325 ผลลัพธ์ สำหรับ *เหล่า*
ภาษา
หรือค้นหา: เหล่า, -เหล่า-Longdo TH - TH
คำต้องห้าม | คำด่าเหล่านี้ผู้ใช้อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 ฐานดูุหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า: อีดอก, อีเหี้ย, อีสัตว์, อีควาย, อีตอแหล, ไอ้ระยำ, ไอ้เบื๊อก, ไอ้ตัวแสบ, เฮงซวย, ผู้หญิงต่ำๆ, พระหน้าผี, พระหน้าเปรต, มารศาสนา, ไอ้หน้าโง่, อีร้อย...(ตามด้วยคำลามก), อีดอกทอง ที่มา: http://www.komchadluek.net/news/scoop/287099 |
ผู้หญิงต่ำๆ, พระหน้าผี, พระหน้าเปรต, มารศาสนา, ไอ้หน้าโง่, อีร้อย..., อีดอกทอง | (colloq, vulgar) คำด่าเหล่านี้ผู้ใช้อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 ฐานดูุหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ที่มา: http://www.komchadluek.net/news/scoop/287099 |
อีดอก, อีเหี้ย, อีสัตว์, อีควาย, อีตอแหล, ไอ้ระยำ, ไอ้เบื๊อก, ไอ้ตัวแสบ, เฮงซวย | (colloq, vulgar) คำด่าเหล่านี้ผู้ใช้อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 ฐานดูุหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ที่มา: http://www.komchadluek.net/news/scoop/287099 |
Longdo CN - TH
老师 | [老 师] (n) ครู, อาจารย์ |
Longdo Unapproved TH - EN
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
greenhouse effect | ปรากฏการณ์เรือนกระจก ภาวะที่กลุ่มของก๊าซชนิดต่างๆมาห่อหุ้มชั้นบรรยากาศของโลกไว้ กลุ่มก๊าซเหล่านี้ประกอบด้วยก๊าซหลักๆ 5 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ สารซีเอฟซี ออกไซด์ของไนโตรเจน มีเธนและโอโซน ก๊าซเหล่านี้เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของบรรยากาศโลกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และเป็นกลุ่มก๊าซที่มีความสามารถในการดูดซับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ เป็นผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจนเหมาะที่สิ่งมีชีวิตต่างๆจะอาศัยอยู่ได้ |
Longdo Unapproved MED - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
PET Scan | (n, vt) PET Scan ย่อมาจาก Positron Emmision Tomography เป็นเครื่องมือใหม่ที่ใช้เพื่อ ตรวจหาการกระจายและปริมาณความผิดปกติของสารเภสัชรังสีโพสิตรอน ทำให้ข้อมูลที่ได้จาก PET มีความแตกต่างจากเครื่องมืออื่นๆ ซึ่งเรารู้จักกันดี เช่น การตรวจด้วย ultrasound, CT และ MRI ที่ส่วนใหญ่จะแสดงเพียงลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาค การตรวจด้วย PET เป็นการถ่ายภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีที่สลายตัวให้โพสิตรอน (positron) สารเภสัชรังสีเหล่านี้จะสัมพันธ์และแสดงถึงขบวนการชีววิทยาต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เราสามารถตรวจขบวนการเผาผลาญ (metabolism) ของเซลล์ได้ หลักการของเครื่องตรวจนี้คือ ใช้้ในการตรวจหาเซลล์ที่มีเมตะบอลลิสม์ผิดปกติ เป็นการตรวจหาการทำงานของเซลล์และผ่านกลวิธีทำให้ออกมาเป็นรูปให้เราเห็น ในการตรวจมะเร็งปอดเราใช้น้ำตาล เมื่อเราทำให้น้ำตาลนั้นจับกับสารกัมมันตภาพ (Glucose 2-fluoro-2-deoxy-D-glucose หรือ FDG) ฉีดเข้าไปในเลือด เซลล์ไหนที่มีเมตะบอลลิสม์สูงจะใช้น้ำตาลมาก เช่น เซลล์ของมะเร็ง เซลล์ไหนที่ตายหรือมีเมตะบอลลิสม์ต่ำจะใช้น้ำตาลน้อย เมื่อใช้ Radiotracer จับปริมาณกัมมันตภาพ เราจะพบว่าก้อนมะเร็งนั้นมีกัมมันตภาพสูงกว่าเนื้อธรรมดาและใช้ตรวจทั้งตัว ก็ได้ |
Longdo Unapproved TH-DHAMMA - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
กุศล | (n, adj, adv) การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล หากการกระทำดีนั้น ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี โดยทั่วไป มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน (เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร) ตัวอย่าง 1. นาย กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป - อันนี้นาย กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย 2. นาย ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป - อันนี้ นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา |
Longdo Unapproved TH - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
เต่าถุย | (slang) คนพวกเต่าถุยคือ คนพวกที่อยู่ในกะลามากกว่ากบ มีชีวิตไปวันๆ แบบที่พ่อแม่สั่งสอนไม่เคยจะยอมฟัง มีความเชื่อมั่นในความคิดเต่าล้านปีของตัวเองสูง บางคนถึงกับบอกว่าตนเองนั้นเป็นบัวเหล่าพิเศษ คือเต่ากินแล้วยังต้องถุยออกมา |
Longdo Unapproved KO - TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
동방신기 | [ทงบังชินกิ] (n, uniq) เป็นบอยแบนด์จากเกาหลีใต้ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2003 ในสังกัดเอสเอ็มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ชื่อวงแปลว่า "เหล่าเทวาผู้เจิดจรัสแห่งบุรพทิศ" แรกก่อตั้ง วงประกอบด้วยสมาชิก 5 คน คือ ยูโน ยุนโฮ หัวหน้าวง, ชเวคัง ชางมิน, ยองอุง แจจุง, มิกกี ยูชอน และซีอา จุนซู กระทั่งเดือนกรกฎาคม 2009 แจจุง ยูชอน และจุนซู ฟ้องร้องตันสังกัด กิจกรรมต่าง ๆ ของวงจึงหยุดเป็นเวลา 2 ปี 3 เดือน ภายหลัง สมาชิกทั้งสามลาออกไปตั้งวงใหม่ชื่อ เจวายเจ (JYJ) สังกัดซีเจสเอนเตอร์เทนเมนต์ (C-JeS Entertainment) ทงบังชินกีจึงกลายเป็นกลุ่มนักร้องคู่โดยเหลือสมาชิกคือ ยุนโฮ และ ชางมิน |
NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
เหล่า | (clas) set, See also: set, team, collection, party, gang, company, group, band, cluster, crew, crowd, assembly, Example: ความเป็นสังคมส่วนมากแล้วประกอบด้วยชนหลายชั้น หลายกลุ่ม หลายเหล่า |
เหล่า | (n) (armed) services, See also: arm of national defence, corps, Example: วันนี้จะมีพิธีอำลาชีวิตนักเรียนนายร้อย ก่อนออกไปรับราชการในเหล่าทัพต่างๆ, Thai Definition: กำลังพลของทหารซึ่งประกอบกับคำอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน |
เหล่า | (n) group, See also: set, team, collection, party, gang, company, band, cluster, crew, crowd, assembly, Syn. พวก, ก๊ก, Example: เหล่าบรรดานักวิจัยที่นี่จะต้องปรับแต่งกระบวนการอย่างละเอียดถี่ถ้วน |
เหล่าทัพ | (n) army, See also: force, Example: อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้สูญเสียบุคคลสำคัญของเหล่าทัพไปไม่น้อยเลย, Count Unit: กอง, Thai Definition: กองกำลังทางทหารซึ่งแบ่งตามลักษณะเฉพาะของงาน |
เหล่านี้ | (pron) these, Syn. กลุ่มนี้, Example: รถเก่าๆ เหล่านี้ยังวิ่งได้อยู่ |
เหล่านั้น | (pron) they, Syn. พวกนั้น, Ant. เหล่าโน้น, Example: คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยยอมออกกายบริหาร ทั้งนี้เป็นเพราะเขาเหล่านั้นละอาย หรือกลัวเพื่อนหัวเราะ |
เหล่าร้าย | (n) gangsters, See also: hoodlums, rascals, rogues, criminals, Syn. คนร้าย, ผู้ร้าย, Example: เหล่าร้ายที่จับได้ทั้งหมดนี้เป็นชาวอิตาเลียนทั้งหมด |
การผ่าเหล่า | (n) mutation, Example: ทฤษฎีการผ่าเหล่า (mutation) ในชีววิทยาเป็นตัวอย่างของการเกิดสิ่งใหม่ |
เทือกเถาเหล่ากอ | (n) lineage, See also: family, ancestry, antecedents, genealogy, Syn. เชื้อสาย, ตระกูล, เทือกเถา, Example: เทือกเถาเหล่ากอเขาเป็นผู้ดีไม่ใช่ชาวบ้านอย่างเรา |
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เซ่นเหล้า | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์, ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงร้อง. |
เทือกเถาเหล่ากอ | น. เชื้อสายวงศ์ตระกูลที่สืบเนื่องต่อกันมา. |
แป้งเหล้า | (-เล่า) น. แป้งที่เป็นเชื้อสำหรับทำเหล้า. |
ผ่าเหล่า | ว. มีความประพฤติผิดไปจากเทือกเถาเหล่ากอ (ใช้ในทางไม่ดี), ผ่าเหล่าผ่ากอ ก็ว่า. |
มอมเหล้า | ก. ล่อให้กินเหล้าจนเมาครองสติไม่ได้. |
ส่าเหล้า ๑ | น. ส่าที่เติมลงไปเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้มีเอทิลแอลกอฮอล์เกิดขึ้น. |
ส่าเหล้า ๑ | ดูใน ส่า. |
ส่าเหล้า ๒ | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Desmos cochinchinensisLour. ในวงศ์ Annonaceae ใบด้านล่างเป็นคราบขาว ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม. |
เหล่า | (เหฺล่า) น. พวก, ก๊ก, เช่น เหล่ามนุษย์ เหล่าสัตว์ เหล่าอันธพาล, กำลังพลของทหารซึ่งประกอบกับคำอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน เช่น เหล่าทหารปืนใหญ่ เหล่าทหารราบ |
เหล่า | ที่ซึ่งเคยเพาะปลูกแล้วทิ้งให้ร้าง, (ถิ่น–พายัพ) ป่าละเมาะ. |
เหล่า | (เหฺล่า) ว. ใช้ประกอบกับคำนามแสดงว่ามีจำนวนมาก เช่น คนเหล่านี้ ของเหล่านั้น. |
เหล่ากอ | น. เชื้อสาย เผ่าพันธุ์, ต้นตระกูล, บางทีใช้ควบกับคำอื่น เช่น เทือกเถาเหล่ากอ พงศ์เผ่าเหล่ากอ โคตรเหง้าเหล่ากอ. |
เหล้า | (เล่า) น. นํ้าเมาที่กลั่นหรือหมักแล้ว. |
เหล้าขาว | ดู เหล้าโรง. |
เหล้ายาปลาปิ้ง | น. สุราและกับแกล้ม. |
เหล้าโรง | น. เหล้าที่กลั่นจากโรงงานสุราโดยทั่วไปมักมีความเข้มข้นของเอทิลแอลกอฮอล์ประมาณ ๒๘ ดีกรี หรือ ๔๐ ดีกรี, เหล้าขาว ก็เรียก. |
เหล้าแห้ง | น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งประเภทกดประสาทสมอง เป็นยานอนหลับจำพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งผลิตออกมาในรูปของโซเดียมเซโคบาร์บิทาล และเรียกกันสั้น ๆ ว่า เซโคนัล ทางแพทย์ใช้เป็นยานอนหลับประเภทออกฤทธิ์ระยะสั้น. |
ก๊ก | น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. |
ก๊ง | ก. ดื่ม (ใช้แก่เหล้า) เช่น ก๊งเหล้า. |
ก๊ง | น. หน่วยตวงเหล้าโรงเป็นต้นตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. |
ก้นปล่อง | น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae ที่พบทั่วไป เช่น ชนิด A. dirus Peyton & Harrison, A. minimusTheobald, A. maculatus Theobald ยุงเหล่านี้เวลาเกาะหรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่างของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีรยางค์ปากยื่นยาวออกมา ๑ คู่ ทำให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก เพศเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนำโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่น ไข้มาลาเรีย เพศผู้กินนํ้าหรือนํ้าหวานจากเกสรดอกไม้. |
กบาล | เรียกภาชนะที่ใส่เครื่องเซ่นผีแล้วนำไปทิ้งที่ทางสามแพร่ง เช่น เอาเหล้าข้าวใส่กบาลออกเซ่นวัก (ขุนช้างขุนแผน). |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
กร่อม ๒ | น. เครื่องมือครอบจับปูทะเล ตามชายฝั่งทะเล ใช้ไม้ไผ่ต้นเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ เหลาซี่เหล่านั้นให้อ่อน เอาวงแหวนทำด้วยไม้ไผ่ หวาย หรือลวด ใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก, กะกร่อม หรือ ตะกร่อม ก็เรียก. |
กระจายหางดอก | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตำละลายกับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. |
กระทิง ๑ | น. ชื่อวัวป่าขนาดใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus Smith ในวงศ์ Bovidae ขนสีดำหรือดำแกมน้ำตาลแซมด้วยขนยาวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นบริเวณหน้าผากมีขนสีเทา และครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีขาวอมเหลือง ขนเหล่านี้อาจเห็นเป็นสีเหลืองทอง เนื่องจากเหงื่อที่เป็นน้ำมันที่ขับออกมา. |
กระยาง ๑ | น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดนํ้าเอาปลา (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง (สุบินคำพากย์). |
กระลุมพู | น. นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ดู ลุมพู). |
กระสาย | น. เครื่องแทรกยา เช่น นํ้าเหล้า. |
กร่ำ ๓ | (กฺรํ่า) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมาเหล้าว่า เมากรํ่า หมายความว่า เมามากตลอดเวลา. |
กริ่ม | (กฺริ่ม) ว. อาการที่เมาเหล้า เรียกว่า เมากริ่ม. |
กรึ๊บ | (กฺรึ๊บ) ว. เสียงเกิดจากการกลืนของเหลวเช่นเหล้าอย่างรวดเร็ว, ลักษณนามเรียกการดื่มเหล้าอึกหนึ่ง ๆ ด้วยอาการอย่างนั้น เช่น ดื่มเหล้ากรึ๊บหนึ่ง ดื่มเหล้า ๒ กรึ๊บ. |
กรึ๊บ | (กฺรึ๊บ) ก. ดื่ม (มักใช้แก่เหล้า). |
กรึ่ม | (กฺรึ่ม) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมาเหล้าว่า เมากรึ่ม หมายความว่า เมาเหล้าตลอดทั้งวัน. |
กลม ๒ | ลักษณนามเรียกจำนวนเหล้าบางประเภทที่บรรจุในขวดกลม เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. |
กลัมพก, กลัมพัก | (กะลำ-) น. ผักบุ้ง เช่น ประเทศที่ตํ่านํ้าลึกล้วนเหล่ากลัมพัก พ่านทอดยอดยาวสล้างสลอน (ม. ร. ๔ มหาพน). |
กั๊ก ๑ | ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของนํ้าแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ. |
กับแกล้ม | (-แกฺล้ม) น. ของกินกับเหล้า, แกล้ม ก็ว่า. |
กาด ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิด หลายสกุล หลายวงศ์ บางชนิดใช้ใบ บางชนิดใช้หัวเป็นผัก เช่น ผักกาดกวางตุ้ง ( Brassica chinensis L.) ผักกาดขมหรือผักกาดเขียว ( B. juncea Czern. et Coss.) ผักกาดขาวหรือแป๊ะช่าย ( B. chinensis L. var. pekinensis Rupr.) ผักกาดหัวหรือไช้เท้า ( Raphanus sativus L.) ในวงศ์ Cruciferae, ผักกาดหอม ( Lactuca sativa L.) ในวงศ์ Compositae, ผักเหล่านี้เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) . |
เกาเหลียง ๑ | (-เหฺลียง) น. ชื่อเหล้าจีนชนิดหนึ่ง. |
แก่ ๑ | โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือ ยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ. |
แก๊ง | น. กลุ่มคนที่ตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า (มักใช้ในความหมายไม่ดี) เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล |
แกล้ม | (แกฺล้ม) น. ของกินกับเหล้า, กับแกล้ม ก็ว่า. |
แกล้ม | (แกฺล้ม) ว. ไปด้วยกัน, ควบคู่กันไป, แกมกัน, (ใช้แก่กริยากิน) เช่น กินแกล้มเหล้า. |
ไก่สามอย่าง | น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนู เข้าด้วยก็ได้. |
ขี้เมา | น. คนที่ชอบดื่มเหล้าและเมาเป็นประจำ. |
ขี้เมาหยำเป | น. คนที่ดื่มเหล้าเมาจนครองสติไม่อยู่เป็นประจำ. |
เข้ม | ว. แรงกล้า เช่น รสเข้ม เหล้าเข้ม |
คงคา ๑ | เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่น ว่า ท่อคงคา. |
ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
Attaché, Military | ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเหล่าทัพ (ไทย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
member of the armed forces | ทหาร (ทุกเหล่าทัพ) [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
Military Attaché | ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเหล่าทัพ (ไทย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Innovation | นวัตกรรม, นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ <ul><li>สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ</li><li>ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย</li><li>ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น</li></ul> [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Armed forces | เหล่าทัพ [เศรษฐศาสตร์] |
cyber | ไซเบอร์, ไซเบอร์ คำที่กร่อนมาจากคำว่าไซเบอร์เนติกส์ และมีความหมายว่าเกี่ยวข้องกับระบบเครือข่ายและสังคมเครือข่ายสากลทั่วโลก เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) และยังมีการให้ความหมาย "สารสนเทศเสมือนจริงที่ถูกสร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเอง" <p>คำเหล่านี้มีใช้มากขึ้นทุกที อาทิ <p>cyberspace</p> <p>cyberporn</p> <p>cybersex</p> [คอมพิวเตอร์] |
Accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น <em>โปรตอน</em>หรือ<em>อิเล็กตรอน</em> โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น <em>ไซโคลทรอน</em> <em>ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น</em> และ<em>บีตาทรอน</em> [นิวเคลียร์] |
Particle accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตอนหรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลทรอน ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาทรอน [นิวเคลียร์] |
Electromagnetic radiation | รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กที่ประสาน และมีอันตรกิริยาต่อกัน เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ รังสีเหล่านี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และสามารถผ่านสุญญากาศได้ [นิวเคลียร์] |
Elementary particles | อนุภาคมูลฐาน, อนุภาคชั้นสามัญที่สุดของสสารและรังสี ส่วนใหญ่มีอายุสั้นและไม่ปรากฏในภาวะปกติ (ยกเว้น อิเล็กตรอน นิวตรอน โปรตอน และนิวทริโน) เดิมหมายถึงอนุภาคใดๆ ที่ไม่สามารถแบ่งย่อยต่อไปได้ หรืออนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม ปัจจุบันหมายถึงอนุภาคโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน มีซอน มิวออน แบรีออน และปฏิยานุภาคของอนุภาคเหล่านี้ รวมทั้งโฟตอน แต่ไม่รวมอนุภาคแอลฟาหรือดิวเทอรอน [นิวเคลียร์] |
Radicidation | การฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคชนิดที่ไม่สร้างสปอร์ เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลา อี.โคไล เชื้อโรคเหล่านี้เป็นต้นเหตุทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง ขาดน้ำ อาเจียน และเป็นไข้ อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น แหนม กุ้งแช่แข็ง ขากบแช่แข็ง เนื้อไก่แช่แข็ง การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีนี้เทียบได้กับการพาสเจอไรซ์ <br>(ดู food irradiation ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
system | ระบบ, ที่รวมของส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน มีจุดประสงค์ร่วมกัน และมีขอบเขตโดยแน่ชัด เช่น คอมพิวเตอร์เป็นระบบ เพราะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาตามที่ผู้ใช้กำหนด ร่างกายมนุษย์เป็นระบบเพราะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ ระบบทั้งหลายต้องรับอินพุดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเข้าไปในระบบ ต่อจากนั้นจึงนำอินพุดเหล่านั้นมาดำเนินการให้เกิดเป็นเอาท์พุต หรือปรับอินพุดหรือการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การนำเอาท์พุดมาพิจารณาแล้วปรับ ดังนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feedback) [คอมพิวเตอร์] |
Mass spectrometer | สเปกโทรมิเตอร์มวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph, Example: [นิวเคลียร์] |
Mass spectrograph | สเปกโทรกราฟมวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph [นิวเคลียร์] |
Ionizing radiation | รังสีชนิดก่อไอออน, รังสีหรืออนุภาคใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต <br>(ดู beta particle ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Fission products | ผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส, <font color="#8b0000">นิวไคลด์กัมมันตรังสี</font>ที่เกิดจาก<font color="#8b0000">การแบ่งแยกนิวเคลียส</font>ของธาตุหนัก รวมถึงนิวไคลด์ที่เกิดจากการสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสีเหล่านั้น [นิวเคลียร์] |
Accession | การภาคยานุวัติ คือการที่รัฐหนึ่งเข้าไปเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งรัฐอื่น ๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้วและสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย บางที่ใช้คำ ?accession? ซึ่งตรงกับคำในภาษาฝรั่งเศสว่า ?adhésion? รัฐจะเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่ได้ นอกจากว่าในสนธิสัญญานั้นมีบทบัญญัติยอมให้รัฐอื่นเข้ามาเป็นภาคีด้วยได้ เช่น มาตรา 4 ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติบัญญัติไว้ว่า?(1) สมาชิกภาพในสหประชาชาติ เปิดรับบรรดารัฐอื่นๆ ทั้งหลายที่ยอมรับพันธกรณีที่ระบุไว้ในกฎบัตรปัจจุบันและองค์การสหประชาชาติ พิจารณาวินิจฉัยแล้วว่า รัฐนั้น ๆ สามารถและเต็มใจที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีเหล่านั้น??(2) การรับรัฐใดๆ ดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติจะเป็นผลสำเร็จก็ต่อเมื่อสมัชชาสหประชา ชาติได้ลงมติรับรองตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง? คือ เอกสิทธิ์ทางการทูตในการที่จะได้มีถิ่นพำนัก [การทูต] |
ASEAN Dialogue Partners | คู่เจรจาอาเซียน " ประกอบด้วย 9 ประเทศ 1 กลุ่มประเทศ และ 1 องค์การระหว่างประเทศ คือ ออสเตรเลีย แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรป และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยคู่เจรจาเหล่านี้ (ยกเว้นโครงการพัฒนาแห่งสห- ประชาชาติ) จะเข้าร่วมการประชุม PMC ด้วย " [การทูต] |
Convention on the Prohibition of the Development, Production and Stockpiling of Bacteriological (Biological) and Toxin Weapon an | Convention on the Prohibition of the Development, Production and Stockpiling of Bacteriological (Biological) and Toxin Weapon and on their Destruction = อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต และสะสมอาวุธบักเตรี (ชีวะ) และอาวุธทอกซิน และว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ) [การทูต] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving State | ในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต] |
Consul | ข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งอย่างถูกต้องและได้รับ มอบหมายให้ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศทั้งในด้าน พาณิชย์ การเดินเรือ คุ้มครองความเป็นอยู่อันดีของพลเมืองของประเทศตน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่บางอย่างด้านธุรการ หรือวางระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ ตลอดจนด้านการเป็นสักขีพยานการลงนามในเอกสาร เพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทางกฎหมาย (Notary) การให้การตรวจลงตรา รวมทั้งการรับรองเอกสารที่แท้จริง (มิใช่เอกสารปลอม) และจัดการการสัตย์สาบานตนหรืออีกนัยหนึ่ง ภาระหน้าที่ของกงสุลอาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประการ ดังต่อไปนี้1 ทำหน้าที่ส่งเสริมผลประโยชน์ในทางพาณิชย์ของประเทศที่ตนเป็นผู้แทนอยู่2 ควบคุมดูแลผลประโยชน์ด้านการเดินเรือ3 คุ้มครองผลประโยชน์ของคนชาติของประเทศที่แต่งตั้งให้ตนไปประจำอยู่4 ทำหน้าที่สักขีพยานในการลงนามในเอกสารเพื่อให้เอกสารนั้นมีผลบังคับทาง กฎหมาย5 ทำหน้าที่ธุรการเบ็ดเตล็ดอื่นๆ หรือระเบียบแบบแผนที่ใช้เป็นประจำ เช่น การออกหนังสือเดินทาง การให้การตรวจลงตรา (Visas) การจดทะเบียนคนเกิด คนตาย ฯลฯอนุสัญญากรุงเวียนนา ภาคที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลข้อที่ 5 ได้กำหนดภาระหน้าที่ของฝ่ายกงสุลไว้ดังต่อไปนี้ ก. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง และของคนในชาติของรัฐผู้ส่ง ทั้งเอกชนและบรรษัทในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตข. เพิ่มพูนการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านการพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาการ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างกันในทางอื่น ตามบทแห่งอนุสัญญานี้ค. สืบเสาะให้แน่โดยวิถีทางทั้งปวงอันชอบด้วยกฎหมายถึงภาวะและความคลี่คลายใน ทางพาณิชย์ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและวิทยาการของรัฐผู้รับ แล้วรายงานผลของการนั้นไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่ง และให้ข้อสนเทศแก่บุคคลที่สนใจง. ออกหนังสือเดินทางและเอกสารการเดินทางให้แก่คนในชาติของรัฐผู้ส่ง ตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือออกเอกสารที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่ประสงค์จะเดินทางไปยังรัฐผู้ส่งจ. ช่วยเหลือคนในชาติของรัฐผู้ส่งทั้งเอกชนและบรรษัทฉ. ทำหน้าที่นิติกรและนายทะเบียนราษฎร์ และในฐานะอื่นที่คล้ายคลึงกัน ปฏิบัติการหน้าที่บางประการอันมีสภาพทางธุรการ หากว่าการหน้าที่นั้นไม่ขัดกับกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับช. พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ และบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง ภายในขีดจำกัดที่ได้ตั้งบังคับไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องมีความปกครองหรือภาวะทรัสตีใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นฌ. แทนคนชาติของรัฐผู้ส่ง หรือจัดให้มีการแทนอย่างเหมาะสมในองค์กรตุลาการ และต่อเจ้าหน้าที่ที่อื่นของรัฐผู้รับ เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มา ซึ่งมาตรการชั่วคราวสำหรับการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของคนในชาติเหล่านี้ ไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ ในกรณีที่คนในชาติเหล่านี้ไม่สามารถเข้าทำการป้องกันสิทธิและผลประโยชน์ของ ตนในเวลาอันเหมาะสมได้ เพราะเหตุของการไม่อยู่หรือเหตุอื่นใด ทั้งนี้ ให้อยู่ภายในข้อบังคับแห่งทางปฏิบัติ และวิธีดำเนินการซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับญ. ส่งเอกสารทางศาล หรือเอกสารที่มิใช่ทางศาล หรือปฏิบัติตาม หนังสือของศาลของรัฐผู้ส่งที่ขอให้สืบประเด็น หรือตามการมอบหมายให้สืบพยานให้แก่ศาลของรัฐผู้ส่งนั้น ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้บังคับอยู่ หรือเมื่อไม่มีความตกลงระหว่างประเทศเช่นว่านั้น โดยทำนองอื่นใดที่ต้องด้วยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับด. ใช้สิทธิควบคุมดูแลและตรวจพินิจตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายและข้อบังคับของ รัฐผู้ส่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับเรือที่มีสัญชาติของของรัฐผู้ส่ง หรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับลูกเรือของเรือและอากาศยานดังกล่าวต. ให้ความช่วยเหลือแก่เรือและอากาศยานที่ระบุไว้ในอนุวรรค (ด) ของข้อนี้ รวมทั้งลูกเรือของเรือและอากาศยานนั้น บันทึกถ้อยคำเกี่ยวกับการเดินทางของเรือ ตรวจดูและประทับตรากระดาษเอกสารของเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในระหว่างนายเรือ ดำเนินการสืบสวนอุบัติเหตุใดๆ ที่ได้เกิดขั้นในระหว่างนายเรือ เจ้าพนักงาน และกะลาสี ตราบเท่าที่การนี้อาจได้อนุมัติไว้โดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้ส่ง ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับถ. ปฏิบัติการหน้าที่อื่นใดที่รัฐผู้ส่งมอบหมายแก่สถานีทำการทางกงสุล ซึ่งมิได้ต้องห้ามโดยกฎหมายและข้อบังคับของรัฐผู้รับ หรือซึ่งไม่มีการแสดงข้อคัดค้านโดยรัฐผู้รับ หรือซึ่งมีอ้างถึงไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ ที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งและรัฐผู้รับ [การทูต] |
Cultural Diplomacy | การทูตวัฒนธรรม หมายถึง กิจกรรมด้านวัฒนธรรมในกรอบกว้าง ทั้งภาษา ความคิด อุดมการณ์ ทัศนคติ ประเพณี วิทยาการความรู้ การกีฬาและวิถีชีวิต (ไม่เพียงแต่การส่งคณะนาฏศิลป์ไปแสดงในต่างประเทศเท่านั้น) ทั้งนี้ เพื่อ ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน โดยใช้แนวทางปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในลักษณะซึมลึกเพื่อให้เข้าถึงประชาชน [การทูต] |
Convention on the Prohibition of the Development, Production, Stockpiling and Use of Chemical Weapons and on Their Destruction | อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต สะสม และใช้อาวุธเคมี และว่าด้วยการทำลายอาวุธเหล่านี้ (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี) [การทูต] |
Defence Attaché | ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร " (แทนทั้งสามเหล่าทัพ : นายทหารยศ พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก) บางประเทศใช้ Military Attaché สำหรับตำแหน่งเฉพาะเหล่าของไทย เรียกดังนี้ Army Attaché ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก Navel Attaché ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ Air Attaché ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ " [การทูต] |
Departure of Diplomatic Agents | การออกไปจากรัฐผู้รับของเจ้าหน้าที่ทางการทูต ข้อ 44 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติได้ว่า ?แม้ในกรณีการขัดกันด้วยอากร รัฐผู้รับต้องอำนวยความสะดวก เพื่อให้บุคคลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกัน นอกจากคนชาติของรัฐผู้รับและคนในครอบครัวของบุคคลเช่นว่านี้ โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของบุคคลเหล่านั้น ออกไปในขณะที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ ในกรณีที่จำเป็นโดยเฉพาะ รัฐผู้รับต้องจัดพาหนะเดินทางในการขนส่งสำหรับตัวบุคคลเหล่านั้น และทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้นให้ด้วย? [การทูต] |
Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Diplomatic Privileges and Immunities | เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตที่ได้ให้แก่เจ้า หน้าที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้แทนส่วนตัวของประมุขของรัฐ เหตุผลที่ให้มีการคุ้มกันทางการทูต ก็เพราะถือว่ารัฐบาลหนึ่งใดก็ตามจะถูกกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม หรือกีดกันมิให้ผู้แทนของรัฐบาลนั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศนั้นมิได้ ถ้าหากเห็นว่าผู้แทนนั้นมีพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ที่ก้าวร้าวซึ่งรัฐผู้รับ ไม่อาจรับได้ก็ชอบที่รัฐผู้รับจะขอร้องให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวผู้แทนของตนกลับ ประเทศได้ อนึ่ง การที่สถานเอกอัครราชทูตได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลของรัฐผู้รับ เพราะต้องการให้บรรดาผู้แทนทางการทูตเหล่านั้น รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาได้มีโอกาสมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการปฏิบัติหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของประเทศของเขาอนุสัญญากรุง เวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตมีบทบัญญัตินิยามคำว่า เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในเรื่องต่างๆ ไว้มากพอสมควร เช่น เรื่องสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต รวมทั้งบรรณสารและเอกสาร เรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่การปฏิบัติงานของคณะผู้แทน และเสรีภาพในการเคลื่อนย้ายรวมทั้งการคมนาคมติดต่อ เป็นต้น [การทูต] |
Diplomatic Secretaries | ตำแหน่งเลขานุการทางการทูตในสถานเอกอัครราชทูต ตำแหน่งเลขานุการทางการทูตจะมีอยู่ 3 ระดับ คือ เลขานุการเอก เลขานุการโท และเลขานุการตรี ทั้งสามระดับอยู่รองลงมาจากตำแหน่งที่ปรึกษา (Counselor) ระดับทั้งหมดนี้มีฐานะทางการทูต มีเอกสิทธิ และความคุ้มกันทางการทูตทั้งมวล และชื่อจะปรากฎอยู่ในสมุดเอกสารรายชื่อบุคคลในคณะทูตตำแหน่งเลขานุการทางการ ทูตเหล่านี้ อย่าไปปนกับตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของเอกอัครราชทูต ซึ่งแม้จะมีฐานะสำคัญในสถานเอกอัครราชทูต แต่ไม่มีสถานภาพทางการทูตแต่อย่างใด รวมทั้งตำแหน่งเลขานุการ ซึ่งทำหน้าที่เสมียนจดชวเลขและพิมพ์ดีด [การทูต] |
Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] |
Freedom of Movement of Diplomatic Agents | เสรีภาพในการเคลื่อนย้ายและการเดินทางของผู้แทน ทางการทูต โดยปกติ รัฐผู้รับย่อมอนุญาตโดยเสรีแก่ผู้แทนทางการทูต ที่จะเคลื่อนย้ายและเดินทางไปไหนมาไหนได้ทั่วประเทศ แต่ระหว่างสงครามเย็นที่ผ่านมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการทูตของกลุ่ม ประเทศคอมมิวนิสต์บางแห่ง ได้แก่ สหภาพโซเวียต บัลแกเรีย เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี รูเมเนีย และโปแลนด์ นัยว่าสหรัฐฯ ได้กำหนดเขตแขวงในดินแดนของตน 355 แห่ง หรือประมาณร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับผู้แทนทางการทูตของประเทศเหล่านั้นในทำนองเดียวกัน กลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ดังกล่าวก็ได้ตั้งข้อจำกัดการเดินทางแก่ผู้แทนทางการ ทูตของสหรัฐฯ เช่นกัน สำหรับเสรีภาพการเคลื่อนย้ายนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในข้อ 26 ว่า?ภายในบังคับของกฎหมาย และข้อบังคับของรัฐผู้รับเกี่ยวกับการเข้าไปในเขตหวงห้ามหรือวางระเบียบไว้ โดยเหตุผลของความมั่นคงแห่งชาติ ให้รัฐผู้รับประกันแก่สมาชิกทั้งมวลของคณะเกี่ยวกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และการเดินทางในอาณาเขตของตน? [การทูต] |
General Agreement on Tariffs and Trade | ความตกลงต่าง ๆ เกี่ยวกับพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการค้า โดยจุดประสงค์ที่จะให้ประเทศทั้งหลายตัดทอนข้อกีดขวาง ทางการค้าระหว่างกันให้น้อยลง การเจรจาทำความตกลงเหล่านี้ได้กระทำผ่านทางองค์การการค้าระหว่างประเทศ [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] |
Indigent Nationals | คนในชาติที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้นในต่างแดน ในเรื่องนี้ มีหลายประเทศได้อนุญาตให้ผู้แทนทางการทูตและทางกงสุลของตนอำนวยความช่วย เหลือเท่าที่จำเป็นแก่คนชาติของตนที่ประสบความยากจนข้นแค้นในต่างประเทศรวม ทั้งค่าส่งตัวกลับประเทศด้วย มีหลายรายที่กำหนดให้คนชาติที่ต้องทุกข์นั้น แจ้งถึงสาเหตุที่ต้องประสบความยากจนข้นแค้น และสัญญาว่าเงินที่ได้รับนี้จะต้องชดใช้คืนภายหลัง ตามปกติ ผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลจะต้องปรึกษากับกระทรวงการต่างประเทศของตน ก่อนที่จะนำเงินให้คนชาติของตนกู้ยืมหรือไปรับรองบุคคลเหล่านั้น หรือไปรับผิดชอบทางการเงินใดๆ [การทูต] |
Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
International Development Association | เป็นองค์การให้กู้เงิน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1960 อยู่ภายใต้การบริหารควบคุมของธนาคารระหว่างประเทศ ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคารระหว่างประเทศหรือธนาคารโลก ย่อมสามารถสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศนี้ได้วัตถุประสงค์ สำคัญของไอดีเอ คือ ให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของตน โดยกำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นมากกว่าเงื่อนไขของการกู้ยืมทั่ว ๆ ไป ช่วยให้มีผลกระทบต่อดุลแห่งการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ ไม่มากนัก ซึ่งเป็นไปตามแนววัตถุประสงค์การให้กู้ยืมของธนาคารโลก อันเท่ากับเสริมการดำเนินงานของธนาคารโลก ที่มีต่อประเทศเหล่านั้นอีกด้วยไอดีเอมีโครงสร้างการดำเนินงานที่คล้ายคลึง กับของธนาคารโลก คณะผู้ว่าการและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั้งหมดเป็นคนคนเดียวกับที่มีตำแหน่ง หน้าที่อยู่ในธนาคารโลก จึงเท่ากับเข้าไปทำงานมีหน้าที่ในไอดีเอโดยตำแหน่ง (Ex officio) นั่นเอง ไอดีเอมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
marginalisation (marginalization) | การถูกเบียดตกขอบ สภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่ออนาคตการพัฒนาและเศรษฐกิจของประเทศใด ประเทศหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่มีบูรณาการ (integration) เพิ่มขึ้น สภาพการณ์ดังกล่าวมักถูกมองว่าเกิดขึ้นควบคู่ไปกับโลกาภิวัตน์ และประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดมีโอกาสเสี่ยงที่จะตกอยู่ใน สภาวการณ์นี้ เนื่องจากประสบความยากลำบากในการปฏิบัติตามพันธกรณีการเปิดเสรีทางการค้า กอปรกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ประเทศเหล่านี้พึ่งพาตกต่ำลง [การทูต] |
Multiple Representation | คือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Niccolo Machiavelli (1469-1527) | คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต] |
Notes in Diplomatic Correspondence | หมายถึง หนังสือหรือจดหมายโต้ตอบทางการทูตระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต (Head of mission) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่หัวหน้าคณะผู้ แทนทางการทูตนั้นประจำอยู่ หรือกับหัวหน้าผู้แทนทางการทูตอีกแห่งหนึ่ง หนังสือทางการทูตนี้ อาจใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 หรือบุรุษที่ 3 ก็ได้ หนังสือทางการทูตที่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 มักจะเกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญหรือมีความละเอียดอ่อนกว่าหนังสืออีก ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Note Verbale หรือต้องการจะแทรกความรู้สึกส่วนตัวลงไปด้วย หนังสือนี้จะส่งจากหัวหน้า หรือผู้รักษาการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือไปถึงหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตอื่น ๆ ไม่เหมือนกับ Note Verbale กล่าวคือ หนังสือทางการทูตนี้จะต้องระบุสถานที่ตั้ง รวมทั้งลงชื่อของผู้ส่งด้วยตามปกติ ประโยคขึ้นต้นด้วยประโยคแรกในหนังสือจะใช้ข้อความว่า ?have the honour? นอกจากจะมีถึงอุปทูตซึ่งมีฐานะตำแหน่งต่ำกว่าอัครราชทูต ถ้อยคำลงท้ายของหนังสือทางการทูตจะมีรูปแบบเฉพาะ เช่น?Accept, Excellency (หรือ Sir), ในกรณีที่ผู้รับมีตำแหน่งเป็นอุปทูต (Charge d? Affaires) the assurances (หรือ renewed assurances ) of my highest (หรือ high ในกรณีที่เป็นอุปทูต ) consideration?หรือ ?I avail myself of this opportunity to express to your Excellency, the assurances ( หรือ renewed assurances) of my highest consideration ?ถ้อยคำที่ว่า ?renewed assurances ? นั้น จะใช้ก็ต่อเมื่อผู้ส่งหนังสือกับผู้รับหนังสือ ได้มีหนังสือติดต่อทางทูตกันมาก่อนแล้ว ส่วนถ้อยคำว่า ?high consideration ? โดยปกติจะใช้ในหนังสือที่มีไปยังอุปทูต ถ้อยคำ ?highest consideration ? จะใช้เมื่อมีไปถึงเอกอัครราชทูต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ท้องถิ่นด้วย บางแห่งอาจนิยมใช้แตกต่างออกไป และก็จะเคารพปฏิบัติตามท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมารยาทส่วนหนังสือที่เรียกว่า Note Verbale หรือ Third person note เป็นหนังสือทางการทูตที่ใช้บ่อยที่สุด หนังสือนี้จะขึ้นต้นด้วยประโยคดังต่อไปนี้?The Ambassador (หรือ The Embassy ) of Thailand presents his (หรือ its ) compliments to the Minster (หรือ Ministry ) of Foreign affairs and has the honour??หนังสือบุรุษที่สาม หรืออาจเรียกว่าหนังสือกลางนี้ ไม่ต้องบอกตำบลสถานที่ ( Address) และไม่ต้องลงชื่อ แต่บางทีในตอนลงท้ายของหนังสือกลางมักใช้คำว่า?The Ambassador avails himself of this opportunity to express to his Excellency the renewed assurances of his highest consideration?มีหนังสือทางการทูตอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Collective note เป็นหนังสือที่หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของรัฐบาลหลายประเทศรวมกันมีไปถึง รัฐบาลแห่งเดียว เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลเหล่านั้นพร้อมใจกันที่จะร้องเรียน หรือต่อว่าร่วมกัน หัวหน้าคณะทูตทั้งหมดอาจร่วมกันลงนามในหนังสือนั้น หรือ อาจจะแยกกันส่งหนังสือซึ่งมีถ้อยคำอย่างเดียวกันไปถึงก็ได้ [การทูต] |
Organization of American States | คือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
sanction | การคว่ำบาตร (ในกรอบสหประชาชาติ) " หมายถึง มาตรการลงโทษที่คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ต่อประเทศสมาชิกที่มีการกระทำที่ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยการจำกัด หรือห้ามประเทศสมาชิกอื่น ๆ ติดต่อในด้านต่าง ๆ (เช่น ด้านการค้า การคมนาคมขนส่ง) อย่างเป็นทางการกับประเทศนั้น ๆ เพื่อบีบบังคับให้มีการปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคง มาตรการห้ามการ ติดต่อเหล่านี้ บางครั้งเรียกว่า ปิดล้อม (embargo) เช่น ปิดล้อมด้านอาวุธ ปิดล้อมด้านการค้า เป็นต้น " [การทูต] |
Sanctions | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
องุ่นทำเหล้า | [a-ngun tham lao] (n, exp) EN: wine grapes FR: vigne [ f ] |
แบ่งเป็นก๊กเป็นเหล่า | [baeng pen kok pen lao] (v, exp) EN: split into factions ; form cliques |
ดื่มเหล้า | [deūm lao] (v, exp) EN: drink FR: consommer de l'alcool ; boire |
ดองเหล้า | [døng lao] (v, exp) EN: soak in the liquor FR: macérer dans de l'alcool |
ดวดเหล้า | [dūat lao] (v, exp) EN: drink FR: picoler (fam.) ; pinter (pop.) |
หัวเหล้า | [hūalao] (n) EN: proof spirit |
จิบเหล้า | [jip lao] (v, exp) EN: take a sip of wine |
การบริโภคเหล้า | [kān børiphōk lao] (n, exp) EN: liquor consumption FR: consommation d'alcool [ f ] |
การดื่มเหล้า | [kān deūm lao] (n, exp) EN: drinking alcohol |
การควบคุมการบริโภคเหล้า | [kān khūapkhum kān børiphōk lao] (n, exp) EN: liquor-consumption control |
การผ่าเหล่า | [kān phālāo] (n) EN: mutation FR: mutation [ f ] |
เหล่า | [lao] (n) EN: group ; company ; band ; category ; class ; species ; order ; race ; family ; set ; team ; collection ; number FR: race [ f ] ; espèce [ f ] ; famille [ f ] ; groupe [ m ] ; catégorie [ f ] |
เหล่า | [lao] (n) EN: arm of national defense ; armed services ; corps |
เหล้า | [lao] (n) EN: alcohol ; liquor ; spirit ; booze (inf.) FR: alcool [ m ] ; spiritueux [ m ] ; liqueur [ f ] ; gnôle [ f ] (fam.) |
เหล้าองุ่น | [lao a-ngun] (n) EN: wine FR: vin [ m ] |
เหล้าเชอรี่ | [lao choērī] (n) EN: sherry FR: sherry [ m ] |
เหล้าดองยา | [lao døngyā] (n, exp) EN: medicinal liquor ; herbal liquor ; medicated spirits ; medicinal substances steeped in spirits |
เหล้าจีน | [lao Jīn] (n, exp) EN: Chinese wine |
เหล้าขาว | [lao khāo] (n, exp) EN: white spirit ; rice whisky FR: alcool blanc [ m ] |
เหล่ากอ | [laokø] (n) EN: family background FR: souche [ f ] ; famille [ f ] |
เหล้าแม่โขง | [lao Maēkhōng] (n, exp) EN: Mekhong whiskey FR: Mékhong [ m ] |
เหล่านั้น | [laonan] (pr) FR: ces ; ceux-là |
เหล่านี้ | [laonī] (pr) EN: these FR: ces ; ceux-ci |
เหล่าประเทศของเรา | [lao prathēt khøng rao] (n, exp) EN: our countries FR: nos pays |
เหล้าโรง | [laorōng] (n) EN: rice whisky ; arrack FR: arak [ m ] ; alcool de riz [ m ] |
เหล้าสะระแหน่ | [lao saranaē] (n, exp) EN: peppermint oil FR: extrait de menthe [ m ] ; essence de menthe [ f ] |
เหล้าเถื่อน | [lao theūoen] (n, exp) EN: home-made liquor ; illegal liquor |
เหล้าหวาน | [lao wān] (n, exp) EN: liqueur FR: liqueur [ f ] ; absinthe [ f ] |
เหล้าวอดกา | [lao wøtkā] (n, exp) EN: vodka FR: vodka [ f ] |
เหล้ายาดอง | [lao yā døng] (n, exp) EN: medicinal liquor ; herbal liquor ; medicated spirits ; medicinal substances steeped in spirits |
เลิกดื่มเหล้า | [loēk deūm lao] (v, exp) EN: abstain from wine FR: arrêter de boire |
เมาเหล้า | [mao lao] (adj) EN: drunk ; intoxicated ; tipsy FR: ivre ; soûl = saoul ; éméché ; enivré ; plein (fam.) ; pompette (fam.) ; bourré (fam.) ; beurré (fam.) |
มอมเหล้า | [møm lao] (v, exp) EN: make someone drunk ; inebriate ; ply someone with liquor FR: soûler = saouler (vx) ; faire boire |
งดเว้นการดื่มเหล้า | [ngotwen kān deūm lao] (v, exp) EN: abstain from alcohol |
อดเหล้า | [ot lao] (v, exp) EN: give up drinking FR: s'abstenir de boire (de l'alcool); arrêter de boire (de l'alcool) |
ผ่าเหล่า | [phālāo] (v) EN: resist the tradition ; behave unconventionally ; be a black sheep ; become unorthodox FR: contrevenir à la tradition ; être le mouton noir |
ผ่าเหล่า | [phālāo] (adj) EN: unconventional ; unorthodox ; eccentric FR: non conventionnel |
ภาษีเหล้า | [phāsī lao] (n, exp) EN: tax on alcohol FR: taxe sur l'alcool [ f ] |
ผู้ไม่ดื่มเหล้า | [phū mai deūm lao] (n, exp) FR: abstème [ m ] |
ร้านขายเหล้าที่ผิดกฎหมาย | [rān khāi lao thī phit kot māi] (n, exp) EN: speakeasy FR: lieu de vente d'alcool illégal |
โรงงานต้มเหล้า | [rōng-ngān tom lao] (n, exp) EN: brewery FR: distillerie [ f ] |
เซ่นเหล้า | [senlao] (n) EN: kind of Thai song |
เทือกเถาเหล่ากอ | [theūakthaolaokø] (n) EN: antecedents ; extraction ; ancestry ; clan ; family ; origins ; descent FR: origine généalogique [ f ] |
ติดเหล้า | [tit lao] (v, exp) EN: be an alcoholic FR: être alcoolique |
วงเหล้า | [wong lao] (n, exp) EN: drinking party |
Longdo Approved EN-TH
advent calendar | (n) ปฏิทินชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ของการมาจุติของพระเยซู เริ่มเฉลิมกันในเดือนธันวาคม ซึ่งผู้ใหญ่มักให้เป็นของขวัญแก่เด็กๆ ปฏิทินนี้ประกอบด้วยแผ่นกระดาษสองแผ่นซ้อนทับกัน มีช่องที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นประตูเปิดได้จากกระดาษชั้นบน ประตูเหล่านี้มีตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 24 ธันวาคม ก่อนถึงวันคริสต์มาส ซึ่งแต่ละช่องจะบอกเล่าถึงเรื่องราวของการประสูติของพระเยซู และอาจมีขนม ของขวัญชิ้นเล็กๆซ่อนอยู่ด้วยก็ได้ |
burning time | ช่วงเวลาสำหรับเหล่าแม่มดที่โชคร้ายที่ถูกกดขี่ข่มเหงในยุคกลาง ซึ่งเหล่าแม่มดถูกใส่ร้าย ป้ายคำโป้ปดต่างๆ, เหล่าแม่มดถูกจับเผาทั้งเป็นในสก็อตแลนด์และภาคพื้นทวีปยุโรป ส่วนในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา พวกเธอถูกจับแขวนคอ(ทั้งเป็น) |
blockchain | (n) บล็อกเชน, วิธีการเก็บข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลงตามหลักการทางบัญชี โดยการเข้ารหัสและจัดเรียงข้อมูลเหล่านี้ต่อกันตามลำดับเวลาที่ข้อมูลเข้ามา กลุ่มข้อมูลดังกล่าวจะเผยแพร่ไปให้ผู้ใช้ในเครือข่ายที่กำหนดได้ทราบทั่วกัน ทั้งนี้ ผู้ใช้ทุกคนจะทราบการแก้ไขเพิ่มเติมรายการเปลี่ยนแปลงในบล็อกเชนทุกรายการตลอดเวลา [ ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา ] |
NECTEC Lexitron Dictionary EN-TH
all-star | (adj) ประกอบด้วยเหล่าดาราดัง, See also: ประกอบด้วยบุคคลที่มีชื่อเสียง |
armed forces | (n) กองทัพทุกเหล่าทัพ |
colony | (n) กลุ่ม, See also: หมู่, เหล่า, พวก, Syn. community, group, swarm |
encyclical | (n) หนังสือที่พระสันตะปาปาในศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคทอลิกมีถึงเหล่าสังฆนายกซึ่งมักเกี่ยวกับหลักคำสอน |
gangster | (n) เหล่าร้าย, See also: อันธพาล, นักเลง, นักเลงโต, Syn. racketeer, mobster |
group | (n) กลุ่ม, See also: คณะ, พวก, ฝ่าย, หมู่, เหล่า, Syn. band, division, gang, party, type |
horde | (n) โขยง, See also: โขลง, เหล่า, หมู่, ฝูง, Syn. crowd, herd, throng |
LAN | (abbr) โครงข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะบริเวณ เช่น ในอาคารเดียวกัน คอมพิวเตอร์เหล่านาจะทำงานร่วมกันได้ ดึงโปรแกรมหรือข้อมูลจากกันและกันได้ แต่การทำเช่นนี้จะต้องใช้ซอฟแวร์ช่วยด้วย (คำย่อของ local area network) |
pack | (n) ฝูง, See also: กลุ่ม, หมู่, พวก, แก๊ง, คณะ, เหล่า, Syn. gang, band |
sect | (n) นิกาย (ทางศาสนา), See also: กลุ่ม, พรรค, สำนัก, คณะ, ภาค, ลัทธิ, หมู่, เหล่า, Syn. group, division, party, branch, denomination |
section | (n) กลุ่ม, See also: หน่วย, คณะ, แผนก, เหล่า, ตอน, Syn. class, level, part, division, unit |
their | (adj) ของเขาเหล่านั้น, Syn. theirs |
theirs | (pron) ของเขาเหล่านั้น, Syn. own, their |
these | (pron) เหล่านี้ (พหูพจน์ของ this), Syn. the indicated |
these | (adj) เหล่านี้ (พหูพจน์ของ this), Syn. the indicated |
those | (adj) เหล่านั้น (คำพหูพจน์ของ that), Syn. these, the certain |
those | (pron) เหล่านั้น (คำพหูพจน์ของ that) |
troop | (n) กลุ่ม, See also: กลุ่มคน, หมู่, เหล่า |
Hope Dictionary
ancestress | (แอน' เซสเทรส) n. บรรพบุรุษหญิงเทือกเถาเหล่ากอหญิง |
ancestry | (แอน' เซสทรี) n. บรรพบุรุษ, เทือกเถาเหล่ากอทั้งหลาย, วงศ์ตระกูล, มูลรากที่มาของปรากฎการณ์สิ่งของข้อคิดเห็นหรือรูปแบบ, ขบวนการหรือประวัติดังกล่าว, Syn. forefathers, lineage, origin, ancestral descent |
anglo-indian | (แอง' โกลอิน' เดียน) adj. เกี่ยวกับอังกฤษและอินเดีย. -n. คนที่มีเชื้อสายอังกฤษและอินเดียรวมกัน, ภาษาที่คนเหล่านี้พูดกัน |
apple menu | เมนูลูกแอปเปิลหมายถึง โปรแกรมต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ที่สามารถสั่งให้ทำงานในระหว่างที่เครื่องกำลังทำโปรแกรมอื่นอยู่ได้ โปรแกรมเหล่านี้จะรวมอยู่ในเมนูที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกแอปเปิลแหว่ง (แทนที่จะมีชื่อเมนูตามปรกติ) และจะอยู่เป็นรายการแรกซ้ายมือสุดบนแถบเมนู เมนูนี้จะประกอบด้วยรายการย่อยอีกหลายรายการด้วยกัน เช่น นาฬิกา, เครื่องคำนวณ, แผงควบคุม ฯ รวมทั้งที่สำคัญที่สุด คือ แฟ้มภาพ ที่เรียกว่า scrapbook เป็นต้น |
arithmetic mean | ค่าเฉลี่ยที่ได้จากการหารผลรวมของเลขด้วยจำนวนเลขเหล่านั้น, ค่าเฉลี่ย |
arithmetic statement | ข้อความสั่งคำนวณ <คำแปล>หมายถึง คำสั่งที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ นำค่าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือนำค่าเหล่านั้นไปทำการคำนวณ เมื่อได้ผลจากการคำนวณแล้วจึงนำไปเก็บในตำแหน่งที่ซี่งกำหนดไว้ เช่น score = A+B หมายความว่า ให้นำค่า A+B ได้ผลเท่าใด นำไปเก็บไว้ที่ score |
arm 2 | (อาร์ม) n. อาวุธ, เครื่องมือต่อสู้, ตราประจำตระกูล, ประเภทเหล่าทหาร. -vi., vt. ติดอาวุธ, เตรียมตัวป้องกัน, คุมเชิง, Syn. shoot, branch |
armed forces | กองทัพบก เรือและอากาศ (โดยเฉพาะของชาติ ๆ หนึ่ง) , เหล่าทัพต่าง ๆ |
bak | (แบ็ก) คำ ๆ นี้ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลเพื่อบ่งบอกว่า เป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง (backup file) เช่น autoexec.bak (แฟ้มข้อมูลเดิมชื่อ autoexec.bat) นี้ ในบางกรณี โปรแกรมจะสร้างนามสกุลให้แฟ้มข้อมูลเหล่านี้เองโดยไม่ต้องสั่ง โดยเฉพาะถ้ามีการเก็บแฟ้มข้อมูลที่นำมาแก้ไขแล้วซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แฟ้มที่แก้ใหม่จะใช้ชื่อเดิม แต่แฟ้มเดิมจะกลายเป็นแฟ้มสำรอง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำบางโปรแกรม |
bar code | รหัสแท่ง <คำแปล>หมายถึง รหัสที่ประกอบด้วยเส้นหลายเส้นที่มีขนาดความกว้างต่าง ๆ กัน มักจะมีอยู่บนสินค้านานาชนิด นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เครื่องอ่านรหัสแท่งจะอ่านได้ด้วยการปล่อยให้แสงผ่าน แล้วนำรหัสเหล่านี้มาแยกออกว่า เป็นรหัสของสินค้าอะไร ราคาเท่าใด บางบริษัทอาจจะใช้เป็นตัวควบคุมบัญชีพัสดุได้ด้วย |
bbs | (บีบีเอส) ย่อมาจาก bulletin board system หรือที่แปลว่า ระบบแผงข่าว เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น บีบีเอสของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) |
beta test | ทดสอบรอบสองหมายถึง โปรแกรมที่ทำออกมาให้ลูกค้าทำการทดสอบเป็นครั้งที่สอง (ครั้งแรกเรียกว่า alpha test) เพื่อจะดูว่า โปรแกรมดังกล่าวปฏิบัติงานตามที่ต้องการได้เรียบร้อยครบถ้วนดีแล้วหรือยัง ก่อนที่จะนำออกขายในตลาด โปรแกรมที่นำออกมาทดสอบเหล่านี้มักจะมีเขียนบอกไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่า ยังเป็นโปรแกรมที่อยู่ในขั้นทดลองใช้ เช่น Alpha 1, Beta 5 ซึ่งหมายถึง รุ่น 1.0 หรือ 5.0 นั่นเองดู alpha test ประกอบ |
binary file | แฟ้มข้อมูลฐานสองหมายถึง แฟ้มที่บรรจุข้อมูลที่เป็นฐานสองเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ คอมพิวเตอร์จะเข้าใจและรับรู้ได้ โดยปกติ แฟ้มข้อมูลเหล่านี้จะถูกกำหนดให้ใช้นามสกุล (file type) ว่า BIN ดู BIN ประกอบ |
black sheep | n. แกะดำ, คนผ่าเหล่า, นิ้วร้าย |
blowtube | n. หลอดเป่ากระสุนอาวุธเหล่าเป่า |
board | (บอร์ดฺ) { boarded, boarding, boards } n. ไม้กระดาน, แผ่นกระดาน, แผ่นกระดาษแข็ง, กระดานหมากรุก, ข้างเรือ, ค่าอาหาร, อาหาร, ที่พัก, โต๊ะประชุม, โต๊ะอาหาร, เวที, คณะกรรมการ, สภา, กลุ่มผู้บริหารของหน่วยงาน, แป้นสวิตช์ไฟฟ้าบนผลฝาผนัง, ขอบ, ข้าง vt. ใช้กระดานปู, บริการอาหาร, บริการ แผงวงจรแผงหมายถึง แผ่นพลาสติกที่มีการติดตั้งวงจรไฟฟ้าซึ่งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แผงเหล่านี้จะทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น แผงวงจรเร่งความเร็ว (accelerator board) จะมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็วกว่าตัวประมวลผลทีมีอยู่เดิม แผงวงจรภาพ (video board) แผงวงจรเสียง (sound board) ก็จะเป็นตัวเพิ่มภาพและเสียง เป็นต้น |
bulletin board system | ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) |
capture | (แคพ'เชอะ) n. การจับได้, การยืดได้, สิ่งที่ถูกยึด, คนที่ถูกจับ, เชลย vt. จับได้, ยืดได้, เข้ายึดได้, ตีได้, ทำให้สนใจ, ทำให้หลงไหล, See also: capturer n. ดูcapture, Syn. take เก็บภาพจับภาพ ข้อมูล หมายถึง การสั่งเก็บภาพที่แสดงอยู่บนจอภาพทั้งหมด หรือ เฉพาะบางส่วนเอาไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ถ้าเป็นเครื่องแมคอินทอช ใช้วิธีกดแป้น Command + Shift + 3 ภาพที่เกิดจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลชื่อ Picture 1, Picture 2.... เรียงไปตามลำดับ ส่วนพีซี ใช้วิธีกดแป้น Print Screen ภาพที่อยู่บนจอจะถูกนำไปเก็บไว้ในคลิปบอร์ด clipboard เราอาจสั่งเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลได้โดยกำหนดชื่อให้เป็น ภาพ ๆ ไป แฟ้มเหล่านี้จะเรียกมาดูได้ในหลายโปรแกรม เป็นต้นว่า PageMaker, Microsoft Word อย่างไรก็ตาม หากจะเลือกเก็บเฉพาะบางส่วนของภาพที่ปรากฏบนจอ จะต้องใช้โปรแกรมพิเศษ |
card reader | เครื่องอ่านบัตรหมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้การอ่านรูที่เจาะในบัตรแล้วถอดออกมาเป็นรหัส การอ่านรูเหล่านั้นทำได้ด้วยการใช้แปรงไฟฟ้าสัมผัส แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นส่งเข้าไปเก็บในหน่วยความจำเพื่อนำไปประมวลผลต่อไป |
cavalry | (แคฟ'วาลรี) n. กองทหารม้า, เหล่าทหารม้า, กองทหารยานเกราะ, กลุ่มคนขี่ม้า |
character code | รหัสอักขระหมายถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่กำหนดให้ใช้เป็นรหัสแทนอักขระ หรือมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มีการตกลงกันไว้ เป็นต้นว่า ตารางรหัสแอสกี (ASCII table) และรหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) โปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมใช้รหัสเหล่านี้ผสมกับตัวอักขระบางตัวเป็นรหัสคำสั่งให้เป็นการขีดเส้นใต้ , ทำตัวเอน ฯ |
character graphics | อักขระภาพหมายถึง สัญลักษณ์หรือภาพต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยการกดแป้นพิมพ์ ถือว่าเป็นแบบอักษร (font) แบบหนึ่ง (สำหรับเครื่องพีซี อาจใช้วิธีกดแป้น ALT+ เลขต่าง ๆ ตาม รหัสที่กำหนดไว้ก็ได้) เช่น แบบตัวอักขระภาพที่มากับระบบวินโดว์ของพีซี มีชื่อว่า Wingdings ส่วนของแมคอินทอช ชื่อ Zapf การขยายหรือลดขนาดภาพเหล่านี้ ใช้วิธีเดียวกับที่ทำกับแบบอักษรอื่น ๆ ไม่ใช่วิธีที่ทำกับภาพ |
client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
computer user group | กลุ่มผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง กลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ บุคคลเหล่านี้มักจะรวมตัวกันเพื่อช่วยกันศึกษาวิธีการใช้ซอฟต์แวร์และเครี่องคอมพิวเตอร์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด บางทีก็จะแบ่งย่อยลงไปเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะผู้ที่มีความสนใจใกล้เคียงกันจริง ๆ เช่นแบ่งไปตามชนิดของเครื่องที่ใช้ (พีซี/แมคอินทอช) หรือตามประเภทของโปรแกรมที่ใช้ เช่น ประมวลผลคำ (word processing) , ตารางจัดการ (spreadsheet) บางที ใช้เรียกเพื่อให้ดูต่างจากกลุ่มผู้ที่ขายคอมพิวเตอร์ดู computer vendor group เปรียบเทียบ |
computer virus | ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส |
control statement | ข้อความสั่งควบคุมในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้น โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งไปทีละคำสั่ง โดยเรียงไปตามลำดับก่อนหลัง แต่เราอาจใช้ข้อความสั่งให้ควบคุมการทำงานได้เช่น กระโดดข้าม, วนกลับไปทำบางคำสั่งใหม่หรือวนหลาย ๆ รอบหรือหยุดทำถ้า ... ข้อความสั่งเหล่านี้มีอยู่หลายคำสั่ง ขึ้นอยู่กับภาษาเป็นต้นว่า GOTO, DO, IF ในภาษาฟอร์แทรน หรือ FOR.....NEXT ในภาษาเบสิก |
corps | (คอร์) n., (pl. corps) หมู่, เหล่า, คณะ, กลุ่ม, หน่วยทหาร, กองพลน้อย, Syn. group |
da | 1. abbr. dopamine 2. (ดีเอ) ย่อมาจาก desk accessory (แปลว่า เครื่องใช้อำนวยความสะดวก) มีอยู่ในเครื่องแมคอินทอช หมายถึง โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ เช่น เครื่องคิดเลข สมุดโน้ต นาฬิกา โปรแกรมเหล่านี้สามารถเรียกมาใช้ได้ แม้ในขณะที่ทำโปรแกรมอื่นอยู่ ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์ ก็มีกลุ่มโปรแกรมที่ชื่อ Accessories ซึ่งมีโปรแกรมอรรถประโยชน์ในลักษณะคล้าย ๆ กัน เช่น มีเครื่องคิดเลข นาฬิกา สมุดโน้ต ปฎิทิน มีโปรแกรมที่จำเป็น เช่น ประมวลผลคำ (word processing) และ โปรแกรมวาดภาพ ฯลฯ |
data field | เขตข้อมูลหมายถึง ที่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลเฉพาะในโปรแกรมประเภทการจัดการฐานข้อมูล โดยจัดแบ่งให้แต่ละเขตเก็บข้อมูลแต่ละเรื่อง เช่น แบ่งเป็นเขต ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อายุ เพศ ฯ ถ้าเรานำเขตข้อมูลเหล่านี้หลาย ๆ เขตมารวมกัน จะเรียกว่า "ระเบียน" (record) |
dde | (ดีดีอี) ย่อมาจาก dynamic data exchange คำนี้ใช้ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์และโอเอส/ทู หมายถึงการทำให้สองโปรแกรมบนวินโดว์ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เป็นต้นว่า การนำตัวเลขที่อยู่ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) มาใช้ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นใหม่ นอกจากนั้น หากมีการแก้ไขตัวเลขในตารางจัดการ ตัวเลขในโปรแกรมประมวลผลคำ ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยโดยอัตโนมัติ |
dingbats | (ดิงแบตส์) เป็นชื่อแบบอักษร (font) ที่มีลักษณะเป็นภาพแทนที่จะเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข แบบตัวอักษรที่มีลักษณะเป็นภาพนี้มีหลายชื่อ นอกจาก Zapf Dingbats ในแมคอินทอชแล้ว ในพีซีก็มี Wingdings (ภาพเหล่านี้จะขยาย/ลดขนาดได้เหมือนตัวอักษร) |
dot matrix printer | เครื่องพิมพ์แบบจุดส่วนมากเรียกกันสั้น ๆ ว่า dot matrix หรือ dot printer หมายถึง เป็นเครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ใช้เข็มตอกลงบนกระดาษ ทำให้ผลที่ออกมาดูเป็นจุดเรียงไปตามตารางรูปสี่เหลี่ยม จุดเหล่านี้จะรวมกันเป็นตัวอักขระที่เป็นรูปและขนาดที่ต้องการ สำหรับเส้นโค้งนั้นเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ทำไม่ได้ดีนัก แต่หากมีจุดเรียงกันได้ละเอียดเท่าใด เส้นโค้งก็จะดูดีขึ้นและตัวอักษรก็จะดูสวยงามขึ้น คุณภาพของเครื่องพิมพ์นั้น จึงวัดกันเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว ยิ่งเครื่องพิมพ์มีคุณภาพ ก็ต้องยิ่งมีจำนวนจุดต่อนิ้วมากมีความหมายเหมือน dot printer ดู printer ประกอบ |
dot printer | เป็นเครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ใช้เข็มตอกลงบนกระดาษ ทำให้ผลที่ออกมาดูเป็นจุดเรียงไปตามตารางรูปสี่เหลี่ยม จุดเหล่านี้จะรวมกันเป็นตัวอักขระที่เป็นรูปและขนาดที่ต้องการ สำหรับเส้นโค้งนั้นเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ทำไม่ได้ดีนัก แต่หากมีจุดเรียงกันได้ละเอียดเท่าใด เส้นโค้งก็จะดูดีขึ้นและตัวอักษรก็จะดูสวยงามขึ้น คุณภาพของเครื่องพิมพ์นั้น จึงวัดกันเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว ยิ่งเครื่องพิมพ์มีคุณภาพ ก็ต้องยิ่งมีจำนวนจุดต่อนิ้วมากมีความหมายเหมือน dot matrix printerดู printer ประกอบ |
dynamic data exchange | การสับเปลี่ยนข้อมูลแบบพลวัตใช้ตัวย่อว่า DDE (อ่านว่า ดีดีอี) คำนี้ใช้ในระบบไมโครซอฟต์วินโดว์และโอเอส/ทู หมายถึงการทำให้สองโปรแกรมบนวินโดว์ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เป็นต้นว่า การนำตัวเลขที่อยู่ในโปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) มาใช้ในโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์ตัวเลขเหล่านั้นใหม่ นอกจากนั้น หากมีการแก้ไขตัวเลขในตารางจัดการ ตัวเลขในโปรแกรมประมวลผลคำ ก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วยโดยอัตโนมัติ |
ebcdic | (เอบซีดิก) ย่อมาจาก extended binary coded decimal interchange code (แปลว่า รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
eighty column card | บัตร 80 คอลัมน์บัตรทำด้วยกระดาษ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุข้อมูล โดยปกติจะต้องมีรูปร่างและขนาดตามมาตรฐานที่กำหนด (71/8 นิ้ว +31/4 นิ้ว) จะต้องทำด้วยกระดาษชนิดพิเศษที่มีความต้านทานความชื้นสูง และมีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศ ในการบรรจุข้อมูลนั้น ใช้วิธีเจาะรูตามคอลัมน์ของบัตรซึ่งจะมี 80 คอลัมน์ (จึงเรียกกันว่า บัตร 80 คอลัมน์) แต่ละคอลัมน์มี 12 แถว ในการเจาะนั้นรูหนึ่งรูในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวเลข (0-9) และรูสองรูหรือมากกว่าในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร (A-Z) หรือ อักขรพิเศษอื่น ๆ เมื่อใส่บัตรเข้าเครื่อง รูเหล่านี้จะถูกแปรงไฟฟ้าปัดผ่าน ทำให้เครื่อง สามารถอ่านข้อมูลเข้าไปได้ บัตรคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากคือ บัตรที่ ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Hermann Hollerith) แห่งบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เป็นผู้คิดขึ้น บางทีจึงนิยมเรียกกันว่า บัตรไอบีเอ็ม (IBM card) หรือ บัตรฮอลเลอริท (Hollerith card) ดู card ประกอบ |
escape character | อักขระหลีกตัวอักขระบนแป้นพิมพ์ที่เมื่อกดแล้ว ทำให้ตัวอักขระอื่น ๆ ที่ตามมา ต้องแปลความต่างไป จากตัวอักขระที่ใช้มาก่อนหน้านี้ ตัวอย่าง เช่น จะใช้อักขระหลีก เพื่อกำหนดความหมายว่า ตัวอักขระที่จะใช้ต่อไปนั้น จะต้องใช้รหัสแปลความแตกต่างไปจากรหัสแปลความที่เคยใช้ก่อนหน้านี้ หรืออาจจะถือว่า อักขระเหล่านั้นไม่ใช่ข้อมูลอีกต่อไป แต่เป็นอักขระเพื่อการควบคุมเท่านั้น เป็นต้น |
executable statement | ข้อความสั่งทำการหมายถึง คำสั่งในภาษาระดับสูงที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ลงมือทำการ คำสั่งเหล่านี้ ตัวแปลโปรแกรม (compiler) จะแปลเป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้วเครื่องจะปฏิบัติการตามคำสั่งนั้น เช่น คำสั่งกำหนดค่า A = 2 ถ้าเครื่องเจอคำสั่งนี้ ก็จะลงมือกระทำการ (execute) ด้วยการนำค่า 2 ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำช่องหนึ่งที่มีอยู่ (address) ชื่อ A เป็นต้นดู non executable statement เปรียบเทียบ |
expert system | ระบบผู้เชี่ยวชาญหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แสดงความสามารถได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ หรือในงานเฉพาะอย่าง เช่น งานด้านการแพทย์ ระบบนี้จะรวมเอาความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ซึ่งพวกมืออาชีพหรือผู้ชำนาญการได้รวบรวมไว้ กับต้องมีวิธีการที่จะใช้ในการประมวลผล โดยการตั้งคำถามให้ตอบ โปรแกรมประเภทนี้ จะต้องนำคำตอบเหล่านั้นมาประมวลผล เปรียบเทียบกับข้อมูลที่รวบรวมไว้แล้ว หาข้อสรุปให้ หรือช่วยแก้ปัญหาให้ คำตอบที่คอมพิวเตอร์ตอบนี้ ถือว่าเป็นคำตอบที่เหมือนกับที่ผู้เชี่ยวชาญจะตอบ |
extended binary coded dec | extended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
faction | (แฟค'เชิน) n. หมู่, เหล่า, ก๊ก, พวก, ฝ่าย, การต่อสู้ภายในหมู่ (เหล่า, ก๊ก, พวก, ฝ่าย) |
factional | (แฟค'เชินเนิล) adj. เกี่ยวกับหมู่ (เหล่า, ก๊ก, พวก, ฝ่าย) , เห็นแก่ตัว, ซึ่งถือพวกถือพ้อง |
field | (ฟีลดฺ) { fielded, fielding, fields } n. ทุ่ง, ทุ่งนา, ทุ่งกว้าง, เขตเหมืองแร่, สนาม, อาณาจักร, ขอบเขต, พื้น, ลาน vt. เก็บได้ลูก (บอล) , จับลูกได้ vi. เป็นคนรับลูกในการเล่น (บาสเก็ตบอล, คริคเก๊ต), Syn. area หมายถึง ที่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลเฉพาะในโปรแกรมประเภทการจัดการฐานข้อมูล โดยจัดแบ่งให้แต่ละเขตเก็บข้อมูลแต่ละ เรื่อง เช่น แบ่งเป็นเขต ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อายุ เพศ ฯ ถ้าเรานำเขตข้อมูลเหล่านี้ หลาย ๆ เขตมารวมกัน จะเรียกว่า "ระเบียน" record |
file handle | รหัสเข้าสู่แฟ้มหมายถึง รหัสลับที่ใช้เป็นทางเข้าสู่แฟ้มข้อมูลในระบบดอส โดยปกติ เรา เพียงบอกแต่ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเปิด คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการให้ แต่ถ้าเป็นเรื่องลับ เราอาจสั่งให้ คอมพิวเตอร์นำชื่อไปแปลงเป็นตัวเลขก่อน ตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า " file handle" การเข้าสู่แฟ้มข้อมูล ต้องใช้รหัส เหล่านั้นเท่านั้น |
file server | เครื่องบริการแฟ้มในระบบเครือข่าย (network) โดยปกติจะมีคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่ง เรียกว่าเครื่องบริการแฟ้ม ซึ่งจะใช้เป็นที่เก็บ ทั้งโปรแกรม และแฟ้มข้อมูลที่จะใช้ร่วมกันไว้ในฮาร์ดดิสก์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถเรียกใช้ โปรแกรมและแฟ้มข้อมูลเหล่านั้นพร้อมกันได้ โดยเรียกจาก เครื่องบริการแฟ้มดังกล่าว เครื่องบริการแฟ้ม นี้จะทำหน้าที่ ดูแลการใช้แฟ้มข้อมูล และการส่งข้อมูลไปให้ตามที่มีผู้ต้องการเรียกมา |
function keys | แป้นกำหนดหน้าที่หมายถึง แป้นพิเศษกลุ่ม หนึ่งที่มักจะถูกจัดไว้ให้อยู่แถวบน สุดของแป้นพิมพ์ (บางทีก็อยู่ ด้านซ้ายมือ) ปกติจะมีอยู่ราว ๆ 10-15 แป้น บนแป้นจะมีตัวอักษร F ตามด้วยเลขตั้งแต่ 1-15 (แล้วแต่ว่ามีกี่แป้น) แป้นเหล่านี้จะถูกกำหนด หน้าที่ เฉพาะ ให้ใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้เลย เช่น ในระบบดอส แป้น F3 จะใช้แทนคำสั่ง copy ได้ เป็นต้น |
graphics adapter card | ตัวปรับภาพหมายถึงแผ่นวงจร (card) ที่เมื่อนำไปเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำให้จอภาพแสดงภาพได้ เท่าที่รู้จักกันในเวลานี้มีชื่อเรียกว่า CGA EGA VGA และ SVGA ถ้าปราศจากแผ่นวงจรเหล่านี้ แม้โปรแกรมจะเป็นโปรแกรมภาพ ก็จะแสดงภาพไม่ได้ ดู CGA EGA VGA และ SVGA |
group | (กรูพ) n., v. (จัดเป็น) กลุ่ม, หมู่, พวก, เหล่า, ชุด, ฝูง |
handles | จุดรอบภาพในเรื่องที่เกี่ยวกับโปรแกรมวาดภาพหรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ (desktop publishing) คำนี้จะหมายถึง กรอบสี่เหลี่ยมที่มีจุดที่มุม และที่กึ่งกลางของเส้นรอบด้านทั้งสองข้างที่เกิดขึ้นรอบ "ภาพ" ที่ได้เลือก (select) หรือกำหนดไว้ การย้ายหรือการเคลื่อนที่ภาพเหล่านี้ จะต้องทำให้มีจุดรอบภาพนี้ก่อน จึงจะใช้เมาส์ลากไปได้ หรือจะใช้เมาส์กดที่มุมใดมุมหนึ่งแล้วลากออกหรือหดเข้า เป็นการขยายหรือลดสัดส่วนของภาพนั้นก็ได้ ถ้าเป็นข้อความ (text) ก็หมายถึงเส้นกำกับข้อความที่อยู่บนและล่างของข้อความที่เลือกหรือกำหนดไว้ |
Nontri Dictionary
ancestry | (n) กำพืด, เทือกเถาเหล่ากอ |
artillery | (n) ปืนใหญ่, เหล่าทหารปืนใหญ่, กองปืนใหญ่ |
BLACK black sheep | (n) แกะดำ, นิ้วร้าย, คนผ่าเหล่า, คนเลวทราม |
corps | (n) คณะ, หมู่, เหล่า, กองร้อย |
faction | (n) หมู่คณะ, ก๊ก, พวก, ฝ่าย, เหล่า |
factious | (adj) ชอบขัดแย้ง, เป็นก๊กเป็นเหล่า, เล่นพรรคเล่นพวก |
group | (n) หมู่, พวก, กลุ่ม, ฝูง, เหล่า, ชุด |
horde | (n) โขลง, หมู่, ฝูง, กอง, เหล่า |
horde | (vi) รวมฝูง, รวมหมู่, รวมเหล่า, รวมเป็นโขลง |
kindred | (n) ญาติพี่น้อง, เทือกเถาเหล่ากอ, วงศ์ตระกูล |
parentage | (n) เทือกเถาเหล่ากอ, บรรพบุรุษ, แหล่งกำเนิด |
pedigree | (n) ตระกูล, เชื้อสาย, เทือกเถาเหล่ากอ, พืชพันธุ์ |
soldiery | (n) กองทหาร, วิชาการทหาร, เหล่าทหาร |
these | (adj) เหล่านี้, พวกนี้, เช่นนี้ |
these | (pro) สิ่งเหล่านี้, อย่างนี้ |
those | (adj) เหล่านั้น, เหล่าโน้น, นั่น, โน่น |
those | (pro) สิ่งเหล่านั้น, พวกที่, จำพวกนั้น |
Longdo Unapproved EN-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
bankai | (vi, vt) บังไค (ตราสวัสดิกะ) สัญลักษณ์ที่ใช้ในสมัยสงครามโลก ถูกคิดค้นขึ้นโดยฮิตเลอร์ หรือ คำที่ใช้ในการ ปลดปล่อยพลังของเหล่ายมฑูต ในการ์ตูนเรื่อง Bleach Ex: ปลดปล่อยสวัสดิกะ - จงโปรยปรายเซมบงซากุระคาเงโยชิ หรือ บังไค เซมบซากุระคาเงโยชิ นั่นเอง Image: |
Beltane | (uniq) เทศกาลเฉลิมฉลอง หนึ่งใน เทศกาลแห่งเปลวเพลิง ซึ่งรับทอดมาจากศาสตร์เซลติกโบราณ ซึ่งนิยมจะเฉลิมฉลองกันในยามค่ำคืน เพแกนจะขี่เหล่าปศุสัตว์ระหว่างกองไฟซึ่งก่อ ณ กลางแจ้ง ทั้งสองกอง เป็นความเชื่อว่าจะปกป้องพวกเขาจากโรคร้าย ส่วนคู่หนุ่มสาวที่ปราถณาจะมีชีวิตคู่ที่ชุ่มชื่นก็จะ "กระโดดเหนือกองไฟ" ในคืน Beltane |
biosecurity | ความปลอดภัยทางชีวะภาพ ความหมาย มาตรการที่มุ่งป้องกันการนำเข้าและ/หรือการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายไปยังสัตว์และพืช เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ในการเกษตร มาตรการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การปกป้องพืชผลอาหารและปศุสัตว์จากศัตรูพืช ชนิดพันธุ์ที่รุกราน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ |
biosecurity | ความปลอดภัยทางชีวะภาพ ความหมาย มาตรการที่มุ่งป้องกันการนำเข้าและ/หรือการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายไปยังสัตว์และพืช เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ในการเกษตร มาตรการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การปกป้องพืชผลอาหารและปศุสัตว์จากศัตรูพืช ชนิดพันธุ์ที่รุกราน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ |
biosecurity | ความปลอดภัยทางชีวะภาพ ความหมาย มาตรการที่มุ่งป้องกันการนำเข้าและ/หรือการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอันตรายไปยังสัตว์และพืช เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อ ในการเกษตร มาตรการเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การปกป้องพืชผลอาหารและปศุสัตว์จากศัตรูพืช ชนิดพันธุ์ที่รุกราน และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ |
Brick Dust Urine | ปัสสาวะเข้มข้นมากในช่วงสองสามวันแรกของทารกสามารถมีผลึกยูริก (ผลึกกรดยูริก) ผลึกเหล่านี้อาจทําให้เกิดสีชมพู, สีแดง, หรือสีส้ม, ผงคราบในผ้าอ้อมเด็กทารกของคุณเรียกว่าฝุ่นอิฐ.อาจจะน่ากลัว แต่ฝุ่นอิฐเป็นเรื่องปกติสําหรับทารกแรกเกิดจํานวนมาก |
Clostridium difficile | [คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล] แบคทีเรียหนึ่งในสาเหตุที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อของลำไส้ใหญ่ ในสหรัฐอเมริกามีผลต่อผู้คนนับล้านต่อปี ผู้ป่วยที่ใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ในความเสี่ยงของการกลายเป็นติดเชื้อกับการรักษาได้ยาก. ยาปฏิชีวนะจะรบกวนแบคทีเรียปกติของลำไส้, ช่วยให้ดื้อยาแบคทีเรียที่จะกลายเป็นตัวต้านที่อยู่ภายในลำไส้ใหญ่. หลายคนติดเชื้อแบคทีเรียรักษาลำบากเพราะไม่มีอาการ. คนเหล่านี้กลายเป็นผู้ให้บริการของเชื้อแบคทีเรียและสามารถติดเชื้อผู้อื่น ในคนอื่นๆ, สารพิษที่มีผลก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง, อาการปวดท้อง, การอักเสบอย่างรุนแรงของลำไส้ใหญ่ (ไส้ใหญ่), ไข้, การตรวจนับเม็ดเลือดขาว, อาเจียนและการคายน้ำ. ในผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง, เยื่อบุภายในของลำไส้ใหญ่จะกลายเป็นที่รุนแรงอักเสบ (สภาพที่เรียกว่าเยื่อแผ่นบาง ๆ รอบเซลล์ผิดปกติ). ไม่ค่อยมีผนังและหลุมพัฒนา (ลำไส้ใหญ่จะไม่ค่อยมีผนังกั้นแต่จะเป็นรูพรุน) ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดเชื้อที่คุกคามชีวิตของช่องท้อง |
Klebsiella pneumoniae (K. pneumoniae) | เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ปกติอยู่ในลำไส้ของคนและในอุจจาระ. แบคทีเรียเหล่านี้ไม่เป็นอันตรายเมื่อพวกมันอยู่ในลำไส้ของคุณ. แต่ถ้าพวกมันแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายของคน, พวกเขาสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง. ความเสี่ยงจะสูงขึ้นถ้าคุณป่วย. |
malware | (n) Malicious software (mal-ware) is a form of computer program designed with malicious intent. This intent may be to cause annoying pop-up ads with the hope you click on one and generate revenue, or forms of spyware and viruses that can be used to steal your identity or track your activities. รูปแบบหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาด้วยจุดประสงค์แอบแฝงบางอย่าง จุดประสงค์ดังกล่าวอาจจะเพื่อสร้างหน้าต่างโฆษณาที่เปิดขึ้นมาเองโดยอัติโนมัติ ด้วยความหวังที่ว่าจะให้คุณกดเข้าไปและสร้างรายได้ให้กับบุคคลเหล่านั้น หรือ รูปแบบของ spyware และ ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่สามารถใช้เพื่อการขโมยตัวตนของคุณบนอินเตอร์เน็ต หรือ ติดตามกิจกรรมต่างของคุณ, Syn. Malicious software |
Microischemia | โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเป็นคําที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดขนาดเล็กในสมอง.การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายบริเวณสีขาวของสมองและไขสันหลังเป็นบริเวณที่มีใยประสาทอยู่เป็นจำนวนมาก - เนื้อเยื่อสมองที่มีเส้นใยประสาทและทําหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังส่วนอื่น ๆ ของสมอง |
Turnkey | (n) ลักษณะสัญญาซื้อทรัพย์สินโดยมีเงื่อนไขว่า มูลค่าทรัพย์สินเป็นมูลค่ารวมเบ็ดเสร็จจนกระทั่งทรัพย์สินสามารถใช้งานได้ โดยผู้ซื้อไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มอีก เนื่องจากการส่งมอบทรัพย์สินประเภทนี้ จำเป็นต้องมีขั้นตอนการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ อบรมวิธีการใช้ ตรวจรับ ฯลฯ ทรัพย์สินเหล่านี้จึงจะสามารถใช้งานได้ สัญญาซื้อทรัพย์สินเหล่านี้จึงมี 2 ลักษณะคือ Time and Material และ Turnkey โดย Time and Material จะเป็นการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ซื้อตามระยะเวลา (เช่น จำนวนวัน-คน หรือ Man-Day) ที่ใช้ไปจริง ตามอัตราที่ตกลงกันตามสัญญา |
กุศล | (n, adj) กุศล ควรจะหมายถึง การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับจิตใจให้ดีขึ้น ปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มากกว่าทำความดีเฉย ๆ การกระทำใด ๆ หากทำแล้วมีผลต่อสภาวะจิตใจของตนเปลี่ยนไปในทางที่สูงขึ้น จึงเรียกว่ากุศล หากการกระทำดีนั้น ๆ ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงจิตใจตนเองเลย ไม่เรียกว่ากุศล แต่เรียกว่า กรรมดี โดยทั่วไป มักจะใช้คู่กันกับคำว่า บุญกุศล แต่คำว่า บุญ กับ กุศล ความหมายต่างกัน (เขียนก็ไม่เหมือนกันแล้วจะให้ความหมายเหมือนกันได้อย่างไร) ตัวอย่าง 1. นาย กอ เป็นคนรวย ชอบที่จะให้ทาน เพราะเขาหวังว่า การให้ทานของเขาจะส่งผลทำให้เขารวย ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และอาจจะได้ไปสวรรค์ หลังจากที่เขาตายไป - อันนี้นาย กอ ทำกรรมดี หรือทำบุญ แต่ไม่ได้เกิดกุศลในจิต หรือเกิดขึ้นน้อยมาก เพราะเขาทำทานก็จริง แต่ไม่มีผลทำให้จิตใจของเขาวางลงจากความโลภ หรืออยากเลย 2. นาย ขอ เป็นคนชั้นกลาง เขาเห็นเด็กกำพร้ามากมายเกิดขึ้น เขาจึงรู้สึกอยากที่จะช่วยเหลือเด็กเหล่านั้น จึงประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะให้ตัวเองมีเงินเหลือมากขึ้น เพื่อที่จะแบ่งไปบริจาคเด็กเหล่านั้น เพื่อที่เด็กเหล่านั้นจะได้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไป - อันนี้ นาย ขอ ทำทั้งกุศล และบุญ เพราะมีผลที่ทำให้เขาต้องประหยัด อดออมมากขึ้น และการประหยัดอดออมนี้เอง จะทำได้ก็คือต้องปล่อยวางความอยากของตนเอง และทำเพราะในใจเกิดจิตเมตตากรุณา |
เมเชอร์เเม็กซ์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ | [เม-เชอร์-เเมกซ์-เอน-เตอร์-เทน-เมนท์] (name) เป็นบริษัท-ค่ายเพลง ในสังกัด เมเชอร์เกทส์ เเอลทีดี บริษัทเริ่มมีชื่อเสียงในผลงานต่างๆของเหล่ากลุ่มดนตรี เจเนสส์บอมมี่[ สร้างเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 โดย บริษัท เมเชอร์เกทส์ ไอเอ็นซี |
Longdo Unapproved JP-TH
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
地方自治法 | [เม-เชอร์-เเมกซ์-เอน-เตอร์-เทน-เมนท์, chihoujichi hou] พระราชญัติว่าด้วยการปกครองตนเองของท้องถิ่น(พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่น ประเภทต่างๆ เช่น จังหวัด เทศบาล และบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่นเหล่านั้นเป็นต้น) |
特産品 | [とくさんひん, tokusanhin] สินค้าพื้นเมือง/สินค้ามีชื่อของท้องถิ่น/ของดีประจำเมือง (สินค้าเหล่านี้ได้แก่ผลิตผลทางการเกษตรที่ผลิตได้ในท้องถิ่น ผลิตผลทางการประมง และ สินค้าชนิดอื่นๆ ที่ผลิตได้ในท้องถิ่น เป็นต้น) |
Longdo Approved DE-TH
Gruppe | (n) |die, pl. Gruppen| กลุ่ม, หมู่, เหล่า |
darunter | ภายใต้สิ่งนั้นๆ หรือ ท่ามกลาง เช่น Du, vorher habe ich die Wäsche gewaschen. Darunter war deine auch drin. นี่เธอ ก่อนหน้านี้ฉันซักผ้า ท่ามกลางเสื้อผ้าเหล่านั้น มีของเธอด้วยนะ |
den | (artikel) คำนำหน้านามที่เฉพาะเจาะจง (คล้าย the ในภาษาอังกฤษ) 1. ที่อยู่ในรูป Akkusativ สำหรับคำนามเพศชาย der เช่น für den Mann สำหรับผู้ชายคนนั้น 2. ที่อยู่ในรูป Dativ สำหรับคำนามพหูพจน์เพศใดๆ เช่น mit den Männern กับผู้ชายเหล่านั้น |
diesen | (dempron) สิ่งนี้ (คำสรรพนามหรืออาจเป็นคำนำหน้านามเพศชายรูป Akkusativ และนามพหูพจน์รูป Dativ ที่ใช้บ่งชี้เฉพาะสิ่งนั้นๆ) เช่น 1. Wer hat in diesen Apfel gebissen? ใครกัดแอปเปิ้ลลูกนี้เนี่ย 2. Ich habe dir ein Geschenk mit diesen Früchten mitgebracht. ฉันเอาของขวัญพร้อมด้วยผลไม้เหล่านี้มาฝากเธอ |
Adventskalender | (n) |der, pl. Adventskalender| ปฏิทินชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ของการมาจุติของพระเยซู เริ่มเฉลิมกันในเดือนธันวาคม ซึ่งผู้ใหญ่มักให้เป็นของขวัญแก่เด็กๆ ปฏิทินนี้ประกอบด้วยแผ่นกระดาษสองแผ่นซ้อนทับกัน มีช่องที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นประตูเปิดได้จากกระดาษชั้นบน ประตูเหล่านี้มีตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 24 ธันวาคม ก่อนถึงวันคริสต์มาส ซึ่งแต่ละช่องจะบอกเล่าถึงเรื่องราวของการประสูติของพระเยซู และอาจมีขนม ของขวัญชิ้นเล็กๆซ่อนอยู่ด้วยก็ได้ |
Longdo Approved FR-TH
calendrier de l'Avent | (n) |m| ปฏิทินชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ของการมาจุติของพระเยซู เริ่มเฉลิมกันในเดือนธันวาคม ซึ่งผู้ใหญ่มักให้เป็นของขวัญแก่เด็กๆ ปฏิทินนี้ประกอบด้วยแผ่นกระดาษสองแผ่นซ้อนทับกัน มีช่องที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นประตูเปิดได้จากกระดาษชั้นบน ประตูเหล่านี้มีตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 24 ธันวาคม ก่อนถึงวันคริสต์มาส ซึ่งแต่ละช่องจะบอกเล่าถึงเรื่องราวของการประสูติของพระเยซู และอาจมีขนม ของขวัญชิ้นเล็กๆซ่อนอยู่ด้วยก็ได้ |
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Time: 2.4717 seconds
ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม