183 ผลลัพธ์ สำหรับ *ความสะดวก*
ภาษา
หรือค้นหา: ความสะดวก, -ความสะดวก-NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
ความสะดวก | (n) convenience, See also: facility, easiness, smoothness, expedience, Syn. ความสบาย, ความคล่อง, ความง่ายดาย, Ant. ความยากลำบาก, Example: ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการจัดรถเพื่อความสะดวกสำหรับผู้ที่จะเข้าไปเยี่ยมชมงาน |
อำนวยความสะดวก | (v) facilitate, See also: make something convenient, make something easy, Example: ปัจจุบันห้องสมุดได้จัดทำระบบบรรณานุกรมแห่งชาติด้วยคอมพิวเตอร์อำนวยความสะดวกแก่ผู้ยืมหนังสือและบรรณารักษ์ห้องสมุดมาก, Thai Definition: ให้ความสะดวก |
การอำนวยความสะดวก | (n) facility, See also: facilitation, accommodation, Syn. การบริการความสะดวก, การให้ความสะดวก |
สิ่งอำนวยความสะดวก | (n) facilities, Syn. เครื่องอำนวยความสะดวก |
เครื่องอำนวยความสะดวก | (n) facilities, Syn. อุปกรณ์อำนวยความสะดวก, Example: ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเป็นหนี้ที่เกิดจากการซื้อหาจับจ่ายเครื่องอำนวยความสะดวก |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
การจัดรูปที่ดิน | น. การดำเนินงานพัฒนาที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรมให้สมบูรณ์ทั่วถึงที่ดินทุกแปลงเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต โดยทำการรวบรวมที่ดินหลายแปลงในบริเวณเดียวกัน เพื่อวางผังจัดรูปที่ดินเสียใหม่และสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและพัฒนาที่ดินนั้น. |
ค่าน้ำร้อนน้ำชา | น. เงินสินบนที่จ่ายให้เจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการติดต่องานหรือขอรับบริการ. |
คู่มือ | น. สมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการรู้เพื่อใช้ประกอบตำรา เพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง. |
ชิงทรัพย์ | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำ ลักทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม. |
ได้เรือถีบแพ | ก. พบสิ่งที่ให้ความสะดวกได้มากกว่าเลยทิ้งของเก่าที่เคยใช้. |
ทางพิเศษ | น. ทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือพื้นนํ้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ. |
เทอร์โมมิเตอร์ | น. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ ทำด้วยหลอดแก้วบรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์หรือแก๊สเป็นต้น แล้วแต่ความมุ่งหมาย ความสะดวกที่จะนำไปใช้ และความละเอียดถูกต้องในการวัด, เทอร์มอมิเตอร์ ก็เรียก. |
บริการ | (บอริกาน) ก. ปฏิบัติรับใช้, ให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ร้านนี้บริการลูกค้าดี. |
บริการ | (บอริกาน) น. การปฏิบัติรับใช้, การให้ความสะดวกต่าง ๆ, เช่น ให้บริการ ใช้บริการ. |
บัตรธนาคาร | น. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารออกให้แก่ลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้า แต่ตามกฎหมายปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นที่มีอำนาจออกบัตรธนาคารได้ โดยกฎหมายให้ถือว่าบัตรธนาคารที่ธนาคารแห่งประเทศไทยออกเป็นธนบัตรและเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย. |
บารอมิเตอร์ | น. เครื่องมือที่ใช้วัดความกดอากาศ อาจประกอบด้วยปรอท หรือตลับโลหะสุญญากาศ แล้วแต่ความมุ่งหมายและความสะดวกที่จะนำไปใช้. |
ผังเมือง | น. แผนผัง นโยบาย และโครงการที่ใช้เป็นแนวทางในการสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมืองในด้านต่าง ๆ เช่น สุขลักษณะ ความสะดวกสบาย ความสวยงาม ความปลอดภัยของประชาชน. |
ผู้สนับสนุน | น. ผู้กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด ก่อนหรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม. |
มักง่าย | ก. มีนิสัยชอบเอาแต่ความสะดวกเข้าว่า. |
เมืองท่า | น. เมืองสำคัญที่ตั้งอยู่ริมทะเลหรือแม่น้ำซึ่งใช้เป็นที่ให้ความสะดวกต่าง ๆ ในการขนถ่ายสินค้าและผู้โดยสารขึ้นหรือลงเรือเดินทะเล. |
รถวิทยุ | น. รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารที่ติดตั้งวิทยุ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารหรือรายงานให้ศูนย์บัญชาการทราบเป็นระยะ ๆ. |
รับ | ก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร |
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค, ราชการส่วนภูมิภาค | น. การปกครอง ดูแล จัดการ และการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ที่แยกไปดำเนินงานในพื้นที่นอกเขตนครหลวง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในท้องที่ในฐานะตัวแทนของราชการบริหารส่วนกลาง โดยแบ่งเขตการดำเนินงานออกเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน. |
ลฆุภาพ | น. ความเบา, ความสะดวก, ความง่ายดาย. |
วางผังเมือง | ก. ควบคุมและกำหนดแนวทางในการพัฒนาเมืองและสภาพแวดล้อม โดยคำนึงถึงความสุข ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย ความประหยัด และความสวยงามของชุมชนเป็นส่วนรวม. |
ศูนย์การค้า | น. แหล่งรวมสินค้าเพื่อจำหน่าย มีร้านขายสินค้านานาชนิด มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่ผู้มาซื้อสินค้า เช่น ที่จอดรถ ร้านอาหาร. |
ส่วนหน้า | น. เรียกเขตที่มีการรบ ว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการที่แยกออกไปเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาในการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหารสูงสุด ว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. |
เหลา ๑ | ความสะดวกสบาย. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
preservation of amenity | การอนุรักษ์สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
loss of amenity | ความสูญสิ้นความสะดวกสบาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
amenity | ความสะดวกสบาย, ความรื่นรมย์ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
amenity, loss of | ความสูญสิ้นความสะดวกสบาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
amenity, preservation of | การอนุรักษ์สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
accommodation works | สิ่งก่อสร้างเพื่อให้ความสะดวก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
facilitation | การให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำผิดอาญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
facilities | สิ่งอำนวยความสะดวก [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
facility | สิ่งอำนวยความสะดวก [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
facility of payment | ความสะดวกในการจ่ายเงิน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Assistive technology | เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Assistive technology | เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Marketing facility | สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการตลาด [เศรษฐศาสตร์] |
Tourist facility | สิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว [เศรษฐศาสตร์] |
Trade facilitation | การอำนวยความสะดวกทางการค้า [เศรษฐศาสตร์] |
Transport facilitation | การอำนวยความสะดวกในการขนส่ง [เศรษฐศาสตร์] |
Assistive Technology | เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก, เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการหรือผู้สูงวัย หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ [Assistive Technology] |
Individualized Education plan | แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล, แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ (special needs) ของคนพิการแต่ละคน (ซึ่งไม่เหมือนกัน) ตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา [Assistive Technology] |
Screen Reader | โปรแกรมอ่านจอภาพ, ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่อ่านข้อความทั้งที่เป็นเนื้อหาและคำสั่งของโปรแกรม เพื่อแปลงเป็นคำอ่านที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนตาบอดใช้งานคอมพิวเตอร์ [Assistive Technology] |
APEC Business Travel Card | บัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจสมาชิกเอเปค (ที่เป็นสมาชิกโครงการ) สามารถเดินทางเข้า-ออกประเทศสมาชิกเอเปค (ที่เป็นสมาชิกโครงการ) ได้ มีกำหนดอายุ 3-5 ปี [การทูต] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
APEC Study Centers | ศูนย์ศึกษาเอเปค มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคในแต่ละประเทศสมาชิก 15 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคด้วยการ ศึกษา การพัฒนาฝีมือแรงงาน และอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างสมาชิกเอเปคในภูมิภาค ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาเอเปคได้มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก เช่น กิจกรรมการประเมินผลการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค เป็นต้น [การทูต] |
Departure of Diplomatic Agents | การออกไปจากรัฐผู้รับของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ข้อ 44 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติได้ว่า ?แม้ในกรณีการขัดกันด้วยอากร รัฐผู้รับต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้บุคคลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน นอกจากคนชาติของรัฐผู้รับและคนในครอบครัวของบุคคลเช่นว่านี้ โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลเหล่านั้น ออกไปในขณะที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยเฉพาะ รัฐผู้รับต้องจัดพาหนะเดินทางในการขนส่งสำหรับตัวบุคคลเหล่านั้น และทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นให้ด้วย? [การทูต] |
Diplomatic Privilege of Accommodation | มาตรา 21 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตบัญญัติไว้ว่า ?1. รัฐผู้ต้อนรับจะต้องอำนวยความสะดวกตามบทกฎหมายของประเทศของตน ในการจัดการให้ได้มาซึ่งดินแดนของตนให้แก่รัฐผู้ส่ง ซึ่งจำเป็นแก่การปฏิบัติภาระหน้าที่ของรัฐนั้น หรือช่วยเหลือให้รัฐผู้ส่งได้รับอาคารที่พำนักด้วยวิธีการหนึ่งใด 2. ในกรณีจำเป็น รัฐผู้รับจะต้องช่วยให้คณะเจ้าหน้าที่ทางการทูต ได้มีสถานที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม?เมื่อตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่ง ตั้งได้เดินทางไปถึงประเทศที่เขาจะเข้าดำรงตำแหน่ง ซึ่ง ณ ที่นั้นมีคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลของเขาประจำทำงานอยู่แล้ว ตามปกติตัวแทนทูตดังกล่าวจะมีสำนักงานทางการทูตตั้งอยู่แล้วในสถานที่เหมาะ สม มีอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยสำหรับการปฏิบัติงานโดยครบครัน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าเขาหรืออุปทูตชั่วคราวมักจะเตรียมการไว้ก่อน แล้วเกี่ยวกับที่พักอาศัย เรียกว่าทำเนียบ นอกจากว่าจะมีทำเนียบตั้งอยู่ภายในบริเวณตึกสถานเอกอัครราชทูตซึ่งรัฐบาลของ เขาเป็นเจ้าของเองแต่ถ้าหากตัวแทนทางการทูตที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งใหม่ จะต้องตั้งคณะผู้แทนทางการทูตในประเทศที่เขาเข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรก ก็จะต้องประสบกับปัญหาเรื่องหาสถานที่สำหรับใช้เป็นที่ตั้งสถานเอกอัคร ราชทูตขึ้น ในกรณีเช่นนี้จึงจำเป็นจะต้องอาศัยคำแนะนำและความช่วยเหลือจากกระทรวงการ ต่างประเทศของรัฐผู้รับ กระทรวงการต่างประเทศของบางประเทศจะมีแผนกหนึ่งทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่คณะทูตต่างประเทศโดยเฉพาะ เป็นแผนกหนึ่งในกรมพิธีการทูต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อยู่แล้ว [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
ASEAN Initiative on Electronic Commerce Cooperation | ความริเริ่มด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน " เป็นแผนงานหลักในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือด้านการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน ประกอบด้วย (1) การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม (2) การกำหนดนโยบายและกฎหมายที่อำนวยความสะดวกการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (3) การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าบริการและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยการ จัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (5) การ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ " [การทูต] |
facility agreement | ความตกลงเกี่ยวกับสถานที่ (รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ) [การทูต] |
flag of convenience | การใช้ธงเพื่อความสะดวก [การทูต] |
International Monetary Fund | กองทุนการเงินระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงิน อำนวยความสะดวก เพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตด้านการค้าระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราที่มั่นคงและเป็นระเบียบ การกำจัดข้อจำกัดด้านการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และช่วยเหลือประเทศสมาชิกโดยการจัดหาทรัพยากรด้านการเงินเป็นการชั่วคราว เพื่อแก้ไขปัญหาด้านดุลการชำระเงิน [การทูต] |
International Force in East Timor | กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 มีภารกิจหลัก 3 ประการ คือ ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออก ป้องกันและสนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กองกำลังนานาชาติปฏิบัติหน้าที่ในติมอร์ตะวันออกจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
Joint Commission | คณะกรรมาธิการร่วม " เป็นกลไกความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก JC มีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม และสังคม โดยแต่ละฝ่ายจะสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งอาจมีขึ้นปีละครั้งหรือ 2-3 ปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของทั้งสองฝ่าย JC อาจมีกลไกย่อยหรือคณะกรรมการภายใต้ JC เพื่อกำกับดูแลเฉพาะเรื่องหรือมีคณะกรรมการในระดับส่วน ภูมิภาค เช่น ไทยกับมาเลเซียมีคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) มีบทบาทในการดูแลความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงบริเวณชายแดน และมีคณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Land Boundary Committee - LBC) เพื่อดูแลการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee - JTC) ระหว่างไทยกับบางประเทศ เป็นกลไกเพื่อส่งเสริมการค้าและขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน " [การทูต] |
Special and Differential Treatment (S and D) | การประติบัติแบบพิเศษและแตกต่าง " ในความตกลงต่าง ๆ ของ WTO จะมีข้อบทเกี่ยวกับการให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่สมาชิกที่เป็น ประเทศกำลังพัฒนา ข้อบท ดังกล่าวอาจแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (1) ข้อบทที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องดำเนินมาตรการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทางการค้าแก่ประเทศเหล่านี้ (2) ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามพันธะกรณีในความตกลงต่าง ๆ อาทิ ระยะเวลาปรับตัวที่นานกว่าหรือระดับการเปิดตลาดที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (3) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ประเทศเหล่านี้ " [การทูต] |
Trade Facilitation Action Plan | แผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างเอเชีย-ยุโรป " มีการจัดลำดับความสำคัญไว้หลายสาขา เช่น ทางด้าน ทรัพย์สินทางปัญญา E-commerce การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล กระบวนการทางด้านศุลกากร ฯลฯ " [การทูต] |
visit | การเยือน " - State Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในระดับประมุขของรัฐ หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญของต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ ที่มีสถานะเป็นกษัตริย์หรือประธานาธิบดี โดยเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐผู้รับ รัฐผู้รับจะจัดพิธีการต้อนรับอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Official Visit การเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ รัฐบาล หมายถึง การเยือนเป็นทางการของประมุขของรัฐ มกุฎราชกุมาร หัวหน้ารัฐบาล หรือหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่ง เทียบเท่า โดยเป็นแขกรับเชิญของรัฐบาล และจัดพิธีการรับรองต่าง ๆ อย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบ - Visit as Guest of the Royal Thai Government การเยือนในฐานะแขกของรัฐบาล หมายถึง การเยือนของประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้า องค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งไม่ได้เดินทางมาเยือนอย่าง เป็นทางการหรือเพื่อเจรจาทำงาน รวมทั้งการเสด็จฯ เยือนของพระราชวงศ์ รองประธานาธิบดีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ซึ่งรัฐบาลไทยปรารถนาที่จะแสดงไมตรีจิตโดยเชิญให้มาเยือนประเทศไทยในฐานะแขก ของรัฐบาล และจัดการต้อนรับให้ เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเยือนในแต่ละกรณี - Working Visit การเยือนเพื่อเจรจาทำงาน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และหัวหน้าองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่าที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เจรจาในปัญหาหรือประเด็นใดเป็นการเฉพาะในระยะเวลาอันสั้น - Visit as Guest of Their Majesties the King and Queen of Thailand การเยือนในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ หมายถึง การเสด็จเยือนของพระราชวงศ์ต่างประเทศ หรือการเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ ในฐานะพระราชอาคันตุกะส่วน พระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - Private Visit การเยือนส่วนตัวหรือแวะผ่าน หมายถึง การเยือนของบุคคลสำคัญจากต่างประเทศในระดับประมุขของรัฐ พระราชวงศ์ หัวหน้ารัฐบาล หรือผู้นำองค์การระหว่างประเทศที่มีตำแหน่งเทียบเท่า และบุคคลสำคัญอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเยือนเป็นการส่วนตัวหรือการแวะผ่านประเทศในระยะเวลา อันสั้น รัฐผู้รับจะจัดการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ตามความเหมาะสม " [การทูต] |
Masterbatch | ของผสมระหว่างยางและสารเคมีต่างๆ ที่รู้ปริมาณที่แน่นอนผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการเตรียมการผสมขั้นตอนสุดท้ายในการผลิตเป็น ผลิตภัณฑ์ มาสเตอร์แบทซ์อาจจะใช้เพื่อความสะดวกในการผลิตหรือเพื่อเพิ่มสมบัติของ ผลิตภัณฑ์หรือทั้งสองอย่าง เช่น ใช้ในกรณีที่สารเคมีกระจายในยางได้ไม่ดี หรือในกรณีที่มีการใช้สารเคมีนั้นน้อยมาก อาจจะก่อให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย ถ้าสารเคมีฟุ้งกระจายหายไป [เทคโนโลยียาง] |
Powdered rubber | ยางผงเป็นยางธรรมชาติที่ผลิตขึ้นให้อยู่ในรูปผง สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง จุดประสงค์เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง [เทคโนโลยียาง] |
Assistive technology | เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก, Example: เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้พ้นจากอุปสรรคที่ทำให้คนพิการีสมรรถนะ ที่ด้อยกว่าคนปกติ ทั้งในด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน การศึกษาและการประกอบอาชีพ [เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ] |
Convenience | ความสะดวก [การแพทย์] |
Facilities | ความสะดวก, ความสามารถ, เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ, อุปกรณ์และเครื่องมือ [การแพทย์] |
Convenience | การอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ [การจัดการความรู้] |
machine | เครื่องกล, เครื่องจักร, อุปกรณ์ที่ให้ความสะดวก หรือช่วยผ่อนแรงในการทำงาน เช่น รอก แม่แรง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
single fixed pulley | รอกเดี่ยวอยู่กับที่, รอกที่แขวนตายตัวตรึงอยู่กับที่ ไม่ช่วยผ่อนแรงแต่อำนวยความสะดวก เช่น รอกที่ปลายเสาธง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
space laboratory | ห้องปฏิบัติการอวกาศ, ยานอวกาศซึ่งมีอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกที่มนุษย์ส่งออกไปโคจรอยู่รอบโลกเพื่อทำการศึกษาวิจัยเรื่องต่าง ๆ ในอวกาศ เช่น ยานสกายแลบของสหรัฐอเมริกา ยานโซลยุตของสหภาพโซเวียต เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chat room | ห้องคุย, การสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อที่สนใจ ซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจสื่อสารในรูปข้อความ การแบ่งปัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
simple machine | เครื่องกลอย่างง่าย, เครื่องกลที่ให้ความสะดวกหรือช่วยผ่อนแรงในการทำงาน เช่น คาน รอก ล้อกับเพลา พื้นเอียง ลิ่ม เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Medical Facilities | การอำนวยความสะดวกในการรักษาพยาบาล [การแพทย์] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
อำนวยความสะดวก | [amnūay khwām sadūak] (v, exp) EN: facilitate ; make something convenient ; make something easy FR: faciliter ; rendre aisé |
อำนวยความสะดวกทางการค้า | [amnūay khwām sadūak thāng kānkhā] (v, exp) EN: facilitate trade |
การอำนวยความสะดวก | [kān amnūay khwām sadūak] (n, exp) EN: facilitation FR: facilitation [ f ] |
การอำนวยความสะดวกทางการค้า | [kān amnūay khwām sadūak thāng kānkhā] (n, exp) EN: trade facilitation ; trade concessions FR: facilitation du commerce [ f ] |
การบริการความสะดวก | [kān børikān khwām sadūak] (n, exp) EN: facility |
เครื่องอำนวยความสะดวก | [khreūang amnūay khwām sadūak] (n, exp) EN: facilities ; amenities |
ความสะดวก | [khwām sadūak] (n) EN: convenience ; facility ; accommodation FR: commodité [ f ] ; convenance [ f ] ; facilité [ f ] |
สิ่งอำนวยความสะดวก | [sing amnūay khwām sadūak] (n, prop) EN: facilities |
Longdo Approved EN-TH
[อิน'สตาแกรม] (n) โปรแกรมฟิลเต้อร์และลูกเล่นในตัวกล้องถ่ายรูปเพื่อการตบแต่งภาพถ่ายอิเล็กทรอนิกส์ให้โทนสีแปลกไปตามต้องการ พร้อมช่วยให้เกิดความสะดวกแก่การเชื่อมต่อไปยัง Social Media ต่างๆ เช่น Facebook และ Twitter เป็นต้น |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
Hope Dictionary
accessories | โปรแกรมประกอบหมายถึงโปรแกรมต่าง ๆ ที่โปรแกรมระบบเตรียมให้มาไว้ใช้เป็นโปรแกรมประกอบ หรือโปรแกรมที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน เช่น โปรแกรมประกอบของโปรแกรม ระบบวินโดว์ 95 หรือ 98 จะมีโปรแกรม NotePad, Paint, WordPad , Multimedia, Calculator เป็นต้น |
accommodation | (อะคอมโมเด' เชิน) n. การปรับตัว, การต้อนรับ, การปรองดอง, สิงที่อำนวยความต้องการหรือความสะดวก. -accommodations n. ที่พัก, อาหารและที่พัก, ที่นั่งที่นอนบนรถไฟ, เงินยืม, ความพร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น, Syn. adaptation, convenie |
convenience | (คันเวน'เยินซฺ) n. ความสะดวก, ความเหมาะสม, เครื่องอำนวยความสะดวก, สถานการณ์หรือเวลาที่เหมาะสม, ห้องสุขา |
da | 1. abbr. dopamine 2. (ดีเอ) ย่อมาจาก desk accessory (แปลว่า เครื่องใช้อำนวยความสะดวก) มีอยู่ในเครื่องแมคอินทอช หมายถึง โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ เช่น เครื่องคิดเลข สมุดโน้ต นาฬิกา โปรแกรมเหล่านี้สามารถเรียกมาใช้ได้ แม้ในขณะที่ทำโปรแกรมอื่นอยู่ ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์ ก็มีกลุ่มโปรแกรมที่ชื่อ Accessories ซึ่งมีโปรแกรมอรรถประโยชน์ในลักษณะคล้าย ๆ กัน เช่น มีเครื่องคิดเลข นาฬิกา สมุดโน้ต ปฎิทิน มีโปรแกรมที่จำเป็น เช่น ประมวลผลคำ (word processing) และ โปรแกรมวาดภาพ ฯลฯ |
data type | ลักษณะข้อมูลหมายถึง การกำหนดข้อมูลที่จะใช้ให้มีลักษณะเป็นตัวเลข ตัวอักษร เลขจำนวนเต็ม หรือเลขทศนิยม เพื่อความสะดวกในการประมวลผล |
desk accessory | เครื่องใช้อำนวยความสะดวกใช้ตัวย่อว่า DA (อ่านว่า ดีเอ) หมายถึง โปรแกรมพิเศษประเภทโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ ที่อำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้ได้ตลอดเวลา แม้ในขณะที่ใช้โปรแกรมอื่นอยู่ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา ฯ (ดู DA) |
ease | (อีซ) n. ความสะดวก, ความสบาย, ความง่าย, ความไร้กังวล, ความแคล่วคล่อง, ความง่ายดาย. vt., vi. พักผ่อน, ทำให้สบาย, ทำให้จิตสงบ, ทำให้ไร้กังวล, บรรเทา, ลดหย่อน, ทำให้สะดวก, ผ่อน, ปล่อย, บรรเทา, เคลื่อนอย่างแคล่วคล่อง, Syn. comfort |
expedential | (อิคซฺพิเดน'เชิล) adj. เกี่ยวกับความสะดวก, เกี่ยวกับแผนฉุกเฉิน, ง่าย |
expedience | (อิคซฺพี'เดินซี, -พี'เดินซฺ) n. ความสะดวก, ความเหมาะสม, ความได้เปรียบ, ความง่าย, แผนฉุกเฉิน, แผนเฉพาะกาล, Syn. aptness |
expediency | (อิคซฺพี'เดินซี, -พี'เดินซฺ) n. ความสะดวก, ความเหมาะสม, ความได้เปรียบ, ความง่าย, แผนฉุกเฉิน, แผนเฉพาะกาล, Syn. aptness |
facility | (ฟะซิล'ลิที) n. ความสะดวก, ความง่าย, ความคล่องแคล่ว, สิ่งอำนวยความสะดวก, กิริยาที่ละมุนละไม, Syn. dexterity, skill |
graphical user interface | การใช้ภาพเป็นตัวประสานกับผู้ใช้ใช้ตัวย่อว่า GUI (อ่านว่ากุย) เป็นวิธีการให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ให้ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางภาพ เช่น ใช้เมาส์กดเลือกสัญรูป (icon) แทนการพิมพ์คำสั่งดังแต่ก่อน หรือการเลือกคำสั่งตามรายการเลือกที่เรียกว่า ระบบเมนู |
gui | (จียูไอ, กุย) ย่อมาจาก graphical user interface (แปลว่า การใช้ภาพเป็นตัวประสานกับผู้ใช้) เป็นวิธีการให้ความสะดวกแก่ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ให้ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางภาพ เช่น ใช้เมาส์กดเลือกสัญรูป (icon) แทนการพิมพ์คำสั่งดังแต่ก่อน หรือการเลือกคำสั่งตามรายการเลือกที่เรียกว่า ระบบเมนู |
internet | (อินเทอร์เน็ต) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น ไทยมี Chulanet, KSC , Infonews เป็นต้น) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล |
numeric keypad | แผงแป้นตัวเลขหมายถึง กลุ่มแป้นพิมพ์ที่มีตัวเลข และเครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณ จัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เรียงกันแบบเดียวกับเครื่องคิดเลข มักอยู่ทางด้านริมขวาของแผงแป้นอักขระ (keyboard) เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ ถ้าจะพิมพ์เฉพาะตัวเลข มีราว ๆ 10 - 20 แป้น การใช้แป้นใน กลุ่มนี้พิมพ์ตัวเลข จะต้องกดแป้น Num Lock ก่อน (ดู Num Lock) มิฉะนั้นจะใช้เป็นเหมือนแป้นลูกศร หรือพิมพ์ไม่ติดเลย หรืออาจเป็นสัญลักษณ์สั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำคำสั่งอื่น ๆ แทน |
system folder | โฟลเดอร์ระบบหมายถึง โฟลเดอร์ในเครื่องแมคอินทอช ที่บรรจุแฟ้มระบบทั้งหมดเอาไว้ เพื่อใช้ในการเริ่มเครื่องใหม่ (boot) รวมทั้งโปรแกรมอำนวยความสะดวกต่าง ๆ |
temporary storage | หน่วยเก็บชั่วคราวหมายถึง หน่วยความจำที่จัดไว้สำหรับเก็บข้อมูลที่ต้องการใช้เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหาและเข้าถึง (access) เพื่อจะได้นำไปประมวลผลได้เร็วขึ้นไปอีก โดยปกติแล้ว จะมีอยู่เฉพาะในสื่อที่เก็บแบบเข้าถึงโดยตรงได้ (direct access storage) เป็นต้นว่า จานบันทึก (disk) ส่วนแถบบันทึก (tape) ก็มีบ้าง แต่น้อยมาก |
toolbox | ช่องเครื่องมือโปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมจะจัดให้มีเครื่องมือต่าง ๆ เตรียมไว้ให้เพื่ออำนวยความสะดวกในการพิมพ์ การเขียนรูปสี่เหลี่ยม การเขียนเส้นตรง การหมุน การทำเอียง เป็นต้น ถ้าเป็นโปรแกรมประเภทวาดภาพ จะยิ่งมีเครื่องมือมาให้มากชนิด รวมทั้งการใส่สีให้ด้วย เครื่องมือระบายสี ก็มีทั้งที่เป็นเหมือนพู่กัน ลากเป็นเส้นได้ ตัดขอบได้ ละเลงสีเต็มพื้นที่ หรือจะพ่นเป็น ฝอยเหมือนสเปรย์ ก็ได้ เป็นต้น บางโปรแกรมทำเป็นปุ่ม (button) ให้ใช้เมาส์กดแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ เรียกว่า toolbarดู toolbar ประกอบ |
usenet | ยูสเน็ต <คำอ่าน>ย่อมาจาก user network เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใหญ่ เป็นตัวอำนวยความสะดวกในอินเตอร์เน็ต (internet) อีกทีหนึ่ง เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับเรื่องข่าวสารต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะใช้กับระบบยูนิกซ์ (UNIX) |
Nontri Dictionary
accommodate | (vt) อำนวยความสะดวก, สงเคราะห์, จัดหาที่พักให้ |
convenience | (n) ความสะดวกสบาย, ความเหมาะสม |
ease | (n) ความง่าย, ความสบาย, ความไร้กังวล, ความสะดวก, ความคล่องแคล่ว |
easiness | (n) ความง่าย, ความสะดวกสบาย, ความสะดวก, ความไร้กังวล |
expediency | (n) ความเหมาะสม, ความสะดวก, ความได้เปรียบ, ความง่าย |
facility | (n) ความสะดวก, ความง่าย, ความแคล่วคล่อง, สิ่งอำนวยความสะดวก |
handiness | (n) ความว่องไว, ความคล่องแคล่ว, ความเหมาะมือ, ความสะดวก |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
all mod cons | (adj) (บ้านหรือห้องพัก) ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่นเครื่องซักผ้า ตู้เย็น ครบถ้วน สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวก |
hi5 | (name) เว็บช่องทางการติดต่อสื่อสาร หาเพื่อน มีบริการอำนวยความสะดวกต่างๆ |
mod cons | สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เครื่องซักผ้า ตู้เย็น ที่ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวก |
recreational facility | (n, phrase) สิ่งอำนวยความสะดวกในการสันทนาการ |
Longdo Approved JP-TH
使い勝手 | [つかいがって, tsukaigatte] (n) ความสะดวกในการใช้ เช่น 使い勝手がいい (ใช้ง่าย) หรือ 使い勝手が悪い (ใช้ยาก) |
都合 | [つごう, tsugou] (n) ความสะดวก |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
設備 | [せつび, setsubi] (n) สิ่งอำนวยความสะดวก, อุปกรณ์, เครื่องมือ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 0.0391 seconds, cache age: 0.224 (clear)
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม