีร์ไบเบิล., See also: canonisation n. ดูcanoniz |
ccp | (ซีซีพี) ย่อมาจาก Certificate in Computer Programming หมายถึงประกาศนียบัตรที่ให้แก่ผู้ที่สอบผ่านความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม การสอบนี้จะทำปีละ 1 ครั้งในประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฯ |
cedula | n. หลักฐานการเสียภาษีแล้ว, ประกาศนียบัตร |
celebrate | (เซล'ละเบรท) { celebrated, celebrating, celebrates } v. ฉลอง, ประกอบพิธี, เฉลิม, ประกาศ, สรรเสริญ, ยกย่อง, ทำพิธี, จัดงานเลี้ยงฉลอง, See also: celebrative adj. ดูcelebrate celebrator n. ดูcelebrate -Conf. celibate |
certificate | (เซอทิฟ'ฟะเคท) { certificated, certificating, certificates } n. หนังสือรับรอง, ประกาศนียบัตร, ใบรับรอง, ในสุทธิ, ใบสำคัญ, ข้อพิสูจน์ vt. รับรองด้วยหนังสือรับรอง, See also: certificatory adj. |
charter | (ชาร์'เทอะ) { chartered, chartering, charters } n. ตราตั้ง, กฎบัตร, กฎหมาย, สัญญาเช่าเรือ, สัญญาเช่า, สิทธิพิเศษ, สิทธิยกเว้น, หนังสือรับรอง, ประกาศนียบัตร -vt. อนุญาตด้วยตราตั้ง, ให้สิทธิพิเศษ. -adj. เช่ามา, เหมา, See also: charterer n. -Conf. chartered กริยาช |
cold war) | n. สงครามเย็น, สงครามที่ไม่ประกาศสงคราม |
confession | (คันเฟส'เชิน) n . การสารภาพ, การยอมรับ, การสารภาพความผิด, สิ่งที่ได้สารภาพ, การประกาศความเลื่อมใสและยอมรับการปฎิบัติตามความเชื่อทางศาสนา, สุสานนักบุญ, Syn. admission, confirmation |
credential | (คริเดิน'เชิล) n. หลักฐานอ้างอิง, หนังสือรับรอง, หนังสือแนะนำตัว, สาสน์ตราตั้งทูต, ประกาศนียบัตร. adj. ซึ่งเป็นหลักฐานอ้างอิง หรือรับรอง, See also: credentialed adj. |
crier | (ไคร'เออะ) n. ผู้ร้อง, คนร้องขาย, เจ้าหน้าที่ศาลที่เรียกขาน, เจ้าหน้าที่ประกาศ |
cry | (ไคร) { cried, crying, cries } vt., vi., n. (การ, เสียง) ร้อง, ร้องเรียก, ร้องขอ, แผดเสียงร้อง, ร้องไห้, หลั่งน้ำตา, การป่าวประกาศ, การเรียกพยานในศาล |
declaration | (เดคคละเร'เชิน) n. การประกาศ, See also: declarative ดิแคล'ระทิฟว adj., Syn. statement |
declare | (ดิแคลร์') v. ประกาศ, แถลงการณ์, แจ้ง (การชำระภาษี) , เรียก (ไพ่), See also: declarer n., Syn. avow |
decree | (ดีครี') n. คำสั่ง, คำบัญชา, คำพิพากษา, พระราชกฤษฎีกา, ประกาศิตของสวรรค์ v. สั่ง, บัญชา, พิพากษา, ประกาศใช้กฎหมาย |
denounce | (ดิเนาซฺ') vt. ประณาม, กล่าวโทษ, ติเตียน, ประกาศเลิก, บอกเลิก., See also: denouncement n. denouncer n., Syn. accuse |
denunciation | (ดินันซีเอ'เชิน) n. การประณาม, การติเตียน, การกล่าวโทษ, การเพิกถอน, การประกาศเพิกถอน, Syn. accusation |
diploma | (ดิโพล'มะ) n., อนุปริญญา, ประกาศนียบัตร, ในอนุญาต, หนังสือสำคัญ vt. ให้ diploma |
diplomate | (ดิพ'ละเมท) n. ผู้ได้รับประกาศนียบัตร, ผู้ได้รับอนุปริญญา |
divulge | (ดิวัลจฺ') vt. เปิดเผย, ประกาศ., See also: divulgement n. ดูdivulge divulger n. ดูdivulge |
divulgence | n. การเปิดเผย, การประกาศ, Syn. divulging |
edict | (เอด, 'ดิคทฺ) n. คำสั่ง, กฤษฎีกา, คำประกาศ, พระบรมราชโองการ., See also: edital adj. ดูedict, Syn. decree |
enact | (เอนแนคทฺ') { enacted, enacting, enacts } vt. ประกาศใช้เป็นกฎหมาย, ประกาศใช้, แสดงออก, บัญญัติ, See also: enactable adj. ดูenact enactive adj. ดูenact enactory adj. ดูenact enactor n. ดูenact, Syn. decree |
enunciate | (อินัน'ซิเอท) vt. อ่านออกเสียง, ออกเสียง, กล่าวอย่างชัดแจ้ง, ประกาศ, แถลง, สาธยาย., See also: enunciation n. ดูenunciate enunciative adj. ดูenunciate enunciatory adj. ดูenunciate enunciator n. ดูenunciate |
firman | (เฟอร์'เมิน) n. คำสั่ง, ประกาศิต, กฤษฎีกา, พระบรมราชโองการ , (-pl. firmans) |
herald | (เฮอ'เริลดฺ) n. ผู้ถือสาร, ผู้นำก่อน, สิ่งที่นำก่อน, ผู้ป่าวประกาศ. vt. ประกาศ, แถลง, แจ้งให้ทราบ, เป็นลาง, Syn. envoy |
intimate | อิน'ทะเมท) adj. คุ้นเคย, ใกล้ชิด, สนิทสนม, ละเอียด, ส่วนตัว, สนิทสนมในทางเพศ, ในสุด, ลึกซึ้ง, แก่นแท้. n. เพื่อนสนิท., See also: intimately adv. intimateness n. vt. แนะนำ, ชี้แนะ, แย้ม, บอกเป็นนัย, ประกาศ, แจ้ง. intimater n. intimation n. |
Nontri Dictionary
advertise | (vt) โฆษณา, ประกาศ, แจ้งความ |
advertisement | (n) การโฆษณา, การประกาศ, การแจ้งความ |
affirmation | (n) การประกาศ, การยืนยัน, การรับรอง |
announce | (vt) ประกาศ, แถลง, แจ้ง |
announcement | (n) การประกาศ, การแถลง, การแจ้ง |
announcer | (n) ผู้ประกาศ, ผู้แถลง |
annunciate | (vt) ประกาศ, แจ้ง |
annunciation | (n) การประกาศ, การแจ้ง |
annunciator | (n) ผู้ประกาศ, ผู้แจ้ง |
avow | (vt) รับสารภาพ, ประกาศ, รับรอง, สบถสาบาน, ปฏิญาณ |
ban | (n) การห้าม, การประกาศห้าม, การสั่งห้าม |
ban | (vt) ห้าม, สั่งห้าม, ประกาศห้าม |
bellman | (n) คนตีระฆัง, คนเดินประกาศข่าว, ยาม |
billboard | (n) บอร์ด, กระดานปิดประกาศ |
billsticker | (n) ผู้ติดประกาศ, ผู้ติดโฆษณา, ผู้ติดใบปลิว |
blaze | (vt) แพร่, กระจาย, เผยแพร่, แถลง, ประกาศ |
blazer | (n) เสื้อสามารถ, ผู้ประกาศ |
blazon | (vt) ประกาศ, ทำเครื่องหมาย, ประดับ, แสดง |
bulletin | (n) ประกาศ, แถลงการณ์ |
certificate | (n) ประกาศนียบัตร, ใบสุทธิ, ใบรับรอง, หนังสือรับรอง |
credentials | (n) ประกาศนียบัตร, ใบสุทธิ, หนังสือรับรอง, หลักฐานอ้างอิง, สาสน์ตราตั้ง |
crier | (n) คนป่าวประกาศ, ผู้ประกาศ |
declaration | (n) คำประกาศ, การประกาศ, การเปิดเผย, การแจ้ง, แถลงการณ์ |
declarative | (adj) ซึ่งบอกเล่า, ที่เปิดเผย, ที่ประกาศ, ที่อธิบาย |
declare | (vi, vt) ประกาศ, แถลง, เปิดเผย, บอกกล่าว, แจ้ง |
decree | (n) กฎ, พระราชกฤษฎีกา, คำสั่ง, คำบัญชา, ประกาศิต, คำพิพากษา |
decree | (vt) ประกาศพระราชกฤษฎีกา, สั่ง, บัญชา, พิพากษา |
diploma | (n) ปริญญาบัตร, ประกาศนียบัตร, อนุปริญญา, หนังสือสำคัญ |
divulge | (vt) เปิดเผย, บอก(ความลับ), ประกาศ |
edict | (n) คำสั่ง, คำประกาศ, คำประกาศิต, พระบรมราชโองการ, พระราชกฤษฎีกา |
enact | (vt) ประกาศเป็นกฎหมาย, แสดงบทบาท, ออกพระราชบัญญัติ |
enactment | (n) การประกาศเป็นกฎหมาย, พระบรมราชโองการ, พระราชบัญญัติ |
enunciate | (vi) เปล่งเสียง, แถลง, สาธยาย, ประกาศ |
enunciation | (n) การออกเสียง, การอ่านออกเสียง, การแถลง, การประกาศ, การสาธยาย |
harbinger | (vt) ประกาศ, นำทาง, เบิกทาง, ไปล่วงหน้า |
herald | (vt) แจ้งข่าว, ประกาศ, แถลง |
heraldic | (adj) เกี่ยวกับผู้สื่อข่าว, เป็นพิธีการ, เกี่ยวกับการประกาศ |
intimate | (vt) แนะ, บอก, แจ้ง, แสดง, ประกาศ |
intimation | (n) การแนะ, การบอก, การแจ้ง, การแสดง, การชี้แจง, การประกาศ |
launch | (vt) ปล่อยลงน้ำ, ปล่อย(จรวด), ส่งหมัด, ประกาศ, กล่าว, ยิง |
mandate | (n) คำสั่ง, อำนาจที่ได้รับมอบหมาย, อาณัติ, กฤษฎีกา, ประกาศิต |
mandate | (vt) ทำให้อยู่ในอาณัติ, มอบอำนาจ, ออกประกาศิต |
manifestation | (n) การปรากฏ, การประกาศ, การสำแดง, การเดินขบวน |
moratorium | (n) การเลื่อนการชำระหนี้, ประกาศพักชำระหนี้ |
noise | (vt) ส่งเสียง, ทำเสียงดัง, ประกาศลั่น |
notice | (vt) สังเกตเห็น, ประกาศ, ออกความเห็น, แจ้งล่วงหน้า, สนใจ |
notification | (n) การประกาศ, การเตือนล่วงหน้า, การแจ้งความ |
notify | (vt) เตือนล่วงหน้า, แจ้งความ, บอกให้ทราบ, ประกาศ |
outlaw | (vt) หนีกฎหมาย, ผิดกฎหมาย, นอกกฎหมาย, ห้าม, ประกาศ |
placard | (n) ใบปลิว, ใบประกาศ, ป้ายประกาศ |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Act of war | เหตุแห่งสงคราม คือการกระทำหรือเหตุการณ์ใดๆที่ทำให้อีกฝ่ายมีความชอบธรรมในการประกาศสงคราม, Syn. Casus belli |
alhambra decree | (n) พระราชประกาศอาลัมบรา เป็นพระราชประกาศที่ออกโดยสมเด็จพระราชินีนาถอิสซาเบลลาแห่งสเปน และสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอาราอน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1492 เพื่อขับไล่ชาวยิวออกจากสเปน (wikipedia.org), Syn. Edict of Expulsion |
Declaration of a State of Emergency | (n) ประกาศภาวะฉุกเฉิน |
declare war on | (vt, phrase) ประกาศสงครามกับ |
NOTAM | [no-tam] (Notice to Airmen) ประกาศนักบิน |
public service announcements | ประกาศโฆษณาในบริการสาธารณะ |
Longdo Approved JP-TH
伝道師 | [でんどうし, dendoushi] (n) นักประกาศ (ศาสนาคริสต์) |
名乗り | [なのり, nanori] (n) การประกาศตัว |
証明書 | [しょうめいしょ, shoumeisho] (n) ใบรับรอง ประกาศนียบัตร |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
予告 | [よこく, yokoku] (n, vi) (การ)ประกาศ หรือแจ้งเตือนล่วงหน้า, See also: R. 通知、警告 |
掲示 | [けいじ, keiji] (n) การติดประกาศ |
掲示板 | [けいじばん, keijiban] (n) กระดานข่าว, เว็บบอร์ด, บอร์ดติดประกาศ |
発布 | [はっぷ, happu] การประกาศใช้กฎหมาย |
立て札 | [たてふだ, tatefuda] (n) ป้ายประกาศ |
アナウンサー | [あなうんさー, anaunsa] (n) ผู้ประกาศ (ข่าว), โฆษก |
Saikam JP-TH-EN Dictionary
掲示板 | [けいじばん, keijiban] TH: ป้ายติดประกาศ EN: bulletin board |
お知らせ | [おしらせ, oshirase] TH: หมายประกาศ EN: Notification |
Longdo Approved DE-TH
Sprecher | (n) |der, pl. Sprecher| โฆษก, ผู้ประกาศ |
Zeugnis | (n) |das, pl. Zeugnisse| ประกาศนียบัตร |
Nachricht | (n) |die, pl. Nachrichten| คำประกาศ |
ankündigen | (vt) |kündigte an, hat angekündigt| ประกาศ, แจ้ง เช่น In Tschechien ist es üblich, daß man einen Besuch telefonisch ankündigt., See also: melden |
Ansage | (n) |die, pl. Ansagen| คำประกาศตามวิทยุ, โทรทัศน์, หรือตามงานต่างๆ |
ansagen | (n) |sagte an, hat angesagt| ประกาศตามวิทยุ, โทรทัศน์, หรือตามงานต่างๆ ว่ามีรายการอะไรถัดไป, Syn. ankündigen |
Plakat | (n) |das, pl. Plakate| ใบประกาศ, ป้ายโฆษณา, ป้ายประกาศ, โปสเตอร์ |
beglaubigen | (vt) |beglaubigte, hat beglaubigt, etw.(A)| ให้การรับรอง, ยืนยัน, พิสูจน์ว่าจริง เช่น Die Kopie des Abschlusszeugnisses muß beglaubigt werden. สำเนาใบประกาศนียบัตรจบการศึกษาต้องได้รับการรับรอง |
Fachoberschule | (n) |die, pl.Fachoberschulen| สถาบันวิชาชีพ, สถานศึกษาด้านอาชีพหรือโรงเรียนอาชีวะซึ่งเทียบเท่ากับโรงเรียนมัธยมปลาย จบไปได้ประกาศนียบัตรเป็น Fachhochschulreife |
angeblich | (adj, adv) เป็นที่ประกาศให้ทราบ, เป็นที่รู้กัน เช่น Er ist angeblich wieder mit seiner Ex-Freundin zusammen und will sie sogar heiraten. |
Bekanntgabe | (n) |die, nur Sg.| การประกาศอย่างเป็นทางการ เช่น Der Amtsinhaber trat nach Bekanntgabe der Wahlergebnisse im Fernsehen auf. |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0543 seconds, cache age: 31.307 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม